กิจกรรมสันทนาการ​ช่วยกระตุ้นสมองผู้สูงอายุ

แชร์ให้เพื่อน

กิจกรรมสันทนาการ​ช่วยกระตุ้นสมองผู้สูงอายุ ตอนที่2

อ่านตอนที่ 1 ภาวะสมองเสื่อม การเขียนหนังสือช่วยได้ !!!! ตอนที่ 1 

กิจกรรมสันทนาการ​ ช่วยกระตุ้นสมองของผู้สูงอายุที่มีอาการหลงลืม ความจำเสื่อม โดยจัดกิจกรรมสันทนาการ​อย่างสม่ำเสมอเพื่อช่วยกระตุ้นสมอง ลด หรือบรรเทาอาการความจำเสื่อม หลงลืม ได้ นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้สูงอายุมีร่างกายแข็งแรง และสุขภาพจิตดีอีกด้วย เรามาดูกันเลยว่ามีกิจกรรมสันทนาการ​อะไรบ้าง?

1.กิจกรรมสันทนาการ​ การออกกำลังกาย
เนื่องจากผู้สูงอายุมีความเสื่อมของร่างกาย เช่น กระดูกพรุน หรือบางรายอาจมีโรคประจำตัวร่วมด้วยเช่นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เป็นต้น ควรเลือกประเภทในการออกกำลังเบาๆ เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง จิตใจแจ่มใส การทรงตัวดีขึ้น และช่วยให้การสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงสมองได้มากขึ้น

หลักการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ

  • ควรออกกำลังกายสัปดาห์​ละ 4-5ครั้ง หรือออกกำลังกายวันเว้นวัน ตามสภาพร่างกายของผู้สูงอายุ
  • ระยะเวลาในการออกกำลังกายแต่ละครั้งไม่ควรเกิน20-30นาที รวมช่วงการอบอุ่นร่างกายแล้ว
  • ชนิดของการออกกำลังควรงดการใช้แรงปะทะ ซึ่งอาจเกิดอันตรายได้ เน้นการออกกำลังกายที่ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่เช่น การวิ่งเหยาะๆ ควรหลีกเลี่ยงกรณีเข่าเสื่อม การเดิน รำมวยจีน เต้นแอโรบิค
  • ควรงดออกกำลังกายถ้ามีอาการดังนี้คือ เวียนศรีษะ​ หลังกินอาหารมื้อหลัก หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ
    หรือหลังรับประทานอาหารมื้อหลัก

2.กิจกรรม​สันทนาการ​ การเขียน การอ่าน หนังสือ และการวาดรูป การ์ดอวยพร
กิจกรรมการอ่านหนังสือเปิดโอกาสให้สมองผู้สูงอายุได้คิด วิเคราะห์ รวบรวมเนื้อหาและนำมาเขียนเป็นบทความ สรุปเนื้อหาสั้นๆ โดยมีการวาดภาพประกอบบทความ ช่วยกระตุ้นด้านความคิดสร้างสรรค์ และความสุขทางใจ
กิจกรรมการวาดรูป การ์ดคำอวยพรในเทศกาลต่างๆ เช่น การ์ดอวยพรวันเกิด วันปีใหม่ วันแต่ง


 

 

3.กิจกรรม​สันทนาการ​ การเล่นเกมฝึกสมองลดความจำเสื่อม
การเล่นเกมนอกจากจะช่วยให้สนุกสนานเพลิดเพลินแล้ว ยังช่วยฝึกสมาธิ มีเพื่อนเช่นการเล่นหมากรุกกับเพื่อนวัยเดียวกัน ช่วยกระตุ้นสมองด้านการวางแผนการเดินหมากรุกแต่ละตัว ช่วยกระบวนการตัดสินใจด้วยว่าเลือกที่จะเสียหรือเก็บหมากตัวไหนไว้
เกม​ออนไลน์​เช่น Candy Crush Saga

4.การดูยูทูป การฟังเพลง ร้องเพลง ช่วยลดความจำเสื่อม
ดนตรี หรือสื่อออนไลน์​ที่ให้ความบันเทิง​ช่วยกระตุ้นอารมณ์​เชื่อมโยงไปสู่การคิด วิเคราะห์และความจำของผู้สูงอายุ ช่วยลดความเสื่อมของสมอง ถึงแม้ว่าในรายที่มีภาวะความจำเสื่อม การรับรู้ด้านเสียงเพลง และร้องเพลง ถือเป็นกิจกรรมที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ ควรจัดให้มีกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยกระตุ้นให้เกิดความจำด้านกิจวัตรประจำวัน​ได้ดีขึ้นด้วย
กิจกรรม​สันทนาการ​เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยส่งเสริม กระตุ้นสมองของผู้สูงอายุ ร่วมกับการมีสัมพันธภาพ​ที่ดีภายในครอบครัว ช่วยให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วย

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

อ่านตอนที่ 1 ภาวะสมองเสื่อม การเขียนหนังสือช่วยได้ !!!! ตอนที่ 1 

แชร์ให้เพื่อน