การรับมือกับปัญหาวัยเด็กตอนปลายติดเกมส์

แชร์ให้เพื่อน

การรับมือกับปัญหาวัยเด็กตอนปลายติดเกมส์

จากสถานการณ์​การระบาดของโควิด19 ในรอบเกือบ3ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยี่และการสื่อสารมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทั้งฮาร์ทแวร์​และซอฟต์แวร์​ประกอบกับเด็กเรียนออนไลน์​อยู่กับคอมพิวเตอร์​  แทบเล็ต​ มือถือวันล่ะ4-5ชั่วโมง โดยที่ผู้ปกครองควบคุมดูแลไม่ทั่วถึง เด็กจึงมีโอกาสการเข้าถึงแอปพลิเคชัน​เกมต่างๆได้ง่ายขึ้น สร้างความเคยชินในการใช้อุปกรณ์ต่างๆแต่เมื่อสถานการณ์การระบาดของ​โควิด19คีขึ้น  เด็กๆได้ติดพฤติกรรมการใช้เครื่องมือสื่อสารและการเล่นเกมไปแล้วจึงเรียกร้องที่จะใช้เหมือนเดิม เด็กบางคนถึงกับร้องขอให้ผู้ปกครองซื้อเครื่องมือสื่อสารให้ไว้ใช้เป็นของตนเองโดยการอ้างว่าเพื่อนทุกคนมีเป็นของตัวเอง

เบื้องต้นเรามาทำความเข้าใจบริบทของเกมกันก่อน
เกม คือ กิจกรรมที่มนุษย์นิยมเล่น โดยผู้เล่นจะต้องทำตามกติกาในการเล่นเสมอ ส่วนใหญ่แล้วจะเล่นเพื่อความบันเทิง​ ผ่อนคลายความเครียด สร้างมิตรภาพในกลุ่มผู้เล่น

ประเภทของเกมในปี2021

1.Role Playing คือเกมเล่นตามบทบาท  นับเป็นเกมออนไลน์​ที่คนนิยมเล่นเป็นจำนวนมาก โดยผู้เล่นสวมบทบาทเป็นตัวละครในเกมส์​นั้นๆ จึงทำให้ผู้เล่นรู้สึกว่าตัวเองได้เป็นตัวละครในเกมนั้นจริงๆ

2.เกมยิงปืน(Shooting) ผู้เล่นใช้อาวุธโจมตีศัตรู สร้างความตื่นเต้นและตื่นตัวให้กับผู้เล่นตลอดเวลา

3.เกมต่อสู้(Fighting) เป็นเกมที่มีลักษณะเอาตัวละครสองตัวมาต่อสู้กันในระยะประชิดตัว ซึ่งตัวละครจะมีพลังแตกต่างกัน

4.เกมผจญภัย(Adventure)​เป็นการสวมบทบาทเป็นตัวละครในการเดินทางผจญภัย​ทำภารกิจ​ให้สำเร็จ​ ส่วนใหญ่จะเป็นการเล่นคนเดียว

5.เกมวางแผน(Strategy)​เป็นเกมที่เล่นร่วมกันได้ทีละหลายๆคน โดยมีการวางแผนการรบ สร้างกองทัพ ยึดพื้นที่สร้างเมืองเพื่อเอาชีวิตรอด

6.เกมเลียนแบบหรือการจำลอง(Simulation Game) เช่นเกมปลูกผัก เกมแต่งตัว

7.เกมปริศนา​(Puzzle Game) เป็นการใช้ทักษะการคิดแก้ไขปัญหาแบ่งระดับยากง่าย ท้าทายผู้เล่นมาก มีทั้งปริศนา​คณิตศาสตร์​ ตรรกศาสตร์​ ปริศนา​ภาพ เน้นการฝึกพัฒนาสมอง ใช้ความคิดต่างๆไปในตัว

8.เกมกีฬา(Sport Game) เป็นการจำลองเสมือนจริงในการเล่นและแข่งขันกีฬา เล่นเป็นทีมกับเพื่อนได้

เมื่อเข้าใจบริบทของเกมส์​แล้วต่อไปเป็นการประเมินระดับของการติดเกมของวัยเด็กตอนปลาย
ผู้ปกครองต้องช่างสังเกตุ  ตรวจสอบในเครื่องมือสื่อสารว่ามีแอปพลิเคชัน​เกมแบบใหนบ้าง เพื่อจะ ประเมินว่าลูกเล่นเกมแบบใหน ตามชนิดของเกมที่กล่าวมาข้างต้น

อาการของวัยเด็กตอนปลายติดเกมที่ผู้ปกครองต้องรู้
1.เมื่อมีเวลาว่างคือเล่นเกม
2.เล่นเกมนานจนชิน
3.เล่นจนขาดไม่ได้  มีอาการหงุดหงิดและก้าวร้าว
ทำร้ายผู้ปกครอง พยายามฆ่าตัวตายเมื่อไม่ให้เล่น อารมณ์​แปรปรวน
4.เล่นเกมจนเสียหน้าที่หลัก เช่น เสียการเรียน เก็บตัวอยู่บ้าน ไม่หลับนอนกลางคืน

แนวทางการรับมือกับวัยเด็กตอนปลายติด​เกมคือ

1.วางแผนร่วมกันกับเด็กในการลดเวลาการเล่นเกมลง  ตั้งกฎกติการ่วมกันเพราะวัยเด็กตอนปลายมีพัฒนาการด้านกฏระเบียบ จากที่โรงเรียนด้วยอยู่แล้ว เด็กจะเข้าใจถ้าผู้ปกครองไม่ตามใจหรือปล่อยให้เล่นได้เกินเวลา  ต้องเคร่งครัดในการลดชั่วโมงการเล่นเกม​ในแต่ละวันลงเรื่อยๆ โดยเปลี่ยนเป็นการทำกิจกรรมอื่นแทนซึ่งเป็นกิจกรรมที่เด็กสนใจ เช่น การตกปลา เต้น  วาดภาพ  ถ้าเด็กลดเวลาเล่นเกมลงได้ ควรชมเชย หรือให้รางวัลอย่างอื่นทดแทนเช่นการพาไปเที่ยวช่วงวันหยุด

2.ผู้ปกครองเข้าไปเล่นเกมกับเด็กเพื่อจะได้ตรวจดูว่าเด็กเล่นเกมแบบใหนตามประเภทที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าเป็นเกมที่ใช้ความรุนแรง ไม่ควรตำหนิเด็ก  ให้ใช้วิธีการเบี่ยงเบนความสนใจไปเล่นเกมอื่นทีมีส่วนดีเช่นเกมปริศนา​  เกมสร้างเมือง  เกมปลูกผัก เกมจับผิดภาพ เป็นการช่วยจำและหัดให้้เด็กเป็นคนช่างสังเกตุ  ใช้ความคิดช่วยพัฒนาสมองซีกซ้าย

3.ติดตามและทำความรู้จักเกมที่เด็กเล่นเพื่อจะได้เบี่ยงเบนความสนใจโดยให้เด็กเล่าให้ฟัง หรือเปิดประเด็นสนทนาภาษาเกมกับเด็กโดยจัดกลุ่มคุยกันเรื่องเกมที่เล่น จะทำให้ลดเวลาในการเล่นเกมของเด็กได้ด้วย

4.ถ้าใช้วิธีการข้างต้นไม่ได้ผล  เด็กอาจมีปัญหาสุขภาพจิตร่วมด้วย เช่น ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล สมาธิสั้น ควรพาเด็กไปพบจิตแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและบำบัดรักษาต่อไป
ที่มา:สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน