Episodes 4 การเดินทางท่องเที่ยวและการใช้ชีวิตในต่างแดนของผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้)
ตอน. การเดินทางไปประเทศฟิลิปปินส์ (ภารกิจของ Rommy and Jack)
การเดินทางท่องเที่ยว เยี่ยมญาติต่างประเทศนั้นจะช่วยให้ผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมมีการวางแผนชีวิต เกี่ยวกับด้านต่างๆ เช่น การจัดเตรียมกระเป๋าเดินทาง (สัมภาระโหลดใต้เครื่องบิน สัมภาระบนเครื่องบิน) การวางแผนกิจวัตรประจำวัน การจดจำสถานที่ต่างๆ ที่เคยไปมาแล้วหรือเป็นสถานที่ใหม่ๆ โดยการเริ่มต้นตั้งแต่การวางแผนเรื่องของการจองตั๋วเครื่องบิน (สำหรับผู้เขียนนั้นยังไม่เคยเดินทางบ่อย การจองตั๋วเครื่องบินจึงต้องพึ่งพาผู้ที่มีประสบการณ์ที่เดินทางบ่อยๆ ช่วยจองตั๋วเครื่องบิน จองที่พักตามโรงแรมต่าง การเช็คอินในระบบออนไลน์ต่างๆ เป็นต้น
สำหรับในบทความนี้จะกล่าวถึงเรื่องราวของ Rommy ให้ทราบพอสังเขป Rommy นั้นเป็นฉายาของผู้เขียนเกิดและเติบโตในภาคอีสานตอนล่าง ตอนเด็กๆ มักจะชอบเรียนวิชาคณิตศาสตร์เป็นชีวิตจิตใจในวัยประถมศึกษา และได้เป็นตัวแทนของโรงเรียนในการสอบแข่งขัน ตอบปัญหาต่างๆ ซึ่งมีแพ้บ้าง ชนะบ้าง แต่เราก็ยอมรับในเรื่องของกฎกติกาของการแข่งขัน จนกระทั่งเรียนจบมัธยมปลาย จึงหันเหอาชีพด้านการพยาบาล จบมาด้วยเกรดที่ไม่สู้ดีนัก ทำงานมาได้ระยะหนึ่งจึงหันเหเปลี่ยนสายงานอาชีพมาเรื่อยๆ สุดท้ายก็มาจบลงด้วยการเป็นนักเขียนแบบจำเป็นนั่นเอง
การใช้ชีวิตและการทำงานของ Rommy อาจไม่ได้เป็นแบบอย่างที่ดีนัก แต่ก็เป็นสิ่งที่เราชื่นชอบ พร้อมๆกับการเกิดปัญหาด้านสุขภาพทำให้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิตโดยเริ่มต้นเมื่อย่างเข้าสู่วัยทองแล้วนั่นเอง มีอาการหลงๆ ลืมๆ จดจำสถานที่ต่างไม่ได้ และหลงทางบ่อยๆ จำชื่อคนไม่ค่อยได้
เรามาดูกันเลยคะว่าหาก Rommy ต้องเดินทางไปเยี่ยมญาติซึ่งต้องขึ้นเครื่องบินจะต้องเตรียมตัวและจัดการแก้ไขปัญหาอย่างไร ภายใต้ภาวะสมองที่หลงๆ ลืมๆ
- การจัดการเรื่องการจองตั๋วเครื่องบิน เป็นหน้าที่ของญาติในการช่วยดำเนินการให้ รวมถึงการลงทะเบียนต่างๆ ในระบบออนไลน์ ตั๋วเครื่องบินเป็นของการบินไทย มีการซื้อเพื่อขนสัมภาระเพิ่ม 30 กิโลกรัม เพื่อนำไปประกอบอาหารที่ต่างประเทศนอกจากจะช่วยลดค่าใช้จ่ายแล้ว ยังสามารถเรียนรู้วิธีการประกอบอาหาร และได้รับประทานอาหารที่ถูกปากอีกด้วย (การจองตั๋วแบบฉุกเฉินและเร่งรับ 2 วันก่อนการเดินทางจึงต้องซื้อตั๋วในราคาค่อนข้างแพง)
- การซื้ออาหารแห้งและอาหารสด ก็มีผู้ที่มีประสบการณ์ในการเดินทางต่างประเทศช่วยเลือกซื้อและแพคใส่กระเป๋าตามคำสั่งซื้อของเด็กๆสองคน ได้มาแบบเต็มกระเป๋าถูกอก ถูกใจเด็กไทยในต่างแดนเลยก็ว่าได้
- การจองรถแทกซี่เพื่อเดินทางไปสนามบิน เป็นการจองแบบโทรเข้าไปจองกับนครชัยแอร์แต่สุดท้ายก็พลาดโอกาศเสียเวลาเกือบสามสิบนาที เกือบเช็คอินไม่ทัน ต้องเดินทางแบบเร่งรีบ
- การเช็คอิน เนื่องจากไม่สามารถเช็คอินออนไลน์ได้ จึงเช็คอินผ่านเจ้าหน้าที่พร้อมโหลดกระเป๋าสัมภาระ และผ่านขั้นตอนการตรวจสัมภาระ การตรวจพาสปอร์ต จนขึ้นเครื่องบินแต่ก็มีความสับสนเรื่องการหาที่นั่ง เนื่องจากไม่ได้เดินทางต่างประเทศเป็นเวลาหลายปีมาก จึงต้องขอความช่วยเหลือจากผู้โดยสารท่านอื่นและลูกเรือ
- การใช้อุปกรณ์บนเครื่องบิน เพื่อดูหนังฟังเพลง โดยการสังเกตจากผู้โดยสารท่านอื่นว่าใช้อย่างไรบ้าง ทดลองกดไปเรื่อย สุดท้ายก็จบลงด้วยการดูหนังฝรั่งจบไปหนึ่งเรื่องแบบงงๆ เอ๋อๆ และหยิบงานขึ้นมาเขียนบทเครื่องบินได้สองบทความนั่นเอง
- การสั่งอาหารบนเครื่องบิน หลังจากบริกรสาว สอบถามเมนูอาหาร จบลงด้วยข้าวผัดกุ้งแม้จะมีคอเลสเตอรอลสูง เนื่องจากไม่มีเมนูอื่นอีกแล้วที่ตรงกับโรค
- การเข้าห้องน้ำ เนื่องจากกินน้ำน้อยและการเดินทางเพียงแค่ 3 ชั่วโมงกว่านิดหน่อยจึงไม่ปวด แต่ก็เดินไปสำรวจดูสัญลักษณ์ สีแดงคือมีคนใช้อยู่ สีเขียวคือว่าง สามารถเข้าใช้งานได้
- การเดินทางเข้าเมืองของประเทศฟิลิปปินส์ มีการลงทะเบียนออนไลน์ที่ต้องลงเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนโควิด 19 (ผู้เขียนก็มีน้องสาวช่วยลงทะเบียนให้และแสกนคิวอาร์โคดผ่านขั้นตอนมาได้ด้วยดี หลังจากนั้นผ่านตม.ขอวีซ่าสำหรับผู้เขียนเดินทางครั้งนี้พักอาศัยในเมืองมะนิลาเขตมาคาตินั่นเองเป็นระยะเวลา 1 เดือนเต็ม
- การรับกระเป๋าเดินทางที่โหลดสัมภาระ เนื่องจากสนามบินนินอยนั้นเล็กมากจึงเดินทางหาที่รับประเป๋าเดินทางได้ไม่ยากมากนัก
- การประสานงานกับญาติที่เดินทางมารอรับ เนื่องจากผู้เขียนขอเปิดโรมมิ่งของทรูมาด้วยแพคเกต 999 บาทต่อเดือนความเร็ว 10 กิ๊กกะไบท์เมื่อหมดแล้วความเร็วจะลดลง จึงไม่ได้มีปัญหาทำให้เจอญาติได้อย่างรวดเร็ว
- การเดินทางเข้าที่พัก โดยมีน้องสาวรอรับและขับรถเข้าไปส่งที่พักได้อย่างปลอดภัย
- การสำรวจสถานที่ในเมืองมาคาติ มีเด็กอายุ 8 ปี และ 9 ปีเป็นคนแนะนำสถานที่พาข้ามถนน เดินทางไปกลับระหว่างบ้านพักของเค้าและที่พักของผู้เขียนซึ่งอยู่ไม่ได้ไกลกันมากนัก พร้อมแนะนำเรื่องร้านอาหารที่พวกนางเข้าซื้อกินบ่อยเช่นกัน
- เรื่องของเวลานั้นประเทศฟิลิปปินส์เร็วกว่าไทยประมาณ 1 ชั่วโมง
- สุดท้ายจบลงด้วยหลงทางอีกครั้งเนื่องจากน้องสาวพามาส่งที่พัก แต่ไม่สามารถส่งถึงที่ได้เนื่องจากทางเดินรถทางเดิน ปล่อยให้ลงเดินเข้ามาเนื่องจากที่พักมี 3 ตึกและชื่อคล้ายกันหาตึกไม่เจอ การแก้ไขโดยเปิดการใช้โรมมิ่งโทรหาญาติส่งให้ดูข้างทางเพื่อบอกเส้นทางเข้าตึกได้อย่างปลอดภัยนั่นเอง
สำหรับเรื่องที่พักอาศัย จะเขียนในบทความต่อไป หากสนใจบทความเกี่ยวการใช้ชีวิตหรือการเดินทางสำหรับผู้ที่มีอาการสมองเสื่อม หลงลืมบ่อยสามารถอ่านได้เพิ่มเติมที่ healthybestcare.com