การเตรียมตัวก่อนไปเอกซเรย์ร่างกาย

แชร์ให้เพื่อน

การเตรียมตัวก่อนไปเอกซเรย์ร่างกาย

เตรียมตัวเพื่อรับการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ด้วยการฉีดสี (CT with contrast)

ในกรณีที่เรามีพยาธิสภาพที่ปอดหลังจากตรวจพบด้วยผลเอกซเรย์ปอดแล้ว การตรวจเอกซเรย์เพื่อวินิจฉัยโรคให้มีความแม่นยำมากขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันถัดมาคือ การตรวจพิเศษทางรังสีร่วมกับการฉีดสารทึบแสงนั่นเอง (CT Scan with contrast)

CT Scan เป็นเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ใช้วิธีการตรวจวินิจฉัยหาความผิดปกติอวัยวะต่างๆ ในร่างกายด้วยการปล่อย X-Ray ผ่านอวัยวะที่ต้องการตรวจร่วมกับการฉีดสารทึบแสง แล้วใช้คอมพิวเตอร์สร้างเป็นภาพอวัยวะภายในร่างกาย ได้ภาพแบบ 3 มิติ ในกรณีที่ต้องดูเนื้องอกหรือเส้นเลือด ซึ่งอาจมีผู้รับการตรวจบางรายแพ้สารทึบรังสี หรือมีโอกาสทำให้เกิดพิษกับไตได้ โดยเฉพาะ ในผู้ที่มีภาวะไตเสื่อม ผู้สูงอายุ จึงต้องให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ สำหรับการตรวจครั้งนี้ผู้เขียนได้รับการตรวจอวัยวะที่ปอดเพื่อช่วยในการวินิจฉัย วางแผนการรักษา และติดตามผลในการรักษาของแพทย์เนื่องจากตรวจพบปัญหารอยโรคของก้อนที่ปอดนั่นเอง

ระยะเวลาในการตรวจ CT scan ใช้เวลานานมากน้อยแค่ไหน?
CT Scan หลอดเอกซเรย์จะปล่อย X-Ray ไปพร้อมๆ กับการหมุนรอบอวัยวะที่ต้องการตรวจ โดยระยะเวลาที่ใช้ในการหมุนให้ครบรอบนั้น ใช้เวลาเพียง 1-2 วินาที ซึ่งรวมแล้วจะใช้เวลาตรวจอยู่ประมาณ 10-15 นาที ต่อในการตรวจอวัยวะนั้นๆ

การเตรียมตัวเพื่อรับการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ด้วยการฉีดสารทึบแสง (CT with contrast)
1. งดน้ำและอาหารก่อนการตรวจ 6 ชั่วโมง สำหรับผู้เขียนนัดตรวจเวลา 14.00 น จึงต้องงดน้ำและอาหารตั้งแต่เวลา 7.00 นเป็นต้อนไปจนกว่าจะตรวจเสร็จ
2. แจ้งเจ้าหน้าที่เวลามานัดหรือก่อนรับการตรวจในกรณีต่อไปนี้

  • ผู้ป่วยต้องแจ้งประวัติการแพ้ยาอื่นๆ
  • ผู้ป่วยต้องแจ้งหากมีประวัติแพ้อาหารทะเล
  • ผู้ป่วยต้องแจ้งหากเคยมีประวัติแพ้สารทึบรังสีมาก่อน
  • สตรีตั้งครรภ์หรือสงสัยว่าตั้งครรภ์ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ในกรณีนัดตรวจ
  • ผู้ป่วยต้องแจ้งหากมีประวัติโรคประจำตัวต่างๆ เช่น โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด และลมบ้าหมู เป็นต้น เพื่อแพทย์พิจารณาให้กินยาแก้ก่อนรับการตรวจ
  • ผู้ป่วยอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปหรือมีโรคประจำตัวควรมีผลค่าการทำงานของไตก่อนการตรวจไม่เกิน 1 เดือน

 

แล้วพบกันในบทความต่อไป จะรีวิวประสบการณ์ในการตรวจให้ทราบหลังจากตรวจเสร็จนะคะ

แชร์ให้เพื่อน