เรื่องสั้น อรุณเบิกฟ้ากลางกรุงมะนิลา ตอน บินลัดฟ้าสู่มะนิลา

แชร์ให้เพื่อน

เรื่องสั้น อรุณเบิกฟ้ากลางกรุงมะนิลา

ตอน บินลัดฟ้าสู่มะนิลา

        การเดินทางต่างประเทศ (ประเทศฟิลิปปินส์) ในยุคสมัยปัจจุบันนี้หลังจากการระบาดโรคโควิด 19 ต้องแสดงการฉีดวัคซีนอย่างน้อยสองเข็มก่อนเข้าประเทศฟิลิปปินส์ โดยต้องกรอกข้อมูลผ่านระบบก่อนการบินประมาณหนึ่งวัน ถึงแม้ว่าประชากรของฟิลิปปินส์นั้นได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับคนไทย

        เนื้อเรื่องตอนที่แล้ว หลังจากที่ทั้งสามคนแม่ลูกเดินทางด้วยรถยนต์วีออส รุ่นเก่าเข้าสู่เมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ วันรุ่งขึ้นทุกคนตื่นแต่เช้าเช่นเดิมเนื่องจากเป็นการใช้ชีวิตของคนเซราะกราว เพื่อออกไปซื้อข้าวของต่างๆในการเตรียมเดินทางในช่วงเวลาพลบค่ำของวันนี้นั่นเอง

        “แม่คะ หนูเอามาม่าเกาหลีไปด้วยนะคะ” พี่สาวถามผู้เป็นแม่พร้อมกับหยิบมาม่าเกาหลีรสเผ็ดจัดใส่รถเข็นสี่ห้าซองเพื่อจะนำไปด้วย “ไม่ต้องหรอกลูกที่ฟิลิปปินส์เค้าก็มีขาย” แม่บอกพร้อมกับหยิบมาม่าเกาหลีรสเผ็ดออกมาและให้ลูกสาวนำไปเก็บที่เดิมเนื่องจากความเผ็ดมากของมาม่าเกาหลีทำให้น้องสาวที่ตัวเล็กกว่าปากพองและมีปัญหากรดไหลย้อนบ่นปวดท้องอยู่บ่อยๆ แม่สาละวนกับการเลือกเครื่องปรุงเพื่อนำไปปรุงอาหารเพราะเครื่องปรุงที่ฟิลิปปินส์มีราคาแพงกว่าที่เมืองไทยมาก เช่น รสดี น้ำมะขามเปียก เส้นหมี่แห้ง เส้นเล็กสด (ปรุงหมี่ยำเป็นอาหารท้องถิ่นดินแดนคนกระสัง) ผงมะนาว น้ำปลาร้า เส้นขนมจีนแห้ง  ใบโหระพา ใบกระเพรา ลูกชิ้นหมู ลูกชิ้นปลา ข้าวเหนียว ข้าวหอมมะลิ เป็นต้น รวมกันทั้งสามคนสามารถขนสัมภาระมาได้ทั้งหมดเก้าสิบกิโลกรัม หลังจากได้ของเรียบร้อยจึงรีบกลับบ้านเพื่อแพคของเตรียมตัวเดินทางไกลต่อไป

        “เด็กๆ มาแพคกระเป๋าเดินของตัวเองนะคะ” เสียงป้าผู้ที่เดินทางบ่อยๆโดยเครื่องบินบอกหลานๆให้แพคกระเป๋าเดินทางของตนเองพร้อมกับแจ้งว่า ห้ามใส่สิ่งของประเภทน้ำ ครีม และของมีคมในกระเป๋าที่จะนำติดตัวขึ้นบนเครื่องบินเวลาผ่านไปร่วมชั่วโมงในการเตรียมของเพื่อเดินทาง “แม่คะ หนูขอไปว่ายน้ำก่อนได้ไหมคะ” น้องสาวคนเล็กเอ่ยขึ้น เนื่องจากช่วงเดือนเมษายนเป็นช่วงที่มีอากาศร้อนจัด เป็นเดือนแห่งเทศกาลสงกรานต์ และเป็นปีใหม่ของไทยเช่นกัน เด็กๆเซราะกราวมักจะชอบเล่นน้ำคลอง น้ำสระนั่นเอง พอเข้าสู่เมืองหลวงจึงชอบว่ายน้ำในสระว่ายน้ำเป็นชีวิตจิตใจ ไม่ใช่ว่ายน้ำหรอก เรียกว่าเล่นน้ำดีกว่าเพราะชอบดำผุด ดำว่าย กระโดด ดึงกันในน้ำมากกว่า ถึงแม้จะมีหมวกว่ายน้ำและแว่นตาแต่ก็ไม่ได้ใส่เช่นกัน “เล่นน้ำแค่สองชั่วโมงแล้วรีบกลับมานะคะ” แม่พูดขึ้น พร้อมกับสาละวันกับการแพคของกินใส่กระเป๋า “ทำไมมีรสดีเยอะแยะขนาดดีละ มิน่าละ ผมร่วงหมดหัว” ผู้เป็นป้าเปรยขึ้นหลังจากสังเกตข้าวของที่เตรียมเดินทาง “ที่โน่นราคาแพง เลยต้องเตรียมไปเยอะหน่อย” แม่ของเด็กทั้งสองเอ่ยขึ้น

      เด็กๆ เล่นน้ำอย่างมีความสุข อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย “กลับกันได้แล้วเด็กๆ เราต้องรีบไปกินข้าวเย็นก่อนเดินทางไปสนามบินนะ” พี่สาวลูกของป้าเอ่ยขึ้น” น้องสาวรีบขึ้นจากสระว่ายน้ำไปอาบน้ำล้างตัวตามคำบอกของพี่สาว และไปยื่นด้อมๆ มองๆ จุดตำแหน่งกดสัญญาณเตือนไฟไหม้ของตึกด้วยความอยากรู้อยากเห็นตามประสาของเด็กวัยประถมศึกษาและเป็นเด็กบ้านนอกเข้าเมืองกรุงครั้งแรกและที่บ้านไม่เคยเห็นมาก่อน “มายืนทำอะไร” พี่สาวเอ่ยถาม พร้อมกับพูดขึ้นว่า ห้ามไปกดเล่นเด็ดขาดนะ แต่ก็ไม่ได้บอกเหตุผลอะไร

     “เราไปกินไอศรีมกันไหม” ป้าเอ่ยถามขึ้นหลังจากจัดเตรียมของเพื่อเดินทางเรียบร้อยแล้ว “ดีคะ หนูขอบกินไอศรีม” พี่สาวเอ่ยขึ้น ไอศรีมกับเด็กมักจะเป็นของคู่กันเสมอ สมัยก่อนรุ่นที่ผู้เขียนยังเป็นเด็กจะมีไอศรีมแบบแท่งที่ขายแท่งละ1 บาท หากใครกินไอศรีมหมดแล้วสังเกตที่ปลายของแท่งไอศรีมมีสีแดงก็จะสามารถแลกกินได้อีกหนึ่งแท่งฟรีนั่นเอง ซึ่งเป็นแนวทางการตลาดในสมัยก่อน หากสมัยปัจจุบันก็จะมีการจัดทำบัตรสมาชิกโดยการลดราคาให้หากใช้บัตรสมาชิก หรือ

จ่ายด้วยบัตรเครดิตต่างๆที่เข้าร่วมบริการ หลังจากกินไอศรีมเรียบร้อยถึงเวลาต้องรีบเตรียมตัวเพื่อออกเดินทางไปสนามบินเพราะกลัวรถติดเดี่ยวไม่ทันเชคอิน ซึ่งเคยมีประวัติการตกเครื่องบินเนื่องจากเชคอินไม่ทันทำให้เสียเงินค่าเครื่องบินนั่นเอง

       เมื่อไปถึงสนามบินเด็กๆก็ตื่นตาตื่นใจกับความกว้างใหญ่ของสนามบินสุวรรณภูมิ ถ่ายรูปตรงนั้นตรงนี้โดยเฉพาะน้องสาวมักจะชอบแอคชั่นถ่ายรูปเป็นพิเศษ ขั้นตอนการโหลดกระเป๋าผ่านไปด้วยดี ต่อมาเป็นขั้นตอนการตรวจสอบสัมภาระที่จะนำขึ้นไปบนเครื่อง “ในกระเป๋าเดินทางของลูกสาวคุณเราพบกรรไกรนะคะ” เจ้าหน้าที่สนามบินแจ้งให้แม่ทราบหลังจากแสกนและพบกรรไกรขนาดเล็ก แม่แสดงสีหน้าตกใจ “แอบนำกรรไกรใส่กระเป๋าตั้งแต่เมื่อไหร่ละนี่” แม่รำพึงรำพันในลำคอ แต่ดีที่เป็นเด็กเลยไม่ได้มีปัญหาอะไรมากและขนาดของกรรไกรมีขนาดเล็กเค้าเลยคืนกลับมาให้นำขึ้นบนเครื่องบินมาได้ ขั้นตอนต่อมาเป็นการตรวจพาสพอร์ตก็ผ่านมาได้ด้วยดีเช่นกัน

     เมื่อขึ้นไปบนเครื่องบินหาที่นั่งได้เรียบร้อยแล้วเจ้าหน้าที่บนเครื่องบินประกาศให้ใส่เข็มขัดนิรภัย “แม่คะ หนูไม่ใส่ได้ไหมคะ” น้องคนเล็กถามอีก แม่ต้องอธิบายยาวอีก ถ้าเราไม่ใส่เวลาเกิดปัญหาเช่นเครื่องบินตกหลุมอากาศ เข็มขัดนิรภัยจะช่วยยึดเราไม่ให้กระเด็นกระดอนออกจากที่นั่งได้ “แม่คะเครื่องบินมันจะตกไหมคะ” พี่สาวถามบ้าง แม่เริ่มกังวลขึ้นมาเล็กน้อย พร้อมกับสอนลูกว่า เวลาเราเดินทางไปใหนอย่าพูดถึงเรื่องที่ไม่ดี เช่น เวลาเราเดินทางเข้าป่าก็อย่าถามถึงเสือ หรือเดินทางกลางคืนอย่าทักถึงเรื่องผี ประเด็นนี้สมัยผู้เขียนเป็นนักศึกษาพยาบาลฝึกงาน หลังจากลงเวรบ่ายซึ่งเป็นเวลาประมาณเที่ยงคืน ผู้เขียนและเพื่อนๆ เดินทางกลับที่พักซึ่งในระหว่างทางนั้นจะผ่านโรงเก็บศพของโรงพยาบาล ณ เวลาเที่ยงคืนโรงพยาบาลประจำอำเภอบรรยากาศจะเงียบสงบ เพราะต่างจังหวัดมักจะเข้านอนกันหัวค่ำ ขณะเดินผ่านโรงเก็บศพ “หวี๊ด หวี๊ด หวี๊ด” เสียงลมพัดในหน้าหนาว ท่ามกลางความเงียบ “เสียงอะไรนะ” เพื่อนคนหนึ่งในกลุ่มถามขึ้น ทันใดนั้นเอง “ตุ๊กแก ตุ๊กแก ตุ๊กแก” ทุกคนวิ่งกันอย่างสุดชีวิตมุ่งตรงไปที่บ้านพัก ขณะที่ผู้เขียนสตาร์ทช้ากว่าเพื่อน “รอด้วย พร้อมกับสะดุดขาตัวเองล้มลง” ขณะที่เพื่อนๆ วิ่งไปถึงหน้าบ้านพักเรียบร้อยแล้ว ผู้เขียนรีบลุกขึ้นยืนขึ้น หันซ้ายแลขวาพร้อมกับตั้งสติและท่องบทสวด “นะโมตัสสะ นะโมตัสสะ นะโมตัสสะ” และก้าวขาวิ่งอย่างรวดเร็วในใจนึกขึ้นมาได้ว่า แล้วทำไมเราต้องตกใจเสียงตุ๊กแกมากมายขนาดนี้ คืนนั้นกว่าจะนอนหลับได้ก็กลัวจนเจ็บไข้หัวโกรนไปตามๆกัน

      การเดินทางเข้าประเทศฟิลิปปินส์นั้นใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมงก็ถึงสนามบินแล้ว สนามบินในกรุงมะนิลานั้นค่อนข้างเล็กเมื่อเทียบกับสนามบินสุวรรณภูมิ กลับถึงที่พักเกือบสามทุ่มอย่างปลอดภัยเด็กเซราะกราวสองคนที่เพิ่งเดินทางด้วยเครื่องบินครั้งแรกอ่อนเพลียไปตามๆกัน คืนนั้นเด็กๆนอนหลับสนิททั้งคืน ติดตามตอนต่อไปว่าเด็กเซราะกราวสองคนจะใช้ชีวิตในเมืองอย่างไร และมีเรื่องอะไรบ้างที่ต้องสอนการใช้ชีวิตซึ่งเด็กเดินทางมาจากเซราะกราว ไม่เข้าใจหรือใช้ชีวิตในเมืองหลวงมาก่อน

       หากชื่นชอบเรื่องสั้นแนวการใช้ชีวิตของเด็กเซราะกราวในเมืองหลวงกรุงมะนิลา รบกวนกดไลค์ กดแชร์ กดติดตามเพื่อให้ผู้เขียนมีกำลังใจในการเขียนเรื่องสั้นต่อไป ภายใต้นามปากกาของ Rommyrom. ขอบคุณคะ

แชร์ให้เพื่อน