สารฟอร์มาลิน(Formalin)​ กับอาหารสด มากเกินไปเสี่ยงสารก่อมะเร็งในร่างกาย

แชร์ให้เพื่อน

สารฟอร์มาลิน(Formalin)​ กับอาหารสด มากเกินไปเสี่ยงสารก่อมะเร็งในร่างกาย

จากข้อมูลข่าวสารการบุกจับพ่อค้าหัวใสใช้สารฟอร์มาลินแช่เครื่องในสัตว์ที่ใช้ในธุรกิจ​การขายอาหารประเภทปิ้งย่างรายใหญ่แห่งหนึ่งในเขตอำเภอของภาคตะวันออกของประเทศไทยนั้น
เรามาดูว่าสารฟอร์มาลินนั้นเป็นอย่างไรมีผลต่อสุขภาพอย่างไรเมื่อปนเปื้อนมากับอาหารที่รับประทานเข้าไปในแต่ละวัน

สารฟอร์มาลินจัดเป็นสารเคมีที่มีพิษต่อร่างกายประกอบด้วยก๊าซฟอร์มาลดีไฮด์ เมทิลแอลกอฮอล์​ มีลักษณะ​ใส กลิ่นฉุน แสบจมูกและตา ถ้าได้รับในปริมาณเข้มข้นสูงมีฤทธิ์ทำลายเซลล์​ต่างๆของร่างกายทำให้เสียชีวิตได้ในที่สุด  และการได้รับสารฟอร์มาลินสะสมในร่างกายในระยะเวลานานก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้

สารฟอร์มาลินใช้สำหรับการฆ่าเชื้อโรค ดองซากสัตว์ให้เน่าเปื่อยช้าลง เรามาดูกันว่าสารฟอร์มาลินใช้ในกลุ่มใหนบ้าง?

  • ใช้ในทางวงการแพทย์​ การใช้สารฟอร์มาลินในวงการแพทย์นั้นใช้การดองชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจ หรือดองซากศพช่วยให้เน่าเปื่อยช้าลง และใช้ในการอบทำความความสะอาดห้องต่างๆเพื่อฆ่าเชื้อโรค
  • ใช้ในทางวงการ​อุตสาหกรรม​สิ่งทอ การใช้สารฟอร์มาลินเป็นน้ำยาอาบผ้าช่วยไม่ให้เนื้อผ้ายับย่น
  • ใช้ในทางวงการทางการเกษตร การ​ใช้สารฟอร์มาลินช่วยรักษาเมล็ดพันธุ์​พืชจากโรคและเชื้อรา แมลง หลังการเก็บเกี่ยวโดยเน้นการรักษาเมล็ดพันธุ์​พืชเพื่อในการเพาะปลูก

จะเห็นได้ว่าสารฟอร์มาลินนั้นไม่ได้นำมาใช้ในการถนอมรักษาอาหารให้มีความสด ไม่เน่าเปื่อยแต่มีคนบางกลุ่มนำมาใช้เพื่อลดต้นทุนเนื่องจากมีราคาถูกและเก็บสินค้าไว้ขายได้นานโดยนำมาใช้กับอาหารจำพวกต่างๆดังต่อไปนี้คือ

  • ผักสด ผลไม้สด เช่น แตงกวา ผักกาดขาว กะหล่ำปลี คะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง ต้นหอม ผักชี เป็นต้น
  • อาหารทะเล ปลา เช่น ปลาหมึก กุ้ง ปลาทู เป็นต้น
  • เนื้อสัตว์ เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อไก่ และ เครื่องในสัตว์ เป็นต้น
    เวลาซื้ออาหารกลุ่มเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้สด อาหารทะเลที่ไม่ได้แช่เย็นแต่มีความสดได้อย่างอมตะ​นิรันดร์การนั้นแสดงให้เห็นถึงความผิดปกติอาจเจอสารฟอร์มาลินปนเปื้อนได้

ข้อแนะนำในการเลือกซื้ออาหารสดมารับประทานเพื่อให้ปลอดภัยจากสารฟอร์มาลินมีดังต่อไปนี้

  • กลุ่มเนื้อสัตว์ที่วางขายเมื่อถูกแดด หรือลมแต่ยังคงสดอยู่ไม่ควรเลือกซื้อมาประกอบอาหาร หากเป็นอาหารทะเลมีบางส่วนยังแข็งอยู่และบางส่วนเปื่อยยุ่ยไม่ควรเลือกซื้อมาประกอบอาหารเช่นกัน
  • อาหารประเภทผัก  ผลไม้สด ที่มองดูเขียวสด กรอบผิดปกติแนะนำให้ดมดู ถ้ามีกลิ่นแสบจมูกไม่แนะนำให้ซื้อมาประกอบอาหารเพื่อรับประทาน
  • เมื่อซื้ออาหารสดประเภท ผัก ผลไม้มาจากตลาดควรแช่ ล้างทำความสะอาดด้วยสารละลายด่างทับทิมแบบเจือจาง(หาซื้อได้ตามร้านค้าทั่วไป)​แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาดก่อนนำมาประกอบอาหาร
  • อาหารประเภทเนื้อสัตว์ ปลา อาหารทะเล ล้างทำความสะอาดโดยใช้น้ำที่ล้างเพื่อตรวจสอบสารฟอร์มาลินปนเปื้อนโดยใช้ชุดตรวจสอบสามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายยาทั่วไป

จะเห็นได้ว่าการซื้ออาหารสดมาประกอบอาหารในปัจจุบันนี้ไม่ปลอดภัย จึงแนะนำควรเพาะปลูกเองเพื่อรับประทานในครัวเรือน เช่นกลุ่มผักสดชนิดต่างๆ ซึ่งปลูกง่ายช่วงฤดูหนาวโดยการปลูกใส่กระถางหรือถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้จำเป็นต้องซื้อมารับประทานควรล้างทำความสะอาดด้วยสารละลายด่างทับทิมหรือใช้ชุดตรวจสอบสารฟอร์มาลินที่ปนเปื้อนมากับอาหารสดโดยหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายยาทั่วไปเพื่อให้ปลอดภัยจากสารฟอร์มาลินสะสมในร่างกายและห่างไกลจากโรคมะเร็งได้อีกด้วย

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน