6 ประเด็น​ความเครียดกับการลงทุนในตลาดหุ้นไทย

แชร์ให้เพื่อน

6 ประเด็น​ความเครียดกับการลงทุนในตลาดหุ้นไทย

การลงทุน​ในสถานการณ์​ปัจจุบันของนักลงทุนรายย่อยในประเทศ​ไทยนั้นมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากประเด็นความร้อนแรงการเก็บภาษีการขายหุ้นไทยหลังมีข่าวกระทรวง​การคลังเสนอ ครม. จัดเก็บภาษีการขายหุ้น หรือ Financial Translation Tax นั่นเองซึ่งภาษีดังกล่าวได้รับการยกเว้น​มาตั้งแต่ปี 2534 จนถึงปัจจุบัน​ โดยเป็นภาษีธุรกิจ​เฉพาะ(Specific Business Tax) เป็นภาษีจากธุรกรรม​การขายหุ้น​(Transaction Tax) ในตลาดหลักทรัพย์​แห่งประเทศไ​ทยซึ่งคำนวนจากรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆทั้งสิ้นโดยจะต้องเสียภาษี​ในอัตรา 0.10%แม้ว่านักลงทุนจะทำรายการขายที่กำไรหรือขาดทุน​ก็ต้องเสียภาษี​ทั้งสิ้นถึงแม้จะยังไม่ได้ประกาศ​ออกมาอย่างแน่ชัดก็ตาม

ความเครียด(Stress)​หมายถึงสภาวะของอารมณ์​ความรู้สึก​ที่ถูกบีบคั้น​หรือกดดันซึ่งแต่ละคนจะปรับตัวให้ผ่านพ้นไปได้ ขณะที่ความเครียดที่จัดการไม่ได้จะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อาจเปลี่ยนเป็นภาวะซึมเศร้า​(Depressive disorder) หรือโรควิตกกังวล​(Anxiety) ตามมาได้

ในการลงทุนซื้อขายหุ้นนั้นเทรดเดอร์​จะต้องติดตามราคาหุ้น คิดและตัดสินใจ​ในแต่ละครั้งเพื่อทำรายการซื้อขายแต่เมื่อมีประเด็นการต้องเสียภาษี​ในการขายหุ้นเข้ามาทำให้นักลงทุนมีความเครียดเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะในภาวะตลาดที่มีความผันผวน​สูง พฤติกรรม​ราคาไม่มีความแน่นอน โมเดลการเทรดที่เคยใช้อาจไม่ได้ผล มีความผิดพลาดได้ง่าย เกิดการขาดทุนร่วมด้วย ทำให้ตัดสินใจขายหุ้นออกมาทั้งที่ขาดทุนแถมยังต้องมีภาระทางภาษีเพิ่มเข้ามาอีกด้วย

นักลงทุนสามารถสังเกต​ตนเองว่าเกิดความเครียดได้อย่างไร?

  1. นอนไม่หลับ เมื่อเกิดความเครียด​ขึ้นจะส่งผลต่อคุณภาพ​การนอนหลับ​พัผ่อนหากนอนไม่หลับเป็นระยะ​เวลานานจะส่งผลต่อสุขภาพตามมาเกิดภาวะซึมเศร้า​หรือมีความเครียดรุนแรงตามมาได้
  2. มีอารมณ์​ฉุนเฉียว​ โกรธ หงุดหงิด สับสน มีโทสะ ไม่พอใจ ต้องการแก้เกมเพื่อให้ชนะตลาดถ้ามีอาการแบบนี้ให้หยุดเทรดเพื่อตั้งสติแล้วหันมาพิจารณา​ตนเองก่อน
  3. มีความวิตกกังวล​หรือเศร้าหมอง ทำให้นักลงทุนไม่มีความสุข เศร้าหรือวิตกกังวลกับเรื่องการจัดเก็บภาษีการขายหุ้นที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตได้
  4. พฤติกรรม​เปลี่ยนไป จากการรวมตัวของรายย่อยในพันทิป​ไม่ซื้อขายหุ้นในวันที่8ธันวาคม2565ที่ผ่านมาเพื่อประท้วงหลักการเก็บภาษีขายหุ้นส่งผลให้การซื้อขายในวันนั้นลดลงอย่างเห็นได้ชัดซึ่งก่อให้เกิดพฤติกรรม​การเบื่อยหน่ายและปิดกั้นตนเอง ไม่ร่าเริง ไม่พูดหรือนิ่งเงียบ
  5. ความเครียดดังกล่าวอาจแสดงออกทางกายโดยการหายใจถี่ขึ้น​หรือการกลั้นหายใจ​โดยไม่รู้ตัว​ปวดท้อง อาเจียน หรือปวดศีรษะ​ได้
  6. หากเป็นความเครียดที่รุนแรงทำให้เกิดการฆ่าตัวตายตามมาได้

 

การดูแลตนเองและการจัดการกับความเครียดของนักลงทุน​มีดังนี้

  • วิเคราะห์​หาสาเหตุ​ของความเครียดหากเกิดจากประเด็นการเสียภาษี​จากการขายหุ้นนักลงทุนแก้ปัญหาได้โดยลดการขายหุ้นลงหรือลงทุนทุนให้ยาวนานขึ้นโดยกำหนดว่าจะขายหุ้นออกมาเมื่อมีผลกำไรเท่านั้น
  • วางแผนล่วงหน้า​แบบหลักการเบื้องต้น​คือการสร้างระบบเทรดของตนเอง(Trading System) มีการบริหาร​ความเสี่ยง และกำหนดจุดเข้าซื้อหรือการขายทำกำไรหรือจุดขาดทุนที่ชัดเจน​
  • การทบทวน​สิ่งที่เกิดขึ้นโดยนักลงทุนใช้ทักษะการรับมือในสถานการณ์​ที่คับขันหรือเผชิญ​ในตลาดผันผวน​สูง โดยการจดบันทึก​สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งช่วงที่ทำกำไรได้และการขาดทุนเพื่อนำมาพัฒนาระบบการเทรดและวางแผนการลงทุนในอนาคต
  • ออกกำลังกายครั้งละ30นาทีหลังการเทรดในแต่ละวันหรือหากิจกรรม​อื่นแทนเพื่อเป็นการระบายความเครียดเช่นการทำกิจกรรม​สันทนาการ​ดูหนัง ฟังเพลง ท่องเที่ยวเป็นต้น
  • นอนหลับพักผ่อน​ให้เพียงพอในแต่ละวัน นักลงทุนบางคนลงทุนในต่างประเทศด้วยซึ่งทำให้มีเวลานอนหลับพักผ่อน​ไม่เพียงอาจส่งผลต่อสุขภาพ​ได้
  • พบปะ​กับเพื่อนฝูงเพื่อเป็นการระบายปัญหาต่างๆ(หากเพื่อนรับฟังปัญหาเราได้)​
  • หากพบว่าไม่สามารถจัดการกับความเครียด​ได้ด้วยตนเองควรปรึกษาจิตแพทย์​อาจจำเป็นต้องรับยามารับประทาน​เพื่อบรรเทา​อาการเครียด​หรือวิตกกังวล

แม้ว่าปัญหา​ทางการเงินจะเป็นปัญหาโลกแตกที่แก้ไขยากแต่การจัดการทางการเงินโดย การหาเงิน การเก็บเงิน และการใช้จ่ายเงินเพื่อให้เกิดความสมดุล​ทางการเงินก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกันแต่เหนือสิ่งอื่นใดมนุษย์​เราไม่สามารถ​ที่จะทำงานหาเงินตลอดได้ทั้งชีวิตดังนั้นการเลือกวิธีการลงทุนเพื่อให้เงินงอกเงยมีไว้ใช้จ่ายในยามแก่ชราก็จำเป็นเช่นกัน

แชร์ให้เพื่อน