ป่วยทางกายแต่ไม่ป่วยทางใจต้องทำอย่างไร?

แชร์ให้เพื่อน

ป่วยทางกายแต่ไม่ป่วยทางใจต้องทำอย่างไร?

มนุษย์เราทุกคนต้องพบเจอกับการ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ซึ่งเป็นสิ่งที่สิ่งมีชีวิตไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และเป็นกฎเกณฑ์ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้ แต่ถ้าหากเราป่วยทางกายแล้วให้รำลึกไว้เสมอว่า “จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว” จะช่วยให้ร่างกายเราได้รับผลกระทบจากความเจ็บป่วยให้น้อยที่สุด ความเจ็บป่วยทางกายอาจทำอะไรเราได้ไม่มากนัก หากใจเราพร้อมที่จะจัดการกับความเจ็บป่วย แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งของแต่ละบุคคล ซึ่งเรียกว่าปัจเจกบุคคล เราไม่สามารถให้ใครมาเหมือนเรา และเราเองก็ไม่เหมือนใคร แต่ละคนชอบแต่ละอย่างไม่เหมือนกัน เช่น บางคนผิวคล้ำอยากได้ผิวขาวก็พยายามกินยา ฉีดยาเพื่อให้ได้ผิวขาว ขณะที่บางคนผิวขาวก็อยากได้ผิวคล้ำ ก็มานั่งกลางแดดร้อนจัด หรือใช้ยาทาให้ผิวคล้ำโดยไม่กลัวต่อมะเร็งผิวหนังเลย

เราเองตั้งแต่เกิดมาร่างกายแข็งแรงมาโดยตลอด  ไม่เคยเจ็บป่วยต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาลในฐานะผู้ป่วยในซักครั้งเดียว  จนกระทั่งอายุย่างเข้า 36 ปี ร่างกายเริ่มแสดงอาการเจ็บป่วยเริ่มด้วยปัญหาด้านปอดก่อนเลย พอป่วยก็บุกอวัยวะสำคัญ หลังกินยารักษาก็เจอปัญหาผลข้างคียงของยา ตับได้รับผลกระทบจากยาต้องเปลี่ยนแผนการรักษามาฉีดยาทุกวันเป็นเวลา 1 เดือน หลังจากนั้นก็กินยารักษามาตลอด 2 ปีกว่า ผิวที่ดำคล้ำอยู่เดิมก็ดำหนักเข้าไปอีก สิ่งที่ทำได้ตอนนั้นก็คือทำใจอย่างเดียว หลังรักษาโรคแรกผ่านไป ก้อนในมดลูกก็แสดงอาการออกมาให้เห็นเมื่ออายุย่างเข้า 42 ปี  ใจเราก็อยากตัดมดลูกออกเลย แต่หมอก็ให้เรากลับมาคิดก่อนว่าจะตัดมดลูกออกไหม เนื่องจากยังไม่มีลูก(สามี) เผื่ออนาคตอยากมีลูก เราก็ไม่มีแฟนแล้วจะมีลูกตอนใหน  แต่ก็คล้อยตามหมอขึ้นมาทันที รู้สึกมีความหวังเผื่อมีลูกเป็นของตัวเองเข้าสำนวน  (คนในอยากออก  คนนอกอยากเข้าขึ้นมาทันที) ปัญหาที่พบเรื่องมีเลือดประจำเดือนออกมาก ซีด อ่อนเพลีย ช่วงมีประจำเดือนนี่ต้องทำใจ แต่ก็พยายามให้ร่างกายปรับตัวเข้ากับปัญหาเลือดออกให้ได้ ปัญหาสืบเนื่อง  เกิดผลกระทบกับการทำงานมีภาวะอ่อนเพลีย อ่อนล้า อาการสมองเสื่อมเริ่มมาเยือน ความจำและการตัดสินใจเริ่มแย่ลง เราก็หวังว่าประจำเดือนหมด  ก้อนคงหายไป แต่โรคโควิด 19 ก็มาระบาดช่วงที่ร่างกายยังไม่แข็งแรงเต็มที่ เจอวิกฤติโรคใหม่เกือบเอาชีวิตไม่รอด ทั้งปัญหาทางกายและทางจิตใจสุดท้ายต้องออกจากงานเพื่อดูแลตนเองร่วมหกเดือนเต็มแต่  เราก็ผ่านวิกฤติมาได้อย่างยากลำบาก สุดท้ายก็หวังว่าไม่เจอวิกฤติหนักๆอีกจนแก่ชราเพราะผ่านมาเยอะแล้ว

เรามาดูวิธีการปรับสภาพจิตใจกับการดูแลสุขภาพร่างกายอย่างไรเพื่อรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นจนมีชีวิตรอดมาถึงปัจจุบันนี้

  1. การทำใจยอมรับ ว่าร่างกายเราเจอปัญหาความเจ็บป่วยแล้ว แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายกับปัญหาการเจ็บป่วยเรื้อรังตลอดระยะเวลา 15 ปีมาแบบต่อเนื่อง สุดท้ายเราก็ทำได้โดยอาศัยหลักของธรรมชาติที่ว่า “สรรพสิ่งเกิดขึ้น คงอยู่ และดับไป”
  2. การนั่งสมาธิ ฝึกการหายใจ การเล่นโยคะเพื่อช่วยให้จิตใจสงบลง การนับลูกปะคำเพื่อให้จิตใจมีสมาธิ การเขียนบันทึกประจำวันเพื่อช่วยด้านความจำช่วยรื้อฟื้นความจำระยะสั้น
  3. การงดรับประทานอาหารที่มีผลเสียต่อสุขภาพทุกชนิด หรือกินให้น้อยที่สุด เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์  กาแฟ  อาหารหมักดอง  อาหารที่เพิ่มระดับโฮโมนเพศ นมถั่วเหลือง  น้ำมะพร้าว  ดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้น ลดการดื่มนมไปโดยปริยาย เพราะหากเดือนใหนร่างกายมีระดับโฮโมนสูงผลกระทบที่ตามมา คือเลือดประจำเดือนจะออกมากกว่าปกติ ถึงขั้นกินยาลดเลือดออกเลยทีเดียว
  4. การสร้างกำลังใจให้กับตนเอง หาแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ ที่สามารถทำได้และใกล้ตัว เช่น การดูหนัง ฟังเพลง ผ่านระบบออนไลน์ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายเนื่องจากขาดรายได้ ไม่มีงานประจำ
  5. การได้รับกำลังใจจากคนรอบข้าง และครอบครัวที่เข้าใจในปัญหาที่เกิดขึ้น

จะเห็นได้ว่า การทำใจยอมรับกับปัญหาด้านสุขภาพนั้น นอกจากจะเสริมสร้างด้วยตนเองแล้ว การได้กำลังจากครอบครัว และคนรอบข้างเป็นกำลังใจที่ทำให้เราผ่านพ้นวิกฤติต่างๆมาได้ด้วยดีเลยทีเดียว


สนใจบทความอื่นๆเกี่ยวกับหัวใจติดตามอ่านได้ที่ healthybestcare.com

 

แชร์ให้เพื่อน