9 เคล็ดลับการชะลอความเสื่อมของสมองเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยทอง

แชร์ให้เพื่อน

9 เคล็ดลับการชะลอความเสื่อมของสมองเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยทอง

             เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยทองของมนุษย์อายุล่วงเลยผ่าน 50 ปี นับเป็นพัฒนาการด้านร่างกายของมนุษย์ ซึ่งในวัยทองนั้น จะมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายและทางด้านจิตใจ ซึ่งผู้เขียนได้เขียนในบทความก่อนหน้านี้ สามารถหาอ่านได้เพิ่มเติมที่ Healthybestcare.com ปัญหาด้านความจำ อาการหลงๆ ลืมๆ นั้นมักเกี่ยวข้องกับวัยสูงอายุด้วย จากปัญหาความเสื่อมของสองนี้ผู้เขียนได้พบเจอมาด้วยตนเอง จึงอยากจะขอแชร์ประสบการณ์ในการใช้ชีวิตเพื่อช่วยรื้อฟื้นและชะลอความเสื่อมของสมองเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยทอง

              สำหรับเคล็ดลับทั้ง 9 เคล็ดลับช่วยการชะลอความเสื่อมของสมองเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยทองที่ผู้เขียนได้ทดลองใช้กับตนเองมาก่อนหน้านี้ครบกำหนด 90 วัน ช่วยให้ผู้เขียนสามารถใช้ชีวิตได้เกือบเท่าคนปกติ แม้ปัญหาด้านการเรียบเรียงของภาษาเขียนอาจยังไม่ได้มีความสละสลวยมากนัก แต่การสื่อสารด้วยการพูดคุยก็ดีขึ้นมากระดับหนึ่งเลยทีเดียว เรามาดูกันเลยคะว่ามีเคล็ดลับอะไรบ้างที่ผู้เขียนเลือกใช้

  1. เคล็ดลับการเลือกรับประทานอาหาร อาหารแต่ละชนิดที่เราเลือกรับประทานนั้นมีผลต่อการชะลอความเสื่อมของสมองเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยทองดังนั้นอาหารที่ควรเน้นรับประทานบ่อยๆคือโปรตีนจากเนื้อปลา เนื้อปลาเป็นโปรตีนที่ย่อยง่าย มีสารช่วยด้านความจำคือ OMEGA 3 เนื่องจากเมนูจากปลานั้นอาจคาวหากนำมาประกอบอาหารไม่ถูกวิธี ผู้เขียนเลือกกินเมี่ยงปลาเผาเนื่องจากมีน้ำจิ้มและผักใบเขียวเป็นเครื่องเคียงในการรับประทาน หรืออาจใช้วิธีการนึ่งใส่ผักให้สุกพร้อมกับเนื้อปลาก็ช่วยให้ย่อยง่ายเช่นกัน เมนูนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาระบบการย่อยอาหารอีกด้วย
  2. เคล็ดลับการเลือกรับประทานวิตามินและอาหารเสริมบางชนิด สำหรับในเคล็ดลับการชะลอความเสื่อมของสมองเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยทอง เนื่องจากการรับประทานอาหารปกติในแต่ละวันของคนวัยทองอาจได้รับสารอาหารไม่ครบถ้านเนื่องจากประเด็นความอยากอาหารลดลง มีโรคประจำตัวต้องจำกัดอาหาร เป็นต้น  สำหรับผู้เขียนเลือกรับประทาน Centrum Silver 50+ และ OMEGA 3 โดยรับประทานพร้อมอาหารวันละ 1 เม็ด หากใครที่เริ่มเข้าสู่วัยทองหรือมีปัญหาเรื่องอาการหลงๆ ลืมลองหามารับประทานดูกันนะคะ และเลือกแทะเม็ดทานตะวันเป็นขนมขบเขี้ยวช่วยลดความอ้วนได้อีกด้วย
  3. เคล็ดลับการกระตุ้นสมองและชะลอความเสื่อมของสมองด้วยภาษา เป็นเคล็ดลับการชะลอความเสื่อมของสมองเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยทอง สำหรับผู้เขียนนั้นพูดภาษาเขมรมาตั้งแต่เด็กและเป็นเด็กเซราะกราว หากใครสนใจอ่านเรื่องสั้นชีวิตของคนเซราะกราวสามารถติดตามอ่านได้ที่ Healthy bestcare.com ต่อมาผู้เขียนเริ่มเรียนหนังสือและพูดภาษาไทยในระดับประถมศึกษา เริ่มพูดภาษาลาว ภาษาอังกฤษและเขียนร่วมด้วย รวมๆ แล้วผู้เขียนสามารถสื่อสารได้ทั้งหมดคือ ภาษาเขมร(พูดอย่างเดียว) ภาษาลาว(พูดอย่างเดียว) ภาษาไทย(พูด อ่าน และเขียน) ภาษาอังกฤษ(พูด อ่าน และเขียน) และที่สำคัญอีกภาษาหนึ่งก็คือภาษากายที่มีในอิโมจิในการสื่อสารในโลกออนไลน์นอกจากจะช่วยประหยัดเวลาแล้วทำให้ผู้เขียนมองเห็นภาพและสื่ออารมณ์มาจากรูปภาพนั่นเอง
  4. เคล็ดลับการเดินทางย้อนไปหาอดีต เป็นเคล็ดการชะลอความเสื่อมของสมองเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยทอง โดยผู้เขียนเลือกเดินทางกลับไปอยู่ที่บ้านในต่างจังหวัดที่ผู้เขียนใช้ชีวิตมาตั้งแต่วัยเด็กเป็นระยะเวลา 1 ปีกว่า ช่วยให้ผู้เขียนได้เดินทางผ่านสถานที่และเห็นสภาพแวดล้อมเก่าๆ ถึงแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างมากแต่ก็ช่วยรื้อฟื้นความจำและช่วยกระตุ้นสมองได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว เช่น การได้พบเจอกับคนในชุมชน เพื่อนๆ ในวัยเด็กสมัยเรียนประถมศึกษาที่ยังคงหลงเหลือและใช้ชีวิตอยู่ในบ้านเกิด การเดินทางไปท่องเที่ยวในสถานที่ ที่เคยไปบ่อยๆ เช่น สถานที่ท่องเที่ยวที่พัทยาเนื่องจากผู้เขียนมีพี่ชายอยู่แถวอำเภอบางละมุง และหลังจากเรียนจบมหาวิทยาลัย เริ่มทำงานได้เดินทางมาท่องเที่ยวบ่อยครั้งจนนับไม่ถ้วน การเดินทางกลับมาพักอาศัยในกรุงเทพซึ่งผู้เขียนอาศัยอยู่มาเกือบ 30 ปี เป็นต้น
  5. เคล็ดลับการเดินทางไปสู่โลกใหม่แห่งอนาคต เป็นเคล็ดลับการกระตุ้นสมองเมื่อเข้าสู่วัยทอง โดยในครั้งนี้ผู้เขียนเลือกเดินทางมาใช้ชีวิตที่ประเทศฟิลิปปินส์เป็นเวลา 30 วัน เนื่องจากประเทศฟิลิปปินส์นั้นประชาชนส่วนใหญ่สื่อสารภาษาอังกฤษ(ในกรุงมะนิลา)และหลานๆสื่อสารพูดคุยและเรียนภาษาอังกฤษสลับภาษาไทย  ผู้เขียนก็ช่วยสอนให้เด็กๆ หัดผู้ภาษาเขมรด้วยเช่นกัน การได้เดินทางมาเห็นสถานที่ใหม่ๆ และเส้นทางใหม่ๆ จะช่วยให้สมองมีการคิดประมวลภาพในการจดจำสถานที่ใหม่ๆ โดยในครั้งนี้ผู้เขียนใช้เทคนิคการถ่ายภาพลงเป็นสตอรี่ช่วยในการจำและย้อนรำลึกด้วยภาพผ่านเรื่องราวของชีวิต เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการต้องเผชิญกับอาหารการกิน ภูมิอากาศ สภาพสังคมอีกซีกโลกหนึ่งในอนาคต (คนเซราะกราว)
  6. เคล็ดลับการถ่ายภาพ และการบันทึกลงในสตอรี่ต่างๆในเฟสบุ๊ค เป็นเคล็ดลับการกระตุ้นสมองเมื่อเข้าสู่วัยทอง เพราะว่าการบันทึกเรื่องราวนั้นจะเป็นเรื่องราวที่มีความต่อเนื่อง สะดวก ง่ายในการรื้อฟื้น แค่เปิดโทรศัพท์มือถือย้อนดูสตอรี่เก่าๆ ก็ช่วยให้สามารถจดจำเรื่องราวในอดีตได้เช่นกัน ทั้งยังช่วยกระตุ้นสมองในการคิดและแก้ปัญหาได้อีกด้วย
  7. เคล็ดลับการใช้ชีวิตแบบสังคมคนเมืองหลวง เนื่องจากผู้เขียนมีภาวะสมองเสื่อม หลงๆ ลืมๆ เป็นเด็กเซราะกราว การใช้ชีวิตแบบคนเมืองหลวงจึงมีประสบการณ์น้อย เช่น การใช้มือถือในการจองตั๋วเครื่องบิน(รวมถึงขั้นตอนและวิธีการเดินทางโดยเครื่องบิน) รถไฟ (การเดินทางด้วยรถไฟฟ้า รถไฟใต้ดิน รถไฟ เป็นต้น) การดูแอฟพลิเคชั่นต่างๆ การสั่งอาหารผ่านแอฟพลิเคชั่น วิธีการสั่งซื้อของออนไลน์ การถอนเงินผ่านตู้โดยใช้แอฟ หรือไม่ใช้บัตรเอทีเอ็ม เป็นต้น
  8. เคล็ดลับการเป็นนักช่างสังเกตการณ์ และเฝ้ามองพฤติกรรมของมนุษย์ รวมถึงการใช้จิตวิทยา การช่างสังเกตการณ์จะช่วยให้สามารถจดจำคน สถานที่ต่างๆ ได้ง่ายขึ้น ในผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมหรือมีอาการหลงๆ ลืม ร่วมกับการถ่ายภาพบันทึกในสตอรี่ในเหตุการณ์ที่อยากจดจำ เป็นต้น
  9. เคล็ดลับข้อสุดท้ายเป็นเคล็ดช่วยชะลอความเสื่อมและเป็นการกระตุ้นสมองช่วยในการจดจำคือการเขียนบทความ บันทึก ไดอารี่ ต่างๆ สำหรับผู้เขียนนั้นเลือกการเขียนบทความเพราะเป็นการเขียนเรื่องราวต่างๆ เพื่อต้องการสื่อให้กลุ่มผู้อ่านเข้าใจและเข้าถึงเนื้อหา รวมถึงการเขียนเรื่องสั้นซึ่งจะมีขึ้นในอนาคต เรื่อง “คนเซราะกราว” ใครสนใจชีวิตเรื่องราวคนเซราะกราวติดตามอ่านในเรื่องสั้นได้นะคะที่ Healthybestcare.com ว่าจะเด็ดแค่ใหน ตรงกับชีวิตของผู้อ่านบ้างหรือไม่

จากเคล็ดลับทั้ง 9 เคล็ดลับช่วยชะลอความเสื่อมของสมองเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยทอง เพื่อนๆ ท่านใดที่เริ่มเข้าสู่วัยทองแล้ว ลองนำเคล็ดต่างๆ ที่กล่าวมานี้ไปปรับใช้ในการใช้ชีวิตของตนเองดูกันนะคะ ได้ผลลัพธ์ออกมาอย่างไร?  สามารถแสดงความคิดเห็นผ่านเฟสบุคได้คะ 

แชร์ให้เพื่อน