โรคหัวใจ​พิการแต่กำเนิด

แชร์ให้เพื่อน

โรคหัวใจ​พิการแต่กำเนิด ที่พบบ่อย (Common Congenital Heart Disease)

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital​ Heart Disease :CHD) หมายถึง ความผิดปกติของหัวใจและหรือหลอดเลือด​  ทำให้การทำหน้าที่หรือการไหลเวียนเลือดมีความผิดปกติตั้งแต่หลังคลอด  โดยความผิดปกตินั้นเกิดขึ้นตั้งแต่ในครรภ์มารดาโดยไม่ได้แสดงความผิดปกติ​ให้เห็น มีน้อยรายที่มีความรุนแรง​และเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา  โรคหัวใจ​พิการแต่กำเนิดนี้ รวมถึงการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ​ตั้งแต่ในครรภ์​มารดาและหลังคลอดด้วย

การเกิดของโรคหัวใจพิการ​แต่กำเนิดนั้นบอกได้ยากเพราะมีจำนวนไม่น้อยที่วิเคราะห์​ได้ตอนโตหรือจาก autopsy
โรคหัวใจ​พิการแต่กำเนิดบางชนิดพบในเพศหญิง​มากกว่าเพศชาย​เช่น Patent ductus arteiosus (PDA)

Ventricular Septal Defect (VSD)
เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่พบบ่อยที่สุด โดยพบในเด็กหญิงมากกว่าเด็กชายเล็กน้อยและพบมากในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติ​ในโครโมโซมทั้งหลายอีกด้วย

อาการและอาการแสดง
มักไม่แสดงอาการ สามารถเติบโต​ได้ตามปกติ และตรวจพบโดยบังเอิญ​ในช่วง2-4เดือนหลังคลอดตอนตรวจสุขภาพหรือเข้าโรงเรียน โดยตรวจพบจากคลื่นหัวใจและ Echocardiography เพื่อประกอบการวินิจฉัยโรค

การรักษา
ผู้ป่วยที่ VSD ขนาดเล็กไม่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด เพราะอาจสามารถปิดได้เอง
ผู้ป่วยที่ VSD ขนาดปานกลางถึงขนาดใหญ่ต้องได้รับผ่าตัดปิดทุกรายหากขนาดใหญ่​มากต้องผ่าตัดปิดทุกรายช่วงอายุ 2-4 ปี

โรคหัวใจพิการมาแต่กำเนิดอื่นๆ เช่น

  • Patent Ductus Arteriosus
  • Secundum Arterial Septal Defect
  • Pulmonic Stenosis(PS)
  • Coaretation of the Aorta (CA)
  • Tetralogy of Fallot(T of F)
  • Transposition of the Great Arteries

โดยทั่วไปแล้วกลุ่มโรคที่เกิดจากความพิการแต่กำเนิดนั้นจะไม่ได้รับความคุ้มครองในการซื้อประกันถึงแม้ว่าเป็นการตรวจพบภายหลังซื้อประกันไปแล้วดังนั้นความเจ็บป่วยจากโรคพิการแต่กำเนิดจะไม่สามารถเบิกประกันได้เว้นแต่มีการสลักหลังให้ความคุ้มครองได้

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com


5 ปัจจัยเสี่ยงด้านพฤติกรรม​ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง

แชร์ให้เพื่อน