โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน(Ischemic Stroke)​

แชร์ให้เพื่อน

โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน(Ischemic Stroke)​ระวังภัยเงียบใกล้ตัว(ตอนจบ)

การตรวจวินิจฉัย​โรคหลอดเลือดสมองมีความเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง?
1.การตรวจเพื่อประกอบการวินิจฉัยและการรักษาโรค​จากอาการเบื้องต้นที่เกิดขึ้นและโดยวิธีการซักประวัติที่เกี่ยวข้องกับโรคหลอดเลือดสมองต่างๆ เช่น เกิดขึ้นเวลาเท่าไหร่  ขณะนั้นผู้ป่วยกำลังทำอะไรอยู่ ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน​และการรับประทานยารักษาโรคในปัจจุบัน เป็นต้น โดยผู้ป่วยหรือญาติต้องให้ข้อมูลที่้เป็นจริงเพื่อประโยชน์ในการวินิจฉัยโรค​และการรักษา โดยผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยอาจได้จากผู้ป่วยหรือต้องเป็นบุคคลที่ใกล้ชิด​กับผู้ป่วยมากที่สุด
2.การวินิจฉัยโรค​โดยดูจากภาพสมอง การทำเอ็กซเรย์​คอมพิวเตอร์​สมอง การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า โดยผู้ป่วยหรือญาติต้องให้ประวัติการแพ้ยาหรืออาหารแก่ผู้ตรวจวินิจฉัยโรคเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยเอง

ยาอะไรบ้าง? ที่ผู้ป่วยหรือญาติควรทราบในการรักษาโรคหลอดเลือดสมองเพื่อสามารถเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนของยาได้
1.ยาละลายลิ่มเลือด​ เป็นยาที่ใช้ในโรงพยาบาลเป็นส่วนใหญ่ โดยผู้ป่วยหรือญาติต้องให้ข้อมูลแก่โรงพยาบาลด้านประวัติการใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดเนื่องจากเป็นข้อห้ามในการใช้ยาเพื่อการรักษาในกลุ่มนี้ และระยะเวลาที่เกิดอาการอย่างชัดเจนเพราะยากลุ่มนี้ให้ได้ผลดีภายใน 3-4.5ชั่วโมง จะเห็นได้ว่าเมื่อเกิดอาการเตือนต้องรีบนำส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุดเพื่อประโยชน์ในการรักษาและฟื้นกลับสู่ใกล้เคียงสภาพเดิมให้มากที่สุด
2.ยาต้านเกล็ดเลือด​ ยาที่ใช้ในการรักษากลุ่มนี้มีอาการข้างเคียงที่สำคัญคือ คลื่นไส้​  อาเจียน ระคายเคือง และเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ส่งผลให้เกิดภาวะเลือดออกทางเดินอาหารได้โดยแนะนำให้ผู้ป่วยสังเกตุ​อาการถ่ายดำ หรืออาการปวดท้อง
3.ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด เป็นการให้ยาเพื่อวัตถุประสงค์​ป้องกันไม่ให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดสมองมากขึ้น

การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองนั้นแบ่งออกได้เป็น 2 ระดับคือ
1.ระดับปฐม​ภูมิ เน้นการส่งเสริมให้มีภาวะสุขภาพร่างกายที่ดี และการให้ความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมอง โดยเน้นให้ความรู้เรื่อง 5 อาการเตือนที่สำคัญเพื่อให้ผู้ป่วยตระหนักและรีบเข้ารับการรักษา วิธีการลดปัจจัยเสี่ยง​ของโรคหลอดเลือดสมอง การจัดการแก้ปัญหาเบื้องต้นกับ 5 อาการเตือน เป็นต้น
2.ระดับทุติยภูมิ​ การตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อคัดกรองโรคอื่นๆที่เกี่ยวข้องและสามารถ​วาวแผนเพื่อป้องกันโรคเช่น ความดันโลหิต​สูง เบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด​ หลอดเลือดแดง​ใหญ่​ที่คอตีบ ไขมันในเลือดสูง การหยุดสูบบุหรี​ การควบ​คุม​ความดันโลหิต​ การออกกำลังกายสม่ำเสมอ การควบคุมไขมันและระดับน้ำตาลในเลือดโดยเกี่ยวข้องกับอาหารการกิน

การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองนั้น ต้องเริ่มต้นดูแลตั้งแต่ยังไม่เกิดความเจ็บป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เช่น การตรวจคัดกรองโรคต่างๆ เพื่อเป็นการลดปัจจัยเสี่ยงที่สามารถปรับเปลี่ยนได้เช่น การสูบบุหรี่ การดื่ม​แอลกอฮอล์​  การลดน้ำหนักของร่างกายให้ได้มาตรฐาน การลดปััจจัยด้านความเครียด การออกกำลังกาย​อย่าง​สม่ำเสมอ​ เป็นต้น ระยะที่มีอาการหากผู้ป่วยได้รับการรักษาที่เหมาะสมและทันท่วงที ทำให้มีเลือดกลับมาเลี้ยงสมองที่ขาดเลือดไปเลี้ยงก็อาจช่วยให้สมองฟื้นขึ้นและกลับมาทำงานได้ปกติเพื่อช่วยลดภาวะแทรกซ้อนและลดอัตราการเกิดความพิการและเสียชีวิตลงได้

โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน(Ischemic Stroke) ตอนที่ 1

แชร์ให้เพื่อน