ภาวะสมองเสื่อม การเขียนหนังสือช่วยได้ !!!! ตอนที่ 1 

แชร์ให้เพื่อน

ภาวะสมองเสื่อม การเขียนหนังสือช่วยได้ !!!!

ตอนที่ 1 

เมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้น ความเสื่อมของร่างกายและสมองเริ่มตามมา เราสามารถใช้เทคนิค​การเขียนหนังสือช่วยกระตุ้นเซลล์​สมองเพื่อช่วยลดภาวะสมองเสื่อมได้
กิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นสมองมีมากมายหลากหลายวิธี เช่น การเล่นเกมปริศนาคำทาย  การเล่นไพ่   การเขียนหนังสือ บทความ บันทึกประจำวัน

ภาวะสมองเสื่อมคืออะไร?
เป็นภาวะความบกพร่องของการทำหน้าที่ของสมอง ส่งผลให้สมองของผู้ป่วยเสื่อมถอยโดยเฉพาะในเรื่องความคิด ความจำ ความรอบรู้ การใช้ภาษา การตัดสินใจ และการใช้เหตุผล ตลอดจนบุคลิก​ภาพและพฤติกรรม​ที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างชัดเจน 

สัญญาณ​เตือนว่าท่านเริ่มมีภาวะสมองเสื่อม

  • มีปัญหาเรื่องความจำ หลงลืมบ่อย
  • ของหายบ่อยๆ หรือวางผิดที่ผิดทาง เกิดระแวงว่าคนอื่นขโมย
  • ติดขัดการใช้ภาษา เรียกชื่อสิ่งของหรือคนคุ้นเคยไม่ถูก
  • รู้สึกยากลำบากในการทำงานที่ซับซ้อนที่เคยทำอยู่ประจำ เช่น การวางแผนในการทำงาน  การวางแผนค่าใช้จ่าย
  • ตัดสินใจเรื่องต่างๆได้ช้า หรือไม่เหมือนเดิม
  • มีปัญหาด้านทิศทาง ด้านสิ่งแวดล้อม  หลงทางบ่อยแม้ทางที่คุ้นเคย
  • สับสนป้ายสัญญาณที่เป็นอยู่ประจำ เช่น ไฟจราจร
  • สับสนในการลำดับเหตุการณ์  เรื่องราวต่างๆ เวลา สถานที่
  • สมาธิสั้น เปลี่ยนเรื่องที่ทำหรือกำลังสนใจได้ง่าย
  • บุคลิก​เปลี่ยนไปจากเดิมเช่น ซึมเศร้า แยกตัว เหนื่อยหน่ายการเข้าสังคม ก้าวร้าวหรือเห็นภาพหลอน

อ่านมาถึงตอนนี้ลองประเมินตัวท่านเองว่าเข้าข่ายกี่ข้อแล้วแต่คงไม่ใช่ทุกข้อเพราะอย่างน้อยท่านก็มีสมาธิอ่านหนังสือได้

การเขียนหนังสือ/บทความ/บันทึกประจำวันช่วยลดภาวะสมองเสื่อมได้อย่างไร?
1.การเขียนหนังสือ บทความ บันทึกประจำวันช่วยความจำด้านตัวเลข อักษร​ภาษา  และสัญลักษณ์​ต่างๆได้ดี  เพราะในแป้นพิมพ์มีสัญญลักษณ์​ต่างๆมากมายที่ใช้เพื่อประกอบในการเขียนหนังสือ
2.การเขียนหนังสือ บทความ บันทึกประจำวันช่วยในการวางแผนว่าจะเขียนเนื้อหาอย่างไร   ใช้ความคิดในการจัดลำดับก่อนหลังของเนื้อหาที่เขียน
3.การเขียนหนังสือ  บทความ บันทึกประจำวันช่วยให้มีสมาธิจดจ่อในการเขียน ไม่วอกแวก
4.การเขียนหนังสือ บทความ บันทึกประจำวันช่วยกระตุ้นสมองในการตรวจสอบเนื้อหาที่เขียนโดยใช้ทักษะการอ่านซ้ำ
5.การเขียนหนังสือ บทความ ช่วยกระตุ้นสมองในการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม  สร้างจิตนาการ ความคิดสร้างสรรค์   เพื่อให้หนังสือหรือบทความมีความน่าสนใจ
6.การเขียนบันทึกประจำวันช่วยในการรื้อฟื้นความจำในระยะสั้นคือภายใน 24 ชั่วโมง

ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่ภาวะสมองเสื่อมมีแนวโน้มพบบ่อยเมื่ออายุมากกว่า65ปีแต่การใช้ทักษะด้านการเขียนหนังสือ บทความ บันทึกประจำวันสามารถช่วยแก้ปัญหาเหล่านั้นได้ โดยเริ่มกระตุ้นสมองตั้งแต่อายุเกิน50ปีไปแล้ว  ใครไม่อยากมีภาวะสมองเสื่อมลองใช้เทคนิค​นี้ดูค่ะ

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

 

แชร์ให้เพื่อน