โควิด19 ส่งผลต่อด้านสาธารณสุข​และการท่องเที่ยว อย่างไรบ้าง?(ตอนที่3)​

แชร์ให้เพื่อน

โควิด19 ส่งผลต่อด้านสาธารณสุข​และการท่องเที่ยว อย่างไรบ้าง?(ตอนที่3)​

จาก​สถานการณ์​ระบาดโควิด19ที่ผ่านมามีผลกระทบกับสุขภาพของคนและขีดความสามารถของโรงพยาบาล  โดยจัดเตรียมโรงพยาบาลสนามหลายแห่ง  พบผู้ติดเชื้อมากขึ้นและเสียชีวิตอย่างต่อเนื่อง
โรงพยาบาลต้องระมัดระวังการแพร่กระจ่ายเชื้อจากผู้ป่วยสู่บุคลากรทางการแพทย์ และผู้ป่วยด้วยกันเอง ทำให้ผู้ป่วยเรื้อรัง และเร่งด่วนได้รับผลกระทบค่อนข้างมากเช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เอชไอวี  และกลุ่มจิตเวชเรื้อรังต้องดูแลตนเองที่บ้านและรับยาทางไปรษณีย์
ผลกระทบด้านสุขภาพจิต เช่น คนมีความเครียด ซึมเศร้า หรือฆ่าตัวตาย ทั้งนี้ยังส่งผลต่อสุขภาพจิตของบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งทำงาน เกิดความเครียด

ผลกระทบต่อด้านสาธารณสุข​

1.ขาดแคลนโลหิต  เนื่องผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเช่นสัมผัสโรคโควิด19หรือมาจากต่างประเทศ จะงดการบริจาค​เลือด 28 วันนับจากวันสัมผัสโรค  ผู้ที่หายจากโรคจะงดบริจาคโลหิต 180 วัน นับจากวันที่หายจากโรคส่งผลต่อระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยอุบัติและฉุกเฉิน ขาดแคลนเลือดกลุ่มต่างๆโดยเฉพาะกลุ่มเลือดที่ขาดแคลนอยู่ยิ่งขาดแคลนเพิ่มมากขึ้น

2.เสียโอกาสในการดูแลรักษา
เนื่องจากบุคลากร​ทางการแพทย์มีจำกัดเมื่อเกิดการระบาดขึ้นทำให้ต้องใช้บุคคลากร​ทางแพทย์ดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด 19 ต้องเลื่อนนัด กรณีที่เลื่อนนัดได้ การผ่าตัดเล็กน้อย ถูกเลื่อนออกไป กลุ่มที่ต้องใช้ยาเคมีบำบัดต้องเลื่อนออกไปเช่นกัน รวมถึงผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังต่าง ขาดการติดตามการรักษาต่อเนื่อง  การควบคุมโรคได้ไม่ดี ส่งผลให้เสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นในกลุ่มดังกล่าว

มิติใหม่ของวงการแพทย์หลังระบาดโควิด 19

มีการปรับเปลี่ยนการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ เช่น มีการใช้เอไอมาใช้ประโยชน์ ช่วยในการคัดกรองเบื้องต้น ช่วยตรวจจับโรคอุบัติใหม่ได้อย่างรวดเร็ว
1.การนำเอไอมาใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย เช่นการใช้เอไอตรวจสแกนใบหน้าผู้ป่วยเพื่อตรวจอุณหภูมิร่างกายเพื่อคัดกรองเบื้องต้นโดยไม่ต้องสัมผัส​ผู้ติดเชื้อโดยตรง
2.เอไอช่วยเร่งให้ค้นพบยารักษาโรคทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งใช้เวลาเพียง12เดือนจากปกติที่ยาทั่วไปต้องใช้เวลาประมาณ 5 ปีเลยทีเดียวจึงสามารถนำมาทดลองกับมนุษย์ได้
3.มีชุดทดสอบไวรัสโควิด19 จำหน่ายอย่างแพร่หลายตามร้านขายยาทั่วไปและร้านสะดวกซื้อต่างๆ
4.มีการพัฒนาระบบการให้บริการทางไกลโดยผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องมาโรงพยาบาล พร้อมกับการเจริญเติบโตของโซเชียล มีเดีย สมาร์ทโฟนและเทคโนโลยี่​คลาวด์เป็นตัวเร่งให้การดูแลสุขภาพ มีความสะดวกสบาย ความโปร่งใสและการเข้าถึงการบริการได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว

5.การแพทย์แบบเฉพาะเจาะจง โดยอาศัยข้อมูลทางพันธุกรรม สภาพแวดล้อม และรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้ป่วยแต่ล่ะรายเพื่อค้นหาสาเหตุและกำหนดแนวทางการดูแลรักษาเฉพาะรายเพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพสูงสุด แทนที่การใช้วิธีการรักษาเหมือนกันหมด เช่นการใช้สมาร์ทโฟน​ช่วยติดตามและเก็บข้อมูลทางสุขภาพเชิงลึกเพื่อเป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและวีธีการรักษาที่ให้ผลลัพธ์ดียิ่งขึ้น


ผลกระทบต่อการท่องเที่ยว

จากการระบาดโควิด19ทำให้พฤติกรรมการทำงานของคนเปลี่ยนไป โดยทำงานจากที่ใดก็ได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวเช่นกัน
ในปัจจุบันหลังโควิดคนจะใช้สถานที่อยู่อาศัย ทำงาน และท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจเป็นสถานที่เดียวกัน
การนำเทคโนโลยี่มาช่วยในการให้บริการและอำนวยความสะดวกในขั้นตอนการเดินทาง ทั้งในการเช็คอิน ชำระเงิน
เน้นการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมากยิ่งขึ้น คนไม่พลุกพล่าน​ เงียบสงบ อากาศบริสุทธิ์​ เช่น บ้านพักตามทุ่งนา ภูเขาที่เงียบสงบ ชายหาดที่ไม่มีคน

อย่างไรเสียสถานการณ์​หลังโควิด ส่งผลให้เกิดการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงรูปแบบการรักษาทางการแพทย์ที่ดีขึ้นและไม่ได้ทำให้คนท่องเที่ยวน้อยลงแต่จะทำให้คนมีสติต่อสิ่งต่างๆรอบๆตัวโดยเฉพาะในเรื่องของความสะอาดและสุขอนามัยจะมีมากยิ่งขึ้น

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน