กฎ7ข้อ ศาสตร์​แห่งการควบคุมอารมณ์

แชร์ให้เพื่อน

กฎ7ข้อ ศาสตร์​แห่งการควบคุมอารมณ์

การควบคุมอารมณ์(Emotional Control) คือทักษะในการจัดการกับสิ่งเร้าต่างๆที่ทำให้เกิดการตื่นตัวและแสดงพฤติกรรมเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย​ที่กำหนดไว้

องค์ประกอบของอารมณ์​มี 3 ประการคือ
1.องค์​ประกอบด้านสรีระ(Physical dimension) เป็นการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่เกิดขึ้นควบคู่กับอารมณ์​เช่น หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออกตามร่างกาย อารมณ์​ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายมากที่สุดคือ อารมณ์​กลัว  ซึ่งอารมณ์กลัวทำให้หลั่งฮอร์โมน​แอดรีนาลีนจากต่อมแอดรีนัล(Adrenal gland) และอารมณ์​โกรธ  ซึ่งอารมณ์โกรธจะหลั่งฮอร์โมน​นอร์แอดรีนาลีน(Noradrenalin)​

2.องค์​ประกอบทางด้านการนึกคิด(Cognitive dimension) เป็นปฏิกิริยาด้านจิตใจต่อสิ่งเร้าและเกิดเป็นอารมณ์​ขึ้นมา เช่น ชอบ-ไม่ชอบ  ถูกใจ-ไม่ถูกใจ

3.องค์​ประกอบด้านประสบการณ์​(Experiential dimention) เป็นการเรียนรู้ภายในจิตใจของแต่ละบุคคลในอดีต ซึ่งมีความแตกต่างกันไป 

การแสดงออกของอารมณ์นั้นสามารถแสดงออกมาโดยคำพูดและสีหน้า  ท่าทาง  อาจเกิดความสับสนในการตีความได้เนื่องจากสังคมและวัฒนธรรม เช่น การแลบลิ้น บางกลุ่มชนเป็นการทักทาย  ในสังคมจีนแสดงถึงความประหลาดใจ


นักจิตวิทยาพบว่าอารมณ์​แรกของมนุษย์ คืออารมณ์​ตื่นเต้น ขณะที่ทารก 3 เดือน มีเพียง อารมณ์​เศร้า และอารมณ์​ดีใจ สำหรับอารมณ์​ที่มีความสลับซับซ้อนจะปรากฏ​ขึ้นตามวุฒิภาวะ เช่น อารมณ์​ก้าวร้าว​และรุนแรงเป็นผลมาจากความคับข้องใจ หรือถูกกดขี่ตลอดเวลา

ดังนั้นมนุษย์​ทุกคนจึงต้องเรียนรู้วิธีการควบคุมอารมณ์​ของตนเองให้สามารถปรับตัวและดำรงชีพอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

กฏ 7 ข้อศาสตร์​แห่งการควบคุมอารมณ์​มีดังต่อไปนี้

1.การรู้เท่าทันอารมณ์  โดยการมีสติอยู่เสมอ เพื่อควบคุมอารมณ์​ให้คลายลงได้ เช่น การขับรถใกล้วัด บริเวณ​ที่เผาศพ มองเห็นเงาตะคุ่ม ก่อให้เกิดอารมณ์​กลัวทำให้เร่งขับเร็วขึ้นทำให้เกิดอุบัติเหตุได้  ทั้งที่เงานั้นเป็นเงาต้นไม้ ถ้าใช้สติมากขึ้นก็ไม่ทำให้เกิดความสูญเสีย

2.การมีความอดทน การขาดความอดทนทำให้ใจร้อน รอคอยไม่เป็น ไม่อดกลั้น ก่อให้เกิดปัญหาหลากหลายเช่นการเกิดอุบัติเหตุ​ตามท้องถนน  ทะเลาะเบาะแว้ง ลงไม้ลงมือ การฝึกความอดทนอดกลั้นจะช่วยลดปัญหาต่างๆลงได้ และเกิดผลลัพธ์​ที่ดีในอนาคต

3.การมีกลยุทธ์​ที่ยืดหยุ่นได้ เป็นการผ่อนปรน การรู้จักผ่อนสั้น ผ่อนยาว ความไม่เคร่งครัดในบางโอกาส  ถ้าเคร่งครัดมากเกินไปเกิดผลเสียมากกว่าผลดีก็ต้องมีความยืดหยุ่นลงบ้าง เช่นความเคร่งเครียดกับการทำงานหามรุ่งหามค่ำซึ่งส่งผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจ เราควรแบ่งช่วงเวลา ผ่อนคลาย อารมณ์​ ใช้วันหยุดพักร้อนเพื่อพักผ่อน

4.ควรหยุดพักก่อน  เมื่อสังเกตุว่าเราแสดงอารมณ์​ที่ไม่เหมาะสม เราควรต้องหยุดพักเพื่อจะได้คิดทบทวนย้อนกลับว่าเหตุใดเราถึงแสดงอารมณ์​นั้นออกมา

5.การให้รางวัลกับตัวเอง  เป็นการเสริมแรง  สร้างพลังทางบวกแก่จิตใจ เช่น การไปเที่ยว  การซื้อทรัพย์​สินให้ตัวเอง  รวมถึงการฝึกสมาธิเป็นการเสริมพลังทางจิตด้วย

6.การบันทึกชนิดของสิ่งเร้าที่กระตุ้นอารมณ์(Mood Tracker) โดยจดบันทึกระดับความรู้สึกอารมณ์​ด้วยสีต่างๆที่บ่งบอกความรู้สึกเศร้า โกรธ เฉยๆ หรือมีความสุขมากๆ และต้องเป็นการบันทึกอย่างซื่อตรงกับความรู้สึกตัวเอง ทำให้เราเข้าใจและสามารถควบคุมอารมณ์​ได้ดีขึ้น

7.พัฒนาการด้านอารมณ์​เป็นความสามารถในการแยกแยะความรู้สึก และการควบคุมการแสดงออกของอารมณ์​อย่างเหมาะสมเมื่อเผชิญหน้ากับสถานการณ์​ต่างๆตลอดจนการสร้างความรู้สึกที่ดีและนับถือตัวเอง

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน