โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน (Ischemic​ Stroke)​  ระวัง ภัยเงียบใกล้ตัว  (ตอนที่ 1)

แชร์ให้เพื่อน

โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน (Ischemic​ Stroke)​  ระวัง ภัยเงียบใกล้ตัว  (ตอนที่ 1)

โรคหลอดเลือดสมองมีอัตราการเสียชีวิตรองลงมาจากมะเร็งและโรคหัวใจส่งผลให้เกิดความพิการและเสียชีวิตตามมา ความชุกของโรคพบในประเทศ​กำลังพัฒนา  สำหรับในประเทศไทยพบโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มอายุ 15-74ปีและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเป็นจำนวนมากจากอาการอัมพาต​อัมพฤกษ์​

กลุ่มของโรคหลอดเลือดสมองทำให้​เซลล์​สมองขาดเลือดและออกซิเจน​ไปเลี้ยงเกิดจากผนังของหลอดเลือด​สมองมีไขมันสะสมหนาขึ้น การไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงสมองเกิดความบกพร่อง ผิดปกติส่งผลให้เซลล์​สมองเกิดความเสียหายหรือมีเลือดออกในเนื้อสมอง อาจมีพยาธิ​สภาพที่หลอดเลือดเส้นเดียวหรือหลายเส้น อาจเป็นเพียงชั่วคราวหรือถาวรก็ได้  แต่ยังมีผู้ป่วยบางกลุ่ม มีอาการผิดปกติทางระบบประสาท​จากสมองขาดเลือดและมีอาการกลับสู่ปกติภายใน24ชั่วโมงเรียกว่า Transient Ischemic Attack

โรคหลอดเลือด​สมองแบ่งออกได้ 2 ประเภทคือ
1.โรคหลอดเลือด​สมองจากการขาดเลือดหรือจากหลอดเลือด​สมองอุดตัน(Ischemic​ stroke or Occlusion Stroke)  เป็นสาเหตุที่พบบ่อยมากที่สุดร้อยละ 70-80 ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด ซึ่งสาเหตุเกิดจากภาวะหลอดเลือด​แข็งตัว​ ตำแหน่งที่เกิดการอุดตันได้ง่ายคือ ตำแหน่งที่เป็นทางแยก​ของเส้นเลือด
2.โรค​หลอดเลือด​สมองที่เกิดจากเส้นเลือดในสมองแตก มักพบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

การอุดตัน​ของหลอดเลือด​สมองเกิดขึ้นได้อย่างไร?
1.Thrombosis เป็นการอุดตันของระบบไหลเวียนเลือด อาจเกิดที่เส้นเลือดใหญ่ที่คอ หรือที่ศีรษะ​หรือเกิดการอุดตันของเส้นเลือดเล็กในสมอง ซึ่งเกิดได้หลายสาเหตุเช่น ภาวะหลอดเลือดแข็งตัว ผนังหลอดเลือด​ฉีกขาด หลอดเลือด​อักเสบจากการติดเชื้อ ส่งผลให้เลือดไหลผ่านได้น้อยหรือผ่านไม่ได้
2.Embolism การเกิดลิ่มเลือด​ หรือก้อนเลือดในบริเวณ​อื่นมาอุดตันที่เส้นเลือด​สมอง ลิ่มเลือดมีส่วนประกอบของเกล็ดเลือด​ หรือส่วนประกอบอื่น ตำแหน่งที่พบลิ่มเลือดบ่อยคือหัวใจ สาเหตุเกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือ การอักเสบ​ติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ​ เศษชิ้นส่วนของแคลเซียม​ที่เกาะในลิ้นหัวใจ หลุดเข้าสู่กระแสเลือด​ไปอุดตันที่หลอดเลือด​สมอง
3.ลิ่มเลือดที่เกิดจากเส้นเลือด​แดง​ตำแหน่ง​อื่นหรือเส้นเลือดดำ เช่น ชิ้นส่วนจากมะเร็ง ฟองอากาศ​ ไขมัน เข้าไปอุดตันในเส้นเลือดสมองเกิดภาวะสมองขาดเลือดในช่วงแรกพอชิ้นส่วนอุดตันเคลื่อนที่ออกไปทำให้เกิดแรงดันเลือดสูงขึ้นทำให้เกิดเลือดออกในเนื้อสมองตามมาได้

อาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมองมีอะไรบ้าง?
อาการมักเกิดขึ้นทันทีทันใด​หรือภาวะ​เฉียบพลัน​ สมาคมโรคหัวใจและ​หลอดเลือด​ของสหรัฐ​อเมริกา​จำแนก 5 อาการเตือนไว้ดังนี้
1.อาการชาและกล้ามเนื้ออ่อนแรงของหน้า แขนหรือขา โดยเฉพาะ​กับร่างกาย​ซีกใดซีกหนึ่งทันที​ทันใด​
2.อาการสับสนหรือพูดลำบาก​หรือพูดไม่รู้เรื่องอย่างทันทีทันใด​
3.อาการตามัวมองไม่ชัดข้างหนึ่งหรือสองข้างทันทีทันใด​
4.อาการเดินเซ หรือเดินลำบาก สูญเสีย​การทรงตัว ทันทีทันใด​
5.อาการปวดศีรษะ​อย่างรุนแรง​โดยไม่ทราบ​สาเหตุอย่างทันทีทันใด​

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองมีอะไรบ้าง?
1.ความดันโลหิต​สูง เป็นปัจจัย​เสี่ยงที่ทำให้เกิดเส้นเลือดในสมองแตกและเนื้อสมองตาย
2.การสูบบุหรี่​เป็นปัจจัย​สำคัญ​ของโรคหลอดเลือดสมองเพราะมีผลต่อ​การเกาะกลุ่มของเกร็ด​เลือด​ เพิ่มระดับคอเลสเตอรอล​รอล สารนิโคติน​ในบุหรี่​ทำให้หลอดเลือด​แดงเกร็ง ลดความยืดหยุ่น​ของเส้นเลือด เพิ่มระดับไฟบริโนเจน ลดระดับไขมันดีของร่างกาย หัวใจทำงานมากขึ้น ความดันสูงขึ้น รวมถึงปริมาณคาร์บอนมอนอกไซด์​ที่เพิ่มขึ้นทำให้หลอดเลือด​สมองตีบง่ายขึ้น
3.โรคหัวใจ เมื่อเกิดลิ่มเลือดที่หัวใจมักเคลื่อนไปอุดตันที่เส้นเลือด​สมองได้ง่ายขึ้น
4.โรคเบาหวาน มีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือด​สมองเป็นสองเท่า
5.ระดับคอเลสเตอรอล​ในเลือด​สูง​หรือภาวะไขมันในเลือดสูง
6.เส้นเลือดแดงที่คอตีบตันโดยไม่มีอาการ
7.ผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดแดงแข็งมีปัจจัย​เสี่ยงมากกว่าคนปกติ
8.ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
9.มีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดสมองมาก่อน
10.ความอ้วนหรือภาวะน้ำหนักเกิน
11.ภาวะความเครียด
12.ขาดการออกกำลังกาย​ การออกกำลังกายช่วยลดภาวะอ้วนและความเครียด เพิ่มระดับไขมันดีและลดระดับไขมันเลวในร่างกาย
13.เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์​เป็นส่วนผสม การดื่มสุรามากกว่า5แก้วต่อวันเพิ่มปัจจัย​เสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมองเนื่องจากความดันสูง เกร็ดเลือดเกาะกลุ่มทำให้เลือดแข็งตัวเร็วขึ้น
14.อายุ อายุมากขึ้นเมื่อเกิน 55 ปีจะมีปัจจัย​เสี่ยงเป็นสองเท่า
15.เพศ พบว่าโรคหลอดเลือดสมองพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
16.เชื้อชาติเผ่าพันธุ์​พบว่ากลุ่มคนผิวดำมีปัจจัย​เสี่ยงสูงกว่ากลุ่มคนผิวขาว
17.ประวัติในครอบครัวสายตรงเช่นครอบครัวที่พ่อแม่ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองทำให้ลูกมีปัจจัยเสี่ยงสูงกว่า

ติดตามอ่านบทความต่อในตอนที่2. คะ

โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน ตอนที่ 2

 

แชร์ให้เพื่อน