เรื่องเล่า “สัญญานเตือนภัยลูกน้อยวัยเรียนไม่ปลอดภัย”

แชร์ให้เพื่อน

เรื่องเล่า “สัญญานเตือนภัยลูกน้อยวัยเรียนไม่ปลอดภัย”

เด็กวัยเรียนนั้นมีช่วงอายุ 6-12 ปี นับเป็นวัยที่มีความเปลี่ยนแปลงจากสังคมในบ้านเข้าสู่สังคมนอกบ้าน เด็กจะเรียนรู้ในทุกๆ ด้าน ส่วนใหญ่แล้วเด็กๆ มักใช้ชีวิตอยู่ที่โรงเรียนเป็นส่วนใหญ่ เรียนรู้ด้านภาษาการสื่อสาร กฎระเบียบต่างๆ การปรับตัวกับเพื่อนๆ และการแก้ปัญหา นับเป็นช่วงวัยที่ต้องสอน ด้วยหลักการและเหตุผล เด็กๆ มักจะถามว่า ทำไมถึงไม่ให้ทำสิ่งนี้ ทำไมถึงไม่ให้ทำสิ่งนั้น ดังนั้นผู้ใหญ่ต้องมีความรู้รอบด้าน เพื่อจะสามารถอธิบายเด็กๆ ได้ เพื่อให้เด็กเกิดความมั่นใจว่าสิ่งที่รับรู้นั้นมีเหตุและมีผล การพูดคุยกับเด็กต้องกระชับ ชัดเจน ตรงไปตรงมา ไม่พูดซ้ำๆ เพราะจะทำให้เด็กมีความรู้สึกว่า บ่น เกิดความรำคาญได้ พ่อแม่ต้องเป็นต้นแบบในการรู้จักชื่นชมเมื่อทำสิ่งที่ดี และขอโทษเมื่อตัวเองทำผิด ส่งเสริมให้ลูกรักการอ่านและการเขียน การวาดรูป เปิดโอกาสให้ได้คิดและตัดสินใจแก้ปัญหาด้วยตนเองโดยมีผู้ใหญ่ควบคุมดูแล การปลูกฝังด้านวินัยให้มีความรับผิดชอบในด้านการเรียนและชีวิตส่วนตัวของเด็กเอง ส่งเสริมให้มีการออกกำลังการเล่นกีฬา การเล่นกับเพื่อนวัยไกล้เคียงกัน ประเด็นปัญหาที่พบบ่อยในวัยนี้เช่น
การติดเกม สื่อออนไลน์ ทีวี
พฤติกรรมก้าวร้าว แกล้งเพื่อน
ชอบโกหก ขโมยของ ล้อเลียน แยกตัว ซึมเศร้า
ไม่ยอมไปโรงเรียน

สถานการณ์ที่แสดงถึงพฤติกรรมความอยากรู้อยากเห็นของเด็กอาจทำให้เด็กได้รับอันตรายได้ เช่น

ณ.บริเวณสระว่ายน้ำของตึกแห่งหนึ่งในเวลาพลบค่ำ

(ผู้ปกครองและเด็กๆ): เตรียมอุปกรณ์พร้อมเพื่อว่ายน้ำ ประกอบด้วย ห่วงยาง ลูกบอล เพื่อเล่นและว่ายน้ำไปในตัว ช่วยผ่อนคลายความเครียดและเป็นการออกกำลังกาย
(พี่สาว) “เรามาว่ายน้ำแข่งกันไหม ใครชนะได้เล่นมือถือก่อน (เนื่องจากมีมือถือเครื่องเดียว สร้างนิสัยให้รู้จักแบ่งปันและการรอคอย)
(น้องสาว) “ได้เลย ยอมรับคำท้าทันที ทั้งที่ตัวเองนั้นเล็กกว่าพี่มากแม้อายุห่างกันแค่เกิดหัวปีท้ายปี”
(พี่สาว) “แม่ๆ เป็นกรรมการให้หน่อยคะ (น้องชอบโกงและเจ้าเล่อยู่บ่อยๆ พี่จึงต้องหาตัวช่วยประกอบในการตัดสิน)
(แม่) “ได้ ๆ พร้อมแจ้งว่าให้เริ่มออกตัวหลังนับหนึ่งถึงสาม พร้อมนับ 1 2 3 ไป” เป็นการฝึกนิสัยให้เคารพกติกาการแข่งขัน
(น้องสาว) “เย้ เย้ ฉันชนะแล้ว ได้ดูมือถือก่อนวันนี้”
(พี่สาว) “ยอมรับในกฎกติกาในเรื่องการรู้จักแพ้ ชนะและการให้อภัย”

ว่ายน้ำต่อไปสักพักเริ่มดึกละผ่านมาประมาณหนึ่งชั่วโมงแล้วได้เวลาอาหารเย็น
(แม่) “เด็กๆ เราเลิกว่ายน้ำกันเถอะเดี่ยวกินข้าวเสร็จมีเวลา อ่านหนังสือ ดูมือถือ เตรียมตัวเข้านอน พรุ่งนี้ต้องไปโรงเรียนกันแต่เช้าตามปกติ เพราะโรงเรียนอยู่ไกลจากบ้านพอสมควรและรถติด”
(น้องสาว) “ได้คะ พร้อมรีบขึ้นจากสระว่ายน้ำก่อนใครรีบแต่งตัวเปลี่ยนเสื้อ ผ้า ด้วยความรีบร้อนเหมือนจะไปทำอะไรซักอย่างหนึ่ง”
(พี่สาว) “รอด้วยไปพร้อมกัน แต่ไม่ทันละ”
(แม่) “รอแม่ก่อนนะเด่วไปพร้อมกัน เชื่องช้า อืดอาด เริ่มเข้าสู่วัยทอง” มัวแต่ล้างตัวในห้องน้ำ ได้ยินเสียงสัญญาณเตือนไฟไหม้ ดังทั่วตึก กริ๊กกกกกกกกกกกกกกกกกกกก
เฮ้ยยย ไฟไหม้นี่รีบวิ่งออกมาจากห้องน้ำ”
(คนในตึก) “ตกใจแตกตื่น วิ่งออกมาจากตึกกันจ้าละหวั่น ไฟไหม้ที่ไหน”
(รปภ) ตรวจสอบกล้องวงจรปิด ภายในอาคาร เห็นเด็กคนหนึ่ง ยืนอยู่หน้าตู้คอนโทรลไฟไหม้คงทำอะไรซักอย่างหนึ่ง ถึงเกิดเรื่องขึ้น พร้อมมีพี่สาวยืนมองห่างๆ คงสงสัยมานานแล้วว่าสิ่งนี้คืออะไร?
(รปภ) “ลูกสาวคุณดึงสัญญาณเตือนไฟไหม้ในตึก พร้อมส่งหลักฐานแบบมัดตัวคนทำ คือ(น้องสาวตัวแสบ) อย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ คุณต้องจ่ายเงินค่ารีเซตระบบใหม่เป็นเงิน 4000 บาทนะครับ
(แม่) “น้อมรับความผิดที่ลูกวัยเด็กได้กระทำผิดเพราะเด็กอายุยังไม่ถึงยี่สิบปีพ่อแม่ต้องรับผิดในสิ่งที่ลูกทำ อย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้”
(แม่) “ทำไมหนูถึงไปดึงละลูก”
(น้องสาว) “หนูอยากรู้ว่า มันคืออะไร ทำสีหน้ายอมรับผิด น้ำตาไหลพราก ต่อไปหนูจะไม่ทำอีกแล้วคะ”
(แม่) “หนูต้องรับผิดชอบนะคะ แม่จะเอาเงินเก็บของหนูมาจ่ายค่าปรับ ถ้าหนูทำอะไรไม่บอกแม่ หนูทำผิดโดนจ่ายค่าปรับหนูก็จะไม่มีเงินเก็บเลยนะคะ”
(แม่) แจ้งเรื่องราวให้ที่บ้านทราบข่าว
(คนที่บ้าน) “เดือนก่อนเค้าส่งจดหมายมา เธอขับรถเกินความเร็วกำหนด ต้องจ่ายค่าปรับ 500 บาทนะ”
(แม่) “เออใช่ ขนาดฉันเป็นผู้ใหญ่ การขับรถเร็วก็ผิดกฎจราจร แล้วทำไมฉันจึงทำ”

ข้อคิดที่ได้จากเรื่องราวนี้คือ
เด็กเมื่อย้ายที่อยู่อาศัยจากที่ที่ไม่เคยอยู่ พ่อแม่ต้องสอนการใช้ชีวิตในเมืองเช่น การข้ามถนน การระวังคนแปลกหน้า ไม่ปล่อยให้เด็กเล่นห่างสายตา
เด็กๆ มักจะเลียนแบบพฤติกรรมของพ่อแม่หรือคนรอบข้าง ดังนั้น พ่อแม่ต้องระวังในการแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
เด็กอายุไม่เกิน 20 ปีกระทำผิดกฎหมายจะได้รับผิดตามกฎหมายเด็ก แต่จะมีผลกระทบถึงผู้ปครองด้วย
บทเรียนนี้เป็นแค่พื้นฐานในการใช้ชีวิต แต่ให้มีความตระหนักว่าที่ผ่านมามีเหตุการณ์อะไรที่สูญเสียแล้วไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขได้ แต่เป็นตราบาปที่ติดตัวตลอดไป

หากรักและห่วงใยลูกหลานต้องดูแลอย่างใกล้ชิด ไม่มีใครยินดีกับความสูญเสียที่เกิดขึ้น จงทำเหตุการณ์ต่างไว้เพื่อเป็นบทเรียนในการดำรงชีวิตคะ


สนใจบทความดีดี หาอ่านได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน