9 สตอรี่ชีวิตกับเก้าลูกสตรอเบอรี่                    

แชร์ให้เพื่อน

9 สตอรี่ชีวิตกับเก้าลูกสตรอเบอรี่                                                                 

ทำไมถึงชื่อเรื่องว่า 9 สตอรีชีวิตกับเก้าลูกสตรอเบอรี่ เพราะว่าการเกิดมาบนโลกใบนี้ของมนุษย์โดยส่วนใหญ่แล้วจะเริ่มต้นตั้งแต่อาศัยอยู่ในท้องแม่เป็นระยะเวลาเก้า เดือน  ซึ่งภายในระยะเวลาเก้า เดือนนั้นคนที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบดูแลลูกในครรภ์คือผู้หญิงที่ได้รับการขนาดนามว่า “มารดา หรือแม่ ม๊ะ แม๊ะ มาม้า แม  Mom มามี้ แม่เอง”  หรือศัพท์อื่นๆ  อีกมากมายที่ใช้เรียกคำว่าแม่นั่นเอง  (ดังเพลง  พระคุณแม่ “แม่นี้มีบุญคุณอันใหญ่หลวง ที่เฝ้าหวง ห่วงลูกแต่หลังเมื่อยังนอนเปล แม่เราเฝ้าโอ้ละเห่ กล่อมลูกน้อยนอนเปลไม่ห่างหันเห ไปจนไกล” 

เรามาดูกันเลยว่าทั้ง 9 สตอรี่นั้นจะมีเนื้อหาที่น่าสนใจอย่างไร ? เราจะต้องวางแผนชีวิตอย่างไรเกี่ยวกับสินทรัพย์ด้านการเงิน การลงทุน  ภาวะความเจ็บป่วย และปัญหาด้านสุขภาพ หากเมื่อลูกสตรอเบอรี่ทั้งเก้าลูกเราต้องหยิบมากินตามช่วงวัย เราจะต้องเก็บสะสมลูกสตรอเบอรี่ให้เพียงพอตอนที่เราไม่สามารถหาเงินได้นั่นเอง

  1. “สตอรี่ชีวิตกับลูกสตรอเบอรี่ที่หนึ่ง” เป็นเนื้อหาที่กล่าวถึงเกี่ยวกับการกำเนิดเกิดมาของมนุษย์บนโลกใบนี้  โดยเริ่มตั้งแต่การเกิดแบบธรรมชาติและการเกิดแบบหลอดแก้ว รวมถึงการบำรุงครรภ์ของมารดา  และการติดตามการตรวจครรภ์  เรื่องเล่าต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับสตรีมีครรภ์ พัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์มารดา ความเชื่อด้านสุขภาพต่างๆ จนถึงการคลอดออกมาสู่โลกภายนอก รวมอยู่ในสตอรี่นี้ทั้งหมด (สำหรับสตรอเบอรี่ลูกที่หนึ่งนั้น  เราไม่ได้หาเองหากแต่เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ผู้ที่ให้กำเนิดเป็นผู้จัดเตรียมไว้ให้แล้ว)
  2. “สตอรี่ชีวิตกับลูกสตรอเบอรี่ที่สอง” เป็นเนื้อหาที่กล่าวถึงเกี่ยวเด็กหลังคลอดแรกเกิดจนอายุถึงสิบขวบโดยจะกล่าวถึงพัฒนาการด้านต่างๆ  ซึ่งในสตอรี่นี้จะมีพัฒนาการของวัยเด็กก่อนเรียน และเด็กวัยเรียนประถมศึกษา เนื้อหาสามารถติดตามได้ในสตอรี่นี้(สำหรับสตรอเบอรี่ลูกที่สองนั้น พ่อแม่หรือบรรพบุรุษจัดเตรียมไว้ให้แล้ว หากเด็กไม่ได้เกิดมาแบบโชคดีแล้ว เด็กจะต้องหากเก็บลูกสตรอเบอรี่กินเอง)
  3. “สตอรี่ชีวิตกับลูกสตรอเบอรี่ที่สาม” เป็นเนื้อหาที่กล่าวถึงเกี่ยวกับเด็กอายุสิบเอ็ดขวบถึงอายุยี่สิบปีโดยจะกล่าวถึงพัฒนาการของเด็กวัยรุ่น เรื่องเล่าต่างๆของเด็กวัยรุ่น หรือโรคที่พบบ่อยๆ ในวัยนี้ (สำหรับลูกสตรอเบอรี่ที่สามนั้น พ่อแม่หรือบรรพบุรุษจัดเตรียมไว้ให้แล้ว หากเด็กไม่ได้เกิดมาแบบโชคดีแล้ว เด็กจะต้องหากเก็บลูกสตรอเบอรี่กินเองเช่นกัน)
  4. “สตอรี่ชีวิตกับลูกสตรอเบอรี่ที่สี่” เป็นเนื้อหาที่กล่าวถึงเกี่ยวกับวัยผู้ใหญ่ตอนต้นตั้งแต่อายุยี่เอ็ดปีถึงอายุสามสิบปี ซึ่งวัยนี้จะเป็นวัยที่เริ่มต้นทำงานหลังจากการเรียนจบในระดับปริญญาตรี โดยจะต้องวางแผนในการหาลูกสตรอเบอรี่เพื่อกินในชีวิตประจำวัน และวางแผนในการแบ่งเก็บลูกสตรอเบอรี่ไว้กินในยามเจ็บไข้ได้ป่วย หรือในวัยที่ไม่สามารถทำงานได้แล้ว รวมถึงการดูแลด้านสุขภาพและโรคที่เกิดขึ้นได้บ่อยๆ  ในวัยนี้
  5. “สตอรี่ชีวิตกับลูกสตรอเบอรี่ที่ห้า” เป็นเนื้อหาที่กล่าวถึงเกี่ยวกับวัยผู้ใหญ่อายุสามสิบเอ็ดปีถึงอายุสี่สิบปี นับเป็นวัยที่เริ่มต้นสำหรับการวางแผนมีครอบครัว พร้อมกับเริ่มมีลูกๆ จำเป็นต้องแบ่งลูกสตรอเบอรี่ที่หามาได้
  6. “สตอรี่ชีวิตกับลูกสตรอเบอรี่ที่หก” เป็นเนื้อหาที่กล่าวถึงเกี่ยวกับวัยผู้ใหญ่ที่มีอายุสี่สิบเอ็ดปีถึงอายุห้าสิบปี นับเป็นวัยที่มีความรับผิดชอบมากขึ้น  ต้องเผชิญกับปัญหาเกี่ยวกับลูกเข้าสู่วัยรุ่นและตนเองก็เริ่มต้นเข้าสู่วัยทองนับเป็นสตอรี่ชีวิตที่มีความอลเวงมากทีเดียว
  7. “สตอรี่ชีวิตกับลูกสตรอเบอรี่ที่เจ็ด” เป็นเนื้อหาที่กล่าวถึงเกี่ยวกับวัยทองที่มีอายุห้าสิบเอ็ดปีถึงอายุหกสิบปี เป็นช่วงชีวิตที่ลูกๆ ประสบความสำเร็จ เริ่มแยกตัวไปสร้างครอบครัวของตนเองเพื่อสะสมสตรอเบอรี่ลูกที่หนึ่งต่อไป (พ่อแม่ต้องหาจัดเตรียมลูกสตรอเบอรี่หลังเข้าสู่วัยเกษียร)
  8. “สตอรี่ชีวิตกับลูกสตรอเบอรี่ที่แปด” เป็นเนื้อหาที่กล่าวถึงเกี่ยวกับวัยที่มีอายุหกสิบเอ็ดปีถึงอายุเจ็ดสิบปีหรือที่เรียกว่าวัยเกษียรนั่นเอง (วัยนี้นับว่าเป็นวัยที่ไม่ต้องหาลูกสตรอเบอรี่แล้ว  หากเราได้จัดเตรียมลูกสตรอเบอรี่ไว้เพียงพอ  ก็เป็นวัยที่ท่องเที่ยวอย่างเดียว)
  9. “สตอรี่ชีวิตกับลูกสตรอเบอรี่ที่เก้า” เป็นเนื้อหาที่กล่าวถึงเกี่ยวกับวัยที่มีอายุเจ็ดสิบเอ็ดปีถึงตลอดจนเสียชีวิตจากโลกใบนี้ไป (เป็นวัยชราที่เริ่มเดินเหินลำบาก จำเป็นต้องมีผู้ดูแล มีภาวะสมองเสื่อมตามวัย ร่างกายเสื่อมตามวัย)

หากใครที่สนใจบทความนี้สามารถติดตามตอนต่อได้ในบทความเรื่อง  “9 สตอรี่ชีวิตกับเก้าลูกสตรอเบอรี่”  ว่าเนื้อหาจะมีความน่าสนใจ และมีเรื่องเล่าสนุกๆ อย่างไรบ้าง? โดยติดตามอ่านได้ตามช่วงวัยของตนเอง 

แชร์ให้เพื่อน