โรคมะเร็ง​ปอด เป็นสาเหตุการเสียชีวิตสูง

แชร์ให้เพื่อน

โรคมะเร็ง​ปอด เป็นสาเหตุการเสียชีวิตสูง

มะเร็งปอดเป็นปัญหา​สำคัญทางระบบสาธารณสุข​ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยเป็นสาเหตุ​การตายจากโรคมะเร็ง​ในอันดับต้นๆของโลกมีแนวโน้ม​เกิดอุบัติการณ์​สูงขึ้นเรื่อยๆในทุกปีและพบบ่อยในเพศชายมากกว่าเพศหญิง​
ความหมายของโรคมะเร็งปอด เป็นโรคที่เกิดจากเซลล์ของร่างกายโดยเฉพาะที่ปอดมีความผิดปกติ หรือสาร​พันธุกรรม​ส่งผลให้เซลล์​ที่ปอดมีการแบ่งตัว เพิ่มจำนวน​เซลล์​อย่างรวดเร็วและมากกว่าปกติ ทำให้เกิดก้อนเนื้อผิดปกติและเกิดการตายของเซลล์​ในก้อนเนื้อนั้น เซลล์​มะเร็งมีการเพิ่มจำนวนเปลี่ยนแปลงโดยไม่​สามารถ​ควบคุม​ได้และสามารถที่จะแพร่กระจายไปสู่อวัยวะ​อื่นๆที่อยู่ใกลออกไปแสดงอาการออกมาให้เห็นได้

สาเหตุ​ของโรคมะเร็งมีอะไรบ้าง?
การตรวจพบมะเร็ง​ปอดส่วนใหญ่พบในระยะที่แพร่กระจาย​แล้วซึ่งมีโอกาสน้อยที่จะรักษาให้หายขาดได้ เกิดความสูญเสีย​ทรัพยากร​และงบประมาณ​ที่ใช้ในการรักษาสูงมาก

  • ควันบุหรี่ จากการสูบบุหรี่​หรืออยู่ในสิ่งแวดล้อม​ที่มีควันบุหรี่​
  • โรคประจำตัวอื่นๆเช่นถุงลมโป่งพอง มะเร็งชนิดอื่นๆ เป็นปัจจัย​เสี่ยงทำให้เกิดมะเร็งปอดมากขึ้น
  • การได้รับมลภาวะทางอากาศ​ในสิ่งแวดล้อม​หรือสารพิษ​เช่น ควันบุหรี่​ ฝุ่นละอองและไอระเหยจากสารเคมีที่เป็นโลหะหนักนิกเกิล โครเมี่ยม​ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์​ ควันจากโรงงานอุตสาหกรรม​ 
  • อายุ
  • พันธุกรรม​ ประวัติบุคคล​ในครอบครัวผู้ที่พ่อแม่หรือพี่น้องป่วยด้วยโรค​มะเร็ง​ปอดมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอดแม้ไม่มีประวัติการสูบบุหรี่มาก่อน อาจมีความสัมพันธ์​ด้านสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยหรือพันธุกรรม​อันเป็นต้นเหตุ​ของการเกิดมะเร็งได้
    อาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด ที่พบได้บ่อยและเฝ้าระวังมีอะไรบ้าง?
  • มีอาการไอ เหนื่อย อ่อนเพลีย​  น้ำหนัก​ลด
  • มีอาการไอเป็นเลือด ภาวะซีด
  • ตรวจพบก้อนในปอดหรือมีน้ำในปอดร่วมด้วย
  • อาจตรวจพบมะเร็ง​ที่ตำแหน่วอื่นๆ ของร่างกาย​ร่วมด้วย

การรักษาโรคมะเร็ง​ปอด
เนื่องจากการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดส่วนใหญ่ที่มารับการตรวจครั้งแรกมักพบระยะการแพร่กระจายแล้วดังนั้นการรักษา​จึงเน้นการประคับประคองด้านร่างกายและจิตใจ​(Palliative care)เพื่อมุ่งหวัง​ให้ผู้ป่วยมีอาการและ มีคุณภาพชีวิต​ที่ดีขึ้น ช่วยเพิ่มระยะเวลาการมีชีวิต​ให้ยาวนาน​ขึ้น

  • การรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด
  • การรักษาด้วยการฉายรังสี (Radiotherapy)​
  • การรักษาด้วยการให้ยาเคมีบำบัด​( Chemotherapy) พบว่าได้ประโยชน์​อย่างมีนัย​สำคัญ​ทางสถิติ
  • การรักษา​แบบเฉพาะเจาะจง​
  • การรักษาด้วยการให้ยาภูมิ​คุ้มกัน​บำบัด

การรักษาแบบประคับประคอง​(Palliative care) มีแนวทางอย่างใรบ้าง?

  • เน้นการดูแลแบบองค์รวม ทั้งร่างกาย อารมณ์​ สังคม และจิตวิญญาณ​
  • เน้นการดูแลทั้งครอบครัว​เนื่องจากเป็นโรคเรื้อรังและร้ายแรง
  • เคารพ​สิทธิ​ผู้ป่วยและคนในครอบครัว​รับทราบผู้มูลการเจ็บป่วย
  • ให้การดูแลแบบสหวิชาชีพ ประสานงาน​ระหว่างบุคลากร​สาธารณสุข​หลายสาขา
  • ดูแลต่อเนื่องในระยะแรกของโรคจนกระทั่งผู้ป่วยเสียชีวิต
แชร์ให้เพื่อน