การดูแลสุขภาพของตนเองเมื่อเจ็บป่วย

แชร์ให้เพื่อน

การเสริมสร้างแรงจูงใจในการดูแลสุขภาพของตนเองเมื่อเจ็บป่วย

ทำไมเราถึงต้องดูแลสุขภาพของตนเอง?

เพราะมนุษย์เรานั้นเกิดมาและใช้ชีวิตบนโลกใบนี้ในระยะเวลาที่มีอย่างจำกัด การดูแลรักษาสุขภาพด้วยตนเองจะช่วยให้มีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น

จากบทเรียนการระบาดของโรคโควิด 19 ในรอบสามปีที่ผ่านมา  ทำให้มนุษย์มีความตื่นตัวในการดูแลภาวะสุขภาพของตนเองมากขึ้น  โดยเน้นการดูแลสุขภาพของตนเองที่บ้าน การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย  การใช้สมุนไพรพื้นบ้านช่วยในการรักษาอาการเจ็บมากขึ้น ใช้ชีวิตแบบมีระยะห่างระหว่างบุคคลอื่น เป็นต้น

หากเราต้องการมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและมีสุขภาพจิตที่ดีเราต้องกำหนดแนวทางและเป้าหมายในการใช้ชีวิตดังต่อไปนี้คือ

  1. การประเมินภาวะสุขภาพของตนเองเบื้องต้น เช่น เรามีโรคประจำตัวอะไรบ้าง?ในตอนนี้  เรามีพฤติกรรมเสี่ยงอะไรบ้างในชีวิตประจำวันที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น การสูบบุหรี่  ดื่มเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ การไม่ออกกำลังกาย  การรับประทานอาหารแปรรูปหรืออาหารจานด่วน  เป็นต้น  ตัวอย่างการประเมินภาวะด้านสุขภาพของตนเองเช่นหากเราป่วยเป็นโรคเบาหวานอยู่เราจะดูแลตนเองในด้านการรับประทานอาหารอย่างไรบ้าง? อาหารประเภทใหนที่สามารถรับประทานได้อย่างจำกัดปริมาณ หรืออาหารประเภทใหนบ้างที่เรารับประทานได้แบบไม่จำกัดปริมาณ  การรับประทานยาหรือฉีดยาเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด  การดูแลสุขภาพเท้า การเลือกใส่ร้องเท้าเพื่อช่วยดูแลเท้าป้องกันการเกิดแผล  การเลือกกิจกรรมการออกกำลังกายที่เหมาะสม การนอนหลับพักผ่อน (สามารถอ่านในบทความอื่นๆเกี่ยวกับโรคเบาหวาน)
  2. การยอมรับว่าปัญหาด้านสุขภาพนั้นได้เกิดขึ้นกับตนเองและเป็นปัญหาที่สามารถแก้ไขหรือควบคุมได้  เช่น เมื่อเราเจ็บป่วยโรคมะเร็งเต้านม  เราต้องยอมรับว่าปัญหาดังกล่าวได้เกิดขึ้นกับตนเองแล้ว  มองหาวิธีการดูแลสุขภาพของตนเองอย่างไรเพื่อสามารถควบคุมเซลล์มะเร็งไม่ให้เกิดการลุกลามแพร่กระจายไปอวัยวะอื่นๆ หรือหายขาดโดยการควบคุมปัจจัยที่ก่อให้เกิดมะเร็งเต้านมเช่น ฮอร์โมน  อาหาร เป็นต้น ร่วมกับการปรับเปลี่ยนด้านพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่มีความเสี่ยง   หรือในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งปอดต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการงดสูบบุหรี่ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดการเจ็บป่วย เป็นต้น
  3. การปฏิบัติตามแผนการรักษา การวินิจฉัยโรค การฟื้นฟูสภาพของร่างกายเพื่อให้เกิดผลดีที่สุด โดยเน้นด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆ เช่น  พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันได้แก่  การพักผ่อนนอนหลับแต่ละวันนอนหลับพักผ่อนได้เพียงพอหรือไม่ มีปัญหาการนอนไม่หลับหรือไม่  การจัดการกับความเครียดในแต่ละวันมีสิ่งกระตุ้นที่ก่อให้เกิดภาวะเครียดหรือไม่  สามารถจัดการกับความเครียดได้ด้วยตนเองหรือไม่  ด้านการรับประทานอาหาร  พฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดหรือไม่  การรับประทานอาหารที่มีรสเผ็ดเสี่ยงต่อโรคกระเพาะอาหาร การไม่รับประทานอาหารประเภทผักผลไม้ที่มีเส้นใยหรือกากใยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่   การสูบบุหรี่เสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอดหรือโรคถุงลมโป่งพอง   การไม่ออกกำลังกายเสี่ยงต่อโรคอ้วน  เป็นต้น
  4. การเลือกหรือกำหนดทางเลือกในการดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง เช่น การติดเชื้อโรควัณโรคที่ปอดทางเลือกในการรักษาต้องใช้การรักษาโดยยาฆ่าเชื้อ(Antibiotic) เท่านั้น  ซึ่งยาฆ่าเชื้อนั้นการใช้ในระยะยาวมักมีผลกระทบเรื่องของการแพ้ยาซึ่งมีผลต่อตับ แต่สิ่งที่จะพอปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าวได้คือ งดเว้นการสูบบุหรี่ หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  พักอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวกเนื่องจากเนื้อปอดมีร่องรอยของการเกิดโรคอาจทำให้เกิดปัญหาการแลกเปลี่ยนอากาศในปอดเป็นต้น
  5. การสร้างกำลังใจด้วยตนเองหรือได้รับกำลังใจจากคนในครอบครัว  ภาวะการเจ็บป่วยนั้นหากขาดกำลังใจในการดูแลรักษาสุขภาพแล้ว  จะทำให้โรคกำเริบได้และทำให้มีสุขภาพที่แย่ลงฉะนั้นการได้รับกำลังใจจากคนรอบข้างก็เป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกัน
  6. การยอมรับความช่วยเหลือจากหน่วยงานด้านสุขภาพเมื่อจำเป็นเช่นการเจ็บด้านสุขภาพที่รุนแรงเช่น โรคเอดส์ การรับการรักษาโดยการกินยาต้านไวรัสจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้ยาวนานขึ้นเป็นต้น

จะเห็นได้ว่าการมีกำลังใจหรือการปรับตัวให้ยอมรับกับปัญหาแล้วหาแนวทางการแก้ไขเป็นทางเลือกในการดำเนินชีวิตเพราะในโลกนี้มีปัญหามากระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งสิ้นขึ้นอยู่กับการปรับตัวเพื่อให้สามารถอยู่ในโลกนี่ให้ได้ยาวนานที่สุด


สนใจบทความอื่นๆเกี่ยวกับหัวใจติดตามอ่านได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน