ภาวะเลือดออกหรือเลือดคั่งในสมองและอุณหภูมิของร่างกายที่ลดลงมีผลต่อคลื่นไฟฟ้าหัวใจอย่างไร?

แชร์ให้เพื่อน

ภาวะเลือดออกหรือเลือดคั่งในสมองและอุณหภูมิของร่างกายที่ลดลงมีผลต่อคลื่นไฟฟ้าหัวใจอย่างไร?

ปัญหาของโรคหลอดเลือดสมองที่พบได้บ่อยๆในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงนั่นคือเส้นเลือดในสมองแตกส่งผลให้ผู้ป่วยที่มีเลือดออกหรือเลือดคั่งในสมองมีการเปลี่ยนแปลง​ของคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้บ่อยๆโดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีเลือดออกของชั้นเยื่อหุ้มสมอง (Subarashniod​  hemorrhage) โดยไม่ได้เกิดจากอุบัติเหตุ​  แต่เกิดจากการแตกของหลอดเลือด​ในสมองที่เกิดจากการโป่งพอง (Intracranial aneurysm)  และเกิดจากปัญหา​การสร้างหลอดเลือดที่ผิดปกติ (Vascular malformation) รวมถึงเลือดออกในสมองจากอุบัติเหตุ​ต่อศีรษะ​( Head injury)  เนื้องอกในสมองและการอักเสบ​ในสมองก็ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้เช่นกัน แม้ว่าจะยังไม่สามารถอธิบายสาเหตุ​ได้แน่ชัด แต่ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เชื่อว่าเกิดจากการทำงานของประสาทอัตโนมัติ​ที่เปลี่ยนแปลงไปจากปกติทำให้หัวใจห้องล่างผิดปกติไปด้วย
ความผิดปกติในคลื่นไฟฟ้าหัวใจพบได้คือหัวใจเต้นผิดจังหวะแบบต่างๆซึ่งเกิดร่วมกับภาวะหัวใจเต้นช้าซึ่งพบได้บ่อยและในบางรายนั้นอาจเกิดภาวะหัวใจเต้นเร็วได้

การพบความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจเมื่อมีปัญหา​เลือดออกที่ชั้นเยื่อหุ้มสมองซึ่งพบได้บ่อยที่สุด และพบในลำดับถัดมาคือเลือดออกในเนื้อสมอง  เนื่องจากความเปลี่ยนแปลง​ของคลื่นไฟฟ้าหัวใจในกลุ่มผู้ป่วยที่มีเลือดออกในสมอง หากผู้อ่านคลื่นไฟฟ้าหัวใจไม่ได้ตระหนัก อาจทำให้เกิดความผิดพลาดในการแปรผลข้อมูลได้ เช่น การอ่านผลว่าเป็น ภาวะหัวใจขาดเลือด  หรือกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เป็นต้น

อีกภาวะหนึ่งคือ ภาวะอุณหภูมิ​ของร่างกายลดลง (Hypothermia) ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจคือภาวะที่หัวใจเต้นช้าลง(Sinus​bradycardia)
เมื่ออุณหภูมิ​ของร่างกายลดลงส่งผลต่อคลื่นไฟฟ้าหัวใจดังต่อไปนี้คือ
1.เกิดภาวะหัวใจเต้นช้า(Sinus bradycardia)
2.หัวใจเต้นผิดจังหวะ แบบต่างๆ ทั้งหัวใจห้องบนและห้องล่าง
ปัญหาความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าทั้งหมดนี้จะหายไปและกลับคืนสู่ภาวะปกติหากร่างกายได้้รับความอบอุ่นเพิ่มขึ้นนั่นเอง

ถึงแม้ว่ากล้ามเนื้อหัวใจจะทำงานโดยไม่ได้รับการควบคุมจากสมองโดยตรงก็ตามแต่หากสมองได้รับอันตรายอันเนื่องจากภาวะเลือดออกทั้งจากอุบัติเหตุ​และไม่ใช่อุบัติเหตุ​ก็ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของคลื่นหัวใจตามมาได้ หากผู้แปลผลคลื่นไฟฟ้าไม่ได้ตระหนักอาจแปรผลผิดพลาดได้


สนใจบทความอื่นๆเกี่ยวกับหัวใจติดตามอ่านได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน