Stories 1. (ตอน การเลือกคู่ครอง)

แชร์ให้เพื่อน

Stories 1. (ตอน การเลือกคู่ครอง)

บทความนี้ต่อเนื่องจากบทความที่แล้ว หลังจากที่คุณตัดสินใจได้ว่าความรักครั้งนี้  คุณเลือกที่จะรักษาความสัมพันธ์ไว้ต่อไป การเลือกคู่ครอง  การเลือกคู่ชีวิตที่มีความเหมาะสมหรือที่เรียกว่ามีศีลเสมอกัน นั่นก็คือคุณมีแนวทางในการดำเนินชีวิตที่คล้ายๆ กัน เช่น ถ้าหากแฟนคุณเป็นคนเจ้าชู้ ชอบเที่ยวผับ กินเหล้า สูบบุหรี่ แต่คุณไม่ชอบกินเหล้า ไม่ชอบเที่ยวผับ หรือแพ้กลิ่นบุหรี่ ตอนสุดท้ายอาจต้องแยกทางกันไป จากความหวาดระแวงว่าแฟนจะมีคนใหม่ ดังนั้นการเลือกคู่ครองที่มีศีลเสมอกัน จึงมีหลักการดังนี้

 เบื้องต้นนั้นเราต้องเข้าใจความเป็นตัวตนของเราก่อนนั่นคือ รู้เรา หมายความว่าตัวตนที่แท้จริงแล้วเราเป็นคนแบบใหน  เราแสแสร้งแกล้งทำหรือไม่ หากแต่สิ่งที่สามารถประเมินได้นั่นคือ หลักการทางจิตวิทยา อาจเป็นรูปภาพให้คุณเลือกแล้วทายว่าคุณเป็นคุณประเภทใหน ก็อาจจะพอช่วยได้บ้างแต่ก็ไม่ได้ทั้งหมด ทั้งนี้การวิเคราะห์ตัวตนที่แท้จริงของตนเองนั่นแหละดีที่สุดโดยไม่เข้าข้างตนเอง ให้วิเคราะห์ตามความเป็นจริง หรือการเลือกคู่ครองตามหลักลำดับของพี่น้องในครอบครัวเช่น ลูกคนโตกับลูกคนเล็กเหมาะกับการครองเรือนเพราะลูกคนเล็กมักจะเอาแต่ใจ ขณะที่ลูกคนโตนั้นจะมีความรับผิดชอบ แยกแยะได้ดีกว่า เพราะตอนวัยเด็กมีน้องพ่อแม่อาจไม่ได้ตามใจ จึงทำให้เด็กปรับตัวได้ดีกว่า ขณะที่ลูกคนกลางควรเลือกแต่งงานกับลูกคนโต หรือลูกคนเล็กได้ เพราะว่าลูกคนกลางนั้นอยู่ท่ามกลางพี่คนโตที่พ่อแม่เคยตามใจมาก่อน ลูกคนแรกในครอบครัว และมักใช้อำนาจสั่งการปกครอง ขณะที่พ่อแม่ไม่อยู่บ้าน หรือลูกคนเล็กเป็นคนสุดท้ายในบ้านได้รับการตามใจมาตั้งแต่เด็กจนโตเลยก็ว่าได้  ดังนั้นลูกคนกลางมักจะใช้ชีวิตแบบประนีประนอมระหว่างพี่คนโตหรือน้องคนเล็กในครอบครัว และลูกคนกลางนั้นจะสามารถปรับตัวได้ดีกว่า หากต้องแต่งงานกับลูกคนโต ลูกคนกลางจะต้องทำตัวเป็นลูกคนเล็กยอมลูกคนโตในบางเรื่องไปก่อน แล้วใช้ทักษะบางอย่างเพื่อให้ลูกคนโตรู้สึกว่าตนเองมีอำนาจ หลังจากนั้นลูกคนกลางก็จะสามารถควบคุมได้นั่นเอง โดยที่ลูกคนโตไม่รู้สึกว่าตนเองโดนริดรอนสิทธิ

เรามาดูกันเลยคะ ว่าเราจะเลือกคู่ครองแบบใหนถึงจะอยู่ด้านกันได้ยืนยาวจนถือไม้เท้ายอดทองกระบองยอดเพชร ทั้งนี้รวมถึงการเลือกคู่ครองในทุกๆ วัยนะคะ ไม่ใช่เฉพาะวัยเจริญพันธุ์อย่างเดียว หากใครที่ยังเป็นโสดอยู่สามารถใช้แนวทางนี้ไปเลือกคู่ครองดูนะคะ

  1. เชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม และขนมธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ ความศรัทธา หากเราเป็นคนที่ยึดติดใน ศาสนา ขนบธรรมเนียม ประเพณี ความเชื่อ ความศรัทธา ชนิดที่ว่าไม่สามารถปรับตัวได้ อันนี้คงต้องเลือกแต่งานกับคนที่มีเชื้อชาติหรือขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ ความศรัทธา เดียวกันเช่น ฉันต้องไปวัดทุกวันพระ ฉันต้องมีกุมารทอง หรือตักบาตรทุกเช้า แต่หากเราสามารถปรับตัวได้ อาจเลือกการนั่งสมาธิ การสวดมนต์ก่อนนอน เราก็สามารถที่จะเลือกคู่ครองที่เป็นคนต่างเชื้อชาติ ศาสนา หรือขนบธรรมเนียมประเพณีที่แตกต่างกันออกไปได้
  2. การศึกษา จะเห็นได้ว่าการศึกษาเป็นตัวหล่อหลอมด้านความคิด จิตใจ อารมณ์และสังคม สติปัญญา อันนี้ผู้เขียนไม่ได้เจาะจงทั้งหมดว่าการศึกษาจะทำให้คนเป็นคนดีตามระดับการศึกษาที่สูงขึ้น หากแต่ขึ้นอยู่กับพื้นฐานการอบรมการเลี้ยงดูในวัยเด็กด้วย ตามสำนวนไทยที่ว่า “ซื้อวัวให้ดูหาง เลือกนางให้ดูแม่” แต่ก็ไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ บางคนอาจเป็นลูกไม้ที่หล่นไกลต้นออกไป แต่เบื้องต้นนั้นให้ดูหลักเกณฑ์นี้ก่อนได้ เราย้อนมาที่ระดับการศึกษาก่อนคะ เพราะการศึกษาจะทำให้คนมีมุมมองในการใช้ชีวิตที่แตกต่างกันออกไป เช่น ผู้ที่มีการศึกษาด้านการตลาดมักจะเข้าใจหลักการทำตลาดเพื่อค้าขายจูงใจ ผลิตสินค้าให้ตรงตามความต้องการของผู้ซื้อ  หรือ ผู้ที่มีความรู้ด้านการเงิน การลงทุนย่อมมีความรู้เรื่องของค่าเงินในปัจจุบันและอนาคต และมีแนวคิดด้านการลงทุนที่หลากหลาย หากอีกฝ่ายไม่เข้าใจก็อาจทำให้เกิดปัญหาในการครองเรือนได้เช่นกัน
  3. ฐานะทางเศรษฐกิจ หากคู่ครองไม่มีรายได้หรือรายได้ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่าย อาจทำให้เกิดปัญหาหนี้สินตามมาได้ หรือสำหรับคู่ครองที่เริ่มต้นครอบครัวแบบต้องมีลูกตามมาอาจเกิดปัญหาการหย่าร้าง ส่งผลกระทบต่อจิตใจของลูกๆ ตามมาได้เช่นกัน
  4. บุคลิกภาพ กริยาท่าทาง อุปนิสัยใจคอ  ความสนใจ ค่านิยม อุดมคติ ความประพฤติ ดังนั้นการได้เรียนรู้ด้านนี้ก่อนการตัดสินใจเลือกคู่จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะการใช้ชีวิตสมรสที่อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขนั้น จะต้องมีบุคลิกที่เข้ากันได้
  5. วุฒิภาวะทางอารมณ์ ประเด็นของวุฒิภาวะทางอารมณ์นั้นเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งเพราะไม่มีใครจะรองรับอารมณ์อีกฝ่ายได้ตลอดไป หากไม่มีการปรับตัว ทั้งนี้ผู้เขียนไม่ได้บอกว่าไม่ให้แสดงอารมณ์ทางลบออกมา หรือเก็บกด เพราะหากเราเก็บกดอารมณ์ไว้ ยิ่งทำให้เมื่อเกิดการระเบิดขึ้นมาภายหลัง เกิดความรู้สึกหดหู่ เสียใจทั้งสองฝ่าย ส่งผลให้เกิดปัญหาแยกทางกันได้ง่ายขึ้น คู่ครองต้องเรียนรู้ที่จะอยู่ด้วยกัน โดยการประนีประนอม ปรองดอง หากเรื่องใหนไม่ได้เป็นปัญหาใหญ่โตก็ไม่ต้องใส่ใจ หรือสนใจนำมาเป็นประเด็นในการใช้ชีวิตคู่

ในการใช้ชีวิตคู่นั้น หลายคนอาจมีเหตุผลในการอยู่ด้วยกัน บางคนอาจเลือกแบบมีความรักอย่างเดียวเมื่อความรักหมดไปก็ต้องแยกทางกันไป ขณะที่บางคนเลือกอยู่แบบเข้าใจซึ่งกันและกัน ไว้วางไว้ เชื่อใจกัน ย่อมส่งผลให้มีความรักที่ยั่งยืนได้

@@@ ( ปล.ผู้เขียนเองก็ยังไม่ได้ผ่านการครองเรือนมาก่อน รบกวนใช้วิจารญาณในการอ่านเนื้อหาอย่างรอบคอบ หากผู้ครองเรือนท่านใดอยากเสนอแนะ หรือแสดงความเห็นเพิ่มเติม  รบกวนอินบอกเข้ามาได้ เผื่อว่าผู้เขียนจะได้มีแนวทางเพิ่มขึ้นในการใช้ประกอบการเขียนบทความหรือเลือกคู่ครองต่อไป) @@@


สนใจบทความอื่นๆเกี่ยวกับหัวใจติดตามอ่านได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน