4 กิจกรรมกระตุ้นพัฒนาการสมองของผู้ป่วยสมองเสื่อม

แชร์ให้เพื่อน

4 กิจกรรมกระตุ้นพัฒนาการสมองของผู้ป่วยสมองเสื่อม

สมองเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย ทำหน้าที่วบคุม, สั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และภาวะธำรงดุล (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว (motor learning) และความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้

การใช้กิจกรรมกระตุ้นสมองเพื่อให้สมองคงระดับการทำงาน ชะลอภาวะเสื่อมถอยเร็วกว่าเวลาอันควร ช่วยลดความแปรปรวนทางอารมณ์  เพิ่มทักษะทางสังคม ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 

กิจกรรมกระตุ้นสมองช่วยภาวะสมองเสื่อมได้อย่างไร?

  1. กิจกรรมกระตุ้นสมองช่วยการทำงานของสมองในด้านความสามารถในการจดจำ การรับรู้  ความสนใจ ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเองในการทำกิจกรรมที่มีเป้าหมายในชีวิต สามารถจัดรูปแบบในการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสมตามสภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมทั้งการดูแลตนเอง การทำงาน และการพักผ่อนหย่อนใจ
  2. กิจกรรมกระตุ้นสมองช่วยให้สามารถควบคุมตนเองได้ดีขึ้นในด้านของอารมณ์และการแสดงออกด้านพฤติกรรม ส่งผลให้สามารถติดต่อสื่อสารกับบุคคลรอบข้างได้อย่างราบรื่น
  3. กิจกรรมกระตุ้นสมองช่วยส่งเสริมให้เข้าใจโลกตามความเป็นจริงมากขึ้น 
  4. กิจกรรมกระตุ้นสมองช่วยส่งเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย ให้เกิดความสมดุลในการเคลื่อนไหว

กิจกรรมกระตุ้นสมองที่นิยมนำไปใช้เพื่อช่วยกระตุ้นภาวะสมองเสื่อมมีอะไรบ้าง?  แม้ว่าสมองบางส่วนอาจเกิดภาวะเสื่อมตามวัย การขาดสารอาหาร หรือการได้รับอุบัติเหตุ  แล้วส่งผลให้สมองทำงานได้น้อยลง กิจกรรมแต่ละอย่างช่วยกระตุ้นสมองแต่ละส่วนแตกต่างกันไป ฉะนั้นการเลือกทำกิจกรรมให้เหมาะสมและความชอบของผู้ป่วยจะช่วยลดความเบื่อหน่ายในการทำกิจกรรมลงได้ 

เรามาดูกันเลยว่ามีกิจกรรมอะไรบ้าง?

  • กิจกรรมกระตุ้นด้านการรับรู้สิ่งแวดล้อมต่างๆ และทักษะความสามารถการรับรู้ด้านอื่นๆ  เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสมองเสื่อมได้รับรู้เรื่องของ  วัน เวลา สถานที่  บุคคล ทำให้มีความจำที่ดีขึ้น เช่น  การดูละครทีวีช่วยการรื้อฟื้นชื่อนักแสดงต่างๆ  การติดตามเกมการแข่งขันฟุตบอลช่วยรื้อฟื้นชื่อของนักเตะฟุตบอล  การบันทึกข้อมูลผ่านแอบพลิเคชันต่างๆ ช่วยในการบันทึกสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นของผู้ป่วยประจำวันเป็นต้น   การอ่านหนังสือช่วยให้ผู้ป่วยมีสมาธิและฝึกสายตา การดูหนังซีรีต่างๆ   ฟังเพลงตามที่ตนเองชื่นชอบช่วยจดจำชื่อศิลปิน นักร้อง  การเขียนบทความช่วยทักษะการประมวลเนื้อหาและเป็นการระบายความเครียดออกมาทางการเขียน   การวาดรูปเป็นการระบายความเครียดโดยช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และผ่อนคลาย หรือการสะสมแสตมป์ เป็นต้น
  • กิจกรรมกระตุ้นด้านความทรงจำ เพื่อช่วยรักษาความทรงจำให้อยู่ในระดับเดิม เช่น การจำหน้าคนพาผู้ป่วยพบปะเพื่อนฝูง ญาติพี่น้อง คนรอบๆบ้าน  การทายสิ่งของต่างๆในชีวิตประจำวันเช่น ชื่อผลไม้ สัตว์ สิ่งของ   การฟังเพลงช่วยผ่อนคลายอารมณ์  การสวดมนต์ การนับลูกปะคำช่วยให้มีสมาธิจดจ่อ  ทั้งนี้ควรใช้เวลาในแต่ละกิจกรรมอย่างพอเหมาะ  เพื่อลดความกังวลและความตึงเครียด  เป็นต้น
  • กิจกรรมกระตุ้นด้านอารมณ์และสันทนาการ โดยอาศัยประสบการณ์ในอดีตของผู้ป่วย  เช่น การใช้รูปภาพ ดนตรี การเล่นเกม  ที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยเพื่อช่วยรื้อฟื้นความทรงจำ  และ เป็นการช่วยปรับอารมณ์และพฤติกรรมของผู้ป่วยได้ หากผู้ป่วยแสดงอารมณ์และพฤติกรรมได้อย่างเหมาะสม  ควรให้คำชมเชยเพื่อให้มีกำลังใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างเหมาะสม
  • กิจกรรมการออกกำลังกายเพื่อช่วยด้านการเคลื่อนไหวร่างกายของผู้ป่วย และเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้มีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น โดยใช้เวลาประมาณ 15 นาทีโดยเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายและโรคประจำตัวของผู้ป่วย เช่น การเดินออกกำลังกาย  รำมวยจีน  การเล่นโยคะ เป็นต้น

แม้ว่ากิจกรรมดังกล่าวอาจดูว่าเป็นภาระสำหรับผู้ดูแล  แต่ผู้ดูแลสามารถปรับเปลี่ยนกิจกรรมดังกล่าวให้เหมาะสมเพื่อผลลัพธ์ในการทำกิจกรรมเกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วยสมองเสื่อมและผู้ดูแลในเวลาเดียวกันได้  ดังสุภาษิตที่ว่า  “ยิงนกนัดเดียวตายสองตัว”


สนใจบทความอื่นๆเกี่ยวกับหัวใจติดตามอ่านได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน