นวดแผนไทย  ช่วยคลายอาการออฟฟิศซินโดรม

แชร์ให้เพื่อน

นวดแผนไทย  ช่วยคลายอาการออฟฟิศซินโดรม

อาการออฟฟิศ​ซินโดรม เป็นปัญหาสุขภาพของวัยทำงาน ที่เกิดจาก การใช้กล้ามเนื้อต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลา เช่น การใช้คอมพิวเตอร์​ โทรศัพท์มือถือ การทำงานบ้านประจำ  มีอาการ ปวดบ่า ต้นคอร้าวขึ้นศีรษะปวดกระบอกตา  วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด ตาลาย  ชาแขนและปลายนิ้ว  กล้ามเนื้อตึง  แข็งเป็นก้อน
  การป้องกันและบำบัดอาการออฟฟิศ​ซินโดรม ด้วยการนวดแผนไทยก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย  ซึ่งเป็นวิธีการบำบัดเบื้องต้นมาช้านานและ เป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน   มีงานวิจัยด้านการแพทย์ระบุว่า การนวด และประคบสมุนไพร ช่วยบำบัดอาการออฟฟิศ​ซินโดรมได้  โดยช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว  กล้ามเนื้อยืดหยุ่นดีขึ้น  ลดอาการแข็งตึง ยึดติด  ระบบการไหลเวียนโลหิตดีขึ้น  ร่างกายผ่อนคลาย  ควรนวดจากผู้ที่มีทักษะประสบการณ์​ในการนวดแผนไทย

นอกจากการนวดแล้วยังมีการบริหารร่างกายเพื่อยืดเหยียดกล้ามเนื้อ และข้อต่อ ที่ช่วยป้องกันและลดอาการ ปวดกล้ามเนื้อ  คอบ่าไหล่ ได้แก่

1.ท่าชูหัตถ์​วาดแขนขวา โดยการวาดแขนขวาไปที่หัวไหล่ซ้าย  เอียงศรีษะไปทางขวาเล็กน้อย ใช้อุ้งมือขวาบีบกล้ามเนื้อ แล้วคลายออก ทำสลับบีบคลายประมาณ1-2นาที  หลังจากนั้นชูแขนซ้ายขึ้นเหนือศรีษะ​พร้อมสูดหายใจเข้าช้าๆลึกๆ ค่อยๆลดแขนลงพร้อมหายใจออกทางปากช้าๆ ทำ 20 ครั้งต่อรอบ ช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณไหล่ซ้ายคลายตัว ช่วยให้ปอดขยายตัว การแลกเปลี่ยนอากาศหายใจดีขึ้น เลือดไหลเวียนดีขึ้น

2.ท่าชูหัตถ์​วาดแขนซ้าย โดยการวาดแขนซ้ายไปที่หัวไหล่ขวา  เอียงศรีษะไปทางซ้าย เล็กน้อย ใช้อุ้งมือซ้ายบีบกล้ามเนื้อ แล้วคลายออก ทำสลับบีบคลายประมาณ1-2นาที  หลังจากนั้นชูแขนขวาขึ้นเหนือศรีษะ​พร้อมสูดหายใจเข้าช้าๆลึกๆ   ค่อยๆลดแขนลงพร้อมหายใจออกทางปากช้าๆ ทำ 20 ครั้งต่อรอบ ช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณไหล่ขวาคลายตัว ช่วยให้ปอดขยายตัว การแลกเปลี่ยนอากาศหายใจดีขึ้น เลือดไหลเวียนดีขึ้น

3.ท่าบิดขี้เกียจ โดยการยกแขนซ้ายไปข้างหน้า ใช้แนขวาเกี่ยวแขนซ้าย ค่อยๆดึงเข้าหาลำตัว พร้อมกับค่อยหันศรีษะไปทางซ้ายพักไว้ 1 นาทีแลัวคลายออกทำสลับข้างไปมาประมาณ 1-2 นาที จะช่วยให้ข้อต่อที่หัวไหล่ และกล้ามเนื้อหัวไหล่ ยืดขยายและผ่อนคลาย  ลดอาการยึดติด เมื่อยล้าได้

4.ท่าก้มหน้า เงยหน้า โดยนั่งตัวตรงสูดหายใจเข้าทางจมูกลึกๆพร้อมกับเงยหน้าขึ้นให้สุด  แล้วค่อยๆเป่าลมหายใจออกทางปากช้าๆ พร้อมกับการก้มหน้าลงให้สุด ทำ 3 ชุด ช่วยให้กล้ามเนื้อ และกระดูกต้นคอ คลายตัว  ควรความระมัดระวังกับผู้ที่มีปัญหากระดูกคอทับเส้นประสาท

5.ท่าหันหน้าซ้าย ขวา ใช้มือประคองคางทำ 3 ชุด
6.ท่าหมุนศรีษะเป็นวงกลม  ข้างล่ะ 3 รอบ ควรระมัดระวังกับผู้ที่มีปัญหากระดูกคอทับเส้นประสาท

การบริหารร่างกายในระหว่างวันช่วงเวลาทำงานนานๆ ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับบุคคลเช่นผู้ที่มีปัญหากระดูกคอทับเส้นประสาทและหัวไหล่หลุดไม่ควรทำท่าบริหารร่างกายที่กล่าวมาเพราะอาจทำให้อันตรายได้

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน