การดูแลผู้ป่วย สมองเสื่อม (ตอนที่ 2)

แชร์ให้เพื่อน

การจัดกิจกรรม​ดูแลพื้นฐานสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อม(Dementia)​  ตอนที่ 2.

จากบทความก่อนหน้านี้ทำให้ผู้เขียนเริ่มตระหนักและย้อนกลับมาดูตัวเองพบว่าเริ่มมีบางข้อที่ตนเองเริ่มเข้าสู่ปัญหาสมองเสื่อมทั้งที่อายุก็ยังอยู่ที่ 50 ปีต้นๆ พอได้เขียนและอ่านบทความนี้แล้วยังสามารถนำมาใช้ในการดูแลตัวเองและนำเนื้อหาไปปรับใช้ในการดูแลผู้ป่วยอื่นๆที่มีภาวะสมองเสื่อมที่เกิดขึ้นตามวัย เช่น นำไปปรับใช้ในการดูแลผู้สูงอายุ​ในบ้านหรือญาติพี่น้องตามความเหมาะสม​กับปัญหา​แต่ละข้อที่พบเจอได้

3. กิจกรรมการดูแลด้านการรักษาความสะอาดของช่องปาก และฟันปลอม
เนื่องจากผู้ป่วยสมองเสื่อมโดยส่วนใหญ่อาจต้องใส่ฟันปลอมจากการร่วงของฟันตามวัยฉะนั้นการดูแลช่องปากและฟันปลอมช่วยลดปัญหา​การติดเชื้อทางเดินอาหารและช่วยกระตุ้นการอยากและเจริญ​อาหารได้ในระดับหนึ่งอีกด้วย

ประเด็น​ปัญหาที่พบบ่อยและแนวทางแก้ไขมีดังต่อไปนี้

  • ผู้ป่วยไม่แปรงฟัน​ ลืมวิธีแปรงฟัน​ แนวทางแก้ไข แนะนำให้ผู้ป่วยบ้วนปากด้วยน้ำเกลือ  น้ำยาบ้วนปากทุกครั้งหลังอาหาร หรือแนะนำวิธีการแปรงฟัน เตรียมยาสีฟัน หรือแปรงฟัน​ไปพร้อมๆกัน
  • กลืนยาสีฟัน​ แนวทางแก้ไข ใช้ยาสีฟันเด็กที่ไม่เป็นอันตราย ใช้ยาสีฟัน​ในปริมาณ​ที่เหมาะสม​
  • ลืมถอดฟันปลอม ล้างฟันปลอม แนวทางแก้ไขกระตุ้นให้ผู้ป่วยถอดล้างฟันปลอม​ แนะนำการตรวจสุขภาพของช่องปากและฟันทุก 6 เดือนเป็นต้น


4. กิจกรรม​ด้านการแต่งกาย  

ขั้นตอนการแต่งกายสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมนั้นต้องวางแผนให้เหมาะสมตามกาลเทศะ​หรือการแต่งกายอยู่บ้าน การติดกระดุม การรูดซิป เป็นต้น

ประเด็นปัญหาที่พบบ่อยและแนวทางแก้ไขมีดังต่อไปนี้คือ

  • หลงลืมการจัดเก็บเสื้อผ้า​ แยกเสื้อผ้าที่ไม่จำเป็นออกจากเสื้อผ้าที่ใช้ประจำเช่น ผ้าพันคอ เครื่องประดับ ต่างๆเป็นต้น
  • เลือกเสื้อผ้าในการสวมใส่ไม่เหมาะสมตามสภาพอากาศ​เช่นใส่เสื้อแขนสั้นหน้าหนาว ให้เวลาในการแต่งตัว  ช่วยเลือกเสื้อผ้าที่สวมใส่สบายเหมาะสมกับสภาพอากาศ​ เช่น เสื้อผ้าที่เอวเป็นยางยืด
  • จำไม่ได้ว่าต้องใส่อะไรก่อนหรือหลัง เช่นใส่เสื้อผ้าซ้อนกัน  ลืมใส่กางเกงในหรือใส่กางเกงในใว้ด้านนอกเป็นซูเปอร์​แมน ใส่เสื้อผ้าเดิมๆ ไม่ยอมเปลี่ยน แนวทางแก้ไข จัดเสื้อผ้าเป็นชุด​ๆ  และมีหลายๆ ตัวสีเดียวกันตามที่ผู้ป่วยชอบสวมใส่  ลดจำนวน​เสื้อผ้าในตู้เสื้อผ้าให้น้อยลงเพื่อลดความสับสนและใช้เวลานานในการเลือกเสื้อผ้าเป็นต้น
  • ไม่ยอมใส่เสื้อผ้า​จากอากาศร้อน ถอดเสื้อผ้าในที่สาธารณะ​โดยไม่รู้มารยาท​ทางสังคม พูดคุยด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวล หลีกเลี่ยงการโต้แย้งให้คำแนะนำ​เรื่องมารยาท​ทางสังคมโดยไม่ตำหนิผู้ป่วยเป็นต้น

5. กิจกรรม​การดูแลในด้านระบบการขับถ่าย

ผู้ป่วยสมองเสื่อมในระยะแรกอาจต้องให้คำแนะนำเตือนให้เข้าห้องน้ำในเรื่องการขับถ่าย ในระยะต่อมาอาจต้องช่วยถอดเสื้อผ้า  บอกห้องน้ำอยู่ใหน เมื่อถึงระยะที่มีปัญหา​การขับถ่ายอาจต้องประเมินสภาพร่างกายหาสาเหตุของปัญหาด้านการขับถ่ายว่าเกิดจากสาเหตุ​อื่นๆเช่น ระบบการขับถ่ายของผู้ป่วยเอง ประเภทของอาหารที่รับประทานโดยรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย การดื่มน้ำน้อย หากมีปัญหา​รุนแรงอาจต้องพิจารณา​ให้ยาระบายร่วมด้วยเป็นต้น ปัญหาที่พบบ่อยคือ

  • ขับถ่ายปัสสาวะ​ อุจจาระ​โดยไม่เลือกสถานที่​ สันสนหาห้องน้ำไม่เจอ แนวทางแก้ไข คอยเตือนให้เข้าห้องน้ำ  มีป้ายห้องน้ำที่ชัดเจน ใส่เสื้อผ้าที่ถอดง่าย พาเข้าห้องน้ำก่อนนอน เปิดไฟดวงเล็กๆไว้หรือเปิดไฟในห้องน้ำทิ้งไว้ในเวลากลางคืน หากควบคุมไม่ได้อาจต้องพิจารณา​ใส่ผ้าอ้อมสำเร็จ​ในเวลานอนหรือออกนอกบ้าน  หากไม่มีห้องน้ำในตัวอาจต้องพิจารณา​จัดเก้าอี้​สำหรับการขับถ่าย(Bedside commodes) ไว้ข้างเตียงเพื่อลดปัญหาลงได้ จัดอาหารที่มีกากใยสูงเพื่อช่วยระบบการขับถ่าย  กระตุ้นให้ดื่มน้ำตอนกลางวัน จำกัดน้ำเวลาเย็นเพื่อไม่ให้ตื่นมาเข้าห้องน้ำบ่อย หากมีความสับสนมากอาจต้องจัดเตรียมสถานที่ให้เหมาะสมมากขึ้น

6. กิจกรรมลดปัญหา​ด้านการสื่อสาร การตอบสนองช้า เข้าใจยาก

ให้เวลาในการสื่อสาร นึกคำศัพท์​ไม่ออก เป็นต้น แนวทางในการแก้ปัญหา​ที่เหมาะสมคือ ขณะสื่อสารกับผู้ป่วยให้ขจัดสิ่งรบกวน เช่นทีวี วิทยุ ใช้น้ำเสียงที่นุ่มนวลไม่ดังเกินไป พูดคุย​ด้วยประโยคที่สั้น กระชับ เข้าใจได้ง่าย หากไม่เข้าใจต้องเรียบเรียงประโยคไหม่ อาจต้องใช้มือหรือท่าทางประกอบมากขึ้นและใจเย็น คอยให้กำลังใจ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ป่วยเป็นต้น


7. กิจกรรมด้านการนอนหลับ​พักผ่อน

ผู้ป่วยมักตื่นบ่อยในเวลากลางคืนมาทำกิจกรรม​สร้างความลำบากแก่ผู้ดูแล ไม่ได้พักผ่อนต่อเนื่อง แนวทางแก้ปัญหา โดยให้ผู้ป่วยได้รับแดดช่วงเช้า ช่วยให้นอนหลับในเวลากลางคืนได้ง่ายขึ้น จัดเวลาเข้านอนเร็วขึ้นเพื่อจะได้ตื่นเช้ามากขึ้น จัดห้องนอนที่มีแสงสว่างที่เหมาะสม อุณหภูมิ​ไม่ร้อนหรือหนาวเกินไป หากิจกรรมที่ผู้ป่วยชอบในเวลากลางวันไม่เบื่อเพื่อช่วยลดเวลาการนอนกลางวันลงได้  งดการบริโภค​สารคาเฟอีน​ซึ่งทำให้นอนหลับยาก เพิ่มอาหารมื้อเย็นเช่น นมร้อน อาหารที่ย่อยง่าย ช่วยลดการตื่นมารับประทานกลางดึก  เข้าห้องน้ำก่อนนอน  หากไม่ยอมนอนหลับสร้างความวุ่นวายต้องแจ้งแพทย์เพื่อพิจารณา​ปรับยานอนหลับได้ตามความเหมาะสม


8. กิจกรรม​การดูแลด้านอารมณ์​และพฤติกรรม​ที่เปลี่ยนแปลง เป็นปัญหา​ที่พบได้บ่อยมีผลกระทบต่อผู้ดูแล ดังนั้นผู้ดูแลต้องใช้ทั้งความรู้ ความเข้าใจ ความรัก ร่วมกับเทคนิค​ความยืดหยุ่น ปรับไปตามสถานการณ์​แต่ละวัน สำหรับประเด็น​ปัญหา​ที่พบบ่อยเช่น

  • การรับรู้ที่ผิดไปจากความจริง กลัวคนมาขโมย​ของ ระแวงเรื่องการปิดประตู คิดว่าคู่ครองไม่ซื่อสัตย์​หลงผิดเกิดความก้าวร้าวตามมา แก้ปัญหา​โดยหาสาเหตุ​ของปัญหา​ที่กระตุ้น​ให้เกิดความก้าวร้าว​และขจัดปัญหานั้น โดยอธิบายความจริงกับผู้ป่วยด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวลเป็นต้น
  • หงุดหงิดง่าย  เห็นภาพหลอน ขาดการยับยั้ง​ชั่งใจ มีพฤ​ติกรรมที่น่าละอาย​ในที่สาธารณะ​พูดคำหยาบ เดินออกจากบ้านทำให้หลงทางหรือเกิดอุบัติเหตุ​ขึ้นได้ การทำพฤติกรรม​ซ้ำๆเช่น หุงข้าว ค้นหาข้าวของ เปิดปิดตู้เสื้อผ้า รื้อค้นกระเป๋าหรือลิ้นชัก  มีอารมณ์​ซึมเศร้า​  ขาดความกระตือรือร้น​  ไม่แสดงออกทางอารมณ์​แยกตัว ไม่สนใจในการปฎิบัติ​กิจวัตรประจำวัน​  ขาดการริเริ่มการทำสิ่งใหม่​ๆ  วิตกกังวลกลัวลูกหลานทอดทิ้ง หรือเรียกหาบ่อยๆ พูดไปขำไป พูดเกินจริงเป็นต้น  แนวทางการแก้ไข โดยการเบี่ยงเบนความสนใจ ทำกิจกรรมที่ชอบ ฟังเพลงหรือดนตรี ออกกำลังกาย เล่นเกมง่ายๆ ทำสวน รดน้ำต้นไม้ วาดรูป ดูอัลบั้มรูปเก่าๆ  เขียนบันทึกหรือวาดรูป​เป็นต้น  ห้ามเถียงเพื่อเอาชนะให้คล้อยตาม​ไปก่อนเน้นเบี่ยงเบนความสนใจเป็นหลัก ดูแลจัดเก็บสิ่งของอันตรายให้ห่างมือ  อาจต้องเขียนเบอร์โทร ชื่อสกุลติดกระเป๋าเสื้อไว้เป็นต้น

จากประเด็นปัญหาในผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมอาจมีความแตกต่าง​กันไป ผู้ดูแลควรต้องใช้ความรู้และปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์​เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิต​ที่ดีขึ้น สื่อสารให้สั้น กระชับเข้าใจง่าย เน้นการทำกิจกรรม​เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ กระตุ้นการฟื้นฟูความจำโดยพาไปในที่ๆเคยไปมาก่อนเป็นต้น


การดูแลผู้ป่วย สมองเสื่อม (ตอนที่ 1)


สนใจบทความอื่นๆเกี่ยวกับหัวใจติดตามอ่านได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน