Episodes 3 การใช้ชีวิตในเมืองหลวงหลังป่วยโควิด 19 (ปี 2566)

แชร์ให้เพื่อน

Episodes 3 การใช้ชีวิตในเมืองหลวงหลังป่วยโควิด 19 (ปี 2566)

ตอน  การตรวจเช็คสุขภาพตามวัยประจำปี 2566

กาลเวลาผ่านมาเป็นระยะเวลาปีกว่า จนวัยล่วงเลยผ่านร้อนผ่านหนาวมา 52 ปี ปัญหาประจำเดือนออกมากหมดไป เข้าสู่วัยทองเต็มตัวเมื่อกลางปี 2565 การใช้ชีวิตเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้น เริ่มแสดงอารมณ์ดีใจ เสียใจมาก เด็กน้อยสองคนพากันเดินทางไปเรียนหนังสือที่อื่นซึ่งอยู่ห่างไกลข้ามน้ำ ข้ามทะเล อันไกลโพ้น และได้เดินทางกลับมาเยี่ยมบ้านเกิดช่วงก่อนปีใหม่ที่ผ่านมา 2566 เรารู้สึกดีใจอีกครั้งที่ได้เจอกัน หลังจากกลับมาใช้ชีวิตในเมืองกรุงผ่านมาได้หนึ่งเดือนกว่าจึงตัดสินใจเข้าตรวจเช็คสุขภาพประจำปีโดยเลือกโปรแกรมการตรวจตามวัยของโรงพยาบาลรัฐบาลแห่งหนึ่ง หลังจากมีอาการวิงเวียน ปวดศีรษะเป็นครั้งคราว หายใจไม่ค่อยทั่วท้องหรือเต็มอิ่ม รู้สึกอึดเมื่อต้องสวมใส่หน้ากากอนามัย และอยู่ในที่แออัดเช่น ลิฟท์

โปรแกรมที่เลือกตรวจสำหรับผู้หญิงที่มีอายุ 50 ปีขึ้นราคาแพงพอสมควรสำหรับคนที่ไม่มีรายได้ประจำอย่างเรา โดยมีรายละเอียดการตรวจดังต่อไปนี้คือ

  1. การตรวจสุขภาพทั่วไปโดยแพทย์ (แพทย์ซักประวัติการเจ็บป่วยในอดีตที่ผ่านมา)
  2. การวัดความดันโลหิต จับชีพจร ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง เส้นรอบเอว คำนวนดัชนีมวลกาย(ผลปกติดีทุกอย่าง)
  3. การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (ปกติดีจากประวัติเคยมีเม็ดเลือดแดงต่ำสุด 19 %)
  4. การตรวจน้ำตาลในเลือด (ปกติ หลังงดน้ำและอาหาร)
  5. การตรวจไขมันในเลือด (ผลมีไขมันในเลือดสูงมาก จำเป็นต้องกินยาลดระดับไขมันร่วมกับการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย โดยแพทย์สั่งให้กินยา Atrovastatin (Xarator 40 mg) ครึ่งเม็ดก่อนนอนเป็นระยะเวลา 3 เดือน ข้อห้ามของการกินยาคือ ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ และคำเตือนข้างซองยาคือ พบแพทย์หากมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อโดยไม่ทราบสาเหตุ (ติดตามอ่านในบทความอื่นๆ เรื่องผลข้างเคียงของยา)
  6. การตรวจการทำงานของไต (ผลปกติ)
  7. การตรวจการทำงานของตับ (ผลผิดปกติเล็กน้อย แพทย์ซักประวัติ การกินเหล้า (ปกติไม่กินอยู่แล้ว) การกินยาและอาหารเสริมอื่นๆ (เราเริ่มกินยา โอเมก้า 3 ได้สองมื้อ)
  8. ตรวจความเสี่ยงเรื่องโรคเก๊าท์ (ผลปกติ มีอาการปวดตามข้อนิ้วมือต่างๆหลังตื่นนอน)
  9. ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งลำไส้ (ผลปกติดี)
  10. ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งตับอ่อนและท่อน้ำดี (ผลปกติดี)
  11. ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งตับ(ผลปกติดี)
  12. ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งรังไข่ (ผลปกติดี)
  13. ตรวจหาการทำงานของต่อมไทรอยด์ (ผลปกติดี)
  14. ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (ไม่พบการติดเชื้อ)
  15. ตรวจหาภูมิต้านทานไวรัสตับอักเสบ บี (ยังไม่มีภูมิต้านทานและไม่เคยฉีดวัคซีนมาก่อน)
  16. ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี(ไม่พบติดเชื้อ)
  17. ตรวจปัสสาวะ( ผลมีเม็ดเลือดขาวเล็กน้อย)
  18. ตรวจอุจจาระ(เก็บสิ่งส่งตรวจไม่ได้)
  19. เอ็กซเรย์ปอดและหัวใจ (ผลสงสัยการติดเชื้อวัณโรคของกลีบปอดด้านล่างข้างซ้าย คงเป็นรอยโรคเดิม)
  20. ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ผลปกติ)

 

ณ ห้องเจาะเลือด การหาเส้นเลือดเพื่อเจาะเลือดได้อย่างยากลำบากและเนิ่นนาน แต่เราก็ไม่ได้ปริปากบอกเจ้าหน้าที่พยาบาลแต่อย่างใดว่าเราก็เป็นพยาบาลคนหนึ่ง กลัวสร้างความกังวลให้กับเจ้าหน้าที่นั่นเอง (กลัวเค้าจะให้เจาะเลือดตัวเอง 5555)

 

@คนที่หนึ่งเจาะเลือดหาเส้นผ่านไปประมาณ 3 ครั้ง ได้เลือดมาแบบแข็งตัวแล้วในไซริงค์

@คนที่สองเจาะเลือดและหาเส้นผ่านไปประมาณ 3 ครั้ง ไม่ได้สิ่งส่งตรวจฝากรอยแผลไว้ที่แขน

@คนที่สามเจาะเลือดและหาเส้นผ่านไป 2 ครั้ง ครั้งที่สามใช้ไซริงค์สูญญากาศโดยดูดจากหลอดเลือดแดงใหญ่ที่แขนซ้าย

กว่าจะผ่านห้องเจาะเลือดเพื่อเก็บสิ่งส่งตรวจได้ใช้เวลาเป็นชั่วโมงพร้อมฝากรอยเข็มไว้เต็มแขนซ้ายและขวาทั้งบริเวณข้อมือและข้อพับ แต่เราก็เข้าใจว่าเป็นปัญหาเส้นเลือดของเราหายากนั่นเอง (ไม่เกี่ยวกับผู้เจาะเลือดแต่อย่างใด)

หลังพบแพทย์มีความเห็น ค่าตับอักเสบเล็กน้อย ไขมันในเลือดสูงโดยเฉพาะ LDL มากกว่า 190 (ตรวจวัดได้ 234) ค่าปกติ (40-150) ขึ้นจากการตรวจครั้งสุดท้ายค่อนข้างมาก แพทย์แจ้งว่าน่าจะเกิดจาพันธุกรรมเพราะแม่ก็มีประวัติไขมันในเลือดสูง แนะนำให้กินยาลดไขมัน ร่วมกับการออกกำลังกาย และการควบคุมอาหาร และให้ติดตามตรวจ Lipid AST ALT LFT ในอีก 3 เดือนข้างหน้า

 

@@@ เราขอผลการตรวจสุขภาพกลับมาทั้งหมดเผื่อเป็นข้อมูลอ้างอิงสำหรับการรักษาในการเจ็บป่วยครั้งต่อไปถ้ามี@@@

 

หากใครที่มีปัญหาไขมันในเลือดสูงและกำลังกินยาลดไขมันในเลือดอยู่ สามารถติดตามในบทความถัดไปว่าเราควรต้องดูแลสุขภาพอย่างไร การจำกัดอาหารประเภทใหน การออกกำลังกาย รวมถึงการสร้างแรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อให้ไขมันในเลือดเข้าสู่ภาวะปกติ  ป้องกันการเจ็บป่วยของโรคหัวใจและหลอดเลือดตามมา ซึ่งเป็นปัญหาการเสียชีวิตสูง และการเกิดอัมพฤตและอัมพาตนั่นเอง

 หากสนใจบทความที่เกี่ยวข้องด้านสุขภาพติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน