โรคปอดอักเสบ(Pneumonia)

แชร์ให้เพื่อน

โรคปอดอักเสบ(Pneumonia)

ความเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นสิ่งที่มนุษย์​ไม่ปรารถนา​แต่การดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอจะช่วยให้ปลอดภัย​จากโรคได้ เรามาทำความรู้จัก​โรคปอดอักเสบ(Pneumonia)​กันคะ

โรคปอดอักเสบหรือปอดบวม(Pneumonia)​เป็นโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง อาจเกิดจากเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย​หรือเชื้อรา โดยส่วนใหญ่แล้วพบการติดเชื้อแบคทีเรีย​และไวรัส มักเกิดต่อเนื่องจากโรคไข้หวัดใหญ่ และมีระดับความรุนแรง​ที่แตกต่างกันในแต่ละคน
โรคปอดอักเสบ​โดยทั่วไปมักเกิดขึ้นได้บ่อยในกลุ่มผู้ที่สุขภาพ​ร่างกาย​อ่อนแอ​หรือมีโรคประจำตัว​  โรคเรื้อรัง เช่น ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรค​เอดส์​ เป็นต้น

อาการของโรคปอดอักเสบ​(Pneumonia)​ที่พบได้บ่อยๆเช่น

  • ไข้สูง (อาจมีอาการไข้สูงตลอดเวลา)​หนาวสั่นไอแห้งหรือ มีเสมหะสีขาวต่อมาเป็นสีเขียว(ติดเชื้อแบคทีเรีย)​ บางรายอาจไอมีเสมหะปนเลือดได้ ปวดร้าวไปทีสีข้างหรือหัวไหล่ ในเด็กเล็กอาจมีอาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องเดิน ร้องงอแงตลอดเวลา
  • หายใจหอบเหนื่อย
  • เจ็บหรือแน่นหน้าอก
  • คลื่นไส้​ อาเจียน หรืออ่อนเพลีย หน้ามืด ตาลาย รับประทานอาหาร​ได้น้อย
  • บางรายมีอาการซึมลง สับสน พูดคุยไม่รู้เรื่อง

โรคแทรกซ้อน​ที่พบได้บ่อยในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง​ได้แก่

การได้รับการตรวจรักษาและวินิจฉัย​ที่ถูกต้องและรวดเร็ว​จะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนของโรคปอดอักเสบ​ลงได้ การเกิดภาวะแทรกซ้อน​อาจทำให้อันตราย​ถึงชีวิตได้

  • ภาวะปอดบวมน้ำหรือมีเลือดคั่งในปอด
  • เยื่อหุ้มปอดอักเสบ​
  • มีหนองในโพรงของเยื่อหุ้มปอด
  • หูชั้นกลางอักเสบ​หรือไซนัส​อีกเสบ
  • ช็อคจากการติดเชื้อ

การรักษาโรคปอดอักเสบ(Pneumonia)​
หากพบว่ามีอาการดังกล่าวข้างต้นควรรีบเข้ารับการตรวจรักษา​จากสถานพยาบาลเพื่อรับการตรวจวินิจฉัย​โดยการตรวจเสมหะ​และฉายภาพ X-Ray ปอด

  • การรับประทานยาปฏิชีวนะ​ตามแพทย์สั่งติดต่อกันจนหมดกรณีที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย​
  • ดูแลตนเองรับประทานอาหาร ดื่มน้ำให้เพียงพอ
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • กรณีผู้ป่วยเด็ก ผู้สูงอายุ ควรได้รับการรักษาอย่างใกล้ชิดในสถานพยาบาล
  • ควรงดสูบบุหรี่หรือกินเหล้า

การป้องกันโรคปอดอักเสบ(Pneumonia)​
ในปัจจุบันมีวัคซีน​ที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน​หลังการฉีด 2-3 สัปดาห์​ โดยวัคซีน​จะช่วยป้องกันและลดความรุนแรงของโรคลงได้ ผู้ที่รับวัคซีน​มีอาการข้างเคียงที่พบบ่อยได้แก่

  • ปวด บวม แดงบริเวณ​ที่ฉีด
  • มีไข้ ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ แนะนำให้ดื่มน้ำให้เพียงพอหลังการรับวัคซีน​
  • ควรฉีดวัคซีน​ในผู้ที่มีอายุ​มากกว่า​65ปี
  • ควรฉีดวัคซีน​ในผู้ที่​มีอายุ​2-65ปี
  • ควรฉีดวัคซีนในกลุ่มผู้ที่สูบบุหรี่หรือเป็นโรคหอบหืด

การดูแลตนเองเพื่อให้ปลอดภัยจากโรคติดเชื้อทางเดินหายใจต่างๆ

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัส​หรืออยู่ใกล้ชิดผู้ที่มีอาการไข้หวัด ไอ จาม
  • ดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล ล้างมือให้สะอาด
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์​และเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ​
  • นอนหลับ​พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงปัจจัย​ด้านความเครียดต่างๆ

การดูแล​สุขภาพ​ร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอแล​ะสุขภาพ​จิตที่ดีช่วยลดความเจ็บไข้ได้ป่วยลงได้

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน