คาร์บอนเครดิต​  สารมลพิษหลักทางอากาศ เกี่ยวข้องกับโรคทางเดินหายใจอย่างไร?

แชร์ให้เพื่อน

คาร์บอนเครดิต​  สารมลพิษหลักทางอากาศ เกี่ยวข้องกับโรคทางเดินหายใจอย่างไร?

โรคทางเดินหายใจที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ​เป็นอันตรายคุกคามต่อปอดและทางเดินหายใจ ซึ่งมลพิษทางอากาศ​เป็นสาเหตุ​และปัจจัย​สำคัญทำให้เกิดอาการกำเริบได้ในผู้ป่วยโรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ไซนัส​อักเสบ  ภูมิแพ้  และโรคมะเร็งปอด ส่งผลให้เสียชีวิตตามมาได้

มลพิษทางอากาศ​เป็นภัยคุกคามในกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น เด็ก สตรีมีครรภ์​ ผู้สูงอายุ  ผู้ที่เป็นโรคปอดหรือโรคหัวใจ

มลพิษทางอากาศ​เกิดจากฝีมือของมนุษย์และภัยธรรมชาติเช่น

  • จากฝีมือของมนุษย์ เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิงของกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม​ ภาคการเกษตร​  การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารเคมีต่างๆ  ควันธูป​  บุหรี่  ไอเสียจากรถยนต์​ และยานพาหนะ​ต่างๆ
  • จากธรรมชาติ เช่น  ไฟป่า  การระเบิดของภูเขาไฟ  การเน่าเปื่อย ฝุ่นละออง

อาการและผลกระทบ​ต่อภาวะสุขภาพของมลพิษ​ทางอากาศ​ได้แก่
1.การระคายเคืองของทางเดินหายใจ  ตา จมูก และคอ ส่งผลให้เกิดอาการไอ แน่นหน้าอก  วิงเวียน เซื่องซึม​ ปวดศรีษะ​ หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น หมดสติ และอาจทำให้เสียชีวิตตามมาได้
2.อันตรายต่อหัวใจ ในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดรุนแรง​หรือเฉียบพลัน​ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ  หัวใจวาย  ทำให้เกิดภาวะหัวใจ​หยุดเต้นและเสียชีวิต​ตามมาได้ ทั้งยังทำให้หลอดเลือดแข็งนำไปสู่ภาวะหัวใจวายและหลอดเลือดสมองตีบ
3.เกิดอันตรายต่อสมอง  การได้รับมลพิษ​ทางอากาศ​ที่ต่อเนื่องทำให้หลอดเลือดในสมองแข็งตัว  เลือดหนืดและข้น ความดันโลหิต​สูง ทำให้ระบบประสาท​ผิดปกติ

 

เราสามารถ​หลีกเลี่ยง​มลพิษทางอากาศ​ได้โดย
1.หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้ง หรือนอกบ้าน หรือแหล่งที่มีมลพิษทางอากาศ​สูง
2.จัดสถานที่ให้ถ่ายเทอากาศ​บริสุทธิ์​โดยการติดตั้งพัดลม​ดูดอากาศ
3.ลดการทาสีบ้าน  ลดการใช้ฝ้าเพดาน​ที่ใช้แร่ใยหิน  การใช้กระดาษ​ทรายขัดไม้  การเลื่อยไม้
4.ดูแลความสะอาดบ้านสม่ำเสมอ ลดการใช้สิ่งที่ทำให้เกิดเผาไหม้​ ควันธูป​ อาหารปิ้งย่าง
5.สวมหน้ากากป้องกันที่เหมาะสม​เช่น N95 N99 เป็นต้น
6.หมั่นตรวจสุขภาพ​ประจำปี​ทางปอดเพื่อคัดกรองโรคทางเดินหายใจ
7.กลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว​เช่น หอบหืด  ภูมิแพ้ ควรติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง

คาร์บอน​เครดิต​คือ ปริมาณ​ก๊าซ​เรือนกระจก​ที่สามารถลดได้จากการดำเนินกลไก​การพัฒนา​ที่สะอาด  นำมาใช้​เพื่อเป็นกลไกในประเทศที่พัฒนาแล้วเพื่อแก้ปัญหา​ภาวะโลกร้อนโดยสามารถหาซื้อโควต้า​คาร์บอน​จากผู้ประกอบการในประเทศกำลังพัฒนาที่มีโครงการพัฒนาที่สะอาด ที่เรียกว่า การค้าขายแลกเปลี่ยนก๊าซเรือนกระจก​

ก๊าซ​เรือนกระจก​มี 4 กลุ่มมีผลต่อสุขภาพคือ
1.คาร์บอน​ไดออกไซด์​ หากร่างกายได้รับในปริมาณ​มากทำให้เกิดปวดศีรษะ​ วิงเวียน คลื่นไส้อาเจียน
2.มีเทน
3.ไนตรัสออกไซด์​
4.ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออกไซด์​

มลพิษ​หลักทางอากาศ​ที่สำคัญคือ ฝุ่นละออง​  ตะกั่ว ก๊าซ​คาร์บอน​มอนอกไซด์ทำให้มีอาการ​มึนงง ง่วงนอน  ก๊าซ​ซัลเฟอร์​ไดออกไซด์​ ทำให้เกิดอาการหอบติดเชื้อในปอดได้

การปลูกป่าช่วยลดภาวะโลกร้อนหรือก๊าซเรือนกระจก​ได้จริงหรือ ได้มีการปลูกป่าเพื่อเก็บคาร์บอน​เครดิตทดแทนในธุรกิจ​โรงไฟฟ้าที่ช่วยดูดซับคาร์บอน​ไดออกไซด์​ แต่ก็ไม่ใช่แนวทางการแก้ปัญหาก๊าซเรือนกระจกที่ถูกต้องเพราะเท่ากับเป็นการเอื้อประโยชน์​ในธุระกิจสร้างความชอบธรรม​ในการปล่อยก๊าซ​เรือนกระจกต่อไป


สนใจบทความอื่นๆเกี่ยวกับหัวใจติดตามอ่านได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน