โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) สาเหตุหลักจากบุหรี่
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง(COPD) หมายถึง กลุ่มโรคที่จำกัดการไหลของ อากาศจากปัญหาการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนล่างอันเป็นผลจากการสัมผัสอนุภาคเล็กๆหรือก๊าซพิษทำให้เกิดการระคายเคืองและอักเสบของทางเดินหายใจและปอด การอุดกั้นสามารถกลับสู่สภาพเดิมได้บางส่วน โรคจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ การเกิดแบบเฉียบพลันและมีโรคร่วมจะทำให้โรคมีความรุนแรงขึ้นได้ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังนั้นเป็นสองโรคในเวลาเดียวกันคือ โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง(Chronic bronchitis) และโรคถุงลมโป่งพอง(Emphyma)
โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง(Chronic bronchitis) คือโรคที่หลอดลมหลั่งเยื่อเมือกเสมหะออกมามากกว่าปกติ ทำให้ทางเดินหายใจอุดตัน ผู้ป่วยมีอาการไอเรื้อรัง ไอมีเสมหะเป็นๆหายๆ โดยเกิดขึ้นเป็นเวลาอย่างน้อยปีละ3เดือนและต่อเนื่องในเวลา2ปีโดยไม่มีสาเหตุอื่น
โรคถุงลมโป่งพอง(Emphyma)คือโรคที่มีการโป่งพองของถุงลมปอด มีการทำลายผนังถุงลมทำให้เสียความยืดหยุ่นของถุงลม การแลกเปลี่ยนก๊าซได้น้อยลง ทำให้เกิดการหายใจเหนื่อย
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง(COPD)
1.การสูบบุหรี่ ( Smoking)
เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของการเกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง(COPD) โดยผู้ที่สูบบุหรี่ไม่ต่ำกว่า 20 ปีมีโอกาสเกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังร้อยละ 20-40
2.การอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีมลภาวะทางอากาศที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงโดยการสูดอนุภาคเล็กๆที่เป็นพิษเช่น ถ่านฟืน มูลสัตว์ที่ใช้ประกอบอาหารและการระบายอากาศไม่ดี หรือการสูดมลภาวะทางอากาศจากการเผาไหม้ของน้ำมันเครื่องยนต์ สารเคมีบางชนิดที่เป็นพิษเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้เกิดการระคายเคืองและปอดทำงานได้ลดลง
3.การเจริญเติบโตและพัฒนาการของปอด สาเหตุจากการพัฒนาของปอดของวัยเด็กขณะอยู่ในครรภ์ ขณะคลอด แรกคลอดน้ำหนักน้อย ทำให้การเจริญเติบโตของปอดไม่สมบูณ์เต็มที่ ส่งผลให้เกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง(COPD)ในวัยผู้ใหญ่ตามมา
4.การติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ(Respiratory tract infection) การติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียในวัยเด็กที่รุนแรงทำให้ปอดเสียหน้าที่ไปส่งผลให้เกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง(COPD)ในวัยผู้ใหญ่
5.หลอดลมไวต่อสิ่งกระตุ้นมากกว่าปกติ ต่อการสัมผัสกับมลภาวะต่างๆเช่น ควันบุหรี่ ฝุ่นละออง หรือสารเคมีต่างๆ ทำให้หลอดลมเกิดการอักเสบเป็นโรคหอบหืดและพัฒนาไปเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง(COPD)
6.พันธุกรรม(Genes) โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง(COPD)เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมส่วนใหญ่พบมากในชาวยุโรป
7.ปัจจัยที่เกี่ยวข้องอื่นเช่น
- อายุมากขึ้นเสี่ยงต่อการเกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังสูงขึ้น
- เพศเกิดขึ้นได้ทั้งเพศชายและหญิงเท่าๆกัน
- ความยากจน ภาวะขาดแคลนอาหาร การอยู่ในชุมชนแออัดเสี่ยงต่อการเกิดโรคปอดอุดกั้นรื้อรังได้สูงขึ้น
อาการของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)
- ไอเรื้อรัง มีเสมหะสีขาวมักเป็นในตอนเช้า
- หายใจเหนื่อยหอบง่าย เสียงวี๊ด(Wheezing)
- หายใจเหนื่อยแม้ขณะพักและใช้กล้ามเนื้อคอ ไหล่ และหน้าท้อง ร่วมในการหายใจ
- เกิดภาวะหัวใจซีกขวาล้มเหลวจากโรคปอด
- มีอาการเขียว ริมฝีปาก ใบหน้า ซีดภาวะการขาดออกซิเจนส่วนกลาง(Central cyanosis)
- มีนิ้วปุ้ม หรือบางรายมีท้องมาน รูปร่างผอม ทรวงอกคล้ายถังเบียร์
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยอย่างไรบ้าง?
- การทำกิจวัตรประจำวันได้น้อยลงเนื่องจากอาการหอบเหนื่อยง่าย
- นอนหลับพักผ่อนในเวลากลางคืนได้น้อยลง ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย
- เกิดภาวะสิ้นหวัง และซึมเศร้า
- เกิดความเสื่อมถอยด้วยสติปัญญาและความคิด
- ขาดรายได้เนื่องจากต้องนอนโรงพยาบาลนานขึ้น
การรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง(COPD) ด้วยตนเองที่บ้านตามความรุนแรงของโรคน้อย
- เพิ่มความถี่และขนาดของยาขยายหลอดลม
- รับประทานยาลดการอักเสบตามคำสั่งแพทย์
- รับประทานยาฆ่าเชื้อทางเดินหายใจติดต่อกันจนหมด
- ติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง
การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)
- งดสูบบุหรี ช่วยลดความเสี่ยงและชะลอไม่ให้โรคเกิดความรุนแรงมากขึ้น และพยายามเลิกการสูบบุหรี่
- รับประทานยาละลายเสมหะหรือจิบน้ำอุ่นบ่อยๆเพื่อช่วยขับเสมหะได้ง่ายขึ้น
- รับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ปีละ 1 ครั้ง เพื่อช่วยลดความรุนแรงของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง(COPD)
- ออกกำลังกายเบาๆเพื่อช่วยให้ปอดขยายตัวได้ดีขึ้น
- หลีกเลี่ยงสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นให้เกิดโรคที่รุนแรงขึ้นเช่น ควันไฟ ควันธูป
- เข้าร่วมโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดอย่างต่อเนื่อง
- ฝึกกล้ามเนื้อในการหายใจโดยการหายใจแบบเป่าปากและการหายใจด้วยกระบังลม
- แนะนำให้รับประทานอาหารโปรตีน วิตามินดีสูงและลดอาหารกลุ่มแป้ง น้ำตาล
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง(COPD)เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในสิบอันดับแรกของโลก ปัจจัยเสี่ยงมาจากการสูบบุหรี่หรือการได้รับควันบุหรี่เพราะฉะนั้นไม่ควรสูบบุหรี่เพราะการสูบบุหรี่เป็นอัตรายต่อสุขภาพของตนเองและคนรอบข้างและทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดอีกด้วย
ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com