10 อาการหรือพฤติกรรมของผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม

แชร์ให้เพื่อน

10 อาการที่แสดงว่าคุณอาจจะสมองเสื่อม

10 อาการหรือพฤติกรรมของผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม (คุณเข้าข่ายสมองเสื่อมหรือไม่?)

ภาวะสมองเสื่อมนั้นเป็นความผิดปกติทั้งด้านร่างกาย อารมณ์  สังคม วิญญาณ  และพฤติกรรม รวมถึงอาการทางจิตบางอย่าง  ซึ่งพบได้บ่อยในผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน  เช่น การทำกิจวัตรประจำวัน  ความไม่ปลอดภัย ทำให้เพิ่มค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วย  ผู้ดูแลเกิดภาวะเครียด ผู้ดูแลบางรายถึงขั้นป่วยด้วยโรคซึมเศร้า ซึ่งพบเห็นได้บ่อยๆ  ในข่าวที่ผู้ดูแลและผู้ป่วยสมองเสื่อมเสียชีวิตภายในบ้าน

เรามาสำรวจการแสดงพฤติกรรม  อาการทางจิตของตนเอง หรือคนรอบข้างภายในครอบครัวกันว่ามีอาการเข้าข่ายปัญหาภาวะสมองเสื่อมหรือไม่เพื่อที่จะได้รับการรักษาตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก เพื่อป้องกันไม่ให้โรคมีความรุนแรงจนไม่สามารถดูแลตนเองได้

พฤติกรรม อารมณ์ และอาการทางจิตของผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อม

  1. การทำกิจวัตรประจำวันผิดปกติจากบุคคลทั่วไป   ผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมหลังตื่นนอนมักไม่แปรงฟัน ไม่ดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย ไม่อาบน้ำหรือแต่งตัว   ไม่รับประทานอาหารตามมื้ออาหาร  ไม่ดื่มน้ำในแต่ละวันทำให้ขาดสารอาหารและขาดน้ำตามมาได้
  2. มีอาการกระสับกระส่าย อยู่ไม่นิ่ง(Agitation)และก้าวร้าว (Aggressive) ด้วยคำพูด ชอบอุทานด้วยคำสบถและสาบาน ชอบใช้กำลัง บางรายพบอาการสับสน(confuse) ประสาทหลอน หรือมีอาการหลงผิด(Delusion)และวิตกกังวล (Anxiety) คิดมากเรื่องอนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้น มีอาการซึมเศร้า สีหน้ากังวล ครุ่นคิด  ขาดสมาธิในการทำกิจกรรมต่างๆ  ร้องให้โดยไม่มีสาเหตุ รู้สึกผิด  คิดอยากตาย พยายามฆ่าตัวตาย  ขาดเรี่ยวแรง เคลื่อนไหวช้าลง เชื่องช้า และกระสับกระส่าย ร่วมด้วย
  3. มีความผิดปกติด้านความจำและการใช้เหตุผล(Cognitive abulia) ผู้ป่วยมักจะมีความคิดหรือตรรกะของการใช้ชีวิตที่แตกต่างจากคนปกติ 
  4. มีความผิดปกติของทางเดินอาหารและพฤติกรรมด้านการกิน เช่น ไม่อยากอาหารเลยหรือไม่รับประทานอาหารทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารหรือกรดไหลย้อนตามมาได้ ในขณะที่บางรายกินจุมากเกินไปในมื้อเย็นและละเลยการออกกำลังทำให้เกิดโรคอ้วนตามมาได้เป็นต้น
  5. มีความผิดปกติด้านพฤติกรรมการนอนหลับพักผ่อน  หรือตื่นนอนที่ผิดปกติ ร่วมกับอาการหลงผิดทางจิตร่วมด้วย ทำให้หลับและตื่นไม่เป็นเวลา หรือบางรายนอนหลับ1วันสลับกับตื่น 1วัน หรือนอนไม่หลับเลยเป็นต้น  บางครั้งนอนหลับๆ ตื่นๆ ลุกขึ้นมาทำกิจกรรมอื่นๆ เช่น ตื่นมารื้อค้นหาข้าวของกลางดึก  เป็นต้น
  6. แสดงพฤติกรรมทางสังคมไม่เหมาะสม ร่วมกับอาการหวาดระแวง กระบวนการคิดผิดปกติจากคนทั่วไป เช่น กลัวคนมาขโมยของ กลัวคนเข้ามาในบ้าน กังวลเรื่องการเปิดปิดประตูบ้าน กลัวถูกหลอก กลัวสามีนอกใจ  ประสาทหลอน และเห็นภาพหลอน ระแวงคนมาทำร้าย หรือมาจับตาพฤติกรรมของตนเอง  คิดว่าตนเองถูกทอดทิ้ง คิดว่าตนเองร่ำรวยมาก(รวยทิพย์) หรือยากจนมาก (จนทิพย์)   ได้ยินเสียงพรายกระซิบหรือมีแมลงมาไต่ตามผิวหนัง บางรายถึงขั้นทำร้ายร่างกายตนเอง หรือบุคคลรอบข้างในครอบครัวเมื่อถูกขัดใจ  เป็นต้น
  7. แสดงภาวะไร้อารมณ์ (Apathy)  ไม่มีแรงจูงใจในการทำกิจกรรมต่างๆ  เช่น เดิมชอบดูหนัง ฟ้งเพลง ออกกำลังกาย พอมีภาวะสมองเสื่อมกลับละเลยกิจกรรมที่ตนเองชื่นชอบ  ขาดความสนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัว ไม่แสดงอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ  เป็นต้น
  8. แสดงพฤติกรรมที่ทำซ้ำๆ(Compulsive behavior) มักจะถามด้วยคำถามเดิม ซ้ำๆ ซึ่งมีความสัมพันธ์ด้านความจำ  บางครั้งอาจสับสนกับโรคย้ำคิดย้ำทำ(Compulsive disorder) ได้
  9. มีความผิดปกติทางเพศ แสดงความรู้สึกทางเพศที่ไม่เหมาะสมหรือไม่ระงับอารมณ์ทางเพศ   มักแสดงพฤติกรรมทางเพศในที่สาธารณะ เป็นต้น
  10. กลายเป็นคนเร่ร่อนหรือหนีออกจากบ้าน  อาจเกิดจากการเดินไปอย่างไร้จุดหมาย หรืออยากหนีออกจากที่พัก  อยากไปทำกิจกรรมอื่นๆ  ทำให้หลงทางกลับบ้านไม่ถูก และเกิดอุบัติเหตุได้ ซึ่งพบเจอได้บ่อยที่ผู้ป่วยตายในป่า หรือตกน้ำตาย  โดนรถชนเสียชีวิต  เป็นต้น

แม้ว่าการดูแลผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม  จะเป็นปัญหาที่ซับซ้อนกว่าการดูแลในผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่นๆ  แต่หากผู้ดูแลมีความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ และเข้าใจปัญหาของผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมแล้ว การดูแลแบบองค์รวมโดยเน้นการดูแลทั้งทาง  ด้านร่างกาย  อารมณ์  สังคม และจิตวิญญาณ ก็เป็นประเด็นที่ผู้ดูแลหรือเกี่ยวข้องควรตระหนัก


สนใจบทความอื่นๆเกี่ยวกับหัวใจติดตามอ่านได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

ปัญหาท้องผูกแก้ไขได้ด้วยตนเองไม่ต้องพึ่งยาระบายทำอย่างไร?

แชร์ให้เพื่อน

ปัญหาท้องผูกแก้ไขได้ด้วยตนเองไม่ต้องพึ่งยาระบายทำอย่างไร?

มนุษย์มีความต้องการอาหารในชีวิตประจำวัน  นอกจากความต้องการด้านอาหารแล้วสิ่งที่จำเป็นที่ขาดไม่ได้คือเรื่องการขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย หากมนุษย์ไม่มีการขับของเสียออกจากร่างกายจะทำให้เกิดของเสียสะสม คั่ง และเป็นพิษต่อร่างกายได้

ภาวะท้องผูกคือ ภาวะที่มีการขับถ่ายออกได้ยากลำบาก อุจจาระจับตัวกันเป็นก้อนแข็ง ต้องใช้แรงเบ่งในการขับถ่ายอุจจาระ เกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย  ดื่มน้ำน้อย หรือมีปัญหาของลำไส้ใหญ่ เช่นลำไส้ใหญ่ทำงานผิดปกติ มีก้อนในบริเวณช่องเชิงกรานกดทับลำไส้ใหญ่ หรือมีการกินยาต้านซึมเศร้า ยาลดกรดในกระเพาะอาหารทีมีส่วนผสมของแคลเซียมหรืออลูมิเนียม  ยารักษาความดันโลหิตสูง เป็นต้น

การกำจัดของเสียโดยการขับถ่ายเป็นกระบวนการของร่างกายซึ่งมนุษย์ทุกคนต้องมีในแต่ละวันหากใครไม่สามารถขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายเกิน 3 วันร่วมกับการขับถ่ายลำบาก  หากเริ่มมีปัญหาท้องผูกจำเป็นต้องรีบแก้ไขเพราะหากปล่อยไว้นานอาจเป็นสัญญาณของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่  ฉะนั้นอย่าปล่อยปละละเลยเด็ดขาด หากไม่ต้องการให้เกิดปัญหาท้องผูกเรามาดูกันเลยคะว่า   เราควรเลือกรับประทานอาหารประเภทใหนบ้าง ที่ช่วยแก้ปัญหาท้องผูกได้

  1. เลือกรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย  ใครที่มีปัญหาเรื่องระบบการขับถ่ายบ่อยๆ ต้องเลือกรับประทานอาหารโปรตีนที่ย่อยง่าย  เพื่อลดการใช้ยาช่วยย่อยอาหารหรือยาระบายเช่น การรับประทานอาหารประเภทโปรตีนจากปลา เมืองไทยเป็นเมืองที่ขึ้นชื่อว่า” ในน้ำมีปลาในนามีข้าว” เมนูปลาที่ราคาไม่แพงมากเช่น เมี่ยงปลาทับทิมเผา  เมี่ยงปลานิลเผา  นอกจากจะได้สารอาหารโปรตีนที่ดีแล้วยังได้ วิตามินน้ำมันตับปลา  และผักที่กินเคียงอีกด้วยซึ่งถูกปากคนไทยสำหรับคนที่ชอบรับประทานอาหารรสจัดจ้านดับกลิ่นคาวปลาได้ดี 
  2. เลือกรับประทานอาหารจำพวกถั่วเมล็ดแห้ง ข้าวไม่ขัดสี  อาหารกลุ่มนี้มีกากเส้นใยอาหารอยู่จำนวนมากเมื่อเทียบกับอาหารที่แปรรูปไปแล้ว เช่น ถั่วเขียวต้ม  ข้าวโพดต้ม ข้าวซ้อมมือ  ขนมปังโฮลวีท เป็นต้น
  3. รับประทานผักให้มากกว่าปกติ นอกจากจะช่วยการขับถ่ายแล้วยังช่วยลดน้ำหนักได้อีกด้วย ผักกลุ่มที่กินเคียงได้ง่ายเช่น แตงกวา  มะเขือเทศราชินี  ผักคะน้า  ผักสลัด ผักกาดหอม ผักคอส ผักกาดแก้ว เป็นผักที่แช่เย็นแล้วมีความกรอบกินกับเมี่ยงปลาเผารสชาติดี กินได้ไม่มีเบื่อสำหรับคนที่ชอบเมนูปลา  ลองหามารับประทานกันดูนะคะ

ผักที่นิยมรับประทานกับน้ำพริกชนิดต่างๆ เช่น กระเจี๊ยบเขียวต้ม ช่วยการขับถ่ายได้ดีเนื่องจากมีเส้นใยอาหารเยอะ  ผักบุ้งลวกนอกจากมีเส้นใยอาหารเยอะแล้วยังอุดมไปด้วยวิตามินเออีกด้วย  มะระลวกกินเคียงกับขนมจีนน้ำยาก็ช่วยระบบการขับถ่ายได้ดีเช่นกัน

  1. ผักไม้ชนิดต่างๆ ที่ช่วยระบบการขับถ่ายที่ดีเช่น  มะขามหวานต้องเลือกชนิดที่อมเปรียวนิดหน่อย  กินหลังอาหารเย็นครั้งละ2-3ฝักช่วยระบบการขับถ่ายได้ดีเช่นกัน หรือถ้าใครไม่มีมะขามหวานสามารถต้มมะขามเปรียวแทนได้โดยใช้เนื้อมะขามเปรี้ยวประมาณเท่านิ้วก้อยต้มน้ำให้เดือด รินเอาแต่น้ำรับประทานหลังอาหารเย็นก็ช่วยการขับถ่ายได้ดีเช่นกัน  กล้วยน้ำว้าสุกจัดเป็นผลไม้ที่หาซื้อได้ง่ายและราคาถูก ช่วยให้อิ่มท้องได้นาน อุดมไปด้วยวิตามิน แถมช่วยระบบการขับถ่ายได้ดีอีกด้วย แต่ต้องระวังในผู้ป่วยที่มีโรคเบาหวานเป็นต้น  สับปะรดเป็นผลไม้ที่หาซื้อได้ง่ายและราคาถูกมีสารที่ช่วยย่อยโปรตีนจากเนื้อสัตว์มีเส้นอาหารมาก ช่วยในการขับถ่ายได้ดีอีกชนิดหนึ่ง   มะละกอสุกหรือมะละกอดิบในเมนูส้มตำที่เป็นที่นิยมหาซื้อกินได้ง่าย มะละกอช่วยให้อุจจาระอ่อนนิ่มขับถ่ายออกได้ง่ายช่วยแก้ปัญหาสำหรับคนที่เป็นโรคริดสีดวงทวารหนัก  ลูกพรุนแห้งเหมาะสำหรับคนที่ชอบกินผลไม้แปรรูปหาซื้อได้ง่ายตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป ราคาไม่แพงมากช่วยการขับถ่ายได้ดีอีกเช่นกัน
  2. น้ำผลไม้เช่นต่างๆ หากใครที่ชอบรับประทานแบบชนิดน้ำ เช่น น้ำผลไม้รวม น้ำมะเขือเทศ  น้ำลูกพรุน น้ำแอปเปิ้ล  สามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านสะดวกซื้อ เพียงแค่รับประทานหลังอาหารเย็นวันละ1  แก้ว ช่วยให้สามารถขับถ่ายได้ดีอีกเช่นกัน
  3. การดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวันโดยดื่มวันละ 7-8 แก้ว สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวที่จำกัดน้ำต้องระวัง  เช่น ไตวาย เป็นต้น

 

ปัญหาภาวะท้องผูกจะไม่ต้องกังวลอีกต่อไปหากปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารและดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน


สนใจบทความอื่นๆเกี่ยวกับหัวใจติดตามอ่านได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

การดูแลสุขภาพของตนเองเมื่อเจ็บป่วย

แชร์ให้เพื่อน

การเสริมสร้างแรงจูงใจในการดูแลสุขภาพของตนเองเมื่อเจ็บป่วย

ทำไมเราถึงต้องดูแลสุขภาพของตนเอง?

เพราะมนุษย์เรานั้นเกิดมาและใช้ชีวิตบนโลกใบนี้ในระยะเวลาที่มีอย่างจำกัด การดูแลรักษาสุขภาพด้วยตนเองจะช่วยให้มีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น

จากบทเรียนการระบาดของโรคโควิด 19 ในรอบสามปีที่ผ่านมา  ทำให้มนุษย์มีความตื่นตัวในการดูแลภาวะสุขภาพของตนเองมากขึ้น  โดยเน้นการดูแลสุขภาพของตนเองที่บ้าน การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย  การใช้สมุนไพรพื้นบ้านช่วยในการรักษาอาการเจ็บมากขึ้น ใช้ชีวิตแบบมีระยะห่างระหว่างบุคคลอื่น เป็นต้น

หากเราต้องการมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและมีสุขภาพจิตที่ดีเราต้องกำหนดแนวทางและเป้าหมายในการใช้ชีวิตดังต่อไปนี้คือ

  1. การประเมินภาวะสุขภาพของตนเองเบื้องต้น เช่น เรามีโรคประจำตัวอะไรบ้าง?ในตอนนี้  เรามีพฤติกรรมเสี่ยงอะไรบ้างในชีวิตประจำวันที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น การสูบบุหรี่  ดื่มเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ การไม่ออกกำลังกาย  การรับประทานอาหารแปรรูปหรืออาหารจานด่วน  เป็นต้น  ตัวอย่างการประเมินภาวะด้านสุขภาพของตนเองเช่นหากเราป่วยเป็นโรคเบาหวานอยู่เราจะดูแลตนเองในด้านการรับประทานอาหารอย่างไรบ้าง? อาหารประเภทใหนที่สามารถรับประทานได้อย่างจำกัดปริมาณ หรืออาหารประเภทใหนบ้างที่เรารับประทานได้แบบไม่จำกัดปริมาณ  การรับประทานยาหรือฉีดยาเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด  การดูแลสุขภาพเท้า การเลือกใส่ร้องเท้าเพื่อช่วยดูแลเท้าป้องกันการเกิดแผล  การเลือกกิจกรรมการออกกำลังกายที่เหมาะสม การนอนหลับพักผ่อน (สามารถอ่านในบทความอื่นๆเกี่ยวกับโรคเบาหวาน)
  2. การยอมรับว่าปัญหาด้านสุขภาพนั้นได้เกิดขึ้นกับตนเองและเป็นปัญหาที่สามารถแก้ไขหรือควบคุมได้  เช่น เมื่อเราเจ็บป่วยโรคมะเร็งเต้านม  เราต้องยอมรับว่าปัญหาดังกล่าวได้เกิดขึ้นกับตนเองแล้ว  มองหาวิธีการดูแลสุขภาพของตนเองอย่างไรเพื่อสามารถควบคุมเซลล์มะเร็งไม่ให้เกิดการลุกลามแพร่กระจายไปอวัยวะอื่นๆ หรือหายขาดโดยการควบคุมปัจจัยที่ก่อให้เกิดมะเร็งเต้านมเช่น ฮอร์โมน  อาหาร เป็นต้น ร่วมกับการปรับเปลี่ยนด้านพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่มีความเสี่ยง   หรือในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งปอดต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการงดสูบบุหรี่ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดการเจ็บป่วย เป็นต้น
  3. การปฏิบัติตามแผนการรักษา การวินิจฉัยโรค การฟื้นฟูสภาพของร่างกายเพื่อให้เกิดผลดีที่สุด โดยเน้นด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆ เช่น  พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันได้แก่  การพักผ่อนนอนหลับแต่ละวันนอนหลับพักผ่อนได้เพียงพอหรือไม่ มีปัญหาการนอนไม่หลับหรือไม่  การจัดการกับความเครียดในแต่ละวันมีสิ่งกระตุ้นที่ก่อให้เกิดภาวะเครียดหรือไม่  สามารถจัดการกับความเครียดได้ด้วยตนเองหรือไม่  ด้านการรับประทานอาหาร  พฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดหรือไม่  การรับประทานอาหารที่มีรสเผ็ดเสี่ยงต่อโรคกระเพาะอาหาร การไม่รับประทานอาหารประเภทผักผลไม้ที่มีเส้นใยหรือกากใยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่   การสูบบุหรี่เสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอดหรือโรคถุงลมโป่งพอง   การไม่ออกกำลังกายเสี่ยงต่อโรคอ้วน  เป็นต้น
  4. การเลือกหรือกำหนดทางเลือกในการดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง เช่น การติดเชื้อโรควัณโรคที่ปอดทางเลือกในการรักษาต้องใช้การรักษาโดยยาฆ่าเชื้อ(Antibiotic) เท่านั้น  ซึ่งยาฆ่าเชื้อนั้นการใช้ในระยะยาวมักมีผลกระทบเรื่องของการแพ้ยาซึ่งมีผลต่อตับ แต่สิ่งที่จะพอปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าวได้คือ งดเว้นการสูบบุหรี่ หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  พักอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวกเนื่องจากเนื้อปอดมีร่องรอยของการเกิดโรคอาจทำให้เกิดปัญหาการแลกเปลี่ยนอากาศในปอดเป็นต้น
  5. การสร้างกำลังใจด้วยตนเองหรือได้รับกำลังใจจากคนในครอบครัว  ภาวะการเจ็บป่วยนั้นหากขาดกำลังใจในการดูแลรักษาสุขภาพแล้ว  จะทำให้โรคกำเริบได้และทำให้มีสุขภาพที่แย่ลงฉะนั้นการได้รับกำลังใจจากคนรอบข้างก็เป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกัน
  6. การยอมรับความช่วยเหลือจากหน่วยงานด้านสุขภาพเมื่อจำเป็นเช่นการเจ็บด้านสุขภาพที่รุนแรงเช่น โรคเอดส์ การรับการรักษาโดยการกินยาต้านไวรัสจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้ยาวนานขึ้นเป็นต้น

จะเห็นได้ว่าการมีกำลังใจหรือการปรับตัวให้ยอมรับกับปัญหาแล้วหาแนวทางการแก้ไขเป็นทางเลือกในการดำเนินชีวิตเพราะในโลกนี้มีปัญหามากระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งสิ้นขึ้นอยู่กับการปรับตัวเพื่อให้สามารถอยู่ในโลกนี่ให้ได้ยาวนานที่สุด


สนใจบทความอื่นๆเกี่ยวกับหัวใจติดตามอ่านได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

มาลดความอ้วนกันเถอะ!

แชร์ให้เพื่อน

มาลดความอ้วนกันเถอะ!

การเสริมสร้างแรงจูงใจในการลดความอ้วนกันเถอะ

มนุษย์เรานั้นมีพลังความสามารถในการดูแลสุขภาพของตนเอง พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันมีผลโดยตรงต่อภาวะสุขภาพในประเด็นการเกิดภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนซึ่งเกิดจากพฤติกรรมหรือวิธีการใช้ชีวิตที่มีผลต่อภาวะสุขภาพ นอกจากนี้ยังมีพฤติกรรมที่บั่นทอนสุขภาพเช่น การสูบบุหรี่  ดื่มสุรา หรือการใช้ยาเสพติดเป็นต้น  จะเห็นได้ว่ามนุษย์มีความต้องการตามลำดับขั้นได้แก่  ความต้องการด้านร่างกายนั่นรวมถึงความต้องการอาหารเพื่อขจัดความหิวและเป็นชนิดของอาหารที่ไม่ทำให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตเป็นต้น  ความต้องการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ความรู้สึกมีคุณค่าในชีวิต

การสร้างแรงจูงใจในการลดน้ำหนักในกลุ่มผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนนั้นผู้ป่วยต้องได้รับการเสริมแรงจูงใจในการลดน้ำหนักเพื่อให้ผลการปฏิบัติมีผลลัพธ์ที่ชัดเจนและสมารถวัดได้เช่น ความยาวรอบเอวลดลง น้ำหนักตัวลดลง เป็นต้น โดยพยายามหลีกเลี่ยงการปฏิบัติในพฤติกรรมที่ทำให้มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเช่น การรับประทานอาหารมากเกินความต้องการของร่างกาย การรับประทานอาหารที่มีความหวานมากเกินไป  การรับประทานอาหารประเภททอดของขบเคี้ยว การดื่มเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์  น้ำปั่นบ่อยๆ เป็นต้น

วัตถุประสงค์ในการลดน้ำหนักหรือลดความอ้วน

การมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ผอมหุ่นเปรียว กระชับ ไม่มีไขมันส่วนเกิน เป็นความต้องการของผู้หญิงอยากสวย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะมีปัจจัยอื่นๆที่หลากหลาย ที่ไม่สามารถควบคุมได้

ความอ้วนนั้นเป็นสรีระทางร่างกายที่มนุษย์เราไม่พึงปรารถนาในด้านของความไม่สวยงาม การเกิดโรคภัยไข้เจ็บอื่นๆได้ง่าย  ขาดความดึงดูดของเพศตรงข้ามเป็นต้น ทำไมเราถึงอยากผอม หุ่นดี?

  1. ต้องการทางด้านจิตใจ  บางคนหุ่นดีอยู่แล้วก็อยากผอมลงอีกเนื่องจากไม่พอใจในสรีระของตนเอง
  2. ต้องการให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ได้มาตรฐานหญิงไทย  ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ
  3. ต้องการดึงดูดความสนใจจากเพศตรงข้าม  ผู้หญิงเป็นเพศที่รักสวยรักงาม การมีหุ่นดีจะช่วยดึงดูดความสนใจจากเพศตรงข้ามได้ดีกว่าผู้หญิงที่อ้วนหรือหุ่นไม่ดีเป็นต้น
  4. ต้องการควบคุมความก้าวหน้าของโรคบางชนิด  ความอ้วนนั้นทำให้อวัยวะในร่างกายต้องทำงานหนักขึ้นทั้งระบบของหัวใจและหลอดเลือด
  5. ต้องการการยอมรับในกลุ่มเพื่อน โดยเฉพาะเด็กวัยรุ่นผู้หญิง

ในการลดน้ำหนักหรือความอ้วนนั้นเบื้องต้น  เราต้องดูวัตถุประสงค์ของแต่ละบุคคลก่อนว่าเราต้องการลดน้ำหนักหรือความอ้วนเพื่ออะไร?  หลังจากนั้นค่อยมากำหนดแนวทางและเป้าหมายในการลดน้ำหนักหรือความอ้วนโดยใช้วิธีการสร้างแรงจูงใจ แนวทางการลดน้ำหนักให้ได้ตามเป้าหมายมีดังนี้คือ

  1. ประเมินตนเองเบื้องต้นก่อนว่าสาเหตุของความอ้วนของเรานั้นเกิดจากอะไร เช่น เป็นโรคเบาหวาน เป็นโรคของต่อมไร้ท่อ กินอาหารมากเกินไป  ขาดความสนใจในการออกกำลังกาย เป็นต้น
  2. ตั้งเป้าหมายในการลดน้ำหนักในระยะสั้น  ระยะกลาง ระยะยาว เพื่อให้ไม่กลับมาอ้วนอีกครั้งหลังจากลดน้ำหนักได้แล้ว  โดยการเขียนเป้าหมายไว้ในที่ที่มองเห็นได้ชัดเจนเช่น  ตู้เย็น  ประตูห้องน้ำ  โต๊ะเครื่องแป้ง  ประตูทางออกจากบ้าน  หรือการนำรูปภาพที่เราเคยหุ่นดีมาติดไว้ในที่ที่มองเห็นได้ง่าย เป็นต้น
  3. ค้นหาแรงจูงใจที่สำคัญในการลดน้ำหนักของตนเองให้เจอ เช่น ลดน้ำหนักเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง  ต้องการลดน้ำหนักเพื่อได้รับความสนใจจากเพศตรงข้ามเป็นต้น
  4. ค้นหาความรู้เรื่องอาหาร  ว่าอาหารชนิดใดที่สามารถรับประทานได้แต่ต้องจำกัดปริมาณของอาหาร และอาหารชนิดใดที่สามารถรับประทานได้แบบไม่จำกัด เช่น  อาหารประเภทเครื่องดื่มน้ำอัดลม กาแฟเย็น  นมเย็น ขนมหวานชนิดต่างๆ ผลไม้ทุเรียน เป็นต้น
  5. การสร้างแรงจูงใจให้กับตนเอง   โดยการให้รางวัลแก่ตนเองเช่น หากวันนี้งดการบริโภคเครื่องดื่มที่มีความหวานได้  ให้เอาเงินหยอดออมสินหลังจากนั้นเอาเงินออกมานับสิ้นเดือนนำเงินไปเก็บเพื่อลงทุนในตราสารต่างๆ เช่น การฝากประจำ  การซื้อกองทุน  การซื้อสลากออมทรัพย์  นอกจากจะหุ่นดีแล้วยังช่วยให้เราวางแผนการเงินเพื่อการเกษียรได้อีกด้วย
  6. กำหนดกิจกรรมในการออกกำลังกายตามที่ตนเองชอบหรือถนัด เช่น การเล่นฟิตเนส  การวิ่ง การเล่นโยคะ ว่ายน้ำ เป็นต้น โดยมีเพลงฟังขณะออกกำลังกายเพื่อช่วยให้ผ่อนคลายได้อีกด้วย และยืดระยะเวลาในการออกกำลังกายได้ยาวนานขึ้น
  7. ดูกิจกรรมการประกวดนางงาม การเดินแบบ หรือหาเน็ตไอดอลของตนเองให้พบเพื่อจะได้สร้างแรงบันดาลใจในการลดน้ำหนัก
  8. เน้นซื้อเสื้อผ้า หรือใส่เสื้อผ้าขนาดที่พอดีตัว จะได้ควบคุมการรับประทานอาหารได้
  9. ห้ามใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อช่วยในการลดน้ำหนักเพราะจะทำให้เกิดโยโย่เอฟเฟคตามมาภายหลังได้
  10. งดการรับประทานอาหารบุฟเฟ่ต์เพื่อจะได้จำกัดปริมาณในการรับประทาน
  11. ควรมีเครื่องช่างน้ำหนักเพื่อไว้สำหรับช่างน้ำหนักก่อนออกจากบ้านและกลับเข้าบ้านเพื่อเป็นตัวช่วยอีกแรงหนึ่งจะได้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของสรีระของร่างกาย

การลดน้ำหนักแม้จะมองดูเป็นเรื่องยาก  แต่หากเรากำหนดแรงจูงใจและมีเป้าหมายที่ชัดเจนแล้วก็ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป สุดท้ายนี้ก็ขอให้ทุกคนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง มีสุขภาพจิตดี บรรลุเป้าหมายในการลดน้ำหนักกันทุกๆคนนะคะ


สนใจบทความอื่นๆเกี่ยวกับหัวใจติดตามอ่านได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

ผู้ป่วยสมองเสื่อม(Dementia)​กับปัญหาการขาดสารอาหาร

แชร์ให้เพื่อน

ผู้ป่วยสมองเสื่อม(Dementia)​กับปัญหาการขาดสารอาหาร

สังคมไทยอยู่แบบครอบครัวใหญ่ที่มีทั้งผู้สูงอายุและเด็กทำให้เกิดความยุ่งยากในการจัดเตรียมอาหารที่หลากหลายแต่การดูแลผู้สูงอายุก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องตระหนักเพื่อให้ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยสมองเสื่อม​มีคุณภาพชีวิต​ที่ดีขึ้น

ภาวะสมองเสื่อม​(Dementia)​เป็นภาวะการสูญเสียของเซลล์​สมองและการทำงานของสมองที่เสื่อมถอยลง ทำให้การรับรู้​ ความคิดที่เป็นเหตุเป็นผล พฤติกรรม​ อารมณ์​ การตัดสินใจ​ การใช้ภาษา และความบกพร่องในการทำกิจวัตรประจำวัน​รวมถึงปัญหา​ด้านการขาดสารอาหาร เนื่องจากผู้ป่วยสมองเสื่อม(Dementia)​ มีปัญหา​ด้านการรับรู้และความคิดที่เป็นเหตุเป็นผล ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยสมองเสื่อม​(Dementia)​ ได้รับสารอาหารลดลง น้ำหนักตัวลดลง ขณะที่ร่างกายมีความต้องการสารอาหารเพิ่มมากขึ้น หากไม่ได้รับการดูแลจะส่งผลต่อปัญหาสุขภาพตามมาได้ ดังจะกล่าวดังต่อไปนี้

ปัญหาด้านการรับประทานอาหารของผู้ป่วยสมองเสื่อม(Dementia)​มีดังนี้คือ

1.ผู้ป่วยสมองเสื่อม​(Dementia)​ รับประทานอาหารได้น้อยลง กลืนอาหารได้ยากลำบาก ความอยากในการรับประทานอาหารลดลง ปัญหา​อาจเกิดมาจาก ฟันหลุดร่วงตามวัย การบดเคี้ยวอาหารลำบากมากขึ้น ไม่ชินการใส่ฟันปลอม หรืออายในการใส่ฟันปลอม การรับรู้รสชาติ​อาหาร และกลิ่นของอาหารลดลง ลืมวิธีการรับประทานอาหาร การกลืนอาหารซึ่งเป็นความผิดปกติของการเคลื่อนไหวของ​ลิ้นหรือกราม ทำให้ผู้ป่วยสมองเสื่อมไม่เคี้ยว ไม่กลืนอาหารหรือกลืนอาหารได้ช้า ส่งผลให้เกิดการสำลักอาหารหรืออาหารติดคอได้ เป็นต้น
2. ผู้ป่วยสมองเสื่อม(Dementia)​ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละมื้อหรือแต่ละวัน เช่นอาหารที่ให้พลังงานหลักๆเช่น โปรตีน​และคาร์โบไฮเดรต​ สาเหตุ​ที่ทำให้ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอเช่น ลืมรับประทานอาหาร ขาดความสนใจในการรับประทานอาหาร หรือไม่สามารถจัดเตรียมอาหารได้เอง ลืมวิธี​การปรุงอาหาร​เป็นต้น
3.ผู้ป่วยสมองเสื่อม​(Dementia)​ มีน้ำหนักตัวลดลง จากการรับประทานได้น้อย ทำให้ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ที่เกิดจากสาเหตุปัญหาด้าน การกลืนลำบาก ปฏิเสธการกลืนอาหารหรือโรค​สมองเสื่อม​มีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลให้มวลกล้ามเนื้อของร่างกายลดลงการทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน​ได้น้อยลงตามมาด้วย

แนวทางการแก้ปัญหาภาวะ​ขาดสารอาหาร​ในผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อม(Dementia)​มีดังต่อไปนี้คือ
1.การประเมินด้านสภาพร่างกายของผู้ป่วยเช่น ติดตามการชั่งน้ำหนักเป็นประจำ การใส่ฟันปลอม​กรณีไม่มีฟันช่วยในการบดเคี้ยวอาหาร การดูแลสุขภาพ​ของฟันและช่องปากเพื่อช่วยการรับรู้​รสชาติ​และความอยากอาหารของผู้ป่วยสมองเสื่อม​(Dementia)​
2.การดูแลด้านอาหารสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อม(Dementia)​ เช่น เตรียมอาหารให้เพียงพอและยืดหยุ่นตามความชอบของผู้ป่วย หรือเพิ่มเวลาในการรับประทานอาหารโดยรับประทานครั้งละน้อยแต่บ่อยครั้งในแต่ละวัน โดยไม่ควรรับประทานเกินหกโมงเย็นเพราะอาจทำให้เกิดปัญหาการย่อยอาหาร​หรือเกิดกรดไหลย้อนตามมาได้ เป็นต้น
3.จัดเตรียมอาหารอ่อนหรืออาหารที่ย่อยง่าย การเสริมอาหารระหว่างมื้ออาหาร สารอาหารแหล่งโปรตีนที่ย่อยง่าย เช่นอาหารประเภทปลา ไข่ตุ๋น​ น้ำผักหรือผลไม้ปั่น หลีกเลี่ยงการใช้ยาเพื่อกระตุ้นความอยากอาหารในผู้ป่วย​ที่มีภาวะสมองเสื่อม(Dementia)​เป็นต้น
4.เน้นการจัดอาหารตามความชอบของผู้ป่วย ให้มีความสมดุล​และมีความหลากหลาย​โดยเน้นให้ผู้ป่วยสมองเสื่อม​(Dementia)​รับประทานอาหารมื้อเช้าเพื่อให้สมองมีน้ำตาลไปเลี้ยง และเสริมอาหารประเภท​นมที่มีไขมันต่ำ พืชตระกูล​ถั่ว เพิ่มอาหารที่มีกากใยสูงช่วยระบบการขับถ่ายเป็นต้น
5.จัดปรุงอาหารจำพวกไข่แดง ผักใบเขียว ถั่วเมล็ดแห้ง ถั่วเหลือง ถั่วลิสง กะหล่ำปลี ผลไม้รสเปรี้ยว ผักโขม กวางตุ้ง​ ผักบุ้ง ซึ่งเป็นแหล่งอาหารการสื่อประสาทสมองและการหดตัวของกล้ามเนื้อ
6.จำกัดอาหารจำพวก ครีมเทียม มาการีน น้ำตาลทราย อาหารแปรรูป​ อาหารที่มีโซเดียม​สูง
7.เพิ่มอาหารที่อุดม​ไปด้วยวิตามิน​ต่างๆ ช่วยด้านความจำ เช่น สารสกัดจากใบแปะก๊วย​ ธัญพืช​ ข้าวไม่ขัดสี ไข่ ปลา เนื้อไม่ติดมัน
8.การจัดอาหารให้เหมาะสมกับโรคประจำตัวเช่น ผู้ป่วยสมองเสื่อม​มีโรคเบาหวาน หรือความดันโลหิตอาจต้องปรึกษาสหวิชาชีพ​เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับอาหารที่เหมาะสมไม่เกิดปัญหาตามมาเป็นต้น
9.จัดสิ่งแวดล้อมหรือสร้างบรรยากาศ​ในการรับ​ประทาน​อาหารเช่น รับประทานอาหารร่วมกันในครอบครัวตามวิถีชีวิต​ของผู้ป่วย งดการดูทีวี และหลีกเลี่ยงการวางสิ่งของ​บนโต้ะ​อาหารที่ทำให้เกิดความสับสนเช่น ผลไม้พลาสติก​เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าการดูแลเรื่องอาหารสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อม​(Dementia)​นั้นไม่ได้ยุ่งยากเกินความสามารถ​ของผู้ดูแลเพียงแต่ต้องให้ความสนใจและใส่ใจในภาวะสุขภาพ​ของผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมแค่นั้นเอง


สนใจบทความอื่นๆเกี่ยวกับหัวใจติดตามอ่านได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

การเสริมสร้างแรงจูงใจในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน  (Diabetes)

แชร์ให้เพื่อน

การเสริมสร้างแรงจูงใจในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน  (Diabetes)

โรคเบาหวาน(Diabetes)​ มีสาเหตุมาจากพันธุกรรม​และพฤติกรรม เช่น การบริโภค​อาหาร​  การออกกำลังกาย หากเกิดจากพันธุกรรม​แล้วนับเป็นเรื่องยากที่จะป้องกันหรือหลีกเลี่ยงได้ แต่ในบทความนี้ผู้เขียนจะกล่าวถึงการเสริมสร้างแรงจูงใจเพื่อปรับเปลี่ยน     บุคลิกภาพ   พฤติกรรม​สุขภาพ​ในชีวิตประจำวัน​เพื่อลดอุบัติการณ์​และควบคุมให้เกิดภาวะแทรกน้อยลง  การปรับพฤติกรรม​ได้แก่ การสูบบุหรี่  การรับประทาน​อาหาร​  การออกกำลังกาย​   และการพักผ่อนนอนหลับ  เป็นต้น เนื่องจากการเจ็บป่วยเรื้อรังมีผลกระทบ​ต่อสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และสังคมทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม ชีวิตความเป็นอยู่ อาชีพการงาน และทางเพศ​ เป็นต้น

ทำไมผู้ป่วยโรคเบาหวาน (Diabetes)​ ถึงต้องเน้นการดูแลตนเอง?  เพราะ

1.โรคเบาหวาน(Diabetes)​ เป็นโรคเรื้อรังและเป็นการเจ็บป่วยที่ยาวนาน  ผู้ป่วยต้องได้รับการดูแลรักษายาวนาน ผู้ป่วยอาจได้รับยาอินซูลินโดยวิธีการฉีด  วิธีการกิน  หรือวิธีการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย​ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างพร้อมกันเป็นต้น
2.โรคเบาหวาน(Diabetes) หากเมื่อเป็นแล้วไม่สามารถดูแลตนเองได้ดีหากได้รับการรักษา​โดยการให้ยาอินซูลิน​แล้ว อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง(Hyperglycemia) หรือน้ำตาลในเลือดต่ำ(Hypoglycemia)​ได้
3.โรคเบาหวาน​(Diabetes) เมื่อเกิดขึ้นแล้ว   หากควบคุมดูแลตนเองได้ไม่ดี  อาจมีโรคอื่นๆเกิดขึ้นตามมาเช่นโรคความดัน​โลหิต​สูง  โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต   ภาวะเบาหวานขึ้นตา  เกิดแผลที่เท้า เป็นต้น การดูแลตนเองอย่างจริงจังสำหรับโรคเบาหวานเพื่อช่วยชลอความก้าวหน้า​ของโรค  ลดการกำเริบ  ให้มีชีวิตยืนยาวขึ้น ร่วมกับสามารถทำหน้าที่ได้เต็มตามศักยภาพ​และมีคุณภาพชีวิต​ที่ดีด้วย

การเสริมสร้างแรงจูงใจในการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน​ (Diabetes)​ มีดังนี้
1.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน​(Diabetes)​ ต้องรับรู้ว่าโรคเบาหวานนั้นได้เกิดขึ้นกับตนเองแล้ว  การรับรู้นั้นต้องพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม​สุขภาพในชีวิตประจำวันต่างๆเช่น การรับประทานยาต่อเนื่อง การกินอาหารที่จำกัดน้ำตาลเน้นการรับประทานผักมากขึ้น  การออกกำลังกาย การตรวจเช็คระดับน้ำตาลในเลือดทั้งการตรวจเช็คด้วยตนเองที่บ้านและติดตามการดูแลรักษา​โรคเบาหวาน​(Diabetes)​ กับผู้เชี่ยวชาญ​เป็นต้น เพราะว่าภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังนั้นทำให้เกิดผลกระทบ​กับผู้ป่วย ครอบครัว และสังคม เนื่องจากหากสามีเจ็บป่วยภรรยา​ต้องรับภาระ​มากขึ้น บทบาทในครอบครัวต้องเปลี่ยนแปลงไป  ผู้ป่วยรู้สึกเสียศักดิ์ศรี​ที่ต้องพึ่งพาคนอื่น  เป็นต้น
2.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน​(Diabetes)​ ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรค  และแผนการรักษาของตนเองเช่น ฉีดอินซูลิน​ กินยาอินซูลิน​ ควบคุมอาหารและออกกำลังกาย​เป็นต้น(ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน(Diabetes) ได้กล่าวถึงในบทความที่ผ่านมา)​  ตัวอย่างเช่น โรคเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน​ในวัยรุ่น  การควบคุมโรคได้ลำบาก มีความเสี่ยงเรื่องภาวะน้ำตาลในเลือดสูง(Hyperglycemia) ทั้งที่ได้พยายามควบคุมปัจจัยต่างๆให้ดีที่สุด อาจเกิดจากการเจริญเติบโต​อย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ป่วยหมดกำลังใจและรู้สึกว่าการกระทำของตนเองไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติได้ เป็นต้น
3.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน(Diabetes) ต้องตระหนัก​ถึงภาวะแทรกซ้อน​(complications) ที่เกิดขึ้นกับตนเองเช่น.ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) หรือภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ(Hypoglycemia) เพราะปัญหาระดับน้ำตาลสูงหรือน้ำตาลต่ำนั้น มีความเกี่ยวข้องกับ​พฤติกรรม​การรับประทาน​อาหาร​  ถ้าหากผู้ป่วยละเลยแล้วอาจทำให้เกิดภาวะอันตรายแก่ชีวิตได้หากไม่ได้รับการดูแลรักษา​ทันท่วงที ผู้ป่วยเบาหวาน​(Diabetes)​ อาจต้องเตรียมลูกอมติดตัวเพื่อช่วยแก้ปัญหา​ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าปกติได้
4.ผู้ป่วยเบาหวาน​(Diabetes)​ ต้องรู้ เข้าใจ และตระหนักถึงการดูแล​สุขภาพ​เท้าเพื่อป้องกันการเกิดแผลหากเกิดขึ้นแล้วจะส่งผลให้มีการหายของแผลยากกว่าคนปกติและอาจต้องสูญเสีย​อวัยวะ​ต่างๆตามมาได้ (การดูแลสุขภาพเท้าสามารถหาอ่านได้ในบทความที่ผ่านมา)​
5.มนุษย์​เราทุกคนต้องตระหนักและเข้าใจกฎเกณฑ์​ของธรรมชาติ​ว่า  การเกิดภาวะเจ็บป่วยโรคภัยไข้เจ็บ  นั้นเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่จำกัดอายุ  เพศ วัย  หรือสถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ​  เป็นต้น มนุษย์​ต้องยอมรับการพึ่งพาบุคคล​อื่นเมื่อจำเป็น  ค้นหาวิธีการจัดการกับความเครียดด้วยตนเอง   ลดความวิตกกังวล  ความกลัว  (อ่านเนื้อหาเพิ่มเติมได้ในบทความที่ผ่านมา)​  ยอมรับภาพลักษณ์​ที่เปลี่ยนแปลงไปและผลกระทบ​ที่อาจเกิดขึ้นต่อสุขภาพของตนเอง เป็นต้น
6.ผู้ป่วยเบาหวาน​(Diabetes)​ ต้องรักษาสัมพันธภาพ และการติดต่อสื่อสาร​ที่ดีกับนักวิชาชีพสุขภาพ​  ครอบครัว  ญาติ​มิตร เพื่อนฝูงหรือกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน( Diabetes)​ เพื่อสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์​การดูแลตนเองและนำมาปรับเปลี่ยนให้เข้ากับการดูแลตัวเอง​ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีชีวิตที่ยาวนานขึ้น
7.แผนการรักษา​โรคเบาหวาน​(Diabetes)​ต้องการแหล่งประโยชน์​ของครอบครัว หากครอบครัวที่ขาดแหล่งประโยชน์​ทางสังคม จิตใจ หรือเศรษฐกิจ​ ทำให้จัดการกับปัญหาลำบากมากขึ้นตามมา

โรคเบาหวาน(Diabetes)​ ถึงแม้ว่าจะเป็นกลุ่มโรคเจ็บป่วยเรื้อรัง หากได้รับความร่วมมือจากผู้ป่วย ครอบครัวผู้ดูแล บุคลากร​ทางสุขภาพ​ แหล่งประโยชน์​ด้านเศรษฐกิจ​แล้ว ก็สามารถช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวาน(Diabetes)​ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและมีชีวิตที่ยาวนานได้


สนใจบทความอื่นๆเกี่ยวกับหัวใจติดตามอ่านได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

การเสริมสร้างแรงจูงใจในการดูแลตนเองเมื่อมีภาวะสมองเสื่อม (Dementia)​

แชร์ให้เพื่อน

การเสริมสร้างแรงจูงใจในการดูแลตนเองเมื่อมีภาวะสมองเสื่อม (Dementia)​

ภาวะสมองเสื่อมเป็นความเสื่อมถอยของสมองอย่างผิดปกติในด้าน ความจำบกพร่อง(Memory Impairment)  ความสามารถ​ทางสติปัญญา​(Cognition)​ ความผิดปกติ​ด้านพฤติกรรม​ โดยความผิดปกติดังกล่าวมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เกิดผลกระทบต่อภาวะสุขภาพ​และการดำเนินชีวิต ซึ่งผู้ดูแลต้องตระหนักเพราะเป็นปัญหาที่ซับซ้อน​ต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์​ในระยะสั้นและระยะยาว​ตลอดจนพัฒนาคุณภาพ​ชีวิตของผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม​ ครอบครัวและผู้ดูแลต่อไป

ผู้สูงอายุส่วนใหญ่​มักมีปัญหา​ภาวะสมองเสื่อม โดยพบเมื่ออายุมากกว่า 70 ปี มักมีพฤติกรรม​ดังนี้คือ ทำงานที่เคยทำได้ช้าลง  เหนื่อยง่ายขึ้น หลงลืม พูด​ซ้ำๆ   ถามบ่อยๆ  ทำของหายบ่อยๆ  เรียกชื่อคน สิ่งของ สถานที่ผิดๆถูกๆ   เงียบเฉย ไม่ค่อยพูด เดินวุ่นวายในบ้าน เป็นต้น

หากมีภาวะสมองเสื่อมรุนแรง​ขึ้นจะทำให้เกิดปัญหา​ต่างๆตามมาเช่น หลงทาง กลับบ้านไม่ถูก หนีหายไปจากบ้าน  หงุดหงิด​ง่าย ทะเลาะกับคนข้างๆ โดยไม่สมเหตุสมผล​ มีความเชื่อที่ผิดแปลกไป เห็นภาพหลอน ทำร้ายตนเองหรือคนรอบข้าง

บทบาทของผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อม
1.มีความสามารถในการประเมินการทำหน้าที่ต่างๆของร่างกาย โดยเน้นด้านการทำกิจวัตรประจำวัน​
2.มีความเข้าใจภาวะอารมณ์​และจิตใจ​ของผู้ป่วย
3.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารโดยการปรับเปลี่ยนสูตรอาหารและเลือกผลิตภัณฑ์​อาหารเสริมได้เหมาะสมกับผู้ป่วย
4.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแล​สุขภาพ​ผู้สูงอายุเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนเช่น

  • การป้องกันการพลัดตกหกล้ม
  • การออกกำลังกาย​
  • การป้องกันการสำลัก​
  • การดูแลผู้ป่วยติดเตียงหรือช่วยเหลือตนเองไม่ได้
  • การป้องกันการเกิดแผลกดทับ
  • การฝึกกระบวนการคิดและสติปัญญา​

การเสริมสร้างแรงจูงใจ​ในการดูแลตนเองในผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม​
1.ให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าปัญหา​นั้นแก้ไขและควบคุมได้ โดยเน้นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม​เพื่อแก้ปัญหา​ความเจ็บป่วย โดยการเปิดใจในการรับฟังปัญหา ความมีสัมพันธภาพที่ไว้วางใจ โดยคาดหวังถึงผลที่ตามมาจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม​ในทางที่ดีขึ้น
2.การปรับแนวคิดในการตัดสินใจ​เลือกว่าจะทำอะไรบ้าง โดยการนำเสนอข้อมูลประกอบการตัดสินใจ เสนอข้อดีข้อเสียเพื่อให้ผู้ป่วยได้เลือกตัดสินใจด้วยตนเอง โดยการกำหนดเป้าหมายในการดูแลตนเองตามที่เป็นจริง
3.การลงมือปฏิบัติเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม​การดูแลตนเองของผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมและมีการตรวจวัดผลการปฏิบัติ​ตามที่เป็นจริง

เมื่อฉันทราบว่าตนเองมีความผิดปกติ​ทางกระบวนการคิดและความจำบ่อยๆครั้งเช่น ฉันมีอาการหลงลืม​ มีพฤติกรรม​ที่ผิดปกติทั้งที่อายุ 50 ปีต้นๆ  มีการทะเลาะกับคนในบ้านบ่อยๆ  ไม่หลับไม่นอนหลายวัน  มีอาการไข้  ไอ ตัวร้อนบ่อยๆ  ส่งผลให้บุคคล​รอบข้างในครอบครัวเกิดความคับข้องใจ​ ไม่เข้าใจ  วิตกกังวล และเครียดตามมา

ถึงแม้ว่าปัญหา​ภาวะสมองเสื่อมไม่สามารถ​รักษา​ให้หายขาดได้แต่การดูแลตนเองแบบองค์​รวมทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจจะช่วยให้ปัญหา​ของภาวะสมองเสื่อมชะลออาการลงได้


สนใจบทความอื่นๆเกี่ยวกับหัวใจติดตามอ่านได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

ผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม  (Dementia)​  ต้องวางแผนชีวิตอย่างไร?

แชร์ให้เพื่อน

ผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม  (Dementia)​  ต้องวางแผนชีวิตอย่างไร? ประเมินด้วยตนเองได้ไหม?

เมื่อฉันเริ่มหลงลืมเป็นการชั่วคราวช่วงป่วยโรคโควิด19 พูดๆอยู่ก็ลืมว่าพูดอะไรต้องรีบจดขั้นตอนต่างๆ ไม่อย่างนั้นฉันจะจำไม่ได้  แม้ความจำในระยะสั้นๆ  หากได้รับวินิจฉัย​ว่าเป็นภาวะสมองเสื่อม ต้องรีบทำความเข้าใจ ยอมรับ และปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง​เกี่ยวกับการดำเนินไปของโรคซึ่งเกิดการเสื่อมถอยไปเรื่อยๆ  เพื่อให้สามารถวางแผนชีวิตของตนให้เหมาะกับภาวะเสื่อมถอยของสมองในด้านต่างๆเช่น การบันทึกเกี่ยวกับทรัพย์สิน​มีอยู่ที่ใหนบ้าง? (กรณีเก็บใส่ไหฝังดินก็ต้องจดบันทึกหรือแจ้งลูกหลาน ญาติ ไม่อย่างนั้นหากขุดเจอทีหลังจะกลายป็นทรัพย์สิน​ของแผ่นดินไม่ใช่ของลูกหลานอีกต่อไป)​ เงินประกันชีวิต เงินประกันสังคม เงินลงทุนในกองทุน ตลาดทุน สกุลเงินดิจิทัล   อสังหาริมทรัพย์​ เป็นต้น การทำพินัยกรรม​ชีวิต (Advanced directive plan) การช่วยฟี้นคืนชีพ
การบริจาค​ร่างกาย แหล่งสนับสนุนการดูแลหากต้องพึ่งพาผู้อื่นเมื่อไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้  ทั้งนี้ผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมหากตรวจพบตั้งแต่เริ่มแรกการได้รับยากลุ่มแอนติโคลิเนสเตอเรสจะช่วยชะลอความจำเสื่อมได้ ชะลอการพึ่งพา และดูแลตนเองออกไปให้ยาวนานที่สุดทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไปได้  รวมถึงการเรียนรู้​เทคนิควิธีการจัดกิจกรรมพื้นฐานซึ่งได้กล่าวถึงในบทความที่ผ่านมาแล้ว 2 ตอน เพื่อทำให้ผู้ดูแลและผู้เกี่ยวข้องเกิดความเข้าใจและยอมรับเกี่ยวกับอาการแสดงที่เปลี่ยนแปลง​ ช่วยลดความขัดแย้ง หากขาดความเข้าใจแล้วจะคิดว่าผู้ป่วยเสแสร้ง​  แกล้งทำ​หรือแกล้งทำร้ายตนเอง  นอกจากนี้การใช้ยาช่วยเรื่องความจำก็สามารถช่วยได้ในผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมระยะเริ่มต้นและระยะกลางเท่านั้น

การรักษาผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมโดยไม่ใช้ยาซึ่งผู้เขียนเองก็ใช้วิธีการนี้อยู่เช่น

1.การจดบันทึกกิจกรรม ข้อมูลประจำวันในเรื่องที่สำคัญๆลงในเครื่องมือสื่อสารซึ่งปัจจุบัน​นี้มีแอพลิเคชั่นให้เลือกมากมายเช่น แอพการเงิน เพื่อช่วยจดจำข้อมูลในระยะสั้นหลังจากนั้นค่อยเขียนบันทึกประจำวันช่วงก่อนนอนอีกครั้งเพื่อรื้อฟื้นความจำระยะสั้น และสรุปบันทึกรายเดือน รายไตรมาส และรายปี จากข้อมูลที่บันทึกไว้ต่อไป เพื่อช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง  การบันทึกการเดินทางไปในสถานที่ต่างๆลงในเฟซบุ้ค​เป็นต้น
2.การทบทวนความหลังต่างๆที่ผ่านมาในชีวิต เช่น การเปิดดูรูปภาพเก่าๆ ทั้งในอัลบั้ม​รูปภาพและเครื่องมือสื่อสาร   การเปิดดูเรื่องราวย้อนหลังในเฟซบุ้ค​ การอ่านบันทึกประจำวัน ประจำเดือน ประจำปี เพื่อช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองให้มีสมรรถภาพสมองมากที่สุดและมีความเพลิดเพลินอีกด้วย
3.การออกกำลังกาย​ กิจกรรมการออกกำลังกายนั้นมีหลากหลายรูปแบบโดยเลือกให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของแต่ละคน เช่น การเดิน การวิ่ง การเล่นโยคะ ฟิตเนส​  เป็นต้น

การประเมินภาวะสมองเสื่อมแบบองค์รวมโดยยึดหลักการตรวจสุขภาพ​ทั่วไป ได้แก่ การซักประวัติ สังเกตพฤติกรรม​ของตนเอง  การตรวจร่างกาย การตรวจพิเศษโดยอาศัยผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงการรวบรวมข้อมูลด้านร่างกาย​  อารมณ์​  สังคมและความสามารถในการทำหน้าที่ ความรับผิดชอบต่างๆเป็นต้น


ลักษณะ​ของผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมมีความเกี่ยวข้องกับประเด็นต่างๆดังต่อไปนี้ คือ
1.ความสามารถในการจดจ่อกับสิ่งตรงหน้าได้สั้น  สิ่งเร้าภายนอกกระตุ้นได้งายเช่น เสียงดัง แสงสว่างมากหรือน้อยเกินไป
2.โรคประจำตัว​อะไรบ้าง ประวัติการใช้ยาและอาหารเสริม สัมพันธภาพ​ในครอบครัว​เป็นต้น  ประวัติการเข้ารักษา​ในโรงพยาบาล การผ่าตัด การบาดเจ็บ​ การรับวัคซีน​ต่างๆ
3.การคิดและตัดสินใจอย่างมีเหตุผล​  การพูด  ภาษา  พฤติกรรม​และอารมณ์​เช่น หากมีภาวะเสื่อมของสมองส่วนหน้า จะมีผลกระทบ​ต่อการตัดสินใจ การแก้ปัญหา​ การแสดงออกทาวภาษา อารมณ์​เป็นต้น
4.ภาวะสมองเสื่อมนั้นมีอาการคล้ายกับโรคบางชนิดเช่น โรคชรา (Normal aging change) ภาวะสับสนเเฉียบพลัน​(Delirum)​ภาวะซึมเศร้า​(Depression)​  ฮอร์โมน​ไทรอยด์​ต่ำ(Hypothyroid)​  น้ำคั่งในโพรงสมอง (hydrocephalus)  การนอนกรนหรือนอนไม่หลับ  โรคพาร์กิน​สัน โรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มอาการทั้งหลายต้องได้รับการประเมินและวินิจฉัย​แยกโรคจากผู้เชี่ยวชาญเป็นต้น
5.ประวัติทางด้านจิตใจ อารมณ์​และพฤติกรรมเช่น ซึมเศร้า​ เฉยเมย กระวนกระวาย หลงผิด ประสาทหลอน หวาดระแวง จำตนเองไม่ได้ซึ่งผู้เขียนเองก็พบเจอปัญหานี้ในช่วงติดเชื้อโควิด19 เช่นกัน
6.การตรวจทางห้องปฏิบัติ​และตรวจพิเศษอื่นๆโดยอาศัยผู้เชียวชาญ​ในการแปรผลต่างๆเป็นต้น
7.ประวัติการเจ็บป่วยโรคซิฟิลิส​ที่ไม่ได้รับการรักษาทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมเทียมได้
การตรวจประเมินผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมนั้นจะช่วยให้สามารถทราบถึงปัญหา​ความรุนแรง​ของโรค  ผลกระทบ​ต่างๆ เพื่อวางแผนในการรักษาเช่น การให้ยาเพื่อชะลอความเสื่อมของสมองและยืดเวลาการพึ่งพาผู้ดูแลเป็นต้น โดยเบื้องต้นนั้นการประเมินตนเองช่วงแรกจะช่วยให้สามารถตรวจพบได้ในช่วงแรกและใช้ยาช่วยชะลอได้ในระดับหนึ่งก่อนสมองจะเสื่อมถอย​มากขึ้น


สนใจบทความอื่นๆเกี่ยวกับหัวใจติดตามอ่านได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

การดูแลผู้ป่วย สมองเสื่อม (ตอนที่ 2)

แชร์ให้เพื่อน

การจัดกิจกรรม​ดูแลพื้นฐานสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อม(Dementia)​  ตอนที่ 2.

จากบทความก่อนหน้านี้ทำให้ผู้เขียนเริ่มตระหนักและย้อนกลับมาดูตัวเองพบว่าเริ่มมีบางข้อที่ตนเองเริ่มเข้าสู่ปัญหาสมองเสื่อมทั้งที่อายุก็ยังอยู่ที่ 50 ปีต้นๆ พอได้เขียนและอ่านบทความนี้แล้วยังสามารถนำมาใช้ในการดูแลตัวเองและนำเนื้อหาไปปรับใช้ในการดูแลผู้ป่วยอื่นๆที่มีภาวะสมองเสื่อมที่เกิดขึ้นตามวัย เช่น นำไปปรับใช้ในการดูแลผู้สูงอายุ​ในบ้านหรือญาติพี่น้องตามความเหมาะสม​กับปัญหา​แต่ละข้อที่พบเจอได้

3. กิจกรรมการดูแลด้านการรักษาความสะอาดของช่องปาก และฟันปลอม
เนื่องจากผู้ป่วยสมองเสื่อมโดยส่วนใหญ่อาจต้องใส่ฟันปลอมจากการร่วงของฟันตามวัยฉะนั้นการดูแลช่องปากและฟันปลอมช่วยลดปัญหา​การติดเชื้อทางเดินอาหารและช่วยกระตุ้นการอยากและเจริญ​อาหารได้ในระดับหนึ่งอีกด้วย

ประเด็น​ปัญหาที่พบบ่อยและแนวทางแก้ไขมีดังต่อไปนี้

  • ผู้ป่วยไม่แปรงฟัน​ ลืมวิธีแปรงฟัน​ แนวทางแก้ไข แนะนำให้ผู้ป่วยบ้วนปากด้วยน้ำเกลือ  น้ำยาบ้วนปากทุกครั้งหลังอาหาร หรือแนะนำวิธีการแปรงฟัน เตรียมยาสีฟัน หรือแปรงฟัน​ไปพร้อมๆกัน
  • กลืนยาสีฟัน​ แนวทางแก้ไข ใช้ยาสีฟันเด็กที่ไม่เป็นอันตราย ใช้ยาสีฟัน​ในปริมาณ​ที่เหมาะสม​
  • ลืมถอดฟันปลอม ล้างฟันปลอม แนวทางแก้ไขกระตุ้นให้ผู้ป่วยถอดล้างฟันปลอม​ แนะนำการตรวจสุขภาพของช่องปากและฟันทุก 6 เดือนเป็นต้น


4. กิจกรรม​ด้านการแต่งกาย  

ขั้นตอนการแต่งกายสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมนั้นต้องวางแผนให้เหมาะสมตามกาลเทศะ​หรือการแต่งกายอยู่บ้าน การติดกระดุม การรูดซิป เป็นต้น

ประเด็นปัญหาที่พบบ่อยและแนวทางแก้ไขมีดังต่อไปนี้คือ

  • หลงลืมการจัดเก็บเสื้อผ้า​ แยกเสื้อผ้าที่ไม่จำเป็นออกจากเสื้อผ้าที่ใช้ประจำเช่น ผ้าพันคอ เครื่องประดับ ต่างๆเป็นต้น
  • เลือกเสื้อผ้าในการสวมใส่ไม่เหมาะสมตามสภาพอากาศ​เช่นใส่เสื้อแขนสั้นหน้าหนาว ให้เวลาในการแต่งตัว  ช่วยเลือกเสื้อผ้าที่สวมใส่สบายเหมาะสมกับสภาพอากาศ​ เช่น เสื้อผ้าที่เอวเป็นยางยืด
  • จำไม่ได้ว่าต้องใส่อะไรก่อนหรือหลัง เช่นใส่เสื้อผ้าซ้อนกัน  ลืมใส่กางเกงในหรือใส่กางเกงในใว้ด้านนอกเป็นซูเปอร์​แมน ใส่เสื้อผ้าเดิมๆ ไม่ยอมเปลี่ยน แนวทางแก้ไข จัดเสื้อผ้าเป็นชุด​ๆ  และมีหลายๆ ตัวสีเดียวกันตามที่ผู้ป่วยชอบสวมใส่  ลดจำนวน​เสื้อผ้าในตู้เสื้อผ้าให้น้อยลงเพื่อลดความสับสนและใช้เวลานานในการเลือกเสื้อผ้าเป็นต้น
  • ไม่ยอมใส่เสื้อผ้า​จากอากาศร้อน ถอดเสื้อผ้าในที่สาธารณะ​โดยไม่รู้มารยาท​ทางสังคม พูดคุยด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวล หลีกเลี่ยงการโต้แย้งให้คำแนะนำ​เรื่องมารยาท​ทางสังคมโดยไม่ตำหนิผู้ป่วยเป็นต้น

5. กิจกรรม​การดูแลในด้านระบบการขับถ่าย

ผู้ป่วยสมองเสื่อมในระยะแรกอาจต้องให้คำแนะนำเตือนให้เข้าห้องน้ำในเรื่องการขับถ่าย ในระยะต่อมาอาจต้องช่วยถอดเสื้อผ้า  บอกห้องน้ำอยู่ใหน เมื่อถึงระยะที่มีปัญหา​การขับถ่ายอาจต้องประเมินสภาพร่างกายหาสาเหตุของปัญหาด้านการขับถ่ายว่าเกิดจากสาเหตุ​อื่นๆเช่น ระบบการขับถ่ายของผู้ป่วยเอง ประเภทของอาหารที่รับประทานโดยรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย การดื่มน้ำน้อย หากมีปัญหา​รุนแรงอาจต้องพิจารณา​ให้ยาระบายร่วมด้วยเป็นต้น ปัญหาที่พบบ่อยคือ

  • ขับถ่ายปัสสาวะ​ อุจจาระ​โดยไม่เลือกสถานที่​ สันสนหาห้องน้ำไม่เจอ แนวทางแก้ไข คอยเตือนให้เข้าห้องน้ำ  มีป้ายห้องน้ำที่ชัดเจน ใส่เสื้อผ้าที่ถอดง่าย พาเข้าห้องน้ำก่อนนอน เปิดไฟดวงเล็กๆไว้หรือเปิดไฟในห้องน้ำทิ้งไว้ในเวลากลางคืน หากควบคุมไม่ได้อาจต้องพิจารณา​ใส่ผ้าอ้อมสำเร็จ​ในเวลานอนหรือออกนอกบ้าน  หากไม่มีห้องน้ำในตัวอาจต้องพิจารณา​จัดเก้าอี้​สำหรับการขับถ่าย(Bedside commodes) ไว้ข้างเตียงเพื่อลดปัญหาลงได้ จัดอาหารที่มีกากใยสูงเพื่อช่วยระบบการขับถ่าย  กระตุ้นให้ดื่มน้ำตอนกลางวัน จำกัดน้ำเวลาเย็นเพื่อไม่ให้ตื่นมาเข้าห้องน้ำบ่อย หากมีความสับสนมากอาจต้องจัดเตรียมสถานที่ให้เหมาะสมมากขึ้น

6. กิจกรรมลดปัญหา​ด้านการสื่อสาร การตอบสนองช้า เข้าใจยาก

ให้เวลาในการสื่อสาร นึกคำศัพท์​ไม่ออก เป็นต้น แนวทางในการแก้ปัญหา​ที่เหมาะสมคือ ขณะสื่อสารกับผู้ป่วยให้ขจัดสิ่งรบกวน เช่นทีวี วิทยุ ใช้น้ำเสียงที่นุ่มนวลไม่ดังเกินไป พูดคุย​ด้วยประโยคที่สั้น กระชับ เข้าใจได้ง่าย หากไม่เข้าใจต้องเรียบเรียงประโยคไหม่ อาจต้องใช้มือหรือท่าทางประกอบมากขึ้นและใจเย็น คอยให้กำลังใจ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ป่วยเป็นต้น


7. กิจกรรมด้านการนอนหลับ​พักผ่อน

ผู้ป่วยมักตื่นบ่อยในเวลากลางคืนมาทำกิจกรรม​สร้างความลำบากแก่ผู้ดูแล ไม่ได้พักผ่อนต่อเนื่อง แนวทางแก้ปัญหา โดยให้ผู้ป่วยได้รับแดดช่วงเช้า ช่วยให้นอนหลับในเวลากลางคืนได้ง่ายขึ้น จัดเวลาเข้านอนเร็วขึ้นเพื่อจะได้ตื่นเช้ามากขึ้น จัดห้องนอนที่มีแสงสว่างที่เหมาะสม อุณหภูมิ​ไม่ร้อนหรือหนาวเกินไป หากิจกรรมที่ผู้ป่วยชอบในเวลากลางวันไม่เบื่อเพื่อช่วยลดเวลาการนอนกลางวันลงได้  งดการบริโภค​สารคาเฟอีน​ซึ่งทำให้นอนหลับยาก เพิ่มอาหารมื้อเย็นเช่น นมร้อน อาหารที่ย่อยง่าย ช่วยลดการตื่นมารับประทานกลางดึก  เข้าห้องน้ำก่อนนอน  หากไม่ยอมนอนหลับสร้างความวุ่นวายต้องแจ้งแพทย์เพื่อพิจารณา​ปรับยานอนหลับได้ตามความเหมาะสม


8. กิจกรรม​การดูแลด้านอารมณ์​และพฤติกรรม​ที่เปลี่ยนแปลง เป็นปัญหา​ที่พบได้บ่อยมีผลกระทบต่อผู้ดูแล ดังนั้นผู้ดูแลต้องใช้ทั้งความรู้ ความเข้าใจ ความรัก ร่วมกับเทคนิค​ความยืดหยุ่น ปรับไปตามสถานการณ์​แต่ละวัน สำหรับประเด็น​ปัญหา​ที่พบบ่อยเช่น

  • การรับรู้ที่ผิดไปจากความจริง กลัวคนมาขโมย​ของ ระแวงเรื่องการปิดประตู คิดว่าคู่ครองไม่ซื่อสัตย์​หลงผิดเกิดความก้าวร้าวตามมา แก้ปัญหา​โดยหาสาเหตุ​ของปัญหา​ที่กระตุ้น​ให้เกิดความก้าวร้าว​และขจัดปัญหานั้น โดยอธิบายความจริงกับผู้ป่วยด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวลเป็นต้น
  • หงุดหงิดง่าย  เห็นภาพหลอน ขาดการยับยั้ง​ชั่งใจ มีพฤ​ติกรรมที่น่าละอาย​ในที่สาธารณะ​พูดคำหยาบ เดินออกจากบ้านทำให้หลงทางหรือเกิดอุบัติเหตุ​ขึ้นได้ การทำพฤติกรรม​ซ้ำๆเช่น หุงข้าว ค้นหาข้าวของ เปิดปิดตู้เสื้อผ้า รื้อค้นกระเป๋าหรือลิ้นชัก  มีอารมณ์​ซึมเศร้า​  ขาดความกระตือรือร้น​  ไม่แสดงออกทางอารมณ์​แยกตัว ไม่สนใจในการปฎิบัติ​กิจวัตรประจำวัน​  ขาดการริเริ่มการทำสิ่งใหม่​ๆ  วิตกกังวลกลัวลูกหลานทอดทิ้ง หรือเรียกหาบ่อยๆ พูดไปขำไป พูดเกินจริงเป็นต้น  แนวทางการแก้ไข โดยการเบี่ยงเบนความสนใจ ทำกิจกรรมที่ชอบ ฟังเพลงหรือดนตรี ออกกำลังกาย เล่นเกมง่ายๆ ทำสวน รดน้ำต้นไม้ วาดรูป ดูอัลบั้มรูปเก่าๆ  เขียนบันทึกหรือวาดรูป​เป็นต้น  ห้ามเถียงเพื่อเอาชนะให้คล้อยตาม​ไปก่อนเน้นเบี่ยงเบนความสนใจเป็นหลัก ดูแลจัดเก็บสิ่งของอันตรายให้ห่างมือ  อาจต้องเขียนเบอร์โทร ชื่อสกุลติดกระเป๋าเสื้อไว้เป็นต้น

จากประเด็นปัญหาในผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมอาจมีความแตกต่าง​กันไป ผู้ดูแลควรต้องใช้ความรู้และปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์​เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิต​ที่ดีขึ้น สื่อสารให้สั้น กระชับเข้าใจง่าย เน้นการทำกิจกรรม​เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ กระตุ้นการฟื้นฟูความจำโดยพาไปในที่ๆเคยไปมาก่อนเป็นต้น


การดูแลผู้ป่วย สมองเสื่อม (ตอนที่ 1)


สนใจบทความอื่นๆเกี่ยวกับหัวใจติดตามอ่านได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

การดูแลผู้ป่วย สมองเสื่อม (ตอนที่ 1)

แชร์ให้เพื่อน

การดูแลผู้ป่วย สมองเสื่อม (ตอนที่ 1)

การจัดกิจกรรมดูแลพื้นฐานสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อม (Dementia) ตอนที่1

ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์​(Age Society) และคาดการณ์​ว่าในปี พ.ศ 2568 จะมีประชากรสูงอายุถึงร้อยละ 20 รวมถึงผู้เขียนเองก็ใกล้เข้ามาทุกขณะและกลุ่มผู้สูงอายุมีความเสื่อมถอยของอวัยวะเนื่องจากความชรา ก่อให้เกิดความผิดปกติด้านสุขภาพ​โดยเฉพาะกลุ่มโรคในผู้สูงอายุ (Geriatric syndrome) ฉะนั้นผู้ดูแลต้องเข้าใจถึงผลกระทบต่อสุขภาพที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันความเจ็บป่วย และความพิการ เพื่อ ดูแล รักษา  ฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุให้สามารถดูแลช่วยเหลือตนเองได้ยาวนานที่สุดและมีคุณภาพชีวิตที่ดีแม้จะมีโรคเรื้อรัง

ภาวะสมองเสื่อม(Dementia)​ เป็นโรคในกลุ่มเฉพาะของผู้สูงอายุ​ ( Geriatric syndrome) ที่ทุกประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่  ถึงแม้ว่าช่วงการระบาดของโควิด 19 ก่อให้เกิดความสูญเสียในคนกลุ่มนี้เป็นจำนวนมาก  ภาวะสมองเสื่อม​เป็นกลุ่มอาการที่สมองมีการเสื่อมถอยของหน้าที่ในหลายๆด้านแบบค่อยเป็นค่อยไป​ (Cognitive decline) ในด้านต่างๆดังต่อไปนี้คือ
1.ผู้ป่วยจะสูญเสีย​ความจำระยะสั้น (Short term memory)
2.ผู้ป่วยสูญเสียด้านการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ( Learning)
3.การเรียนรู้ด้านภาษาช้าลง(Language)​
4.การรับรู้​ด้าน บุคคล เวลาและสถานที่​(Perceptual)​
5.การแก้ไขปัญหา​และการบริหารจัดการ (Executive functions)
6.การมีสมาธิจดจ่อ (Complex attention)
7.ความสามารถในการเข้าสังคม​หรือมีปฏิสัมพันธ์​กับผู้อื่น (Social cognition)

จาก​ปัญหา​ความบกพร่อง​ดังกล่าวนี้ทำให้ผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมมีผลกระทบต่อการดูแลตนเองและเกิดภาวะพึ่งพาผู้อื่น​ ผู้ป่วยบางรายอาจมีพฤติกรรม​และอารมณ์​ที่เปลี่ยนแปลง​ไปร่วมด้วย (Behavior​al and phycological symptoms of Dementia : BPSD)​ ส่งผลให้การดูแลมีความซับซ้อน ยากลำบากมากกว่าการดูแลผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังอื่นๆ เพราะพฤติกรรม​และอารมณ์​ที่เปลี่ยนแปลง​นั้นมีความแปรปรวนทำให้ผู้ดูแลเกิดภาวะเครียด  ความรู้สึกเป็นภาระในการดูแล ฉะนั้นผู้ดูแลจึงต้องวางแผน และมีเทคนิค ใน​การให้การดูแลพื้นฐานในชีวิตประจำวัน​ของผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมเมื่อผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือ

กิจกรรมในชีวิตประจำวัน​ในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมมีดังต่อไปนี้คือ
1.เริ่มการดูแล​ตั้งแต่​ตื่นนอนตอนเช้า  การรับประทาน​อาหาร​ การดื่มน้ำ  การอาบน้ำ  การดูแลทำความสะอาดร่างกาย การขับถ่าย  การแต่งกาย     บางรายอาจไม่ต้องการความช่วยเหลือใดๆ แค่ต้องการคอยเตือนให้กระทำสิ่งต่างๆเท่านั้น
2.หากในกลุ่มผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมลุกลามมากขึ้น จะต้องการการช่วยเหลือในการทำกิจกรรม​ต่างๆมากขึ้นเรื่อยๆ
3.ในกลุ่มผู้ป่วยสมองเสื่อมในระยะสุดท้าย​จะอยู่ในภาวะพึ่งพา ผู้ดูแลหรือญาติต้องเป็นคนทำกิจวัตรประจำวัน​ทุกอย่างให้ผู้ป่วย


คำแนะนำ​สำหรับการดูแลผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม สามารถปรับเปลี่ยน​วิธี​การดูแลให้เหมาะสมกับสถานการณ์​ในแต่ละวันในด้านต่างๆดังนี้

1.การ​รับประทาน​อาหารและน้ำดื่ม  ปัญหาที่พบในผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมคือ ได้รับสารอาหารและน้ำไม่ได้สัดส่วน ไม่ครบถ้วน อาจทำให้เกิดภาวะอ้วน ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ประเด็นที่พบบ่อยคือ

  • รับประทานแล้วคิดว่าไม่ได้รับประทาน
  • ไม่ยอมรับประทานหรือรับประทานเลอะเทอะ​
  • รับประทานสิ่งอื่นที่ไม่ใช่อาหารเช่น สบู่  น้ำยาล้างจาน ดอกไม้ เป็นต้น
  • ไม่ยอมดื่มน้ำเปล่า

แนวทางการแก้ไขปัญหา​

  • จัดตารางการรับประทานอาหารให้ตรงเวลาทุกวันและในสถานที่เดิมโดยยืดหยุ่นตามสถานการณ์​เพื่อหลีกเลี่ยงการทะเลาะระหว่างผู้ดูแลและผู้ป่วย
  • ควรให้เวลากับผู้ป่วยไม่เร่งรีบในการรับประทานอาหาร
  • แบ่งอาหารในการรับประทานทีละน้อยแต่บ่อยครั้งหรือมีผักเช่น แตงกวา
  • เก็บสิ่งที่รับประทานไม่ได้ ให้มิดชิด พ้นสายตาผู้ป่วย
  • กระตุ้นการใช้อุปกรณ์​ในการรับประทานเพื่อไม่ให้เกิดความหลงลืมวิธีการใช้
  • ผู้ดูแลต้องระมัดระวัง​อาหารที่ร้อนจัดเนื่องจากผู้ป่วยขาดความระมัดระวัง​อาจเกิดอันตรายได้
  • จำกัดอาหารโดยจัดเป็นอาหารจานเดียวและได้รับสารอาหารให้ครบถ้วน​


2. การอาบน้ำ​และการดูแลความสะอาดของร่างกาย
      

ผู้ดูแลคอยเตือนให้ผู้ป่วยอาบน้ำ แปรงฟัน​สระผม ล้างมือ​  โกนหนวด ตัดเล็บ เป็นต้น
       ประเด็นที่พบบ่อยๆคือ

  • ลืมอาบน้ำหรือไม่ยอมอาบน้ำ หรือลืมวิธีอาบน้ำ
  • ไม่ดูเเล​ความสะอาดหน้า ผม ช่องปากและฟัน
  • ไม่ยอมให้ช่วยอาบน้ำเนื่องจากอาย เป็นต้น
  • หาห้องน้ำไม่พบเนื่องจากสับสน หรือหลงลืมทางในบ้าน

   แนวทางแก้ไขปัญหา

  • จัดตารางอาบน้ำในเวลาเดิมของทุกวัน อย่าเป็นเวลาค่ำเกินไปเพราะผู้สูงอายุขี้หนาว ใช้น้ำอุ่นอาบเสมอ
  • ปรับเปลี่ยนอุปกรณ์​ให้สะดวกใช้ เนื่องจากความหลงลืม
  • ต้องระวังอุบัติเหตุ​การลื่นล้มในห้องน้ำ มีราวเกาะ หรือพรมที่ลื่นเป็นต้น
  • แนะนำ​ขั้นตอนการอาบน้ำด้วยเสียงที่นุ่มนวล สั้นกระชับ​  เข้าใจง่าย
  • ช่วยเหลือในสิ่งที่ทำเองลำบากเช่น การติดกระดุม การช่วยเช็ดตัวหลังอาบน้ำในบริเวณหลัง ราวนม เพราะความชื้นทำให้เป็นเชื้อราได้ เป็นต้น
  • แนะนำขั้นตอนการดูแลตนเองอย่างเป็นขั้นตอนเช่น การสระผม ล้างหน้า โกนหนวด ตัดเล็บ เป็นต้น

ติดตามเนื้อหาในบทความต่อไปได้เลยค่ะ


สนใจบทความอื่นๆเกี่ยวกับหัวใจติดตามอ่านได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน