ภาวะหัวใจห้อง​ล่าง​เต้นพลิ้ว ไม่เป็นจังหวะ

แชร์ให้เพื่อน

ภาวะหัวใจห้อง​ล่าง​เต้นพลิ้ว ไม่เป็นจังหวะ(Ventricular Fibrillation:VF) เกิดขึ้นจากอะไร?

เหตุการณ์​นี้เกิดขึ้นกับหลานชายคนที่สองเมื่อครั้งสมัยเป็นเด็กชายตัวเล็กๆเนื่องจากความอยากรู้อยากเห็นชอบเอานิ้วแหย่ตามรูต่างๆ บังเอิญ​ว่าวันนั้นเอานิ้วไปแหย่ปลั๊กไฟ ดีที่พ่อช่วยไว้ทันจึงรอดชีวิตมาจนปัจจุบัน​นี้  และปัญหาหัวใจห้องล่างเต้นพลิ้วนั้นเกิดจากการถูกไฟฟ้าดูด ซึ่งเป็นสาเหตุ​หนึ่งเป็นต้น

ปัญหาของหัวใจห้องล่างเต้นพลิ้ว ไม่เป็นจังหวะ (Ventricular​ Fibrillation)​นั้นเป็นสาเหตุ​หลักของหัวใจหยุดเต้น(Cardiac arrest) ที่พบบ่อยและเป็นสาเหตุ​ของหัวใจหยุดเต้นที่พบบ่อยที่สุดของโรคกล้ามเนื้อหัวใจ​ขาดเลือดและกล้ามเนื้อหัวใจ​ตายเมื่อเกิดภาวะหัวใจห้องล่างเต้นพลิ้ว ไม่เป็นจังหวะ (Ventricular Fibrillation)​ส่งผลให้ไม่มีเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย​ ถ้ามองดูหัวใจห้องล่างจะไม่มีการหดตัวเลยพบได้เพียงแต่เต้นพลิ้วๆเบาๆเท่านั้น

ภาวะหัวใจห้องล่างเต้นพลิ้ว ไม่เป็นจังหวะ (Ventricular​ Fibrillation)​ แสดงให้เห็นในคลื่นไฟฟ้าหัวใจดังนี้คือ
1.จังหวะการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ รูปแบบของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ​เป็นเส้นหยักไปมาทำให้มีความแตกต่างทั้งรูปร่างและขนาด
2.อัตราการเต้นของภาวะหัวใจห้องล่างเต้นพลิ้วจะเร็วมากและยุ่งเหยิง​จนไม่จำเป็นต้องนับ
3.ไม่พบคลื่นไฟฟ้าอื่นๆเช่น P, QRS complex เลยมีเพียงคลื่นที่หยักไปมาเป็นรูปร่างแปลกๆไม่สม่ำเสมอและเกิดถี่มาก


ภาวะหัวใจห้องล่างเต้นพลิ้ว ไม่เป็นจังหวะ​(Ventricular​Fibrillation)​ เป็นสาเหตุ​ของการตายอย่างปัจจุบัน​ทันด่วน แม้บางรายอาจจะเกิดและหายไปได้เองแต่พบน้อย
โรคหรือปัญหาที่ทำให้กล้ามเนื้อ​หัวใจเสียไปอย่างมากๆได้แก่
1.ผู้ป่วยที่ถูกไฟฟ้าดูด
2.กล้ามเนื้อหัวใจตายอย่างเฉียบพลัน
3.การให้ยาดิจิตาลิสจนเป็นพิษ ซึ่งเกิดในช่วงสุดท้าย
4.โรคหัวใจที่ถึงระดับที่รุนแรงทุกชนิด

แนวทางในการรักษา​ของภาวะหัวใจห้องล่างเต้นพลิ้ว ไม่เป็นจังหวะ (Ventricular​ Fibrillation)​คือ การกระตุ้นหัวใจด้วยเครื่องกระตุ้น​ไฟฟ้าร่วมกับการใช้ยากระตุ้นหัวใจซึ่งมักจะได้ผลดีมาก

จะเห็นได้ว่าปัญหา​ภาวะหัวใจห้องล่างเต้นพลิ้ว ไม่เป็นจังหวะ (Ventricular​ Fibrillation)​การช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพ​นั้นต้องอาศัยผู้ที่มีทักษะ​และความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือในการกระตุ้นหัวใจซึ่งพบเห็นได้บ่อยในการช่วยฟื้นคืนชีพ​(CPR)​ขั้นสูงนั่นเอง


สนใจบทความอื่นๆเกี่ยวกับหัวใจติดตามอ่านได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน