คำว่า “แบตเตอรี่เสื่อม หรือแบตเตอรี่หมด” เกี่ยวโยงกับการใช้ชีวิตอย่างไร?

แชร์ให้เพื่อน

คำว่า “แบตเตอรี่เสื่อม หรือแบตเตอรี่หมด” เกี่ยวโยงกับการใช้ชีวิตอย่างไร?

ในยุคดิจิทัล กลุ่มคนที่ให้ความสำคัญคือ กลุ่มผู้เยาว์วัย กลุ่มผู้หญิงและชาวเน็ต คงไม่มีใครที่ไม่มีอุปกรณ์และเครื่องมือสื่อสารที่ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารและทำธุรกรรมผ่านมือถือหรืออุปกรณ์อื่นๆ เช่น คอมพิวเตอร์ โน้ตบุค แท็ปเลต เป็นต้น

การซื้อของออนไลน์   การโอนเงิน  การจ่ายเงินผ่านแอฟการเงิน   การลงทุนผ่านแอฟต่างๆ  รวมถึงการตรวจรักษาสุขภาพผ่านแอฟพลิเคชันอื่นๆ  หากแบตเตอรี่หมดอาจทำให้เกิดปัญหาในการทำธุระกรรมต่างๆได้ การเตรียมแบตเตอรี่สำรองจะช่วยให้เราสมารถใช้งานอุปกรณ์เครื่องมือสื่อสารได้ยาวนานขึ้น 

การใช้ชีวิตก็เช่นเดียวกัน  หากเราใช้ชีวิตในแต่ละวันจนลืมดูแลสุขภาพของตนเองก็ทำให้สุขภาพร่างกายของเราเสื่อมลงได้ก่อนเวลาอันควร ฉะนั้นเราจะใช้ชีวิตในแต่ละวันอย่างไรเพื่อให้เราไม่เกิดปัญหาเหมือนแบตเตอรี่เสื่อมหรือแบตเตอรี่หมดในแต่ละวัน  เพราะคนเราทุกคนนั้นมีเวลา 24 ชั่วโมงใน 1 วัน แต่กลับมีบางคนมักพูดว่า ไม่มีเวลาอยู่เสมอๆ แล้วเราสามารถบริหารเวลาอย่างไร เพื่อให้ใช้ชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพและไม่เกิดปัญหาแบตเตอรี่เสื่อมหรือแบตเตอรี่หมด

  1. การจัดตารางเวลา  การจัดตารางเวลาในแต่ละวัน แต่ละอาทิตย์ แต่ละเดือน จะช่วยให้เราสามารถจัดการกับชีวิตได้ว่าเราจะทำอะไร เวลาไหน เดินทางไปพักผ่อนหรือท่องเที่ยว เพื่อให้ร่างกายได้รับการพักผ่อนจากความตึงเครียดในการทำงานโดยไม่ต้องพึ่งการสูบบุหรี่เพื่อคลายเครียด การดื่มแอลกอฮอล์เพื่อคลายเครียด การใช้ยาเสพติดเพื่อคลายเครียด เพราะจะยิ่งทำให้ร่างกายเกิดความอ่อนล้าหนักขึ้นกว่าเดิม มักจะได้ยินคนกลุ่มวัยทำงานพูดบ่อยๆว่า  เย็นนี้เลิกงานเจอกันหน่อยไหม กินเหล้าเพื่อผ่อนคลายความเครียดจากการทำงานเป็นต้น หากเราไม่สามารถบริหารจัดการเวลาในแต่ละวันได้ ซักวันหนึ่งปัญหาแบตเตอรี่เสื่อมหรือแบตเตอรี่หมดอาจเกิดขึ้นกันตนเองได้
  2. การเรียงลำดับความสำคัญ การกำหนดลำดับความสำคัญของงานจะช่วยให้เรารู้ว่าเรื่องใหนจำเป็นต้องทำก่อนหลัง โดยทั่วไปเราต้องจัดการแก้ปัญหาที่สำคัญก่อน ปัญหาเล็กน้อยให้แก้ไขทีหลัง เป็นต้น
  3. การแบ่งเวลางานและเวลาส่วนตัวให้เหมาะสม เราต้องเข้าใจก่อนว่า เราไม่สามารถทำงานได้ทั้งชีวิต แต่เราทำงานได้แค่อายุ 60-70 ปี  และแบ่งเก็บไว้ใช้ช่วงหลังอายุ 60 ปี เราจึงจำเป็นต้องวางแผนชีวิต  ดั่งลูกสตรอเบอรี่  9 ลูกที่เราต้องหยิบมากิน  ลูกที่หนึ่งและสองเราจะหยิบมากินได้ในช่วงที่มีอายุ 1-10 ปี และ10-20 ปี ซึ่งหากเราโชคดีก็เป็นลูกสตรอเบอรี่ที่พ่อแม่เตรียมไว้ให้แล้ว ขณะที่ลูกที่สามเราจำเป็นต้องหาเองเพื่อหยิบมากินในช่วงชีวิต 20-30 ปี หากเรากินหมดทั้งลูกแสดงว่าเวลาในการหาเงินของเราอาจหมดไปโดยไม่ได้วางแผนสำหรับอนาคตที่เหลืออยู่  หลังจากไม่ได้ทำงานแล้ว สตรอเบอรี่ลูกที่สี่หยิบมากินในช่วงชีวิต 30-40 ปี รวมถึงการจัดสรรเพื่อตนเองยามแก่ชราและแบ่งให้สำหรับพ่อแม่ที่แก่ชราอีกด้วย สำหรับคนที่มีครอบครัวและลูกนั้นจำเป็นต้องแบ่งปันลูกสตรอเบอรี่ในครอบครัว สตรอเบอรี่ลูกที่ห้าหยิบมากินในช่วงชีวิต 40-50 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่ทำงานได้น้อยลง ปัญหาด้านสุขภาพเริ่มเกิดขึ้น เราจึงต้องแบ่งลูกสตรอเบอรี่ไว้กินในยามแก่ชราหากไม่มีใครแบ่งลูกสตรอเบอรี่ให้  สตรอเบอรี่ลูกที่หกหยิบมากินในช่วงชีวิต 50-60 ปี ซึ่งเป็นช่วงของสิบปีสุดท้ายของการทำงานจำเป็นต้องวางแผนเพื่อจัดเตรียมลูกสตรอเบอรี่ลูกที่เจ็ด ลูกที่แปด และลูกที่เก้าไว้กินในยามแก่ชราในยามที่ไม่สามารถทำงานได้  เอาไว้กินในช่วงสุดท้ายของชีวิต 
  4. การจัดการงานยากให้เสร็จก่อน กล่าวคือหากเราทำงานที่ยากเสร็จก่อน  หลังจากนั้นจะช่วยให้เราจัดการงานที่ง่ายได้ง่ายมากขึ้นกว่าเดิม เป็นต้น
  5. การหาเวลาพักผ่อนบ้าง การพักผ่อนในแต่ละวันอย่างน้อย 10-15 นาทีจะช่วยให้สมองปลอดโปร่งคิดงาน หรืองานที่ต้องการความคิดสร้างสรรค์ได้ดีขึ้น

จะเห็นได้ว่าการใช้ชีวิตในแต่ละวันนั้น   ถ้าหากเราไม่จัดสรรเวลาอย่างเหมาะสมแล้ว เราอาจเกิดปัญหาแบตเตอรี่เสื่อม หรือแบตเตอรี่หมดลงได้  โดยที่ไม่สามารถชาร์ตไฟกลับมาคึนได้อีกเลย


สนใจบทความอื่นๆเกี่ยวกับหัวใจติดตามอ่านได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน