ความเครียดของวัยเด็กตอนปลาย

แชร์ให้เพื่อน

ความเครียดของวัยเด็กตอนปลาย

จากสถานการณ์​โควิด19 ระบาด ช่วง 3 ปีที่ผ่านทำให้ระบบการศึกษาเปลี่ยนจากเรียนที่สถานศึกษา​มาเป็นเรียนที่บ้าน เด็กต้องปรับตัวกับการใช้เครื่องมือสื่อสารและระบบการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ประกอบกับการกักตัวส่งผลให้เด็กเกิดความเครียด​เนื่องจากวัยเด็กตอนปลายเป็นวัยที่เริ่มต้นของการเรียนรู้ทุกด้าน การเข้าสังคมปรับตัวกับการอยู่กับกลุ่มเพื่อน ซึ่งการเรียนที่สถานศึกษา​ย่อมเป็นการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ได้เร็วแต่เมื่อมีข้อจำกัดต่างๆ ทำให้วัยเด็กตอนปลายเกิดความเครียด
ความเครียดทำให้เกิด ความวิตกกังวัล ซึมเศร้า กลัวอย่างไร้เหตุผล อารมณ์​ไม่มั่นคง เปลี่ยนแปลงง่าย  ประสิทธิภาพการเรียนรู้แย่ลง บางครั้งมีนิสัยก้าวร้าวไม่เชื่อฟังพ่อแม่

สาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียดของวัยเด็กตอนปลายคือ
1.พ่อแม่ที่เข้มงวดกับลูกมากเกินไป เข้มงวดทุกอย่างเกินไป ทำให้เด็กมีพัฒนาการถดถอย

2.คาดหวังกับลูกมากเกินไป ต้องการเลี้ยงให้ได้ดั่งใจตัวเอง โดยไม่คิดย้อนกลับสมัยตัวเป็นเด็ก คาดหวังลูกต้องสอบได้ที่ 1 เข้าเรียนคณะดีๆ มหาวิทยาลัยดังๆ แต่ลืมที่จะประเมินถึงความสามารถและความถนัดของลูก เพื่อที่จะได้ส่งเสริมให้ลูกได้เลือกแนวทางการดำเนินชีวิตที่มีความสุขในวัยผู้ใหญ่และมีอนาคตที่สดใส

3.เป็นห่วงมากเกินไป การเป็นลูกเป็นสิ่งที่ดีแต่ถ้ามากเกินไป ทำให้เด็กไม่สามารถที่จะเผชิญและแก้ปัญหาเมื่อออกสู่สังคมภายนอก โดยเฉพาะจากสถานการณ์​โควิด19ที่ผ่านมา พ่อแม่บางคนคุมเข้มเรื่องความสะอาดจนเกินความพอดี ใช้แอลกอฮอล์​เช็ดทำความสะอาดจนเกินความจำเป็น

4.ตามใจมากเกินไป ทำให้เด็กมีความรู้สึกว่าตัวเองทำได้ทุกอย่างที่ต้องการแต่เมื่อต้องเผชิญกับสังคมภายนอกจะทำให้เกิดปัญหาการปรับตัวเนื่องจากสิ่งแวดล้อมและสังคมข้างนอกมีการแข่งขัน แก่งแย่งสูง ฉะนั้นการปฏิเสธในบางครั้งก็จะช่วยให้เด็กปรับตัวและเผชิญกับการถูกปฏิเสธเมื่อโตขึ้น สามารถจัดการแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง
5.การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี่และการสื่อสารที่รวดเร็ว เนื่องจากการใช้อินเตอร์​แบบเสรีเด็กไม่สามารถแยกแยะได้เหมื่อนผู้ใหญ่ โดยเฉพาะเกมออนไลน์​ ทำให้เด็กติดเกม ไม่รับผิดชอบการเรียน
จิตใจอ่อนไหว​ง่าย มีพฤติกรรมเลียนแบบเกมออนไลน์​

เมื่อเด็กเกิดความเครียดจะแสดงพฤติกรรมต่างๆเช่น
1.ขาดความมั่นใจในตนเอง ไม่กล้าแสดงออก นิสัยขี้อายไม่กล้าเผชิญหน้า
2.มีนิสัยเก็บตัว แยกตัวอยู่ตามลำพัง อาจเกิดอาการซึมเศร้า ไม่มีเหตุผล
3.เด็กเริ่มโกหก นิสัยก้าวร้าวรุนแรงมากขึ้น
4.ฉี่รดที่นอน
5.ไม่อยากไปโรงเรียน บ่นปวดท้อง ป่วย ปวดหัว

วิธีลดความเครียดในเด็ก
1.การออกกำลังกายเช่น ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ
ทำให้เด็กสดชื่น รู้สึกสนุกสนาน ลดความวิตกกังวลได้
2.ทำกิจกรรมในครอบครัวร่วมกันเช่น วาดรูป เต้นรำ ปลูกต้นไม้ ฟังเพลง ดูทีวี  เล่นเกมค้นหาคำศัพท์
3.การแสดงออกทางอารมณ์​ที่เหมาะสมเช่น ร้องให้เมื่อเสียใจ การร้องให้เป็นการระบายความเครียดอย่างหนึ่ง
4.มีความยืดหยุ่นในการทำกิจวัตรประจำวัน แต่ควรเคร่งครัดเรื่องระเบียบวินัย
5.ยอมรับในความสามารถและไม่ควรบังคับเมื่อเด็กไม่พร้อม
6.ค้นหาสาเหตุของปัญหาก่อนการลงโทษและหาแนวทางแก้ปัญหา
7.ส่งเสริมกิจกรรมที่เด็กชอบและชมเชยเมื่อทำได้ดี

จากยุคเก่าเข้าสูยุคแห่งเทคโนโลยี่สำหรับเด็กรุ่นใหม่จะปรับตัวและเติบโตไปพร้อมๆกันแต่พ่อแม่ซึ่งเป็นยุคเก่า ไม่เข้าใจเทคโนโลยี่จึงต้องปรับตัวและก้าวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่โตแบบก้าวกระโดดจะได้เข้าใจวัยเด็กตอนปลายมากขึ้น เพื่อจะได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต

ติดตามบทความดีๆ ด้านสุขภาพจาก healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน