การกลายพันธุ์​ในระดับยีน (Genetic mutation) อาจเป็นสาเหตุ​การเสียชีวิตของเด็กเล็กขณะกำลังนอนหลับ

แชร์ให้เพื่อน

การกลายพันธุ์​ในระดับยีน (Genetic mutation) อาจเป็นสาเหตุ​การเสียชีวิตของเด็กเล็กขณะกำลังนอนหลับ

จากข่าวการเสียชีวิตของหนูน้อย 4 คนชาวต่างชาติตั้งแต่วัยเด็กเล็กที่เกิดขึ้นเมื่อหลายปีก่อนทำให้แม่ถูกตัดสินจำคุก 30 ปีแต่สุดท้ายข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์​ออกมายืนยันว่าการเสียชีวิตของหนูน้อย 2 คน อาจเกิดมาจากการเสียชีวิตตามธรรมชาติเนื่องจากการกลายพันธุ์​ในระดับยีนส่งผลให้ผู้เป็นแม่หลุดพ้นจากคดี ฆาตกรรม​ลูกน้อยสี่คนของตนเอง
ทุกคนคงจำได้เกี่ยวกับกลไกการกลายพันธุ์​ชาร์ลส์ ดาร์วิน เกี่ยวกับวิวัฒนาการ​ของสัตว์​และพืช การกลายพันธุ์​เกิดขึ้นได้ทั้งในระดับเซลล์​ร่างกาย เซลล์​สืบพันธุ์​รวมถึงในระดับยีนและโครโมโซม​โดยส่วนใหญ่เป็นการเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ​
จากข้อมู​ลทางวิทยาศาสตร์​การเสียชีวิตของหนูน้อยนั้นเป็นการกลายพันธุ์​ของยีน

การเปลี่ยนแปลง​ของยีนมีพื้นฐาน​มาจากการเปลี่ยนแปลง​ใน 3 ประการคือ
1.การขาดหายไป หรือการเพิ่มขึ้นมาของคู่สารประกอบไนโตรจีนัลเบส ส่งผลให้รหัสพันธุกรรม​ผิดหรือคลาดเคลื่อน​ไป
2.การเปลี่ยนคู่ของสารเพียวรินไพริมิดีนในสายของโมเลกุล​ดีเอ็นเอ
3.การเปลี่ยนแปลง​โครงสร้างภายในโมเลกุล​ของเบสเอง

แล้วสิ่งกระตุ้น​หรือตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดการกลายพันธุ์​นั้นมีอะไรกันบ้างเรามาดูกันเลยคะ

1.รังสี(Radiation) เช่นรังสีเอกซ์ รังสีบีต้า รังสีแกมมา รังสีอุลตรา​ไวโอเล็ต​(รังสียูวี)​ ข้อดีของรังสีทางการแพทย์​นำมาใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง​ชนิดต่างๆ

2.สารเคมี เช่น สารอะฟลาทอกซิน อันเป็นสารพิษ​ที่เกิดจากการกลายพันธุ์​ของแบคทีเรี​ยส่งผลทำให้เกิดโรคมะเร็ง​ตับได้

3.การจัดเรียงเบสในกระบวนการ​สังเคราะห์​ดีเอ็นเอ​ผิดพลาดทำให้เกิดการเพิ่มหรือลดจำนวนเบสในคู่สายและทำให้เกิดการเลื่อนของสายดีเอ็นเอนั่นเอง

ขอย้อนกลับมาที่ข่าวการเสียชีวิตของหนูน้อยสี่คนนั้นทีมวิจัยมีความเห็นว่า “การกลายพันธุ์​น่าจะทำให้เด็กหญิงทั้งสองคนเสียชีวิตอย่างเฉียบพลัน​ตาม​ธรรมชาติ” ซึ่งเป็นการกลายพันธุ์​เกิดขึ้นในระดับยีนที่เรียกว่า CALM2 ซึ่งอาจทำให้เกิด​การเสียชีวิต​จากหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน​ได้ ส่วนการเสียชีวิตของลูกชายทั้งสองนั้นยังคงต้องทำการศึกษาเพิ่มเติม

ศาสตราจารย์​วีนเวซา ให้สัมภาษณ​์กับทีมข่าวบีบีซี​ว่า” เราตรวจพบการกลายพันธุ์​ชนิดใหม่ที่ไม่เคยมีรายงานมาก่อนในลูกสาวของแคทลีนโดยได้รับการถ่ายทอดมาจากผู้เป็นแม่นั่นเอง”

แม้ว่าคดีความจะมีผลสรุป​ออกมาที่เป็นประโยชน์​ต่อจำเลยเนื่องจากยังไม่มีหลักฐานบ่งชี้ชัดเจนในการเอาผิดกับจำเลยผู้ซึ่งเป็นแม่บังเกิดเกล้าได้ หากเราพิจารณา​จากปัจจัย​ที่ทำให้หนูน้อยมียีนกลายพันธุ์​ก็เกิดจากตัวกระตุ้นสามประการหลักๆที่กล่าวมานั่นเองใช่หรือไม่

แต่ในมุมมองของผู้พิจารณา​ตัดสินคดีความก็คงหนีไม่พ้นเรื่องมีใครบางคนจงใจทำอันตราย​ให้เกิดขึ้นต่อเด็กๆและทำให้เกิดการขาดอากาศ​หายใจส่งผลให้เกิดการเสียชีวิตตามมาซึ่งเกี่ยวโยงกับแม่บังเกิดเกล้าอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
ในมุมมองของผู้เขียนนั้นการเกิดความผิดปกติที่ส่งต่อมาถึงลูกสี่คนหากเทียบกับการเกิดโรคทางกรรมพันธุ์​ก็ทำให้น่าคิดว่ามีโอกาส​เป็นไปได้หรือ แต่อย่างลืมว่าการเสียชีวิตของลูกชายทั้งสองคนยังไม่มีผลการยืนยันที่ชัดเจน
อย่างไรเสียก็ขอให้วิญญาณ​ของหนูน้อยทั้งสี่คนไปสู่สุขคติ​

ข้อมูลจาก: BBC NEWS Thai. เวปไซต์​ Mahidol University.

แชร์ให้เพื่อน