การจัดที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับผู้ป่วยสมองเสื่อมทำอย่างไร?

แชร์ให้เพื่อน

การจัดที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับผู้ป่วยสมองเสื่อมทำอย่างไร?

ผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมนับวันยิ่งมีปัญหาเพิ่มมากขึ้น หลังจากโรคโควิด 19 ระบาดในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณะสุขเป็นอย่างมาก  ทั้งด้านงบประมาณในการดูแลรักษาภาวะสุขภาพกายและสุขภาพจิต  หลังปัญหาโควิด19 ชะลอการระบาดลงผู้ป่วยที่ได้รับการติดเชื้อได้รับผลกระทบทางด้านสุขภาพจิต  พร้อมๆกับปัญหาทางเศรษฐกิจที่หยุดชะงักลงแบบทันทีทันใด คนหยุดการเดินทางทั่วโลก ประเทศที่สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวอย่างเดียวเกิดผลกระทบอย่างรุนแรงส่งผลให้ธุรกิจขนาดเล็กต้องปิดตัวลงอย่างเช่น เมืองท่องเที่ยวอย่างพัทยา เดิมทีเป็นเมืองไม่เคยหลับใหล แต่เมื่อเจอวิกฤติเศรษฐกิจจากโรคโควิด 19 ทำให้เมืองพัทยาเป็นเมืองเงียบสงบ โรงแรมหลายแห่งต้องปรับเปลี่ยนธุรกิจเป็นการรับดูแลผู้ป่วยโรคโควิด 19 เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดได้  ตลาดหุ้นทั่วโลกร่วงลงอย่างหนักแบบต่อเนื่องรวมถึงตลาดทองคำและตลาดเงิน แม้แต่ธุระด้านการแพทย์เองก็เกิดวิกฤติเช่นกัน  แต่ธุระกิจการผลิตหน้ากากอนามัยและถุงมือยางกลับเติบโตขึ้นเป็นร้อยเท่าตัว  หลังปัญหาโรคโควิด 19 สงบกลับเกิดปัญหาทางด้านสุขภาพจิตตามมา  ทั้งประชาชนทั่วไปและบุคลากรทางการแพทย์

เรามาดูกันเลยว่าการจัดสถานที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อมอย่างไร? ถึงจะเหมาะสมกับผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม

  1. ที่อยู่อาศัยสำหรับผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมนั้นควรจัดในพื้นที่ชั้นล่างของบ้าน ลดการขึ้นบันไดบ้าน ควรมีหน้าต่างให้สามารถมองเห็นวิวภายนอก มีแสงสว่างที่เพียงพอเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเห็นสิ่งของต่างๆ รอบตัวได้ดี  ไม่เกิดความหวาดระแวง หรือเห็นภาพหลอน เพื่อช่วยลดปัญหาการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ  ควรมีนาฬิกา ปฏิทิน หรือรูปถ่ายเก่าๆ เป็นต้น
  2. การจัดวางสิ่งของในห้องให้มีความเป็นระเบียบ ไม่เกะกะทางเดิน ไม่ควรเคลื่อนย้ายที่ในการจัดเก็บสิ่งของในบ้านบ่อยๆ เพราะจะทำให้ผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมเกิดความสับสน หาข้าวของไม่พบ เกิดความวิตกกังวลและเครียดได้
  3. การจัดแสงสว่างให้เพียงพอ โดยเฉพาะทางเดินเข้าห้องน้ำต่างๆ เพราะผู้ป่วยสมองเสื่อมอาจตื่นมาเข้าห้องน้ำกลางดึกหากแสงไฟไม่เพียงอาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย  แสงไฟสลัวทำให้เกิดหูแว่วหรือเห็นภาพหลอนได้
  4. ลักษณะของพื้นบ้าน ควรเป็นพื้นราบ พื้นไม่ลื่นหรือเป็นพื้นต่างระดับ หากพื้นลื่นควรใช้วัสดุกันพื้นลื่นเป็นต้น
  5. ควรจัดเก็บสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายกับผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมให้พ้นสายตาเพราะผู้ป่วยอาจเข้าใจผิด นำมากินทำให้เกิดอันตรายตามมาได้ เช่น สารเคมี ของมีคม เตาแก๊ส เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ตัวอย่างอันตรายเช่น ผู้ป่วยสมองเสื่อมนำเม็ดปุ๋ยซึ่งมีลักษณะคล้ายกับสาคูนำมาต้มใส่น้ำตาลรับประทาน เป็นต้น
  6. อุปกรณ์ที่ช่วยในการเคลื่อนไหวร่างกาย ควรมีความพร้อมในการใช้งาน เช่น ไม้เท้า คอกสี่ขาในการช่วยเดิน ไฟฉายช่วยในการส่องแสงสสว่างในทางเดินหากกรณีเกิดปัญหาไฟดับ ไม่ควรใช้เทียนหรือตะเกียงเพราะอาจทำให้เกิดไฟไหม้ได้
  7. มีสิ่งช่วยเตือนด้าน วัน เวลาให้กับผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อม เช่น นาฬิกาที่มีตัวเลขชัดเจน ปฏิทิน รูปถ่ายเก่าๆ  ติดสัญลักษณ์บอกตำแหน่งห้องน้ำ  ห้องนอนเป็นต้น
  8. ลดสิ่งกระตุ้นที่อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการแย่ลงเช่น เสียงดังรบกวนต่างๆ เป็นต้น

การจัดการด้านที่อยู่อาศัยอาจเป็นปัญหาใหญ่สำหรับครอบครัวที่มีปัญหาด้านเศรษฐกิจ การขอความช่วยเหลือจากแหล่งภายในชุมชน อาจได้รับการช่วยเหลือด้านนี้ได้


สนใจบทความอื่นๆเกี่ยวกับหัวใจติดตามอ่านได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน