อัลไซเมอร์( Alzheimer’s Disease) ปัญหาของวัยสูงอายุ

แชร์ให้เพื่อน

อัลไซเมอร์( Alzheimer’s Disease) ปัญหาของวัยสูงอายุ

ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงเต็มตัวปัญหาของผู้สูงอายุ(อายุ 65-80ปี) ที่ต้องเผชิญ
คือโรคอัลไซเมอร์ หรือภาวะสมองเสื่อม และปัญหาความเสื่อมถอยของสุขภาพร่างกาย วัยผู้ใหญ่และวัยเกษียณ​ต้องเตรียมความพร้อมเพื่อสามารถช่วยเหลือตัวเอง ลดภาระผู้ดูแลและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

โรคอัลไซเมอร์​(Alzheimer’s​Disease)​คืออะไร?

คือภาวะความบกพร่องของการทำหน้าที่ของสมอง เกิดจากสมองเสื่อมถอยตามวัย ในด้านความคิด ความจำ ความรอบรู้ การใช้ภาษา การตัดสินใจ การใช้เหตุผล ตลอดจนมีความเปลี่ยนแปลงด้านบุคลิกภาพ และพฤติกรรม ส่งผลกระทบต่อการดูแลตนเองด้านชีวิตประจำวัน พบในช่วงอายุ 85 ปีขึ้นไปอัตราการเป็นอัลไซเมอร์​ร้อยละ 50

สาเหตุของโรคอัลไซเมอร์​มีอะไรบ้าง?

  • มีอายุมากขึ้น
  • พันธุกรรม
  • ผู้ป่วยดาวน์ซินโดรม
  • กลุ่มผู้ป่วยมีประวัติได้รับความกระทบกระเทือนทางสมอง
  • กลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังเช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ซึมเศร้า โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น

โรคอัลไซเมอร์​(Alzheimer’s​Disease)​ แบ่งออกได้ 3 ระยะคือ

1.สมองเสื่อมระยะแรก พบปัญหาด้านความจำ จำข้อมูลใหม่ไม่ได้ เริ่มหลงลืม เช่น ลืมชื่อคน ลืมปิดประตู ปิดไฟ ปิดน้ำ แต่ยังใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติ
การตัดสินใจเริ่มช้าลง ไม่มีสมาธิในการทำงาน ความคิดสร้างสรรค์งานใหม่ๆ ลดลง การเรียนรู้ใหม่ๆช้าลง การใช้คำศัพท์ไม่คล่องและการใช้ภาษาแย่ลง เริ่มมีปัญหาในการเขียน การพูด และยังสื่อสารได้ในระดับพื้นฐาน

2.สมองเสื่อมระยะกลาง พบว่ามีอาการหลงลืมมากขึ้น ด้านสิ่งแวดล้อม​และสถานที่ที่คุ้นเคย ย้ำคิดย้ำทำ การใช้ภาษาเริ่มแย่ลง นึกคำพูดไม่ออก ความจำแย่ลงเรื่อยๆ จำคนสนิทไม่ได้ เริ่มมีพฤติกรรม​เปลี่ยนไป บางรายซึมเศร้าร่วมด้วย ก้าวร้าว หงุดหงิด​โมโหง่าย อารมณ์แปรปรวน​เช่น ร้องให้ หัวเราะ

3.สมองเสื่อมระยะสุดท้าย มีความรุนแรงที่สุด พบการสูญเสียด้านความจำระยะสั้น หลงลืมรุนแรง ลืมการรับประทานอาหาร การสื่อสาร ตอบโต้เป็นภาษาไม่ได้ เข้าใจคำพูดและตอบโต้ด้วยอารมณ์​หรือมีภาวะไร้อารมณ์​ อ่อนเพลีย การเคลื่อนไหวช้าลงจากมวลกล้ามเนื้อ​ลดลง จนกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียงในที่สุด

แนวทางการดูแลรักผู้ป่วยอัลไซเมอร์​( Alzheimer’s​Disease)​ ในแต่ละระยะคือ

1.สมองเสื่อมระยะแรก การดูแลรักษาและกิจกรรมที่ปฏิบัติเช่น แนะนำให้ผู้ป่วยเขียนบันทึกประจำวันเพื่อช่วยการเรื้อฟื้นความจำระยะสั้น การเล่นหมากรุก เน้นการบันทึกสิ่งที่ได้ทำไปแล้ว เช่นปิดประตูบ้าน ปิดน้ำไฟ โดยเน้นการตรวจสอบ ก่อนออกจากบ้านให้ตรวจสอบอีกครั้ง ในปัจจุบันมีสมาร์ทโฟน​ การถ่ายรูปไว้ช่วยได้เช่นถ่ายรูปการล็อคประตูบ้าน แนะนำการนั่งสมาธิ การวาดภาพ การทำบันทึกรายรับรายจ่ายเพื่อช่วยด้านตัวเลข

2.สมองเสื่อมระยะกลางและระยะสุดท้าย การดูแลรักษาและกิจกรรมที่ปฏิบัติเช่น

  • การสื่อสารด้วยคำพูดที่เข้าใจง่าย ออกเสียงชัดเจน เรียกชื่อผู้ป่วยบ่อยขึ้น ใช้ภาษากายในการสื่อสารร่วมด้วย
  • ชวนผู้ป่วยพูดคุยเรื่องในอดีตโดยใช้รูปถ่ายประกอบในการสนทนา เพื่อช่วยเรื้อฟื้นความจำด้าน สถานที่ ผู้คน สิ่งต่างๆโดยใช้รูปภาพประกอบ
  • ให้ผู้ป่วยดูทีวี สื่อออนไลน์เพื่อความบันเทิงเป็นครั้งคราว
  • กระตุ้นให้ผู้ป่วยดูแลตนเองด้านชีวิตประจำวันเช่น การรับประทานอาหารโดยมีนาฬิกาช่วยให้ผู้ป่วยดูว่าต้องกินอาหารกี่โมง เวลาไหนบ้าง อาบน้ำกี่โมง
    มีปฏิทินเพื่อช่วยจดจำวันต่างๆเช่นวันพระ
    ช่วยการเตรียมพร้อมอาหารในการทำบุญ หรือไหว้ศาลพระภูมิ​ต่างๆ
  • หลีกเสี่ยงการสื่อสารที่ใช้อารมณ์​ที่มีผลกระทบต่อจิตใจผู้ป่วย ทำให้โกรธ เสียใจ น้อยใจหรือเครียด ไม่ควรกล่าวโทษ หรือทำโทษเด็ดขาด
  • แนะนำให้ผู้ป่วยสวดมนต์หรือนั่งสมาธิก่อนนอน
  • มีสัญญลักษณ์​ที่บงบอกถึงผู้ป่วยสมองเสื่อมเช่น กำไร ที่มีเบอร์โทรที่สามารถติดต่อญาติกรณีหลงทาง
  • กรณีที่กินยาร่วมด้วย ดูแลให้ได้รับยาตามเวลา
  • บันทึกพฤติกรรม​ที่เปลี่ยนแปลงในทางที่แย่ลงเพื่อแจ้งให้แพทย์ทราบจะได้หาแนวทางการแก้ไขต่อไป

จะเห็นได้ว่าภาวะสมองเสื่อมนั้นจะค่อยเป็นค่อยไปการดูแลตนเองและส่งเสริมกิจกรรมที่เหมาะสมจะช่วยให้เข้าสูู่ระยะที่รุนแรงช้าลงได้หรืออาจไม่เป็นในระยะรุนแรงเลย ทั้งนี้ควรดูแลให้ได้รับสารอาหารให้ครบหลัก 5 หมู่และดื่มน้ำให้เพียงต่อร่างกายต่อวันด้วย

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน