6 โรคเรื้อรัง   โรคร้ายใกล้ตัว

แชร์ให้เพื่อน

6 โรคเรื้อรัง โรคร้ายใกล้ตัว

การใช้ชีวิต​ในปัจจุบันนี้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค​เรื้อรัง​ต่างๆ ทำให้เกิดความเครียด​และส่งผลกระทบต่อร่างกาย​  จิตใจ​  อารมณ์​และสังคม
โรคเรื้อรัง หมายถึงภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังที่มีองค์ประกอบ​ดังต่อไปนี้คือ

  • เป็นความเจ็บป่วยอย่างถาวร
  • การดำเนินของโรคไม่แน่นอน
  • ภาวะความเจ็บป่วยไม่หายขาด แต่อาการทุเลาลงได้ โดยไม่ปรากฏ​อาการ
  • เกิดความพิการหลงเหลืออยู่
  • ต้องการการดูแลรักษา​และฟื้นฟู​สภาพ​อย่างต่อเนื่อง​เป็นระยะเวลายาวนานหรือตลอดชีวิต
  • ต้องมีการดูแลเอาใจใส่ติดตามการรักษาและให้การช่วยเหลือเป็นเวลานาน

6 โรคเรื้อรังมีโรคอะไรบ้าง? เรามาดูกันเลยคะ

 


1.โรคเบาหวาน เป็นกลุ่มอาการที่ตรวจพบระดับน้ำตาลในเลือด​สูงเนื่องจากขาดอินซูลิน อันเป็นผลจากตับอ่อนผลิตบกพร่องหรืออินซูลิน​ออกฤทธิ์​ที่ขาดประสิทธิภาพ​
สาเหตุ​ของโรคเบาหวาน​

  • โรคเบาหวาน​ชนิดพึ่งอินซูลิน​เกิดจากพันธุกรรม​
  • โรคเบาหวาน​ชนิดไม่พึ่งอินซูลิน​เกิดจากโรคอ้วน  โรคตับ ความเครียด ความผิดปกติ​ในการผลิตฮอร์โมน​ การขาดเบต้าเซลล์​  ยาบางชนิด และขาดการออกกำลังกาย​

อาการของโรคเบาหวานมีอะไรบ้าง?

  • ปัสสาวะ​บ่อยและมีปริมาณมาก​
  • คอแห้ง​ กระหาย น้ำ​ดื่มน้ำมาก
  • น้ำหนักลด กินเก่ง อ่อนเพลีย​ เหนื่อยง่ายและไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ

การ​รักษา​โรคเบาหวาน​

  • การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้กลับสู่ภาวะปกติ หรือใกล้เคียง​ปกติโดยระดับน้ำตาลก่อนอาหารเช้าไม่เกิน 140 มิลลิกรัม​เปอร์เซ็นต์​ ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอาหาร​เช้า 2 ชั่วโมง​ไม่เกิน 180 มิลลิกรัม​เปอร์เซ็นต์​ และ​ระดับ​น้ำตาลในเลือด​หลังอาหารกลางวัน​ 2 ชั่วโมง​ไม่เกิน 200 มิลลิกรัม​เปอร์เซ็นต์​ ไม่พบน้ำตาลและสารอะซีโตนในปัสสาวะ​ก่อนอาหารเช้าและเย็น  มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์​ปกติ

2. โรค​ความดัน​โลหิต​สูง​ เป็นภาวะความดันโลหิต​ช่วงบนมีค่าสูงกว่า 140 มิลลิเมตร​ปรอท​ขึ้นไป และค่าความดัน​โลหิต​ช่วงล่างมีค่าสูงกว่า 90 มิลลิเมตร​ปรอทขึ้นไป
สาเหตุ​ของโรค​ความดัน​โลหิต​สูง​

  • ภาวะความดันโลหิต​สูงที่ไม่ทราบสาเหตุ​ พบได้ร้อยละ 90 มีความเกี่ยวข้องกับความอ้วน อาหารที่มีโซเดียม​  ไขมัน  คอเลสเตอรอล​สูง การดื่มเครื่องดื่ม​แอลกอฮอล์​ ความเครียด  และกรรมพันธุ์​
  • ความดัน​โลหิต​สูงชนิดทราบสาเหตุ​ พบได้ร้อยละ 10 เกิดจากความผิดปกติของอวัยวะ​ต่างๆ​ของร่างกาย เช่น ไต ต่อมไร้ท่อ โรคครรภ์​เป็นพิษ​ ยาคุมกำเนิดหรือยาสเตียรอยด์​
    อาการของโรคความดันโลหิตสูง​
  • ความดันโลหิตสูงระดับเล็กน้อย (ช่วงบน 140-149 มิลลิเมตร​ปรอทช่วงล่าง 90-99 มิลลิเมตร​ปรอท)​ จะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง​ของอวัยวะ​ใดๆ
  • ความดันโลหิต​สูง​ระดับปานกลาง​ (ช่วงบน 160-179 มิลลิเมตร​ปรอท ช่วงล่าง 100-109 มิลลิเมตร​ปรอท)​จะตรวจพบหัวใจซีกซ้ายโตขึ้น ไตทำหน้าที่เสียไปในระดับปานกลาง​
  • ความดันโลหิต​สูงระดับรุนแรง(ช่วงบนสูงกว่า 180 มิลลิเมตร​ปรอทขึ้นไป ช่วงล่าง​ตั้งแต่ 110 มิลลิเมตร​ปรอทขึ้นไป)​มีการทำลายของหัวใจ สมอง ไต และหลอดเลือดหลังลูกตา​
    การรักษาโรคความดันโลหิตสูง​

มีเป้าหมายในการลดความดันโลหิต​สูงในการรักษาคือ

  • เพื่อให้ระดับความดันสูงในช่วงปกติและต่อเนื่อง
  • ลดการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ผู้ป่วยใช้ชีวิตได้ตามปกติทั่วไป

การรักษาโรคความดันโลหิต​สูงมีหลายวิธีดังนี้
1.การควบคุมความดันให้ปกติโดยไม่ใช้ยา สามารถ​ทำได้โดย

  • การออกกำลังกายวันละ 30 นาที สัปดาห์​ละ 3-5 ครั้ง
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม​การกินอาหาร เลี่ยงอาหารไขมันจากสัตว์  ลดกินแป้ง น้ำตาล เพิ่มผักใบเขียว และจำกัดอาหารรสเค็ม
  • งดเครื่องดื่ม​แอลกอฮอล์​  บุหรี่  ผ่อนคลายอารมณ์​เครียด
  • การ​ควบคุม​น้ำหนักให้ปกติ
  • ติดตามตรวจรักษาอย่างต่อเนื่อง

2.การ​ควบคุม​ความดันโลหิต​สูงโดยการใช้ยา โดยแพทย์​แผนปัจจุบัน​เป็นผู้สั่งยาให้รับประทาน


3.โรคหัวใจ  เป็นกลุ่มโรคหลอดเลือดหัวใจจำแนกได้ดังนี้คือ

  • กลุ่มอาการที่เจ็บหน้าอก​คงที่และเรื้อรัง​
  • กลุ่มอาการโรคหลอดเลือดโคโรนารีเฉียบพลัน
  • กลุ่มอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

สาเหตุ​ของโรคหัวใจ
พบร้อยละ 90 เกิดจากภาวะการแข็งตัวของหลอดเลือดโคโรนารี โดยมีไขมันเกาะผนังหลอดเลือดและสร้างเนื้อเยื่อมาหุ้ม ฉีกขาดได้  เลือดเกิดการแข็งตัวเป็นลิ่มเลือด เข้าไปอุดตันภายในหลอดเลือด เมื่อเกิดการตีบแคบทำให้เลือดผ่านไปเลี้ยงหัวใจได้น้อยลงเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและกล้ามเนื้อหัวใจตายในที่สุด

อาการของโรคหัวใจ​

  • กลุ่มอาการที่เจ็บหน้าอก​คงที่และเรื้อรัง มีอาการเจ็บกลางอก ร้าวไปแขนด้านใน คอ กรามและหัวไหล่
  • กลุ่มอาการโรคหลอดเลือด​โคโรนารีเฉียบพลัน​ มีอาการเจ็บหน้าอก​ขณะพัก   ร่วมกับอาการเหงื่อแตก หน้ามืดเป็นลม ใจสั่น คลื่นไส้​อาเจียน และหายใจหอบเหนื่อย
  • กลุ่มอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด มีอาการเหนื่อย นอนราบไม่ได้ เจ็บแน่นหน้าอก เป็นลม หมดสติ

การรักษาโรคหัวใจ 
มีเป้าหมายเพื่อลดความรุนแรงของโรคและป้องกันภาวะแทรกซ้อน​ได้แก่

  • การรักษาโดยการใช้ยา กลุ่มรักษาอาการเจ็บหน้าอก  ยาต้านการจับกลุ่มของเกล็ดเลือด​ ยาละลายลิ่มเลือด ยาควบคุมระดับไขมันในเลือด
  • การเปิดขยายหลอดเลือดแดงด้วยบอลลูน​ การใส่โครงตาข่าย  การตัดเอาคราบไขมันออก การตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ การขยายหลอดเลือด​ด้วยแสงเลเซอร์​เป็นหัตถการในโรงพยาบาล
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม​และควบคุมปัจจัย​เสี่ยง เนื่องจากการใช้ยารักษาอย่างเดียวอาจไม่มีประสิทธิภาพ​เต็มที่ เพื่อช่วยยับยั้ง​และชะลอความก้าวหน้า ลดภาวะแทรกซ้อนและความรุนแรงของโรค การปรับเปลี่ยน​พฤติกรรม​การกินอาหาร การออกกำลังกาย​การผักผ่อนนอนหลับ  การผ่อนคลายความเครียด  การปฏิบัติ​ตัวให้สัมพันธ์​กับแนวทางการรักษา

6 โรคเรื้อรัง โรคร้ายใกล้ตัว อ่านต่อ ตอนที่ 2

แชร์ให้เพื่อน