ภัยร้ายอันตราย ในของเล่นของเด็กๆ

แชร์ให้เพื่อน

ภัยร้ายอันตราย ในของเล่นของเด็กๆ

อุปกรณ์​ของเล่นสำหรับเด็กส่วนใหญ่แล้วมักผลิตมาจากพลาสติก​ ซึ่งในพลาสติก​นั้นมีสารเคมีเป็นส่วนประกอบที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของเด็กไม่น้อย ซึ่งเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ปกครองในการแยกแยะว่าพลาสติก​ของเล่นแบบใหนควรหลีกเลี่ยงและเป็นอันตรายสำหรับเด็กหรือบุตรหลานอันเป็นที่รัก จากตัวอย่างเด็กชาติตะวันตกหนึ่งคนมีของเล่นพลาสติก​เฉลี่ย 18 กิโลกรัม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเด็กมีของเล่นพลาสติก​รายล้อมอยู่ในชีวิตประจำวันมากมายเพียงใด โดยเฉพาะพลาสติก​เนื้ออ่อนหรือพลาสติก​อ่อนทำให้เกิดการสัมผัสกับสารที่เป็นอันตรายได้มากกว่าสำหรับการสูดดม
สำหรับเด็กไทยแล้วของเล่นที่เป็นพลาสติก​นั้นมีจำนวนมากมายเลยทีเดียวโดยสังเกตุจากร้านขายของเล่นสำหรับเด็กส่วนใหญ่ผลิตมาจากพลาสติก​ทั้งนั้น

โอกาสในการสัมผัสกับสารเคมีในของเล่นของเด็กที่เป็นพลาสติก​ขึ้นอยู่กับ

  • ระยะเวลาที่เด็กใช้ในการเล่นของเล่นพลาสติก​ในแต่ละวัน
  • โอกาสที่เกิดขึ้นในการหยิบของเล่นพลาสติก​ใส่ปาก จมูกของเด็ก
  • ปริมาณ​ของเล่นที่เป็นพลาสติก​ของเด็กมีมากน้อยแค่ใหนในบ้าน

ทีมวิจัยจากประเทศสหรัฐ​อเมริกาพบว่า มีสารเคมีกว่า 419 ชนิดที่พบในวัสดุพลาสติก​แข็ง พลาสติก​อ่อน และโฟมซึ่งใช้ในของเล่น และพบว่ามาจากสารตั้งต้นมากถึง 126 ชนิดที่ทำร้ายสุขภาพของเด็กไม่ว่าจะเป็นการก่อให้เกิดมะเร็ง หรือไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง รวมถึงสารเติมแต่ง 31 ชนิดคุณสมบัติ​ติดไฟง่าย 18 ชนิด และกลิ่นที่เป็นปัญหาอีก 8 ชนิด
ซึ่งอันตรายของสารเคมีเหล่านั้นส่งผลเสียต่อระบบทางเดินหายใจหรือมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งสำหรับทางเดินหายใจถ้ามีปริมาณ​มากเกิดกว่ากำหนด

อันตรายจากของเล่นนอกจากประเด็นดังกล่าวแล้ว ที่พบบ่อยเช่น

  • เด็กหายใจไม่ออกเนื่องจากของเด็กมีขนาดที่หลากหลาย เด็กมักเอาของเล่นใส่ปากหรือจมูก สามารถเข้าไปติดลำคอ อุดตันทางเดินหายใจได้ เสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ หรือของเล่นที่มีเชือกคาดหรือยางยืดเสี่ยงในการรัดคอเด็ก ส่งผลทำให้หายใจไม่ออกและเสียชีวิตได้เช่นกัน
  • อันตรายจากเสียงดังเกินไปทำให้เป็นอันตรายต่อแก้วหูของเด็กได้
  • อันตรายจากสารเคมีที่มีพิษในของเล่น เช่น น้ำยาทาเล็บ
  • อันตรายจากลักษณะรูปลักษณ์​ของของเล่นที่เป็นอันตรายเช่น ของเล่นมีปลายแหลมเกิดการทิ่มตา หรือมีบาดแผลได้

คำแนะนำของทีมวิจัยสำหรับผู้ปกครองให้หลีกเลี่ยงของเล่นที่เป็นพลาสติก​อ่อน และเปิดห้องเล่นของเล่นเด็กทุกวันเพื่อช่วยระบายอากาศ

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน