เทคนิคเล่านิทาน ช่วยลดพฤติกรรม​ก้าวร้าวของเด็กปฐมวัย

แชร์ให้เพื่อน

เทคนิคเล่านิทาน ช่วยลดพฤติกรรม​ก้าวร้าวของเด็กปฐมวัย

เด็กปฐมวัยนั้นเริ่มต้นที่อายุ 0-6ปี นับเป็นวัยวิกฤตของมนุษย​์ซึ่งมีความสำคัญในการวางรากฐานคุณภาพชีวิตของเด็ การเรียนรู้พฤติ​กรรมทางสังคมเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งจะช่วยให้เด็กปรับตัวกับเพื่อนและสังคมได้อย่างราบรื่น ถ้าเด็กไม่สามารถปรับตัวได้จะเกิดความคับข้องใจ​และแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวออกมา ซึ่งเป็นพฤติกรรมทางลบที่เป็นปัญหาสำหรับเด็กปฐมวัยโดยสามารถสังเกตุได้จากพฤติกรรม​ต่างๆ เช่น พูดจาหยาบคาย หยิก กัด ไม่เคารพผู้อื่น  ทำลายข้าวของ พฤติกรรม ก้าวร้าว อาละวาด​ในเด็กอายุ 2-6 ปี เกิดขึ้นได้ง่ายเนื่องจากเด็กขาดการควบคุมอารมณ์
พฤติกรรมก้าวร้าว หมายถึง อารมณ์​โกรธ​ ไม่พอใจอย่างรุนแรง เนื่องจากผิดหวัง  ไม่ได้ดั่งใจในสิ่งที่คาดหวังไว้ โดยแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว 2 แบบ คือ

  • พฤติกรรม​ก้าวร้าวต่อตนเอง เช่น ตีอกตัวเอง ดึงผมตัวเอง การทำร้ายร่างกายตนเอง เป็นต้น
  • พฤติกรรม​ก้าวร้าวต่อผู้อื่น เช่น ตีคนอุ้ม  ตีเด็กคนอื่น ขว้างปาสิ่งของใส่ผู้อื่น เป็นต้น

การแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมบ่อยๆ เช่น กระวนกระวายใจ อารมณ์​เก็บกด  โมโหร้าย เบื่อหน่าย ไม่เชื่อฟัง การขโมยของ เนื่องจากพัฒนาการทางอารมณ์​ของเด็กวัย 3-5ขวบ มักเจ้าอารมณ์​  มีความกลัวสุดขีด อิจฉา​อย่างไม่มีเหตุผล​ โมโห​ร้าย เกิดจากเด็กได้รับความรัก การเอาใจใส่ ดูแล จากพ่อแม่หรือคนไกล้ชิด เมื่อต้องพบปะกับคนนอกบ้านที่ไม่ได้เอาใจใส่เด็กได้เท่าคนในบ้าน ทำให้เด็กรู้สึกขัดใจ โดยแสดงอารมณ์​ออกมาทางคำพูดเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้เด็กแต่ละคนมีอารมณ์​ที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับ สิ่งแวดล้อมภายใน​บ้านและการอบรมเลี้ยงดู

เทคนิคการเล่านิทานช่วยลดพฤติกรรมก้าวร้าว
เลือกนิทานที่เหมาะสมสำหรับเด็ก วิธีการเล่านิทานเพื่อให้เด็กเกิดความสนใจ ติดตามฟังเนื้อเรื่องจนจบมี 2 วิธี ดังนี้
1.การเล่านิทานด้วยปากปล่าว ไม่มีอุปกรณ์ ต้องอาศัยน้ำเสียง และลีลาของผู้เล่า มีรายละเอียดดังนี้

  • การเริ่มต้นเล่า ควรดึงดูดความสนใจของเด็ก โดยเริ่มต้นด้วยน้ำเสียงที่ชัดเจน เล่าช้าๆ และเริ่มเร็วขึ้น จนเป็นการเล่าปกติ
  • น้ำเสียงดังฟังชัด ประโยคสั้นๆได้ใจความ ควรเล่าต่อเนื่องเพื่อลดความเบื่อหน่าย ไม่ควรมีคำถามแทรกเพราะทำให้เด็กหมดสนุก
  • อุ้มหรือกอดเด็กขณะเล่านิทาน หรือถ้ามีเด็กหลายควรนั่งในระดับสายตาเด็ก
  • ใช้เวลาในการเล่านิทานประมาณ​15 นาที เพราะเด็กมีความสนใจในช่วงเวลาสั้น
  • ให้โอกาสเด็กได้สอบถาม แสดงความคิด

2.การเล่านิทานโดยมีอุปกรณ์ช่วย เช่น สิ่งแวดล้อมรอบตัว ได้แก่ สัตว์ พืช ต้นไม้ ภาพประกอบ หุ่นมือ หน้ากากทำเป็นรูปละคร นิ้วมือประกอบการเล่า

ประโยชน์ที่ได้จากการฟังนิทานของเด็ก
1.ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย
ขณะฟังนิทานบางเรื่องอาจมีการทำท่าประกอบเนื้อหานิทานที่เล่า เด็กได้เคลื่อนไหว​ส่วนต่างๆของร่างกาย ช่วยพัฒนาทางด้านกล้ามเนื้อทั้งมัดใหญ่และมัดเล็ก
2.ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์​ จิตใจ
ขณะฟังนิทานเด็กมีสมาธิ ใจจดจ่อในเนื้อเรื่อง มีอารมณ์​สงบ สุขุมเยือกเย็น มีภาพจินตนาการตามเนื้อเรื่อง กล้าแสดงออก สร้างความเชื่อมั่น และได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน
3.ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม
ขณะเล่านิทานเด็กมีปฎิสัมพันธ์​ระหว่างผู้เล่าและเด็กด้วยกัน ทำให้เด็กเรียนรู้เข้าใจตนเองและผู้อื่นมากขึ้น นอกจากนี้ในเนื้อหาบางเรื่องส่งเสริมคุณธรรมทางสังคม เช่น การส่งเสริมด้านความซื่อสัตย์​ จากนิทานเรื่อง เทวดากับคนตัดต้นไม้
4.ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา
การฟังนิทานช่วยให้เด็กมีทักษะด้านภาษา การฟัง การพูด การอ่านและการเขียน ทั้งนี้ยังได้เคล็ดลับ​ของนิทานแต่ละเรื่องด้วยเช่น นิทานเรื่องลูกหมูสามตัว เด็กได้เรียนรู้เรื่องวัสดุอุปกรณ์​มีความแข็งแรงที่แตกต่างกันในการสร้างบ้าน เด็กได้เรียนรู้จดจำคำศัพท์​ใหม่ๆที่มีในนิทานเป็นการขยายประสบการณ์​ของเด็กให้กว้างขึ้น
การเลี้ยงเด็กถ้าสังเกตุว่าเด็กมีพฤติกรรม​ก้าวร้าวผู้ดูแลเด็กลองนำเทคนิคการเล่านิทานให้เด็กฟังเพื่อช่วยลดพฤติกรรมก้าวร้าวได้ เช่นนิทานเรื่อง สามสหายกับเจ้าของฟาร์ม

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน