6 โรคเรื้อรัง   โรคร้ายใกล้ตัว  (ตอนจบ)​

แชร์ให้เพื่อน

6 โรคเรื้อรัง   โรคร้ายใกล้ตัว  (ตอนจบ)​

การใช้ชีวิต​ในปัจจุบันนี้ มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค​เรื้อรัง​ต่างๆ ทำให้เกิดความเครียด​และส่งผลกระทบต่อร่างกาย​  จิตใจ​  อารมณ์​และสังคม
โรคเรื้อรัง หมายถึงภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังที่มีองค์ประกอบ​ดังต่อไปนี้คือ

  • เป็นความเจ็บป่วยอย่างถาวร
  • การดำเนินของโรคไม่แน่นอน
  • ภาวะความเจ็บป่วยไม่หายขาด แต่อาการทุเลาลงได้ โดยไม่ปรากฏ​อาการ
  • เกิดความพิการหลงเหลืออยู่
  • ต้องการการดูแลรักษา​และฟื้นฟู​สภาพ​อย่างต่อเนื่อง​เป็นระยะเวลายาวนานหรือตลอดชีวิต
  • ต้องมีการดูแลเอาใจใส่ติดตามการรักษาและให้การช่วยเหลือเป็นเวลานาน

6 โรคเรื้อรังมีโรคอะไรบ้าง? เรามาดูต่อกันเลยคะ

 


4.โรคมะเร็ง เป็นโรคที่เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งซึ่งเป็นสถานการณ์​ที่วิกฤติ​ของประเทศไทยโรคมะเร็งเกิดจากเซลล์​บริเวณ​ที่ผิดปกติมีการเจริญเติบโต​ที่ผิดปกติกลายเป็นเซลล์​มะเร็ง และแพร่กระจายลุกลามเนื้อเยื่อข้างเคียง รวมทั้งอวัยวะ​อื่นๆ โดยทางน้ำเหลือง​หรือหลอดเลือด

สาเหตุ​ของโรคมะเร็ง​ 

  • เกิดจากกรรมพันธุ์​
  • สารก่อ​มะเร็ง​เช่น เชื้อไวรัสฮิวแมนแปบปิโลมา หรือสารก่อมะเร็ง​อื่นๆ

อาการของโรคมะเร็ง

  • ในช่วงแรกมักไม่แสดงอาการใดๆ ฉะนั้นการคัดกรองโดยการตรวจสุขภาพ​ประจำปีสามารถตรวจพบความผิดปกติได้ตั้งแต่เริ่มแรก
  • การแสดง​อาการเมื่อเซลล์​มะเร็งมีการแพร่กระจายเช่น ตกขาวมีกลิ่นเหม็น  เลือดออกในช่องคลอดมากผิดปกติ ภาวะโลหิตจาง​อ่อนเพลีย เจ็บปวดอุ้งเชิงกราน​
  • ขาบวมเนื่องจากเซลล์​มะเร็ง​มีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบ
  • ปัสสาวะเป็นเลือด อุจจาระ​เป็นเลือด และภาวะไตวายตามมาได้

การ​รักษา​โรคมะเร็ง 
การรักษาโรคมะเร็งมีจุดประสงค์​เพื่อรักษา​โรคให้หายขาดกรณีที่มะเร็งอยู่ในระยะแรกและรักษาตามอาการเพื่อประคับประคองในกรณีที่มีการแพร่กระจาย​ไปอวัยวะ​อื่น การรักษาโดยทั่วไปมี4วิธีคือ
1.การผ่าตัด โดยการผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกมาแล้วหายไปได้
2.การฉายรังสี เพื่อยับยั้งและทำลายเซลล์​มะเร็ง
3.การให้ยาเคมีบำบัด
4.การใช้การรักษาหลายวิธีร่วมกัน เช่น ฉายรังสีหลังผ่าตัด  ให้ยาเคมีบำบัดก่อนผ่าตัด หรือการฉายรังสีร่วมกับยาเคมีบำบัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะการแพร่กระจาย​ของเซลล์​มะเร็ง​และผลการตอบสนองต่อการรักษา


5.โรคติดเชื้อเอชไอวี เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส​เอชไอวี​เกิดกลุ่มอาการภูมิคุ้มกัน​บกพร่อง จนร่างกายไม่สามารถทำหน้าที่ป้องกันการติดเชื้อ​โรคได้ ทำให้เกิดการติดเชื้อฉวยโอกาสและโรคแทรกซ้อน​อื่นๆตามมา
สาเหตุของโรคติดเชื้อเอชไอวี​  เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีมีอยู่ 2 ชนิดคือ
1.เชื้อเอชไอวี-​1(HIV-1) ซึ่งแพร่ระบาดทั่วโลก
2.เชื้อเอชไอวี-2(HIV-2)​ ซึ่งแพร่ระบาดส่วนใหญ่ในแถบตะวันตก​ของทวีปแอฟริกา​

อาการของโรคติดเชื้อ​เอชไอวี​ 

  • เมื่อร่างกายได้รับเชื้อและติดเชื้ิอมีอาการที่พบคือ มีไข้ คออักเสบ​ ปวดเมื่อย​ตามกล้ามเนื้อ​ อ่อนเพลีย  มีผื่นแดงไม่คันตามหน้า คอ และลำตัว ต่อมน้ำเหลือง​โต บางรายท้องเสีย ระยะนี้พบเม็ดเลืือดขาวลดลงเล็กน้อย เมื่อตรวจหาเชื้ออาจได้ผลลบ มักไม่แสดงอาการ ระยะเวลานับจากเริ่มติดเชื้อเอชไอวี​จนเกิดอาการ​ของโรคเอดส์​โดยเฉลี่ย 8-10ปี
  • ระยะอาการสัมพันธ์​กับเอดส์​เป็นระยะที่ภูมิต้านทานลดลงเรื่อยๆ เม็ดเลือดขาว CD4+ T cell เริ่มลดลงมากมีอาการไข้สูงเรื้อรังนานเป็นเดือน  น้ำหนักลดลงอย่างมาก มีโรคแทรกซ้อน​เช่น งูสวัด​ ฝ้าขาวบริเวณ​ขอบลิ้น เชื้อราในช่องปาก ผิวหนังอักเสบ ตุ่มตามผิวหนัง  ภาวะเกร็ดเลือดต่ำ
  • เข้าสู่ระยะเอดส์​เต็มขั้น ภูมิคุ้มกันถูกทำลายไปมาก CD4+T cell ลดลงต่ำมาก เกิดการติดเชื้อฉวยโอกาสและโรคแทรกซ้อนเช่น ปอดอักเสบ​วัณโรค​ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ​
  • อาการทางด้านจิตใจเช่น อ่อนเพลีย โดดเดี่ยว​หดหู่ สูญเสีย​ภาพลักษณ์​ วิตกกังวล ซึมเศร้า อยากฆ่าตัวตาย

การรักษาของโรคติดเชื้อเอชไอวี มีการรักษาหลายวิธีเช่น
1.การให้ยาต้านไวรัสเอดส์​เพื่อยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสเอดส์​มีหลายชนิดพิจารณา​ตามความเหมาะสม​กับผู้ป่วยแต่ละราย ลดปัญหาเชื้อดื้อยาโดยใช้ยา 3 ตัวรวมกันหรือมากกว่า เพื่อช่วยลดอัตราการเกิดภาวะ​แทรกซ้อน​และอัตราการตาย โดยผู้ติดเชื้อต้องรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
2.การรักษาด้วยอิมมูน โมเดอเรเตอร์ เป็นสารสังเคราะห์ที่เลียนแบบสารเคมีในเซลล์​เม็ดเลือดขาวก่อให้เกิดปฏิกิริยา​ภูมิคุ้มกัน​ต่อต้านไวรัส
3.อิมมูโน​เทอราปี เป็นการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน​ของร่างกาย
4.แอ็คจิวแวนท์เทอราปี เป็นการใช้ยาบางตัวเพื่อเสริมฤทธิ์​ของยาต้านไวรัส
5.การรักษาและป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาสต่างๆ เช่นปอดบวม วัณโรค​  เชื้อราช่องปาก เริม เป็นต้น
6.การส่งเสริมสุขภาพ ด้านอาหาร การพักผ่อน การออกกำลังกาย​  การดูแล​สุขภาพ​จิตใจ​
การรักษาแพทย์​ทางเลือกอื่นๆเช่น การใช้สมุนไพร​พื้นบ้านต่างๆ  การนั่งสมาธิ


6. ผู้พิการ เป็นผู้ที่มีความผิดปกติ​หรือบกพร่องทางร่างกาย สติปัญญา​ หรือ​จิตใจ​เนื่องจากได้รับบาดเจ็บ​ หรือพิการมาแต่กำเนิด​เป็นเหตุให้​ไม่สามารถ​ดำเนิน​ชีวิต​ได้ตามปกติ​หรือมีอุปสรรค​ทำให้เกิดความยากลำบาก​ในการกระทำ​สิ่วต่างๆในขณะที่​คนทั่วไปไม่มีปัญหา​
สาเหตุ​ของความพิการ

  • การบาดเจ็บ หรืออุบัติเหตุ​
  • โรคผิดปกติ​มาแต่กำเนิด

อาการของความพิการ แบ่งความผิดปกติหรือบกพร่องได้ 5 ด้านคือ
1.ด้านการเคลื่อนไหว​ มีความผิดปกติหรือบกพร่้องด้านร่างกายที่เห็นได้ชัดเจนและไม่สามารถประกอบกิจวัตร​ประจำวันได้ หรือสูญเสีย​การเคลื่อนไหว​ เช่นกระดูก​สันหลัง​คด โรคโปลิโอ​
2.ด้านการมองเห็น​ เป็นปัญหาด้านลานสายตาแคบ หรือสั้นเกินไป เช่น ตาบอด มองเห็น​เลือนลาง​
3.ด้านการได้ยิน​หรือการสื่อสาร มีความผิดปกติหรือบกพร่องในการเข้าใจหรือการใช้ภาษา​พูดจนไม่สามารถสื่อสารกับคนอื่นได้ เช่นหูหนวก​ หูตึง
4.ด้านจิตใจหรือพฤติกรรม​เป็นความบกพร่องทางจิตใจหรือพฤติกรรม​
5.ด้านสติปัญญา​หรือการเรียนรู้​ผิดปกติด้านสติปัญญา​หรือสมอง​จนไม่สามารถ​เรียนรู้​ด้วยวิธี​การศึกษา​ปกติได้
การ​รักษา​ความพิการ
รักษาโดยการฟื้นฟู​ความสามารถให้ดำเนิน​ชีวิตได้ปกติหรือใกล้เคียง​ปกติมากที่สุด ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์​และสังคม
ในปัจจุบันนี้มีการช่วยเหลือกลุ่มผู้พิการโดยจ่ายเบี้ยยังชีพสำหรับผู้พิการในแต่ละเดือนเพื่อให้ดำเนินชีวิตได้

จะเห็นได้ว่าโรคเรื้อรังทั้ง 6 โรคที่กล่าวมานี้มีผลกระทบต่อร่างกาย จิตใจ อารมณ์​ และสังคมของผู้ป่วยเป็นอย่างมากฉะนั้นการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคและสาเหตุ​ของการเกิดโรคเพื่อปรับเปลี่ยน​พฤติกรรม​ที่จะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคเรื้อรังเพื่อป้องกันหรือบรรเทา​ปัญหาในทุกๆด้านที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้

6 โรคเรื้อรัง โรคร้ายใกล้ตัว (ตอนที่ 1)

แชร์ให้เพื่อน