ทักษะการจัดการความเครียดด้วยตนเอง

แชร์ให้เพื่อน

ทักษะการจัดการความเครียดด้วยตนเอง

ชีวิตของมนุษย​์เรานั้นต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆในชีวิตจากเหตุการณ์และสิ่งแวดล้อม​ต่างๆเช่นการตกงาน ภาวะสงคราม​ การเมือง สิ่งแวดล้อม​เป็นพิษ ภัยธรรมชาติ อุบัติเหตุ​  การหย่าร้าง และความเจ็บป่วยเป็นต้น ซึ่งความเครียดเหล่านี้ส่งผลต่อภาวะด้านสุขภาพ ดังนั้นความสามารถในการจัดการกับความเครียดของคนแต่ละคนได้ไม่เท่ากัน บางคนปรับตัวกับเหตุการณ์​ต่างๆที่เลวร้ายได้ดีโดยไม่เกิดผลกระทบสุขภาพ ขณะที่บางคนอาจไม่สามารถปรับตัวได้ เกิดความเจ็บป่วย​และสูญเสีย​การทำหน้าที่ของตนเอง

มนุษย์​เราเมื่อมีความเครียดเกิดขึ้นจะตอบสนองต่อภาวะเครียดตามระยะต่างๆได้แก่
1.ระยะช๊อค ทำให้หัวใจเต้นแรงและเร็ว  ความดันโลหิตสูงขึ้น  หายใจเร็ว มีอาการคลื่นไส้​อาเจียน​ ม่านตาขยาย เหงื่อออกมากผิดปกติ​การหลั่งกรดในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น
2.ระยะหมดกำลัง เมื่อเกิดความเครียดรุนแรงและไม่สามารถขจัดปัญหา​ออกไปได้ หากไม่ได้รับความช่วยเหลือประคับประคองที่เหมาะสม กลไกการปรับตัวจะล้มเหลว​ ทำให้เกิดโรค เจ็บป่วยและเสียชีวิตได้ในที่สุด  หากความเครียดยังคงมีต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจส่งผลทำให้ปวดท้องและเป็นโรคกระเพาะ​อาหารอักเสบหรือแผลในกระเพาะอาหาร​ตามมาได้

การจัดการกับความเครียดในแต่ละบุคคลนั้นมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับปัจจัย​ภายในและภายนอกเช่น อายุ เพศ กรรมพันธุ์​ ยาและอาหารเป็นต้น สิ่งที่สำคัญที่สุดในการดำรงชีวิต​คือความสามารถในการปรับตัวหรือพลังงานในการปรับตัว ซึ่งพลังงานดังกล่าว​มีมากในวัยหนุ่มสาว​แต่จะต่ำในเด็กและผู้สูงอายุ เมื่อเกิดความอ่อนล้า​จากภาวะเครียดอย่างมาก การนอนหลับพักผ่อนจะทำให้มีแรงสู้ แต่ไม่สามารถกลับมาเหมือนเดิมทุกอย่างไม่ได้ จึงเกิดการสึกหรอและมีอาการของความชราเกิดขึ้น ฉะนั้นมนุษย์​เราควรรู้จักดึงเอาพลังงานการปรับตัวมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์​สูงสุด

การเผชิญ​กับความเครียดมี 2 ลักษณะ​คือ
1.การมุ่งประเด็นเพื่อแก้ปัญหา​ โดยจัดการกับแหล่งความเครียดหรือจัดการกับตนเองโดยพยายามมุ่งแก้ปัญหาเพื่อเปลี่ยนแปลงสถานการณ์​ให้ดีขึ้น
2.การจัดการกับอารมณ์​เป็นการปรับอารมณ์​ความรู้สึกเพื่อไม่ให้เสียขวัญ​หรือกำลังใจ เพื่อสามารถจัดการกับปัญหา​ได้อย่างมีประสิทธิภาพ​ เช่นการปฏิเสธ​โรคร้ายแรง​เพื่อไม่ทำให้ตัวเองเป็นทุกข์​จนไม่สามารถทำอะไรได้

วิธีการเผชิญ​กับความเครียดมี 5 วิธีคือ
1.การเริ่มต้นแสวงหาข้อมูลโดยการเรียนรู้และเข้าใจปัญหาเพื่อหาทางแก้ไข
2.การกระทำโดยตรงเพื่อจัดการกับเหตุการณ์​ที่ทำให้เครียด
3.การหยุดยั้งการกระทำ หยุดทำในกิจกรรม​ที่คิดว่าเป็นอันตรายหรือกระตุ้นให้เกิดความเครียดรุนแรงขึ้น
4.การแสวงหาความช่วยเหลือจากบุคคล​ภายนอก หรือคนรอบข้างเป็นต้น
5.การใช้กลไกทางจิตเช่น เบี่ยงเบนความสนใจ แสวงหาความพอใจจากสิ่งอื่น รวมถึงการปฏิเสธ​หรือเก็บกด เป็นต้น

ที่พบได้บ่อยเช่น การปฏิเสธ​เมื่อเจ็บป่วยร้ายแรงเพื่อขอเวลาตั้งตัวจึงถือว่าเป็นการจัดการความเครียดได้เหมาะสม เพราะผู้ป่วยสับสนและอ่อนแอเกินกว่าจะยอมรับความจริงได้ในทันทีทันใด การปฏิเสธ​ทำให้มีความหวังเพื่อตระหนักถึงความจริงที่เกิดขึ้น

แหล่งประโยชน์​ในการเผชิญกับความเครียด ได้แก่
1.คนที่มีสุขภาพดี แข็งแรง มีพละกำลัง จะช่วยให้เผชิญ​ความเครียดได้ดี
2.ความเชื่อว่าตนสามารถควบคุมผลที่ตามมาและมีความหวังที่จะจัดการความเครียดด้วยตนเองได้
3.บุคคลที่รู้จักใช้ความคิดอย่างมีเหตุผล​แสวงหาข้อมูลความรู้เพื่อเผชิญ​กับความเครียด
4.มีทักษะ​ในการขอความช่วยเหลือทางสังคม
5.แหล่งประโยชน์​ทางด้านวัตถุ การมีเงินทองที่เอื้ออำนวยในการเผชิญ​กับความเครียด

การดูแลตนเองเพื่อขจัดความเครียด แบ่งออกเป็น
1.การรู้จักบริหารเวลา รับประทานอาหารที่เหมาะสม​ ออกกำลังกาย หาทางออกเพื่อเผชิญ​ปัญหา งดสูบบุหรี่​ดื่มสุรา รู้จักสร้างสัมพันธภาพ​กับบุคคลอื่นเพื่อจะได้พึ่งพาซึ่งกันและกัน
2.รู้จักมองและประเมินสถานการณ์​ตามที่เป็นจริง โดยไม่ทำให้เหตุการณ์​ปกติทำให้เกิดความเครียด เช่นบุคลิก​ที่จริงจังเกินไป เรียนรู้ข้อจำกัดของตัวเองโดยการแสดงความเห็นและความรู้สึกที่ถูกต้อง
3.เรียนรู้ทักษะ​การผ่อนคลาย ทำสมาธิ การฝึกหายใจ การฝึกจิต เป็นต้น
ประเด็นหลักๆในการจัดการกับความเครียดที่ดีคือต้องมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี สามารถหาแหล่งภายนอกเพื่อช่วยเหลือ ควบคุมอารมณ์​และสถานการณ์​ รวมถึงการฝึกจิตให้ผ่อนคลายเพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อร่างกายและจิตใจตามมา

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน