คลื่นไฟฟ้าหัวใจคืออะไร?

แชร์ให้เพื่อน

คลื่นไฟฟ้าหัวใจคืออะไร?
ระดับโพแทสเซียม​มีผลต่อคลื่นไฟฟ้าหัวใจอย่างไร?

คลื่นไฟฟ้าหัวใจที่จะกล่าวถึงดังต่อไปนี้ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับความรักแต่ประการใด แต่คลื่นไฟฟ้าหัวใจใช้เป็นเครื่องมือในการวินิจฉัยโรคต่างๆ ร่วมกับการซักประวัติ​ ตรวจร่างกายและข้อมูลอื่นๆ เพื่อให้สามารถวินิจฉัยโรคได้ถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้น
คลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติบางครั้งก็ไม่ได้มีพยาธิสภาพหรือเป็นโรคหัวใจแต่อย่างใด เนื่องจากพยาธิสภาพของโรคดังกล่าวไม่รุนแรง เช่น ผู้ป่วยมีโรคหัวใจพิการมาแต่กำเนิดชนิด Ventricular Septal Defect) ที่รูไม่ใหญ่มากหรือโรคหัวใจรูมาติคทั้งชนิดลิ้นตีบหรือลิ้นรั่ว แต่เป็นเพียงเล็กน้อย 
ในขณะที่บางรายมีหัวใจปกติก็อาจมีคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติได้ เช่นกัน

ประโยชน์​ของคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่มีต่อโรคหัวใจ
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อประกอบการวินิจฉัยโรคหัวใจนั้นเป็นที่ยอมรับมาช้านานทั่วโลกเพื่อบอกถึงพยาธิสภาพที่เปลี่ยนไปมีดังต่อไปนี้คือ
1.โรคหัวใจขาดเลือด (Ischemic​  heart disease) ในระยะต่างๆ โดยเริ่มตั้งแต่แรกๆภาวะของหัวใจขาดเลือดช่วงแรก จนถึงกล้ามเนื้อหัวใจได้รับอันตราย สุดท้ายทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายนั่นเอง (Myocardial Infraction)
2.การที่หัวใจเต้นผิดจังหวะ(Arrhythmia)​การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจช่วยบอกชนิดของการเต้นผิดจังหวะได้อย่างถูกต้องและแม่นยำยิ่งขึ้น
3.โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบซึ่งพบได้ตั้งแต่ระยะเฉียบพลัน​จนถึงระยะเรื้อรัง
4.Ventricular hypertrophy  คือภาวะหัวใจห้องล่างโตกว่าปกติ
5.Atrial enlargement หรือ hypertrophy คือภาวะหัวใจห้องบนโตกว่าปกติ
6.ผลจากการใช้ยาเพื่อรักษาโรคบางชนิดซึ่งอาจเป็นผลจากยา ได้แก่การได้รับยาดิจิตาลิส หรือควินิดีน และยารักษาโรคอื่นๆอีกมากมายที่มีผลต่อคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
7.ภาวะไม่สมดุลของเกลือและแร่ธาตุ โดยเฉพาะโพแทสเซียม​ที่ผิดปกติในระดับที่สูงหรือต่ำกว่าปกติ เป็นต้น

ในบทความนี้จะขอกล่าวถึงความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติจากภาวะโพแทสเซียม​ในเลือดสูงกว่าปกติและต่ำกว่าปกติ
1.ภาวะโพแทสเซียม​ในเลือดสูงกว่าปกติ(Hyperkalemia)​  โพแทสเซียม​เป็นเกลือแร่ชนิดหนึ่งมีหน้าที่ในการยืดหดตัวของกล้ามเนื้อโดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ  ช่วยรักษาสมดุลกรดด่างของร่างกาย ควบคุมความดันโลหิต สำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ทำให้ประสิทธิภาพ​การขับโพแทสเซียม​ลดลงเกิดภาวะโพแทสเซียม​คั่งในร่างกายได้ ส่งผลให้เกิดการคั่งของน้ำในร่างกาย  หัวใจเต้นเร็วผิดปกติได้  เราทราบได้จากการเจาะเลือดไปตรวจทางห้องปฏิบัติการ และใช้คลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นเครื่องมือยืนยันเท่านั้น  ความผิดปกติของ T wave พบเมื่อระดับโพแทสเซียม​ในเลือดสูงเกินกว่า 5.5 mEqต่อลิตรขึ้นไป ทำให้เกิดอันตรายต่อหัวใจ ถ้าเป็นมากขึ้นโดยไม่ได้รับการแก้ไขจะทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ​ชนิดที่เป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ง่ายและกระทันหันด้วยเรียกว่าภาวะหัวใจหยุดเต้น(Cardiac arrest) อาหารที่มีโพแทสเซียม​สูงได้แก่  ทุเรียน  ฝรั่ง  ถั่วเมล็ด​แห้ง นม กล้วย  ลำใย ลูกเกด ลูกพรุน แครอท มะเขือเทศ  หน่อไม้ฝรั่ง หัวปลี  ผักชี มันฝรั่งเป็นต้น
2.ภาวะโพแทสเซียม​ในเลือดต่ำกว่าปกติ (Hypokalemia)​ ความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจคือ T wave จะเตี้ยหรือแบนราบ และหัวกลับ ST segment ลงต่ำ เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะร่วมกับการได้รับยาดิจิตาลิส ระดับโพแทสต่ำกว่า 2.7 mEqต่อลิตร ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจช่วยวินิจฉัย​ได้แม่นยำ​ถึงร้อยละ 78 สำหรับแนวทางการรักษาโดยให้เกลือโพแทสเซียม​ทดแทน การเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าจะหายไปอย่างรวดเร็วเช่นกัน

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจนั้นใช้เป็นเครื่องมือเพื่อประกอบการวินิจฉัยแยกโรคหรือยืนยันสนับสนุนในการวินิจฉัยทั้งนี้ต้องอาศัยข้อมูลอื่นๆมาสนับสนุนประกอบเช่นการตรวจร่างกาย การซักประวัติ หากเป็นการตรวจหาโดยไม่มีข้อมูลสนับสนุนที่ชัดเจนแล้วอาจเป็นประเด็นการตรวจสุขภาพได้เช่นกัน

สนใจบทความอื่นๆเกี่ยวกับหัวใจติดตามอ่านได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน