การเสริมสร้างแรงจูงใจในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน  (Diabetes)

แชร์ให้เพื่อน

การเสริมสร้างแรงจูงใจในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน  (Diabetes)

โรคเบาหวาน(Diabetes)​ มีสาเหตุมาจากพันธุกรรม​และพฤติกรรม เช่น การบริโภค​อาหาร​  การออกกำลังกาย หากเกิดจากพันธุกรรม​แล้วนับเป็นเรื่องยากที่จะป้องกันหรือหลีกเลี่ยงได้ แต่ในบทความนี้ผู้เขียนจะกล่าวถึงการเสริมสร้างแรงจูงใจเพื่อปรับเปลี่ยน     บุคลิกภาพ   พฤติกรรม​สุขภาพ​ในชีวิตประจำวัน​เพื่อลดอุบัติการณ์​และควบคุมให้เกิดภาวะแทรกน้อยลง  การปรับพฤติกรรม​ได้แก่ การสูบบุหรี่  การรับประทาน​อาหาร​  การออกกำลังกาย​   และการพักผ่อนนอนหลับ  เป็นต้น เนื่องจากการเจ็บป่วยเรื้อรังมีผลกระทบ​ต่อสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และสังคมทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม ชีวิตความเป็นอยู่ อาชีพการงาน และทางเพศ​ เป็นต้น

ทำไมผู้ป่วยโรคเบาหวาน (Diabetes)​ ถึงต้องเน้นการดูแลตนเอง?  เพราะ

1.โรคเบาหวาน(Diabetes)​ เป็นโรคเรื้อรังและเป็นการเจ็บป่วยที่ยาวนาน  ผู้ป่วยต้องได้รับการดูแลรักษายาวนาน ผู้ป่วยอาจได้รับยาอินซูลินโดยวิธีการฉีด  วิธีการกิน  หรือวิธีการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย​ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างพร้อมกันเป็นต้น
2.โรคเบาหวาน(Diabetes) หากเมื่อเป็นแล้วไม่สามารถดูแลตนเองได้ดีหากได้รับการรักษา​โดยการให้ยาอินซูลิน​แล้ว อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง(Hyperglycemia) หรือน้ำตาลในเลือดต่ำ(Hypoglycemia)​ได้
3.โรคเบาหวาน​(Diabetes) เมื่อเกิดขึ้นแล้ว   หากควบคุมดูแลตนเองได้ไม่ดี  อาจมีโรคอื่นๆเกิดขึ้นตามมาเช่นโรคความดัน​โลหิต​สูง  โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต   ภาวะเบาหวานขึ้นตา  เกิดแผลที่เท้า เป็นต้น การดูแลตนเองอย่างจริงจังสำหรับโรคเบาหวานเพื่อช่วยชลอความก้าวหน้า​ของโรค  ลดการกำเริบ  ให้มีชีวิตยืนยาวขึ้น ร่วมกับสามารถทำหน้าที่ได้เต็มตามศักยภาพ​และมีคุณภาพชีวิต​ที่ดีด้วย

การเสริมสร้างแรงจูงใจในการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน​ (Diabetes)​ มีดังนี้
1.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน​(Diabetes)​ ต้องรับรู้ว่าโรคเบาหวานนั้นได้เกิดขึ้นกับตนเองแล้ว  การรับรู้นั้นต้องพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม​สุขภาพในชีวิตประจำวันต่างๆเช่น การรับประทานยาต่อเนื่อง การกินอาหารที่จำกัดน้ำตาลเน้นการรับประทานผักมากขึ้น  การออกกำลังกาย การตรวจเช็คระดับน้ำตาลในเลือดทั้งการตรวจเช็คด้วยตนเองที่บ้านและติดตามการดูแลรักษา​โรคเบาหวาน​(Diabetes)​ กับผู้เชี่ยวชาญ​เป็นต้น เพราะว่าภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังนั้นทำให้เกิดผลกระทบ​กับผู้ป่วย ครอบครัว และสังคม เนื่องจากหากสามีเจ็บป่วยภรรยา​ต้องรับภาระ​มากขึ้น บทบาทในครอบครัวต้องเปลี่ยนแปลงไป  ผู้ป่วยรู้สึกเสียศักดิ์ศรี​ที่ต้องพึ่งพาคนอื่น  เป็นต้น
2.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน​(Diabetes)​ ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรค  และแผนการรักษาของตนเองเช่น ฉีดอินซูลิน​ กินยาอินซูลิน​ ควบคุมอาหารและออกกำลังกาย​เป็นต้น(ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน(Diabetes) ได้กล่าวถึงในบทความที่ผ่านมา)​  ตัวอย่างเช่น โรคเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน​ในวัยรุ่น  การควบคุมโรคได้ลำบาก มีความเสี่ยงเรื่องภาวะน้ำตาลในเลือดสูง(Hyperglycemia) ทั้งที่ได้พยายามควบคุมปัจจัยต่างๆให้ดีที่สุด อาจเกิดจากการเจริญเติบโต​อย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ป่วยหมดกำลังใจและรู้สึกว่าการกระทำของตนเองไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติได้ เป็นต้น
3.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน(Diabetes) ต้องตระหนัก​ถึงภาวะแทรกซ้อน​(complications) ที่เกิดขึ้นกับตนเองเช่น.ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) หรือภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ(Hypoglycemia) เพราะปัญหาระดับน้ำตาลสูงหรือน้ำตาลต่ำนั้น มีความเกี่ยวข้องกับ​พฤติกรรม​การรับประทาน​อาหาร​  ถ้าหากผู้ป่วยละเลยแล้วอาจทำให้เกิดภาวะอันตรายแก่ชีวิตได้หากไม่ได้รับการดูแลรักษา​ทันท่วงที ผู้ป่วยเบาหวาน​(Diabetes)​ อาจต้องเตรียมลูกอมติดตัวเพื่อช่วยแก้ปัญหา​ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าปกติได้
4.ผู้ป่วยเบาหวาน​(Diabetes)​ ต้องรู้ เข้าใจ และตระหนักถึงการดูแล​สุขภาพ​เท้าเพื่อป้องกันการเกิดแผลหากเกิดขึ้นแล้วจะส่งผลให้มีการหายของแผลยากกว่าคนปกติและอาจต้องสูญเสีย​อวัยวะ​ต่างๆตามมาได้ (การดูแลสุขภาพเท้าสามารถหาอ่านได้ในบทความที่ผ่านมา)​
5.มนุษย์​เราทุกคนต้องตระหนักและเข้าใจกฎเกณฑ์​ของธรรมชาติ​ว่า  การเกิดภาวะเจ็บป่วยโรคภัยไข้เจ็บ  นั้นเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่จำกัดอายุ  เพศ วัย  หรือสถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ​  เป็นต้น มนุษย์​ต้องยอมรับการพึ่งพาบุคคล​อื่นเมื่อจำเป็น  ค้นหาวิธีการจัดการกับความเครียดด้วยตนเอง   ลดความวิตกกังวล  ความกลัว  (อ่านเนื้อหาเพิ่มเติมได้ในบทความที่ผ่านมา)​  ยอมรับภาพลักษณ์​ที่เปลี่ยนแปลงไปและผลกระทบ​ที่อาจเกิดขึ้นต่อสุขภาพของตนเอง เป็นต้น
6.ผู้ป่วยเบาหวาน​(Diabetes)​ ต้องรักษาสัมพันธภาพ และการติดต่อสื่อสาร​ที่ดีกับนักวิชาชีพสุขภาพ​  ครอบครัว  ญาติ​มิตร เพื่อนฝูงหรือกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน( Diabetes)​ เพื่อสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์​การดูแลตนเองและนำมาปรับเปลี่ยนให้เข้ากับการดูแลตัวเอง​ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีชีวิตที่ยาวนานขึ้น
7.แผนการรักษา​โรคเบาหวาน​(Diabetes)​ต้องการแหล่งประโยชน์​ของครอบครัว หากครอบครัวที่ขาดแหล่งประโยชน์​ทางสังคม จิตใจ หรือเศรษฐกิจ​ ทำให้จัดการกับปัญหาลำบากมากขึ้นตามมา

โรคเบาหวาน(Diabetes)​ ถึงแม้ว่าจะเป็นกลุ่มโรคเจ็บป่วยเรื้อรัง หากได้รับความร่วมมือจากผู้ป่วย ครอบครัวผู้ดูแล บุคลากร​ทางสุขภาพ​ แหล่งประโยชน์​ด้านเศรษฐกิจ​แล้ว ก็สามารถช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวาน(Diabetes)​ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและมีชีวิตที่ยาวนานได้


สนใจบทความอื่นๆเกี่ยวกับหัวใจติดตามอ่านได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน