ผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม  (Dementia)​  ต้องวางแผนชีวิตอย่างไร?

แชร์ให้เพื่อน

ผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม  (Dementia)​  ต้องวางแผนชีวิตอย่างไร? ประเมินด้วยตนเองได้ไหม?

เมื่อฉันเริ่มหลงลืมเป็นการชั่วคราวช่วงป่วยโรคโควิด19 พูดๆอยู่ก็ลืมว่าพูดอะไรต้องรีบจดขั้นตอนต่างๆ ไม่อย่างนั้นฉันจะจำไม่ได้  แม้ความจำในระยะสั้นๆ  หากได้รับวินิจฉัย​ว่าเป็นภาวะสมองเสื่อม ต้องรีบทำความเข้าใจ ยอมรับ และปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง​เกี่ยวกับการดำเนินไปของโรคซึ่งเกิดการเสื่อมถอยไปเรื่อยๆ  เพื่อให้สามารถวางแผนชีวิตของตนให้เหมาะกับภาวะเสื่อมถอยของสมองในด้านต่างๆเช่น การบันทึกเกี่ยวกับทรัพย์สิน​มีอยู่ที่ใหนบ้าง? (กรณีเก็บใส่ไหฝังดินก็ต้องจดบันทึกหรือแจ้งลูกหลาน ญาติ ไม่อย่างนั้นหากขุดเจอทีหลังจะกลายป็นทรัพย์สิน​ของแผ่นดินไม่ใช่ของลูกหลานอีกต่อไป)​ เงินประกันชีวิต เงินประกันสังคม เงินลงทุนในกองทุน ตลาดทุน สกุลเงินดิจิทัล   อสังหาริมทรัพย์​ เป็นต้น การทำพินัยกรรม​ชีวิต (Advanced directive plan) การช่วยฟี้นคืนชีพ
การบริจาค​ร่างกาย แหล่งสนับสนุนการดูแลหากต้องพึ่งพาผู้อื่นเมื่อไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้  ทั้งนี้ผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมหากตรวจพบตั้งแต่เริ่มแรกการได้รับยากลุ่มแอนติโคลิเนสเตอเรสจะช่วยชะลอความจำเสื่อมได้ ชะลอการพึ่งพา และดูแลตนเองออกไปให้ยาวนานที่สุดทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไปได้  รวมถึงการเรียนรู้​เทคนิควิธีการจัดกิจกรรมพื้นฐานซึ่งได้กล่าวถึงในบทความที่ผ่านมาแล้ว 2 ตอน เพื่อทำให้ผู้ดูแลและผู้เกี่ยวข้องเกิดความเข้าใจและยอมรับเกี่ยวกับอาการแสดงที่เปลี่ยนแปลง​ ช่วยลดความขัดแย้ง หากขาดความเข้าใจแล้วจะคิดว่าผู้ป่วยเสแสร้ง​  แกล้งทำ​หรือแกล้งทำร้ายตนเอง  นอกจากนี้การใช้ยาช่วยเรื่องความจำก็สามารถช่วยได้ในผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมระยะเริ่มต้นและระยะกลางเท่านั้น

การรักษาผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมโดยไม่ใช้ยาซึ่งผู้เขียนเองก็ใช้วิธีการนี้อยู่เช่น

1.การจดบันทึกกิจกรรม ข้อมูลประจำวันในเรื่องที่สำคัญๆลงในเครื่องมือสื่อสารซึ่งปัจจุบัน​นี้มีแอพลิเคชั่นให้เลือกมากมายเช่น แอพการเงิน เพื่อช่วยจดจำข้อมูลในระยะสั้นหลังจากนั้นค่อยเขียนบันทึกประจำวันช่วงก่อนนอนอีกครั้งเพื่อรื้อฟื้นความจำระยะสั้น และสรุปบันทึกรายเดือน รายไตรมาส และรายปี จากข้อมูลที่บันทึกไว้ต่อไป เพื่อช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง  การบันทึกการเดินทางไปในสถานที่ต่างๆลงในเฟซบุ้ค​เป็นต้น
2.การทบทวนความหลังต่างๆที่ผ่านมาในชีวิต เช่น การเปิดดูรูปภาพเก่าๆ ทั้งในอัลบั้ม​รูปภาพและเครื่องมือสื่อสาร   การเปิดดูเรื่องราวย้อนหลังในเฟซบุ้ค​ การอ่านบันทึกประจำวัน ประจำเดือน ประจำปี เพื่อช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองให้มีสมรรถภาพสมองมากที่สุดและมีความเพลิดเพลินอีกด้วย
3.การออกกำลังกาย​ กิจกรรมการออกกำลังกายนั้นมีหลากหลายรูปแบบโดยเลือกให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของแต่ละคน เช่น การเดิน การวิ่ง การเล่นโยคะ ฟิตเนส​  เป็นต้น

การประเมินภาวะสมองเสื่อมแบบองค์รวมโดยยึดหลักการตรวจสุขภาพ​ทั่วไป ได้แก่ การซักประวัติ สังเกตพฤติกรรม​ของตนเอง  การตรวจร่างกาย การตรวจพิเศษโดยอาศัยผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงการรวบรวมข้อมูลด้านร่างกาย​  อารมณ์​  สังคมและความสามารถในการทำหน้าที่ ความรับผิดชอบต่างๆเป็นต้น


ลักษณะ​ของผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมมีความเกี่ยวข้องกับประเด็นต่างๆดังต่อไปนี้ คือ
1.ความสามารถในการจดจ่อกับสิ่งตรงหน้าได้สั้น  สิ่งเร้าภายนอกกระตุ้นได้งายเช่น เสียงดัง แสงสว่างมากหรือน้อยเกินไป
2.โรคประจำตัว​อะไรบ้าง ประวัติการใช้ยาและอาหารเสริม สัมพันธภาพ​ในครอบครัว​เป็นต้น  ประวัติการเข้ารักษา​ในโรงพยาบาล การผ่าตัด การบาดเจ็บ​ การรับวัคซีน​ต่างๆ
3.การคิดและตัดสินใจอย่างมีเหตุผล​  การพูด  ภาษา  พฤติกรรม​และอารมณ์​เช่น หากมีภาวะเสื่อมของสมองส่วนหน้า จะมีผลกระทบ​ต่อการตัดสินใจ การแก้ปัญหา​ การแสดงออกทาวภาษา อารมณ์​เป็นต้น
4.ภาวะสมองเสื่อมนั้นมีอาการคล้ายกับโรคบางชนิดเช่น โรคชรา (Normal aging change) ภาวะสับสนเเฉียบพลัน​(Delirum)​ภาวะซึมเศร้า​(Depression)​  ฮอร์โมน​ไทรอยด์​ต่ำ(Hypothyroid)​  น้ำคั่งในโพรงสมอง (hydrocephalus)  การนอนกรนหรือนอนไม่หลับ  โรคพาร์กิน​สัน โรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มอาการทั้งหลายต้องได้รับการประเมินและวินิจฉัย​แยกโรคจากผู้เชี่ยวชาญเป็นต้น
5.ประวัติทางด้านจิตใจ อารมณ์​และพฤติกรรมเช่น ซึมเศร้า​ เฉยเมย กระวนกระวาย หลงผิด ประสาทหลอน หวาดระแวง จำตนเองไม่ได้ซึ่งผู้เขียนเองก็พบเจอปัญหานี้ในช่วงติดเชื้อโควิด19 เช่นกัน
6.การตรวจทางห้องปฏิบัติ​และตรวจพิเศษอื่นๆโดยอาศัยผู้เชียวชาญ​ในการแปรผลต่างๆเป็นต้น
7.ประวัติการเจ็บป่วยโรคซิฟิลิส​ที่ไม่ได้รับการรักษาทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมเทียมได้
การตรวจประเมินผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมนั้นจะช่วยให้สามารถทราบถึงปัญหา​ความรุนแรง​ของโรค  ผลกระทบ​ต่างๆ เพื่อวางแผนในการรักษาเช่น การให้ยาเพื่อชะลอความเสื่อมของสมองและยืดเวลาการพึ่งพาผู้ดูแลเป็นต้น โดยเบื้องต้นนั้นการประเมินตนเองช่วงแรกจะช่วยให้สามารถตรวจพบได้ในช่วงแรกและใช้ยาช่วยชะลอได้ในระดับหนึ่งก่อนสมองจะเสื่อมถอย​มากขึ้น


สนใจบทความอื่นๆเกี่ยวกับหัวใจติดตามอ่านได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน