ต้นพญาสัตบรรณหรือตีนเป็ด มีประโยชน์แต่แฝงยาพิษ

แชร์ให้เพื่อน

ต้นพญาสัตบรรณหรือตีนเป็ด มีประโยชน์แต่แฝงยาพิษ

ต้นพญาสัตบรรณ(White Cheesewood) หรือตีนเป็ด เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงถึง 40 เมตร มียางสีขาว ดอกเป็นกระจุกช่อใหญ่สีขาว กลิ่นแรงอาจทำให้เวียนศีรษะ​ได้ ผลเป็นฝักยาวคล้ายถั่ว นิยมปลูกเพื่อประดับตกแต่งสถานที่​ตามความเชื่อไทยโบราณ​ว่า บ้านใดปลูก​ต้นพญาสัตบรรณไว้ประจำบ้านจะทำให้มีเกียรติ​ได้รับการยกย่อง​และนับถือจากบุคคลทั่วไป และยังนำมาสกัดเพื่อใช้ในการบำบัดและรักษาโรคเบื้องต้น

ต้นพญาสัตบรรณ​หรือตีนเป็ด​มี 2 พันธ์ุ

  • ต้นตีนเป็ดเล็ก มักขึ้นตามชายน้ำลำธาร ป่าดิบชื้น
  • ต้นตีนเป็ดพรุหรือต้นเป็ดน้ำ ลำต้นทรงร่่มแตกกิ่งต่ำ ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาว

สรรพคุณของพญาสัตบรรณหรือต้นตีนเป็ด

พบสารเคมีต่างๆเช่น สารอัลคาลอยด์ ( Alkaloids) ควิโนลีน(Quinoline)​ สเตอรอยด์ (Steroid) แทนนิน (Tannin) ฟีนอล (Phenol) เทอร์พีนอยด์ (Tepeniod)​และซาโปนิน(Saponin)​ ซึ่งสารเคมีดังกล่าวนำมาใช้ในการรักษาโรคต่างๆ มากมาย

  • ต้มเปลือกดื่มช่วยรักษา อาการไอ ลดไข้ ลดอาการหวัด มาลาเรีย
  • แก้ท้องเสีย รักษาโรคบิด
  • รักษาเบาหวาน หลอดลมอักเสบ ขับระดู
  • ขับพยาธิ เป็นยาระบาย และช่วยขับน้ำนม
  • บดเปลือก ช่วยรักษาแผล แผลติดเชื้อ เป็นหนอง หากนำยางมาทาช่วยรักษาแผลเน่าเปื่อย
  • ต้มเปลือกใช้อาบ ช่วยป้องกันโรคเชื้อราทางผิวหนัง
  • นำมาทำเป็นยาระงับปวด ยาชา ช่วยรักษาอาการปวดฟัน ปวดหูได้
  • ช่วยรักษาแผลในกระเพาะและลำไส้
  • ใช้เป็นยาลดความดัน
  • ใช้เป็นยาควบคุมการเต้นของหัวใจ
  • ใช้เป็นยาต้านมะเร็ง

อันตรายจากต้นพญาสัตบรรณ​ที่ต้องระวัง

  • ดอกมีกลิ่นฉุนช่วงหน้าหนาว ทำให้มีอาการปวดศีรษะ​ เวียนหัว​ คลื่นไส้​ อาเจียนกับกลุ่มที่แพ้
  • หากน้ำยางเข้าตาเกิดอาการระคายเคือง อาจทำให้ตาบอดได้
  • ส่วนเนื้อในเมล็ดของต้นตีนเป็ดน้ำมีสารพิษ ได้แก่ เทเวทินบี (Thevetin B)​เทโวบิโอไซด์ (Thevobioside)​ ทำให้ระคายเคืองเยื่อบุช่องปากและกระเพาะอาหาร เกิดท้องเสีย ปวดศีรษะ​อาเจียน ปวดท้อง หากล้างท้องไม่ทันทำให้เกิดภาวะหัวใจวายและเสียชีวิตได้

ต้นพญาสัตบรรณ​หรือตีนเป็ดที่นิยมปลูกเพื่อตกแต่งประดับบ้านเพื่อร่มรื่นและสวยงามแล้วยังมีโทษที่ต้องระมัดระวังจากยางสีขาวและเนื้อข้างในเมล็ดดังกล่าวข้างต้น

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน