9 ขั้นตอนการเตรียมตัวเดินทางต่างประเทศสำหรับผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม

แชร์ให้เพื่อน

9 ขั้นตอนการเตรียมตัวเดินทางต่างประเทศสำหรับผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม

Episodes 3 การใช้ชีวิตในเมืองหลวงหลังป่วยโควิด 19 (ปี 2566)

        สำหรับบทความนี้ ต่อเนื่องจากบทความที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อม (สามารถหาอ่านได้เพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com )  เนื่องจากมนุษย์เราหลังจากอายุล่วงเลยเกินกว่า 50 ปี การเจริญเติบโตของร่างกายและพัฒนาการเข้าสู่ภาวะความเสื่อมถอยลงเรื่อยๆ เช่น ฮอร์โมนเพศ สมอง ความแข็งแรงของร่างกายต่างๆ เริ่มลดลง (เริ่มเข้าสู่วัยทอง มีภาวะหลงๆ ลืมๆ หรือสมองเสื่อม) หากแต่ชีวิตของคนทั่วไป (มนุษย์เดินดินอย่างเราๆ) ยังต้องดำเนินต่อไปอีก 50 ปีเป็นอย่างมาก เราจะเตรียมตัวสำหรับการเดินทางไกลหรือเดินทางต่างประเทศอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดการหลงทางและใช้ชีวิตให้มีความสุข โดยลดภาระการดูแลน้อยลงให้มากที่สุด

       สำหรับการดูตนเองของผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมในการเตรียมตัวเพื่อเดินทางต่างประเทศนั้นเราต้องเริ่มฝึกและทดลองเดินทางหรือใช้ชีวิตในต่างจังหวัดหรือเมืองหลวงก่อนเพราะในเมืองหลวงของแต่ละประเทศหรือเมืองท่องเที่ยว(พัทยา จะจำลองสิ่งแวดล้อมการใช้ชีวิตคล้ายในต่างประเทศมีประชาชนต่างชาติหลากหลายภาษาอาศัยอยู่ร่วมกัน การติดต่อสื่อสารหลากหลายภาษา การข้ามถนนหนทาง จะมีสัญญาณไฟให้รอเพื่อข้ามถนน หากเราอยู่ในเมืองที่มีรถวิ่งอย่างคับคั่ง หากในกรุงเทพเราสมารถเดินข้ามสะพานลอยจะปลอดภัยกว่า แต่สำหรับเมืองที่ไม่มีสะพานลอยหรือมีน้อยเราต้องรอสัญญาณไฟในการข้ามถนน เรามาดูกันเลยคะว่า 9 ขั้นตอนการเตรียมตัวเพื่อเดินทางไกลไปต่างประเทศ เพื่อท่องเที่ยวหรือพักอาศัยในต่างประเทศเราต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?

  1. การเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพและการซื้อประกันการเดินทาง เนื่องจากความเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุเป็นเรื่องที่เราไม่สามารถคาดการณ์ได้ แต่เราสามารถบริหารความเสี่ยงโดยการลงทุนน้อยเมื่อเทียบกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้น จะมีบริษัทประกันรับความเสี่ยงในการชดเชยค่าสินไหมตามวงเงินและเงื่อนไขการซื้อประกัน เราเตรียมตัวด้านการตรวจสุขภาพประจำปี (สามารถหาอ่านได้ในบทความอื่นๆ ใน healthybestcare.com ) ว่าเราต้องตรวจรายการใหนบ้างเป็นต้น (สำหรับผู้เขียนเองนั้นมีอาการสมองเริ่มเสื่อม อาการวัยทอง โรคประจำตัวไขมันในเลือดสูง ตรวจพบจากการตรวจสุขภาพประจำปี) จึงต้องเตรียมยาให้เพียงพอสำหรับการเดินทางและนำผลการตรวจสุขภาพติดตัวไปทั้งหมด รวมถึงการเตรียมยาพื้นฐานต่างๆ สามารถหาอ่านได้เพิ่มเติมใน healthybestcare.com
  2. การทดลองการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศก่อนโดยใช้วิธีการเดินทางโดย เครื่องบินในประเทศ  รถไฟ รถเมย์ รถโดยสารสองแถว รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดิน เพื่อให้เกิดความเคยชิน จะช่วยให้เราสามารถใช้ชีวิตในต่างแดนได้คล่องตัวมากขึ้นนั่นเอง
  3. การใช้เครื่องมือสื่อสารให้เกิดประโยชน์ หากเราหลงลืมเส้นทางบ่อยๆ เราสามารถใช้มือถือถ่ายภาพลงในสตอรี่หรือฟีดข่าวของเฟสบุ๊ค โดยในวันนั้นให้เริ่มต้นฟีดข่าวครั้งแรกในจุดที่เราเริ่มต้นออกเดินทาง หลังจากนั้น ถ่ายภาพจุดที่สำคัญๆ ที่เราเดินทางผ่านหรือเราเคยไปมาก่อนลงให้เกิดความต่อเนื่อง ให้เป็นสตอรี่เรียงกันไปตามลำดับหากเราหลงทางการติดตามตัวเราจะได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น (อย่านำรูปเดิมมาลง อาจทำให้เกิดความสับสนได้)
  4. การเตรียมความพร้อมด้านอาหารการกินบางอย่างให้พร้อม เพราะอาหารที่ต่างประเทศอาจไม่ถูกปากหรือไม่ถูกโรค ดังนั้นการเตรียมอาหารบางส่วนนอกจากช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายแล้ว ยังเป็นการกินอาหารที่เราชอบและถูกปาก ถูกโรคไม่ทำให้เกิดการเจ็บป่วยในต่างแดน ชีวิตเราก็มีความสุขเพิ่มขึ้นตลอดการพักอาศัย และท่องเที่ยวอีกด้วย (เรายอมจ่ายค่าสัมภาระในการเดินทางเพิ่มขึ้นเช่นอาจต้องจ่าย 1000 บาทต่อการขนสัมภาระ 30 กิโลกรัมในการเดินทางไปประเทศฟิลิปปินส์ของสายการบินไทย) เป็นต้น
  5. การสอบถามเพื่อนๆ ที่เคยเดินทางหรือการอ่านรีวิวการเดินทางเพื่อท่องเที่ยวในประเทศนั้นๆ เช่น กระทู้ในพันทิป บทความการท่องเที่ยวต่างๆ จะช่วยเราได้อย่างมากเลยทีเดียว
  6. การจัดเตรียมสิ่งของ อุปกรณ์เครื่องใช้ส่วนตัวจะช่วยลดค่าใช้จ่ายถ้าหากเราต้องซื้อที่ต่างประเทศอาจมีราคาแพงกว่านั่นเอง (เสื้อผ้ากันหนาว รองเท้าแตะ รองเท้าผ้าใบ ชุดว่ายน้ำ สำรองแบตเตอรี่ สายชาร์ตต่างๆ ให้พร้อม (อาจเตรียมโน๊ตบุ๊คไปด้วยหากจำเป็นต้องใช้เพื่อถ่ายโอนภาพหรือทำงานไปด้วยนั่นเอง
  7. การหาเพื่อนในประเทศที่เรากำลังเดินทางไปผ่านทางออนไลน์โดยเป็นคนสัญชาติเดียวกันหรือการตรวจสอบที่ตั้งของสถานทูตไทยในประเทศนั้นๆ หากเรามีความจำเป็นต้องขอความช่วยหลือเป็นต้น (สำหรับผู้เขียนเองนั้นการเดินทางไปประเทศที่มีน้องสาวและเด็กวัยเรียนสองคนรอรับอยู่ที่ต่างประเทศซึ่งมีการกล่าวถึงเรื่องราวความรักของเด็กวัยอนุบาลในบทความก่อนหน้านี้แล้ว สามารถอ่านได้เพิ่มเติมที่ healthybestcare.com
  8. การโหลดแอฟพลิเคชั่นอื่นๆ เช่น ไลน์ ไวเบอร์ อิโม่ แชทในแมสเสทเจอร์ การใช้แอฟพลิเคชั่นในการแปลภาษาจะช่วยเราได้เป็นอย่างมาก ทำให้การสื่อสารมีความราบรื่นมากยิ่งขึ้นเป็นต้น
  9. ข้อสุดท้ายและท้ายสุดคือการดูแลทรัพย์สินส่วนตัวเช่น หนังสือเดินทาง เงินทอง ที่สำคัญมากที่สุดคือมือถือจะช่วยให้เราใช้ในการติดต่อสื่อสารเพื่อขอความช่วยเหลือเมื่อจำเป็นนั่นเอง

แม้ว่าการเดินทางสำหรับเราอาจไม่ได้เป็นคนที่ได้เดินทางบ่อยๆในประเทศและต่างประเทศ แต่การที่เราได้เตรียมความพร้อมก่อนการเดินทางจริงหรือที่เรียกว่าการฝึกซ้อมก่อนจะช่วยให้เราใช้ชีวิตได้ง่าย ลดความเครียดและความวิตกกังวลในการเดินทางไปอาศัยอยู่ ญาติที่อยู่ทางบ้านจะลดความเป็นห่วงลงได้ในระดับหนึ่งอีกด้วย

หากใครที่กำลังมองหาสถานที่ในการท่องเที่ยวหรือย้ายที่อยู่อาศัย สำหรับบทความนี้อาจช่วยสำหรับการเตรียมความพร้อมกรณีมีอาการสมองเสื่อมร่วมด้วย สนใจบทความอื่นๆ หาอ่านเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

พบกันใหม่สำหรับบทความการใช้ชีวิตในต่างแดนสำหรับผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมคะ

 

แชร์ให้เพื่อน