หัวใจและโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ

แชร์ให้เพื่อน

หัวใจและโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ

หัวใจเป็นอวัยวะ​ที่มีพลังอย่างมากและมหัศจรรย์​ที่สุดของร่างกายมนุษย์​เพราะว่าหัวใจมีหน้าที่ในการสูบฉีดโลหิตออกไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายประมาณ 5 ลิตรต่อนาที  หัวใจเป็นอวัยวะ​ที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก ตั้งอยู่ในทรวงอกด้านซ้าย มีโครงสร้างกระดูกซี่โครง​ครอบคลุมไว้เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับหัวใจ  หัวใจของ

มนุษย์ ประกอบด้วย ห้องทั้งหมด 4 ห้องคือ
1.เอเทรียม 2 ห้อง ได้แก่ เอเทรียมขวาและซ้ายซึ่งเป็นหัวใจห้องบนนั่นเอง
2.เวนทริเคิล  2 ห้อง ได้แก่ เวนทริเคลขวาและซ้าย ซึ่งเป็นหัวใจห้องล่าง
มีผนังที่กั้นแยกระหว่างเวนทริเคิลเรียกว่า Septum
การทำงานของหัวใจนั้นมีความเกี่ยวข้องกับคลื่นไฟฟ้าหัวใจและกล้ามเนื้อหัวใจผ่านระบบเหนี่ยวนำไฟฟ้าโดยเซลล์​กล้ามเนื้อหัวใจที่มีคุณสมบัติพิเศษ​สามารถทำให้หัวใจทำงานได้เองทั้งการหดตัวและคลายตัวอย่างเป็นจังหวะเพื่อให้เลือดบีบตัวออกจากห้องหัวใจและรับเลือดกลับเข้าสู่หัวใจโดยไม่ต้องใช้สมองในการควบคุมการทำงาน  ขณะที่ความรู้สึก ความคิด การตระหนัก​รู้ การวิเคราะห์ นั้นใช้สมองและระบบประสาท​ควบคุมทั้งสิ้นรวมถึงการเคลื่อนไหวหรือหยุดการเคลื่อน

หน้าที่ของหัวใจทั้ง4ห้องมีอะไรบ้างนั้นมาดูกันเลย

1.หัวใจของมนุษย์มีหน้าที่ในการรับเลือดจากส่วนต่างๆของร่างกายหลังจากนั้นส่งไปที่ฟอกที่ปอดเพื่อให้มีออกซิเจน​และสารอาหารในเลือดพร้อมที่จะส่งไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายต่อไป
2.หัวใจของมนุษย​์มีหน้าที่ในการส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายหลังจากรับเลือดกลับจากปอดเพื่อส่งผ่านทางหลอดเลือดแดงใหญ่ส่งไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย
3.หัวใจมีระบบไฟฟ้าควบคุมเพื่อให้เต้นอย่างมีจังหวะในการรับและส่งเลือดหากการเต้นที่ผิดจังหวะก็ทำให้เกิดโรคต่างๆตามมาซึ่งจะกล่าวถึงในบทความต่อๆไป
4.หัวใจทำหน้าที่เป็นระบบไหลเวียนเลือดคล้ายระบบประปาคือมีเลือดและหลอดเลือดเป็นท่อในการส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ
5.หัวใจทำหน้าที่คล้ายปั๊ม​น้ำที่ใช้การบีบตัวของหัวใจที่เป็นจังหวะและมีความต่อเนื่องเพื่อส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ

ความผิดปกติหรือปัญหา​ที่เกิดขึ้นกับหัวใจมีในประเด็นใหนบ้าง?
1.ความผิดปกติด้านโครงสร้างของหัวใจเช่น ลิ้นหัวใจรั่วชนิดต่างๆ
2.ความผิดปกติด้านระบบเหนี่ยวนำไฟฟ้าที่กระตุ้นหัวใจส่งผลด้านจังหวะในการเต้นของหัวใจเช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นเร็ว หรือหัวใจเต้นช้า
3.ระบบหลอดเลือดมีปัญหาเช่นหลอดเลือดอุดตัน ฉีกขาดส่งผลให้ทำงานของหัวใจมีปัญหาตามมาได้
4.โรคที่เกิดขึ้นจากปัญหาการทำงานของหัวใจและระบบหลอดเลือดได้แก่

  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย(Myocardial Infraction) คือภาวะที่กล้ามเนื้อ​หัวใจตาย เพราะเลือดจากหลอดเลือดโคโรนารี่ไปเลี้ยงกล้ามกล้ามหัวใจไม่เพียงพอกับความต้องการซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดโคโรนารี่เป็นต้น
  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดขณะออกแรงและการทดสอบด้วยการออกกำลังกาย​( Angina Pectoris and Exercise Test) คือภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดขณะออกแรงเท่านั้น 
  • โรคหัวใจเต้นเร็วและหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเร็ว(Tachycardia and Tachyarrhythmia)  คือภาวะที่หัวใจเต้นเร็วกว่า 100 ครั้งต่อนาทีโดยที่จังหวะการเต้นยังปกติอยู่  ส่วน Tachyarrhythmia  ​นั้นมีความผิดปกติทั้งอัตราการเต้นที่เร็วกว่า 100 ครั้งต่อนาทีร่วมกับจังหวะการเต้นที่ผิดปกติ
  • โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบระยะต่างๆทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง
  • โรคหัวใจ​เต้นช้าและหัวใจ​เต้นผิดจังหวะ​ชนิดช้า( Bradycardia and Brady arrhythmia) คือภาวะที่หัวใจเต้นช้ากว่า 60 ครั้งต่อนาทีโดยที่จังหวะการเต้นยังปกติ ส่วน Brady arrhythmia นั้นหัวใจเต้นช้ากว่า 60 ครั้งต่อนาทีและจังหวะการเต้นก็ผิดปกติด้วยเช่นกัน
  • ภาวะเกลือและแร่ธาตุไม่สมดุล(Electrolyte imbalance) โดยเฉพาะโพแทสเซียม​
  • ผลของการใช้ยาโดยเฉพาะยาโรคหัวใจ เช่น ผลการให้ยาดิจิตาลิสหรือควินิดีน เป็นต้น
  • ความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจในโรคและภาวะบางชนิด ได้แก่
    a.โรคต่อมธัยรอยด์​ทำงานน้อยกว่าปกติ (Hypothyroid)
    b.โรคต่อมธัยรอยด์​ทำงานมากกว่าปกติ (Hyperthyroidism)
    c.โรคเลือดออกหรือเลือดคั่งในสมอง (Intracerebral Hemorrhage)
    d.Hypothermia คือภาวะที่อุณหภูมิ​ของร่างกายต่ำกว่ากว่าปกติ
    e.โรคถุงลมโป่งพอง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease) สามารถอ่านได้ในบทความที่ผ่านมา
    f.ภาวะโพแทสเซียม​ในเลือดสูงกว่าปกติ (Hyperkalemia)​
    g.ภาวะโพแทสเซียม​ในเลือดต่ำกว่าปกติ (Hypokalemia)​
    h.ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง(Hypercalcemia)​
    i.ภาวะแคลเซียม​ในเลือดต่ำ(Hypocalcemia)​
    เนื้อหารายละเอียดเกี่ยวกับโรคและภาวะผิดปกติต่างๆนั้นสามารถอ่านได้ในบทความต่อๆไป

จะเห็นได้ว่าหัวใจของมนุษย์หรือสัตว์ทุกชนิดนั้นหากหัวใจหยุดทำงานอย่างถาวรนั่นคือการเสียชีวิตแม้แต่สมองเองก็ต้องพึ่งหัวใจเพื่อให้มีเลือดมาเลี้ยงเช่นกัน  ดังนั้นหากมนุษย์​ต้องการให้มีชีวิตที่ยาวนานขึ้นก็ต้องดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงร่วมกับการมีสุขภาพจิตที่ดีด้วย  ดังนั้น 

“ให้รักและดูแลคนที่เรารักดั่งดวงใจของตนเอง”


สนใจบทความอื่นๆเกี่ยวกับหัวใจติดตามอ่านได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน