เรื่องเล่า  ไกด์แนะนำเส้นทางเดินกลับบ้านของสองเจนเนอเรชั่น(Gen baby boomer Gen Z)​

แชร์ให้เพื่อน

เรื่องเล่า  ไกด์แนะนำเส้นทางเดินกลับบ้านของสองเจนเนอเรชั่น(Gen baby boomer Gen Z)​

       หลังจากผู้เขียนซึ่งอยู่ในเจนเนอเรชั่น X ที่มีอาการหลงๆลืมๆ สมองเริ่มเสื่อม เข้าสู่วัยทอง จดจำเส้นทางเดินทางระหว่างที่พักไปบ้านหลานๆ ไม่ได้ และจำที่พักของตนเองไม่ได้ เกิดอาการหลงทางหาที่พักไม่พบซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลากลางพลบค่ำทั้งที่เดินทางไปกลับสองครั้ง วันรุ่งขึ้นเวลาเช้าเป็นหน้าที่ของไกด์ Gen baby boomer มารับตัวจากที่พักตอนเช้า เพื่อแนะนำเส้นทางเดินกลับไปที่พักหลานๆ
ณ. เวลาแปดโมงเช้า ที่หน้าตึกที่พักของผู้เขียน
(ไกด์ baby boomer) : ยื่นปากกาพร้อมกระดาษหนึ่งแผ่นที่พับครึ่งมาให้ พร้อมกับพูดว่า”เขียนลงไป เลี้ยวซ้าย”
(ผู้เขียน)​: งงพักหนึ่ง พร้อมคลี่กระดาษเปิดดู จะให้เขียนทำไม พร้อมเดินตามไกด์รุ่น baby boomer แต่ไม่ยอมเขียนอะไร เพราะยังไม่เข้าใจ นึกในใจทำไมต้องทำตามคำสั่งด้วยละ งงอยู่ไม่รู้เหตุผลทำไมต้องเขียน
(ไกด์รุ่นbaby boomer)​: หันมาพูดอีกครั้ง ทำหน้าขึงขัง เขียนลงไป เลี้ยวซ้าย และเดินตรงไป
(ผู้เขียน)​:ถึงบางอ้อ จะให้วาดแผนที่เดินทางก็ไม่บอกกันตรงๆ ทำเรางงอยู่ตั้งนาน พร้อมลงมือวาดตึกที่เริ่มต้นเดินทาง ทำลูกศรชี้ออกจากตึกเพื่อเลี้ยวซ้าย แต่ยังไม่ยอมเขียนว่า เลี้ยวซ้าย เดินตรงไป เพราะเราเข้าใจของเราแล้ว
(ไกด์ baby boomer) : เขียนลงไปว่า เลี้ยวซ้าย พูดบังคับให้เขียนให้ได้ เลี้ยวขวา เดินตรงไป
(ผู้เขียน)​: เดินตามแบบเงียบๆ พร้อมวาดลายแทงทางเดินของตนเองอีกครั้งด้วยลูกศรชี้ไปมา เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา เดินตรงไป พร้อมกับเขียนยิกๆ เหมือนทำตามคำสั่ง เพราะหากไม่ทำตามคำสั่งเดี่ยว Gen baby boomer อารมณ์​เสียใส่
(ไกด์ baby boomer) :พาเดินตามถนนใหญ่ พร้อมแนะนำชื่อตึกที่สำคัญ ชื่อถนน สี่แยกต่างๆ ใช้เวลาเดินประมาณ 5 นาที ถึงที่พักเด็กๆสองคน อย่างปลอดภัย แต่ตลอดการเดินทางเพื่อแนะนำเส้นทางกลับรู้สึกกังวล เคร่งเครียดกันเลยทีเดียว

ณ.เวลาพลบค่ำ เดินเส้นทางเดิมพร้อมเด็กๆ สองคน
(ไกด์ Gen Z)​: เดินออกจากตึก วิ่งเล่นหยอกล้อกันสนุกสนาน เมื่อถึงเซเว่นก็วิ่งเข้าไปเลือกซื้อน้ำหวาน ขนม เพราะเหนื่อยจากการว่ายน้ำมาร่วมสองชั่วโมง
หลังได้ขนมกับน้ำ ก็ยื่นสัมภาระกระเป๋าชุดว่ายน้ำมาให้เราหิ้ว ตัวเองเดินกินขนมตัวปลิว เมื่อถึงทางข้ามถนนก็ไปกดสัญญาณให้รถจอดเพื่อรอจะข้ามถนน แต่ก็กดหลายครั้ง ผู้เขียน นึกในใจ ความวัวยังไม่หาย ความควายจะเข้ามาอีกไหม (ประเด็นกดสัญญาณ​เตือนไฟไหม้ในตึก)​
(ผู้เขียน)​: ทำไมพามาทางนี้ละ งงกับเส้นทางนิดหนึ่งเพราะเหมือนยังไม่เคยเดินผ่านมาก่อน ไม่เห็นสิ่งแวดล้อมแบบนี้มาก่อน พร้อมกับพูดขึ้นว่า “เมื่อเช้าไม่ใช่เดินทางนี้นะ”
(ไกด์ Gen Z)​: อย่าเชื่อลุง ชอบมั่วตลอด แต่ไม่ได้แนะนำชื่อสถานที่ เดินไปเล่นไป คุยกันไปเรื่อยเปื่อยสองคน เราก็เดินตามไปเรื่อยๆ อย่างมีความสุข สังเกตเส้นทางไป เมื่อถึงสวนสาธารณะ​นางพาเดินลัดเข้าสวนเฉยเลย พร้อมชวนนั่งเล่น ถ่ายวีดีโอแนะนำสถานที่ กินขนมต่อทั้งที่เวลาพลบค่ำมากแล้ว
(ผู้เขียน)​:เดินออกจากสวนสาธารณะเหลือบตามองไป พร้อมกับอุทานเบาๆ อ้าวนั่นตึกที่พักนี่ ทำไมถึงเร็วจังแป๊ปเดีียวเอง แต่จริงๆ แล้วมัวแต่นั่งเล่น ถ่ายวีดีโอในสวนสาธารณะ​ จนแม่โทรตาม เนื่องจากนานผิดสังเกต หลังจากเดินข้ามถนนทางม้าลาย
(ไกด์ Gen Z)​ : แม่ไปถ่ายรูปตรงนั้นได้นะ ผู้เขียนเหลือบตามองดู มันเป็นซอกต้นไม้ เหมือนจะมีงูแอบอยู่ พร้อมพูดว่า ไม่กล้าไปถ่ายหรอกกลัวงูกัด นางตอบถ่ายรูปได้ เดินต่อไปซักพัก ก็ถึงบ้านอย่างปลอดภัย แต่ใช้เวลานานเกือบชั่วโมงเพราะมัวแต่แวะข้างทาง ซื้อขนมกิน แวะถ่ายวีดีโอ มีความสุขกันไป เหมือนเวลาผ่านไปแค่ห้านาที

จากการพาเดินตามเส้นทางกลับบ้าน ตามแนวคิดของสองเจน​เนอ​เรชั่น​นั้น จะเห็นได้ว่า Gen baby boomer จะใช้วิธีการบอกเส้นทางแบบบังคับให้เขียนโน่น นี่ นั่น เคร่งเครียด ตลอดเส้นทางเดิน เกิด รู้สึกไม่ผ่อนคลาย กังวลกับเส้นทางเดิน ขณะที่ไกด์ Gen Z นั้นพาแวะซื้อขนม เดินเล่นหยอกล้อ ลัดเส้นทาง แวะเข้าถ่ายวีดีโอ นั่งเล่นในสวนสาธารณะ​ กลับรู้สึกมีความสุข สนุกสนาน เพราะว่าเด็กนั้นจะไม่มีเรื่องให้ต้องคิดหรือมีความวิตกกังวลใดๆ ขณะที่การใช้ชีวิตของผู้ใหญ่ เต็มไปด้วยความเคร่งเครียด ผู้เขียนจึงได้แนวคิดจากการใช้ชีวิตแบบเด็กๆ มาว่า บางครั้งเราไม่ต้องเดินตามเส้นทางตรง หยุดพักบ้าง กินขนมบ้าง หยอกล้อกันบ้าง จะช่วยให้ชีวิตมีความสุขขึ้นมาตั้งแยอะ อย่าเคร่งเครียดมากนักเพราะชีวิตคนเราอยู่บนโลกไม่น่าเกินร้อยปีหรอก หากสนใจบทความดีดีสามารถหาอ่านเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน