ภาวะเลือดออกหรือเลือดคั่งในสมองและอุณหภูมิของร่างกายที่ลดลงมีผลต่อคลื่นไฟฟ้าหัวใจอย่างไร?

แชร์ให้เพื่อน

ภาวะเลือดออกหรือเลือดคั่งในสมองและอุณหภูมิของร่างกายที่ลดลงมีผลต่อคลื่นไฟฟ้าหัวใจอย่างไร?

ปัญหาของโรคหลอดเลือดสมองที่พบได้บ่อยๆในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงนั่นคือเส้นเลือดในสมองแตกส่งผลให้ผู้ป่วยที่มีเลือดออกหรือเลือดคั่งในสมองมีการเปลี่ยนแปลง​ของคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้บ่อยๆโดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีเลือดออกของชั้นเยื่อหุ้มสมอง (Subarashniod​  hemorrhage) โดยไม่ได้เกิดจากอุบัติเหตุ​  แต่เกิดจากการแตกของหลอดเลือด​ในสมองที่เกิดจากการโป่งพอง (Intracranial aneurysm)  และเกิดจากปัญหา​การสร้างหลอดเลือดที่ผิดปกติ (Vascular malformation) รวมถึงเลือดออกในสมองจากอุบัติเหตุ​ต่อศีรษะ​( Head injury)  เนื้องอกในสมองและการอักเสบ​ในสมองก็ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้เช่นกัน แม้ว่าจะยังไม่สามารถอธิบายสาเหตุ​ได้แน่ชัด แต่ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เชื่อว่าเกิดจากการทำงานของประสาทอัตโนมัติ​ที่เปลี่ยนแปลงไปจากปกติทำให้หัวใจห้องล่างผิดปกติไปด้วย
ความผิดปกติในคลื่นไฟฟ้าหัวใจพบได้คือหัวใจเต้นผิดจังหวะแบบต่างๆซึ่งเกิดร่วมกับภาวะหัวใจเต้นช้าซึ่งพบได้บ่อยและในบางรายนั้นอาจเกิดภาวะหัวใจเต้นเร็วได้

การพบความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจเมื่อมีปัญหา​เลือดออกที่ชั้นเยื่อหุ้มสมองซึ่งพบได้บ่อยที่สุด และพบในลำดับถัดมาคือเลือดออกในเนื้อสมอง  เนื่องจากความเปลี่ยนแปลง​ของคลื่นไฟฟ้าหัวใจในกลุ่มผู้ป่วยที่มีเลือดออกในสมอง หากผู้อ่านคลื่นไฟฟ้าหัวใจไม่ได้ตระหนัก อาจทำให้เกิดความผิดพลาดในการแปรผลข้อมูลได้ เช่น การอ่านผลว่าเป็น ภาวะหัวใจขาดเลือด  หรือกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เป็นต้น

อีกภาวะหนึ่งคือ ภาวะอุณหภูมิ​ของร่างกายลดลง (Hypothermia) ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจคือภาวะที่หัวใจเต้นช้าลง(Sinus​bradycardia)
เมื่ออุณหภูมิ​ของร่างกายลดลงส่งผลต่อคลื่นไฟฟ้าหัวใจดังต่อไปนี้คือ
1.เกิดภาวะหัวใจเต้นช้า(Sinus bradycardia)
2.หัวใจเต้นผิดจังหวะ แบบต่างๆ ทั้งหัวใจห้องบนและห้องล่าง
ปัญหาความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าทั้งหมดนี้จะหายไปและกลับคืนสู่ภาวะปกติหากร่างกายได้้รับความอบอุ่นเพิ่มขึ้นนั่นเอง

ถึงแม้ว่ากล้ามเนื้อหัวใจจะทำงานโดยไม่ได้รับการควบคุมจากสมองโดยตรงก็ตามแต่หากสมองได้รับอันตรายอันเนื่องจากภาวะเลือดออกทั้งจากอุบัติเหตุ​และไม่ใช่อุบัติเหตุ​ก็ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของคลื่นหัวใจตามมาได้ หากผู้แปลผลคลื่นไฟฟ้าไม่ได้ตระหนักอาจแปรผลผิดพลาดได้


สนใจบทความอื่นๆเกี่ยวกับหัวใจติดตามอ่านได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

ภาวะหัวใจห้อง​ล่าง​เต้นพลิ้ว ไม่เป็นจังหวะ

แชร์ให้เพื่อน

ภาวะหัวใจห้อง​ล่าง​เต้นพลิ้ว ไม่เป็นจังหวะ(Ventricular Fibrillation:VF) เกิดขึ้นจากอะไร?

เหตุการณ์​นี้เกิดขึ้นกับหลานชายคนที่สองเมื่อครั้งสมัยเป็นเด็กชายตัวเล็กๆเนื่องจากความอยากรู้อยากเห็นชอบเอานิ้วแหย่ตามรูต่างๆ บังเอิญ​ว่าวันนั้นเอานิ้วไปแหย่ปลั๊กไฟ ดีที่พ่อช่วยไว้ทันจึงรอดชีวิตมาจนปัจจุบัน​นี้  และปัญหาหัวใจห้องล่างเต้นพลิ้วนั้นเกิดจากการถูกไฟฟ้าดูด ซึ่งเป็นสาเหตุ​หนึ่งเป็นต้น

ปัญหาของหัวใจห้องล่างเต้นพลิ้ว ไม่เป็นจังหวะ (Ventricular​ Fibrillation)​นั้นเป็นสาเหตุ​หลักของหัวใจหยุดเต้น(Cardiac arrest) ที่พบบ่อยและเป็นสาเหตุ​ของหัวใจหยุดเต้นที่พบบ่อยที่สุดของโรคกล้ามเนื้อหัวใจ​ขาดเลือดและกล้ามเนื้อหัวใจ​ตายเมื่อเกิดภาวะหัวใจห้องล่างเต้นพลิ้ว ไม่เป็นจังหวะ (Ventricular Fibrillation)​ส่งผลให้ไม่มีเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย​ ถ้ามองดูหัวใจห้องล่างจะไม่มีการหดตัวเลยพบได้เพียงแต่เต้นพลิ้วๆเบาๆเท่านั้น

ภาวะหัวใจห้องล่างเต้นพลิ้ว ไม่เป็นจังหวะ (Ventricular​ Fibrillation)​ แสดงให้เห็นในคลื่นไฟฟ้าหัวใจดังนี้คือ
1.จังหวะการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ รูปแบบของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ​เป็นเส้นหยักไปมาทำให้มีความแตกต่างทั้งรูปร่างและขนาด
2.อัตราการเต้นของภาวะหัวใจห้องล่างเต้นพลิ้วจะเร็วมากและยุ่งเหยิง​จนไม่จำเป็นต้องนับ
3.ไม่พบคลื่นไฟฟ้าอื่นๆเช่น P, QRS complex เลยมีเพียงคลื่นที่หยักไปมาเป็นรูปร่างแปลกๆไม่สม่ำเสมอและเกิดถี่มาก


ภาวะหัวใจห้องล่างเต้นพลิ้ว ไม่เป็นจังหวะ​(Ventricular​Fibrillation)​ เป็นสาเหตุ​ของการตายอย่างปัจจุบัน​ทันด่วน แม้บางรายอาจจะเกิดและหายไปได้เองแต่พบน้อย
โรคหรือปัญหาที่ทำให้กล้ามเนื้อ​หัวใจเสียไปอย่างมากๆได้แก่
1.ผู้ป่วยที่ถูกไฟฟ้าดูด
2.กล้ามเนื้อหัวใจตายอย่างเฉียบพลัน
3.การให้ยาดิจิตาลิสจนเป็นพิษ ซึ่งเกิดในช่วงสุดท้าย
4.โรคหัวใจที่ถึงระดับที่รุนแรงทุกชนิด

แนวทางในการรักษา​ของภาวะหัวใจห้องล่างเต้นพลิ้ว ไม่เป็นจังหวะ (Ventricular​ Fibrillation)​คือ การกระตุ้นหัวใจด้วยเครื่องกระตุ้น​ไฟฟ้าร่วมกับการใช้ยากระตุ้นหัวใจซึ่งมักจะได้ผลดีมาก

จะเห็นได้ว่าปัญหา​ภาวะหัวใจห้องล่างเต้นพลิ้ว ไม่เป็นจังหวะ (Ventricular​ Fibrillation)​การช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพ​นั้นต้องอาศัยผู้ที่มีทักษะ​และความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือในการกระตุ้นหัวใจซึ่งพบเห็นได้บ่อยในการช่วยฟื้นคืนชีพ​(CPR)​ขั้นสูงนั่นเอง


สนใจบทความอื่นๆเกี่ยวกับหัวใจติดตามอ่านได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

หัวใจเต้นเร็วและหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเร็ว(Tachycardia and Tachyarrhythmia)

แชร์ให้เพื่อน

หัวใจเต้นเร็วและหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเร็ว (Tachycardia and Tachyarrhythmia)

เมื่อฉันป่วยโรคโควิด 19 มีอาการไข้สูง ท้องเสีย ขาดน้ำ มีความรู้สึกตื่นเต้นกลัวตายเนื่องจากได้รับผลข้างเคียงของยา klacid​ ร่วมด้วย ทำให้มีภาวะหัวใจเต้น​เร็วผิดปกติและภายหลังจากรักษาโควิดหายเป็นปกติและอยู่ในช่วงพักฟื้นมีหัวใจเต้นผิดจังหวะ(ตรวจวัดจากการจับชีพจรเนื่องจากจังหวะการเต้นที่ไม่สมำเสมอขาดหายเป็นช่วงๆ)​

การตรวจคลื่นไฟฟ้า​หัวใจนั้นเป็นเครื่องมือในการช่วยวินิจฉัย​โรคต่างๆ โดยใช้ร่วมกับการซักประวัติ​หรือตรวจร่างกาย และข้อมูลอื่นๆของผู้ป่วยเพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรค​ได้ถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้น หากการวินิจฉัยโรค​โดยอาศัยคลื่นไฟฟ้าหัวใจอย่างเดียวอาจเกิดความผิดพลาดได้ เนื่องจากผู้ป่วยมีโรคหัวใจอยู่แต่พบคลื่นไฟฟ้าหัวใจปกติ หากพยาธิ​สภาพยังไม่รุนแรง เช่น ผู้ป่วยโรคหัวใจพิการมาแต่กำเนิดชนิด  Ventricular septal defect ที่รูไม่โตมากหรือโรคหัวใจรูมาติคทั้งชนิดลิ้นตีบหรือลิ้นรั่วแต่เพียงเล็กน้อยเป็นต้น

โรคหัวใจเต้นเร็ว (Sinus tachycardia) คือ ภาวะที่หัวใจเต้นเร็วกว่า 100  ครั้งต่อนาทีแต่ไม่เกิน 160 ครั้งต่อนาที  โดยที่จังหวะการเต้นยังปกติ ส่วนภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะนั้น หัวใจอาจเต้นปกติ  ช้าหรือเร็วกว่าปกติก็ได้เรียกว่า sinus arrhythmia

สิ่งที่พบในคลื่นไฟฟ้าหัวใจเมื่อมีภาวะหัวใจเต้นเร็ว (Sins Tachycardia)​คือ
1.จังหวะของการเต้นของหัวใจสม่ำเสมอ
2.อัตราการเต้นของหัวใจมากกว่า100 ครั้งต่อนาที(สามารถตรวจเจ็บชีพจรได้เองโดยยังไม่ต้องตรวจโดยใช้เครื่องมือ)​
3.ในเด็กอ่อนและเด็กจะมีหัวใจเต้นเร็วเสมอถือว่าเป็นสิ่งปกติได้
4.ในขณะออกกำลังกาย​หรือออกแรงพบได้ ถือว่าปกติ
5.เกิดขึ้นในภาวะการเปลี่ยนแปลง​ทางอารมณ์​เช่น ตื่นเต้น ดีใจหรือตกใจ เสียใจ เป็นต้น
6.หากเกิดการเสียเลือดหรือน้ำในร่างกาย
7.กลุ่มที่มีภาวะหัวใจวาย
8.การมีไข้ โลหิตจาง​ โรคตับที่รุนแรง  โรคเหน็บชา​  ต่อมธัยรอยด์​ทำงานมากกว่า​ปกติ
9.ภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ​(Constrictive pericarditis)

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ​(Sinus arrhythmia) มี 2 ชนิดคือ
1.ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่สัมพันธ์​กับการหายใจ (Respiratory sinus arrhythmia) พบได้บ่อยและถือว่าปกติ เพราะหัวใจจะเต้นเร็วขึ้นขณะหายใจเข้าและหัวใจจะเต้นช้าลงขณะหายใจออก ดังนั้นในคลื่นไฟฟ้า​หัวใจจะพบว่าอัตราการเต้นของหัวใจจะเร็วและช้าสลับกันไป ขณะที่รูปแบบของคลื่นไฟฟ้าหัวใจนั้นปกติหมดทุกอย่างเป็นต้น โดยทั่วไปนั้นพบได้บ่อยในเด็กซึ่งเห็นชัดกว่าผู้ใหญ่
2.เกิดจากการหดตัวของ​กล้ามเนื้อ​ของเวนทริ​เคิล​(Ventriculophasic sinus arrhythmia) พบได้ไม่บ่อย

สิ่งที่พบในคลื่นไฟฟ้า​หัวใจเมื่อมีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ(Sinus arrhythmia) ได้แก่
1.การให้ยาชนิดต่างๆเช่น ยามอร์ฟีน​ดิจิตาลิส
2.ภาวะที่พบในผู้สูงอายุหรือผู้ที่เป็นโรคหัวใจโดยยังไม่ทราบสาเหตุ​ว่าเกิดจากอะไร
3.การกด carotid sinus
4.พบบ่อยในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายแบบเฉียบพลัน
5.พบได้ในช่วงระยะพักฟื้นหลังจากร่างกายเกิดโรคอย่างเฉียบพลัน​
6.ภาวะที่มีความดันในสมองสูงกว่าปกติ

เห็นได้ว่าการเกิดภาวะหัวใจเต้นเร็วกว่าปกติหรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ​บางครั้งอาจเกิดจากกลไกการปรับตัวของร่างกายเพื่อรักษา​สมดุลในแต่ละช่วงเช่น การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์​ การเปลี่ยนแปลงภาวะสมดุลของเกลือแร่หรือสารน้ำต่างๆ หากยังไม่ได้ตรวจพบความผิดปกติอื่นๆร่วมด้วยก็ไม่ต้องตกใจเพราะอาจก่อให้เกิดความเครียดและมีผลเสียต่อสุขภาพกายและสุขจิตได้


สนใจบทความอื่นๆเกี่ยวกับหัวใจติดตามอ่านได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

4 วิตามินช่วยให้แผลหายเร็วขึ้นในผู้ป่วยอุบัติเหตุ​ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

แชร์ให้เพื่อน

4 วิตามินช่วยให้แผลหายเร็วขึ้นในผู้ป่วยอุบัติเหตุ​ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

การเกิดอุบัติเหตุ​จากโดนความร้อน ไฟไหม้ น้ำร้อนลวกนั้นสร้างความเจ็บปวดทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก เนื่องจากหากระดับบาดแผลที่รุนแรงจะเกิดความพิการและสูญเสียภาพลักษณ์​อย่างรุนแรงบางรายอาจยอมรับสภาพไม่ได้ การให้วิตามินเพื่อช่วยให้บาดแผลหายเร็วขึ้นได้แต่ก็ไม่ทั้งหมดต้องขึ้นอยู่กับปัจจัย​อื่นๆอีกด้วย

ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บและมีบาดแผลจากความร้อนและอุบัติเหตุ​นั้นจะพบปัญหาภาวะพร่องวิตามินหรือขาดวิตามินนั่นเอง ยิ่งการบาดเจ็บรุนแรงก็จะยิ่งขาดวิตามินมากขึ้นตามมาด้วย พบว่าระดับวิตามินในเลือดจะลดต่ำลง และปริมาณ​การขับถ่ายทางปัสสาวะ​ก็น้อยลงตามมา แม้จะได้ให้ทดแทนหรือเสริมให้แล้วก็ตาม มาดูกันเลยว่ามีวิตามินอะไรบ้าง?

1.กลุ่มของวิตามิน B กลุ่มวิตามินบีช่วยในการเผาผลาญ​ของสารอาหารคาร์โบไฮเดรต​และช่วยในการหายของบาดแผล เช่น วิตามิน บี1 (Thiamine) สามารถให้ทดแทนทางหลอดเลือดดำได้ พบมากในอาหารจำพวกเนื้อหมู ไข่แดง  นม ถั่ว ข้าวซ้อมมือ และเมล็ดทานตะวัน  เป็นต้น   วิตามินบี2  (Riboflavin) พบมากในอาหารจำพวกข้าว ธัญพืช​  เนื้อสัตว์ไข่ นม เครื่องในสัตว์  ตับ และผักใบเขียวต่างๆ   วิตามินบี5 (Pantothenic acid) พบมากในอาหารจำพวก ข้าว  เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์  ถั่ว และผักใบเขียว เป็นต้น วิตามินบี6 (Piridoxine)​ พบมากในอาหารจำพวก เนื้อสัตว์​ ปลา ไก่ ตับ ไข่แดง นม  ข้าวกล้องเป็นต้น

2.วิตามิน C วิตามินซีนั้น มีสารต้านอนุมูล​อิสระ​ที่​ช่วยในการหายของแผลได้ดีขึ้น ในผู้ป่วยวิกฤติ​พบปริมาณ​วิตามินซีในเลือดลดลงถึง 50% ของคนปกติภายใน 48 ชั่วโมง จึงสามารถให้วิตามินซีทางหลอดเลือดดำในผู้ป่วยอุบัติเหตุ​ที่มีการสูญเสียและความต้องการเพิ่มขึ้นโดยให้วิตามินซี ขนาด 1 กรัมต่อวัน นาน 2-3 สัปดาห์​โดยไม่มีผลข้างเคียง​แต่อย่างใด​  ซึ่งเป็นปริมาณ​ที่ยอมรับได้  พบมากในอาหารจำพวกผลไม้เช่น ส้ม มะขามป้อม​ สตรอเบอรี่​  ฝรั่ง ลิ้นจี่ เป็นต้น

3.วิตามิน A โดยปกติแล้ววิตามมินเอ สะสม​อยู่ในตับเป็นปริมาณมาก​ช่วยเสริมด้านระบบภูมิคุ้มกัน​  กระตุ้นการแบ่งตัวของ  fibroblast และการสร้าง collagen ต่อต้านผลเสียของคอติโคสเตอรอยด์​ ต่อการหายของบาดแผล การเสริมด้วยวิตามินเอจะช่วยเสริมปริมาณ​ของคอลลาเจน​เพิ่มขึ้น​และช่วยให้แผลแข็งแรง​ขึ้น สามารถให้ทดแทนทางหลอดเลือดดำในกลุ่มผู้ป่วยที่มีบาดแผลจากความร้อน พบมากในอาหารจำพวก​ ตับ  ไข่แดง น้ำมันตับปลา แครอท ฟักทอง มะละกอสุก ตำลึง ยอดแค และผักใบเขียวชนิดต่างๆ เป็นต้น

4.วิตามิน E  ในผู้ป่วยที่บาดเจ็บ​จากความร้อนและวิกฤติ​อื่นๆ มีวิตามินอีในเลือดลดต่ำ​ลง​  สารต้าน​อนุมูล​อิสระภายในร่างกายมีความสำคัญ​และจำเป็นสำหรับเนื้อเยื่อที่เกิดการอักเสบ​  การให้วิตามินอีจะช่วยลดการสลายตัวของคอลลาเจน​ได้ โดยสามารถให้ชดเชย​ผ่านทางเส้นเลือด​ดำได้ พบมากในอาหารจำพวก น้ำมันจมูกข้าวสาลี น้ำมันดอกคำฝอย  น้ำมันเฮเชลนัท เมล็ดทานตะวัน อัลมอนด์​ หอยเป๋าฮื้อ​  เป็นต้น

วิตามินทั้ง4ชนิดนี้จึงมีในรูปของสารละลายที่สามารถให้ทางหลอดเลือดดำทดแทนการรับประทานทางปากเนื่องจากในภาวะวิกฤติ​ผู้ป่วยอาจรับประทานอาหารได้วิตามินไม่เพียงพอกับความต้องการและมีการสูญเสียของวิตามินทั้ง4ชนิดจากแผลโดนความร้อน และวิตามินดังกล่าวช่วยเสริมสร้างผิวหนังให้มีความแข็งแรงและช่วยกระตุ้นการหายของแผลได้เร็วขึ้นได้


สนใจบทความอื่นๆเกี่ยวกับหัวใจติดตามอ่านได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

คาร์บอนเครดิต​  สารมลพิษหลักทางอากาศ เกี่ยวข้องกับโรคทางเดินหายใจอย่างไร?

แชร์ให้เพื่อน

คาร์บอนเครดิต​  สารมลพิษหลักทางอากาศ เกี่ยวข้องกับโรคทางเดินหายใจอย่างไร?

โรคทางเดินหายใจที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ​เป็นอันตรายคุกคามต่อปอดและทางเดินหายใจ ซึ่งมลพิษทางอากาศ​เป็นสาเหตุ​และปัจจัย​สำคัญทำให้เกิดอาการกำเริบได้ในผู้ป่วยโรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ไซนัส​อักเสบ  ภูมิแพ้  และโรคมะเร็งปอด ส่งผลให้เสียชีวิตตามมาได้

มลพิษทางอากาศ​เป็นภัยคุกคามในกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น เด็ก สตรีมีครรภ์​ ผู้สูงอายุ  ผู้ที่เป็นโรคปอดหรือโรคหัวใจ

มลพิษทางอากาศ​เกิดจากฝีมือของมนุษย์และภัยธรรมชาติเช่น

  • จากฝีมือของมนุษย์ เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิงของกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม​ ภาคการเกษตร​  การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารเคมีต่างๆ  ควันธูป​  บุหรี่  ไอเสียจากรถยนต์​ และยานพาหนะ​ต่างๆ
  • จากธรรมชาติ เช่น  ไฟป่า  การระเบิดของภูเขาไฟ  การเน่าเปื่อย ฝุ่นละออง

อาการและผลกระทบ​ต่อภาวะสุขภาพของมลพิษ​ทางอากาศ​ได้แก่
1.การระคายเคืองของทางเดินหายใจ  ตา จมูก และคอ ส่งผลให้เกิดอาการไอ แน่นหน้าอก  วิงเวียน เซื่องซึม​ ปวดศรีษะ​ หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น หมดสติ และอาจทำให้เสียชีวิตตามมาได้
2.อันตรายต่อหัวใจ ในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดรุนแรง​หรือเฉียบพลัน​ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ  หัวใจวาย  ทำให้เกิดภาวะหัวใจ​หยุดเต้นและเสียชีวิต​ตามมาได้ ทั้งยังทำให้หลอดเลือดแข็งนำไปสู่ภาวะหัวใจวายและหลอดเลือดสมองตีบ
3.เกิดอันตรายต่อสมอง  การได้รับมลพิษ​ทางอากาศ​ที่ต่อเนื่องทำให้หลอดเลือดในสมองแข็งตัว  เลือดหนืดและข้น ความดันโลหิต​สูง ทำให้ระบบประสาท​ผิดปกติ

 

เราสามารถ​หลีกเลี่ยง​มลพิษทางอากาศ​ได้โดย
1.หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้ง หรือนอกบ้าน หรือแหล่งที่มีมลพิษทางอากาศ​สูง
2.จัดสถานที่ให้ถ่ายเทอากาศ​บริสุทธิ์​โดยการติดตั้งพัดลม​ดูดอากาศ
3.ลดการทาสีบ้าน  ลดการใช้ฝ้าเพดาน​ที่ใช้แร่ใยหิน  การใช้กระดาษ​ทรายขัดไม้  การเลื่อยไม้
4.ดูแลความสะอาดบ้านสม่ำเสมอ ลดการใช้สิ่งที่ทำให้เกิดเผาไหม้​ ควันธูป​ อาหารปิ้งย่าง
5.สวมหน้ากากป้องกันที่เหมาะสม​เช่น N95 N99 เป็นต้น
6.หมั่นตรวจสุขภาพ​ประจำปี​ทางปอดเพื่อคัดกรองโรคทางเดินหายใจ
7.กลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว​เช่น หอบหืด  ภูมิแพ้ ควรติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง

คาร์บอน​เครดิต​คือ ปริมาณ​ก๊าซ​เรือนกระจก​ที่สามารถลดได้จากการดำเนินกลไก​การพัฒนา​ที่สะอาด  นำมาใช้​เพื่อเป็นกลไกในประเทศที่พัฒนาแล้วเพื่อแก้ปัญหา​ภาวะโลกร้อนโดยสามารถหาซื้อโควต้า​คาร์บอน​จากผู้ประกอบการในประเทศกำลังพัฒนาที่มีโครงการพัฒนาที่สะอาด ที่เรียกว่า การค้าขายแลกเปลี่ยนก๊าซเรือนกระจก​

ก๊าซ​เรือนกระจก​มี 4 กลุ่มมีผลต่อสุขภาพคือ
1.คาร์บอน​ไดออกไซด์​ หากร่างกายได้รับในปริมาณ​มากทำให้เกิดปวดศีรษะ​ วิงเวียน คลื่นไส้อาเจียน
2.มีเทน
3.ไนตรัสออกไซด์​
4.ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออกไซด์​

มลพิษ​หลักทางอากาศ​ที่สำคัญคือ ฝุ่นละออง​  ตะกั่ว ก๊าซ​คาร์บอน​มอนอกไซด์ทำให้มีอาการ​มึนงง ง่วงนอน  ก๊าซ​ซัลเฟอร์​ไดออกไซด์​ ทำให้เกิดอาการหอบติดเชื้อในปอดได้

การปลูกป่าช่วยลดภาวะโลกร้อนหรือก๊าซเรือนกระจก​ได้จริงหรือ ได้มีการปลูกป่าเพื่อเก็บคาร์บอน​เครดิตทดแทนในธุรกิจ​โรงไฟฟ้าที่ช่วยดูดซับคาร์บอน​ไดออกไซด์​ แต่ก็ไม่ใช่แนวทางการแก้ปัญหาก๊าซเรือนกระจกที่ถูกต้องเพราะเท่ากับเป็นการเอื้อประโยชน์​ในธุระกิจสร้างความชอบธรรม​ในการปล่อยก๊าซ​เรือนกระจกต่อไป


สนใจบทความอื่นๆเกี่ยวกับหัวใจติดตามอ่านได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

การพยาบาลแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกในเด็ก(Burn in children)

แชร์ให้เพื่อน

การพยาบาลแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกในเด็ก(Burn in children)

การเกิดแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกในเด็กเล็กมักพบได้บ่อยเช่น อันตรายจากนมที่ร้อนจัด ทำให้เกิดการบาดเจ็บในช่องคอ ทางเดินหายใจ สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองควรต้องให้ความสำคัญในการดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อลดปัญหาที่จะเกิดตามมา สำหรับแนวทางในการรักษา​ผู้ป่วยเด็กที่เกิดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกก็มีความแตกต่างอย่างมากกับผู้ป่วยผู้ใหญ่โดยเฉพาะในเรื่องของสัดส่วนของร่างกาย ความหนาและแข็งแรงของผิวหนัง ระยะเวลาการหายของแผล(wound healing) ระบบการเผาผลาญ​อาหาร(metabolism)​ ภาวะความสมดุลของร่างกาย(Homeostasis)

การดูแลแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกในจุดเกิดเหตุ

เน้นการลดระยะเวลาในการสัมผัส​ความร้อนของเด็กโดยการดับไฟ หรือลดอุณหภูมิ​โดยรีบถอดเสื้อผ้าหรือดับไฟที่ติดกับเสื้อผ้าและซับบริเวณ​บาดแผลด้วยผ้าที่สะอาด ชุ่มน้ำเย็น ไม่ควรใช้น้ำแข็งเพราะจะทำให้เกิดการบาดเจ็บ​ของผิวหนังมากขึ้นได้ และห่อแผลด้วยผ้าที่สะอาดเพื่อลดการปนเปื้อนของแผลและป้องกันการสูญเสียความร้อน ลดความแสบร้อน เจ็บปวดและรีบนำส่งสถานพยาบาลเพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัย ลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจตามมาได้

การติดตามดูแลผู้ป่วย burn ในเด็กที่มีความรุนแรง จึงต้องติดตามดูแลในประเด็นดังต่อไปนี้​

1.การติดตามสัญญาณ​ชีพ โดยเฉพาะอัตราการเต้นของหัวใจในช่วง 24-72 ชมแรก หากหัวใจเร็วผิดปกติมีผลทำให้เกิดภาวะ hypovolemia ได้ ความดันโลหิต ต้องให้อยู่ในเกณฑ์​ใกล้เคียง​ปกติมากที่สุด
2.การติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจ(ECG)​ในผู้ป่วยที่โดนไฟดูดเพื่อตรวจดูภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะขาดออกซิเจน(hypoxia) ความสมดุลกรดด่างในร่างกาย(Electrolyte imbalance) เพื่อแยกประเด็นจากผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจอยู่เดิม
3.การติดตามดูแลในระบบทางเดินหายใจ การหายใจลำบาก หายใจขัด การฟังเสียงการหายใจ(Breathing sound) การตรวจวัดระดับออกซิเจน​ในเลือด(oxigen​ saturation) อย่างต่อเนื่อง โดยเน้นในกลุ่มที่สูดควันหรือมีบาดแผลบริเวณลำคอ อาจทำให้เกิดทางเดินหายใจบวมหรือตีบตัน​ได้ การดูแลทางเดินหายใจโดยการกระตุ้นการไอ การดูดเสมหะ การพลิกตะแคงตัว เป็นต้น
4.การติดตามการทำงานของไต ปริมาณ​ของปัสสาวะโดยเฉพาะในช่วงวิกฤติ​ ค่าแรงโน้มถ่วงจำเพาะของปัสสาวะ ระดับน้ำตาลในปัสสาวะ​ในรายที่มีความเครียดหรือภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด(Sepsis) อาจเป็นสาเหตุ​หนึ่งที่ทำให้มีปัสสาวะ​ออกมากขึ้นได้
5.การติดตามด้านระบบประสาท กรณีพบว่ามีบาดเจ็บที่ศีรษะ​ร่วมด้วยเช่นตกจากที่สูง ต้องบันทึกสัญญาณ​ทางระบบประสาท​( neurological sign) ได้แก่ ระดับความรู้สึกตัว pupillary เป็นต้น
6.การติดตามอุณหภูมิ​ของร่างกาย ต้องควบคุมให้ใกล้เคียง​กับปกติ เพราะผู้ป่วย burn นั้นจะสูญเสียผิวหนังที่จะช่วยปรับอุณหภูมิ​ของร่างกาย
7.การติดตามประเด็นการติดเชื้อที่บาดแผลรวมถึงการติดเชื้อในกระแสเลือด(Sepsis)​ เพราะเป็นประเด็นปัญหาที่สำคัญในผู้ป่วย Burn เนื่องจากบาดแผลมีการปนเปื้อนจากผิวหนังสูญเสียหน้าที่ โดยการส่งตรวจสารคัดหลั่งจากแผล สังเกตุ​ลักษณะ​กลิ่น สีของบาดแผลที่เปลี่ยนแปลง​เพื่อเฝ้าระวังการติดเชื้อที่บาดแผลและในกระแส​เลือด​(Sepsis)​ตามมาได้ การมีไข้ไม่ทราบสาเหตุ​ ปวดแผลมากขึ้น มีการบวมและแดงของเนื้อเยื่อรอบๆบาดแผล เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าในรายที่มีพยาธิสภาพที่รุนแรงอาจทำให้มีความพิการทำให้เกิดปัญหา​ทางจิตใจร่วมด้วย ดังนั้นการดูแลผู้ป่วยแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกนอกจากจะเน้นแก้ไขและป้องกันปัญหาทางร่างกายแล้วต้องให้ความสำคัญด้านจิตใจเนื่องจากผู้ป่วยเสียภาพลักษณ์​ตามมา หากการรักษาจนแผลหายดีแล้ว ควรหลีกเลี่ยง​ไม่ให้แผลถูกแสงแดดประมาณ​3-6เดือน ใช้​น้ำมัน​มะกอกหรือ baby oil ชะโลมผิวหนังเพื่อลดอาการแห้งและคันเพราะผิวหนัง​ใหม่ยังไม่แข็งแรง​ ต่อมต่างๆยังทำงานไม่ได้เต็มที่หากคันมากอาจต้องกินยาแก้แพ้เป็นครั้งคราวได้


สนใจบทความอื่นๆเกี่ยวกับหัวใจติดตามอ่านได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

ความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจในโรคของต่อมธัยรอยด์

แชร์ให้เพื่อน

ความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจในโรคของต่อมธัยรอยด์

ภาวะการ​เจ็บป่วย​เป็นสิ่งที่ทุกคนไม่ปรารถนา​บางครั้งความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจอาจตรวจพบโดยบังเอิญ​จากการตรวจสุขภาพประจำปีหรือตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานได้

ความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจมีความสัมพันธ์​กับโรคต่อมธัยรอยด์​ทำงานน้อยกว่าปกติ (Hypothyroid) และโรคต่อมธัยรอยด์​ทำงานมากกว่าปกติ(Hyperthyroidism)

Continue reading

แชร์ให้เพื่อน

มนุษย์กับต้นไม้ ต่างกันตรงใหนในเชิงชีววิทยา?

แชร์ให้เพื่อน

มนุษย์กับต้นไม้ ต่างกันตรงใหนในเชิงชีววิทยา?

มนุษย์​หรือสัตว์และต้นไม้หรือพืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่ต้องพึ่งพาอาศัยกันบนโลกใบนี้  มีความต้องการอากาศ​ในการหายใจ สารอาหารและแร่ธาตุ​เพื่อให้เจริญเติบโต  ต้องการที่อยู่อาศัย  ต้องการยารักษาโรค และต้องการแพร่เผ่าพันธุ์

Continue reading

แชร์ให้เพื่อน

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดในขณะออกแรง (Angina Pectoris)

แชร์ให้เพื่อน

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดในขณะออกแรง (Angina Pectoris)

เมื่อฉันรู้สึกแน่น ปวด อึดอัด หายใจไม่ออก ปวดร้าวขึ้นตามลำคอแล้วหยุดอยู่ที่ขากรรไกรทั้ง2ข้าง ร้าวมาที่ไหล่ แขน ข้อมือ ลงมาที่ปลายนิ้ว เกิดขึ้นภายในระยะเวลา 3-5นาทีหลังจากนั้นปวดมากขึ้นจนต้องนั่งพักหรือนอนพักอาการดังกล่าวจึงจะดีขึ้น
อาการที่กล่าวมาข้างต้นเป็นอาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดในขณะออกแรงเป็นภาวะหนึ่งของโรค Ischemic​ heart disease (coronary heart disease) ซึ่งมีความรุนแรงน้อยกว่าโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย (myocardial infarction) เกิดจากในขณะออกแรง​นั้นหลอดเลือดแดงโคโรนารี่ส่งเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอกับความต้องการของหัวใจแต่ในขณะที่ร่างกายพักผ่อนอยู่กับที่หรือไม่มีการออกกำลังกาย​เลือดจะไปเลี้ยงหัวใจได้เพียงพอ  การวินิจโรคอาศัยการซักประวัติสำคัญมากที่สุด การตรวจร่างกายและการตรวจทางห้องปฏิบัติการไม่มีประโยชน์ในการวินิจฉัยโรค

อาการที่สำคัญที่สุดคือ ปวด แน่นหน้าอก ซึ่งมีลักษณะ​เฉพาะดังต่อไปนี้
1.มีอาการแน่นหรือปวดกลางอกและใต้กระดูกอกรู้สึกเกิดขึ้นลึกๆ ตำแหน่งที่พบบ่อยบริเวณด้านหน้าของหัวใจ( precordium)​
2.เหตุที่ทำให้มีอาการแน่นหรือปวดเกิดจากการออกกำลังกาย​หรือการออกแรงมากเกินไป
3.ระยะเวลาเกิดอาการประมาณ​3-5นาที และรุนแรงจนต้องนั่งหรือนอนพัก
4.อาการดีขึ้นหรือหายไปเมื่อได้พักอยู่กับที่หลังจากนั้นถึงออกแรงได้อีกครั้ง
5.อาการส่วนใหญ่มักบ่นว่า แน่น ปวด อึดอัด หายใจไม่ออก
6.มีอาการปวดร้าวไปที่อวัยวะอื่นๆเช่นแขน ร้าวไปคอ ขากรรไกร หรือแก้ม ไหล่ ข้อมูล และปลายนิ้ว หรือบางรายอาจไม่มีอาการดังกล่าวก็ได้

การทดสอบด้วยการออกกำลังกาย(Exercise test)

โดยให้ผู้ป่วยหรือคนปกติออกกำลังกายโดยการเดินบนสายพานที่หมุนอยู่ตลอดเวลาโดยการเพิ่มความความชันและอัตราความเร็วมากขึ้นเรื่อยๆแล้วบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจก่อนการออกกำลังกาย ขณะออกกำลังกายและหลังการออกกำลังกาย​  เพื่อหาสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นในคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งช่วยบ่งชี้ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้

ข้อห้ามของการทดสอบด้วยการออกกำลังกาย​ หากมีอาการหรือสภาวะดังต่อไปนี้ต้องงดเว้นการทดสอบด้วยการออกกำลังกาย​
1.ผู้ป่วยที่กำลังจะเป็นหรือเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายอย่างเฉียบพลัน(Acute myocardial infarction)
2.ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรค​  unstable angina
3.ผู้ป่วยที่มีเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบอย่างเฉียบพลัน​หรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ​อย่างเฉียบพลัน
4.ผู้ป่วยที่มีลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบอย่างรุนแรง
5.ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจวายอย่างชัดเจน
6.ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิต​สูงอย่างรุนแรง
7.ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่ไม่สามารถควบคุมได้
8.ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บป่วยทางกายอื่นๆ
9.ผู้ที่ไม่สมัครใจทำการทดสอบ

ข้อบ่งชี้ในการทำ
1.เมื่อผู้ป่วยมีอาการแน่นหรือเจ็บหน้าอก  แต่ไม่แน่นพอที่จะวินิจฉัย​ว่าเป็นโรคหัวใจขาดเลือด
2.ทำเพื่อวิเคราะห์โรคหัวใจขาดเลือดในขณะที่​ยังไม่เกิดอาการใดๆทั้งสิ้น เช่น นักบิน เป็นต้น
3.ทำเพื่อดูหรือเปรียบเทียบผลของการรักษา

ข้อห้าม
1.คนที่กำลังเป็นและจะเป็นกล้ามเนื้อหัวใจตายอย่างเฉียบพลัน​
2.คนที่กำลังอยู่ในภาวะหัวใจวาย
การทดสอบด้วยการออกกำลังกายช่วยในการพยากรณ์โรคหัวใจขาดเลือดได้ แต่ไม่ใช่ว่าจะทำได้ทั้งหมด


สนใจบทความอื่นๆเกี่ยวกับหัวใจติดตามอ่านได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

คลื่นไฟฟ้าหัวใจคืออะไร?

แชร์ให้เพื่อน

คลื่นไฟฟ้าหัวใจคืออะไร?
ระดับโพแทสเซียม​มีผลต่อคลื่นไฟฟ้าหัวใจอย่างไร?

คลื่นไฟฟ้าหัวใจที่จะกล่าวถึงดังต่อไปนี้ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับความรักแต่ประการใด แต่คลื่นไฟฟ้าหัวใจใช้เป็นเครื่องมือในการวินิจฉัยโรคต่างๆ ร่วมกับการซักประวัติ​ ตรวจร่างกายและข้อมูลอื่นๆ เพื่อให้สามารถวินิจฉัยโรคได้ถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้น
คลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติบางครั้งก็ไม่ได้มีพยาธิสภาพหรือเป็นโรคหัวใจแต่อย่างใด เนื่องจากพยาธิสภาพของโรคดังกล่าวไม่รุนแรง เช่น ผู้ป่วยมีโรคหัวใจพิการมาแต่กำเนิดชนิด Ventricular Septal Defect) ที่รูไม่ใหญ่มากหรือโรคหัวใจรูมาติคทั้งชนิดลิ้นตีบหรือลิ้นรั่ว แต่เป็นเพียงเล็กน้อย 
ในขณะที่บางรายมีหัวใจปกติก็อาจมีคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติได้ เช่นกัน

ประโยชน์​ของคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่มีต่อโรคหัวใจ
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อประกอบการวินิจฉัยโรคหัวใจนั้นเป็นที่ยอมรับมาช้านานทั่วโลกเพื่อบอกถึงพยาธิสภาพที่เปลี่ยนไปมีดังต่อไปนี้คือ
1.โรคหัวใจขาดเลือด (Ischemic​  heart disease) ในระยะต่างๆ โดยเริ่มตั้งแต่แรกๆภาวะของหัวใจขาดเลือดช่วงแรก จนถึงกล้ามเนื้อหัวใจได้รับอันตราย สุดท้ายทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายนั่นเอง (Myocardial Infraction)
2.การที่หัวใจเต้นผิดจังหวะ(Arrhythmia)​การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจช่วยบอกชนิดของการเต้นผิดจังหวะได้อย่างถูกต้องและแม่นยำยิ่งขึ้น
3.โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบซึ่งพบได้ตั้งแต่ระยะเฉียบพลัน​จนถึงระยะเรื้อรัง
4.Ventricular hypertrophy  คือภาวะหัวใจห้องล่างโตกว่าปกติ
5.Atrial enlargement หรือ hypertrophy คือภาวะหัวใจห้องบนโตกว่าปกติ
6.ผลจากการใช้ยาเพื่อรักษาโรคบางชนิดซึ่งอาจเป็นผลจากยา ได้แก่การได้รับยาดิจิตาลิส หรือควินิดีน และยารักษาโรคอื่นๆอีกมากมายที่มีผลต่อคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
7.ภาวะไม่สมดุลของเกลือและแร่ธาตุ โดยเฉพาะโพแทสเซียม​ที่ผิดปกติในระดับที่สูงหรือต่ำกว่าปกติ เป็นต้น

ในบทความนี้จะขอกล่าวถึงความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติจากภาวะโพแทสเซียม​ในเลือดสูงกว่าปกติและต่ำกว่าปกติ
1.ภาวะโพแทสเซียม​ในเลือดสูงกว่าปกติ(Hyperkalemia)​  โพแทสเซียม​เป็นเกลือแร่ชนิดหนึ่งมีหน้าที่ในการยืดหดตัวของกล้ามเนื้อโดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ  ช่วยรักษาสมดุลกรดด่างของร่างกาย ควบคุมความดันโลหิต สำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ทำให้ประสิทธิภาพ​การขับโพแทสเซียม​ลดลงเกิดภาวะโพแทสเซียม​คั่งในร่างกายได้ ส่งผลให้เกิดการคั่งของน้ำในร่างกาย  หัวใจเต้นเร็วผิดปกติได้  เราทราบได้จากการเจาะเลือดไปตรวจทางห้องปฏิบัติการ และใช้คลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นเครื่องมือยืนยันเท่านั้น  ความผิดปกติของ T wave พบเมื่อระดับโพแทสเซียม​ในเลือดสูงเกินกว่า 5.5 mEqต่อลิตรขึ้นไป ทำให้เกิดอันตรายต่อหัวใจ ถ้าเป็นมากขึ้นโดยไม่ได้รับการแก้ไขจะทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ​ชนิดที่เป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ง่ายและกระทันหันด้วยเรียกว่าภาวะหัวใจหยุดเต้น(Cardiac arrest) อาหารที่มีโพแทสเซียม​สูงได้แก่  ทุเรียน  ฝรั่ง  ถั่วเมล็ด​แห้ง นม กล้วย  ลำใย ลูกเกด ลูกพรุน แครอท มะเขือเทศ  หน่อไม้ฝรั่ง หัวปลี  ผักชี มันฝรั่งเป็นต้น
2.ภาวะโพแทสเซียม​ในเลือดต่ำกว่าปกติ (Hypokalemia)​ ความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจคือ T wave จะเตี้ยหรือแบนราบ และหัวกลับ ST segment ลงต่ำ เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะร่วมกับการได้รับยาดิจิตาลิส ระดับโพแทสต่ำกว่า 2.7 mEqต่อลิตร ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจช่วยวินิจฉัย​ได้แม่นยำ​ถึงร้อยละ 78 สำหรับแนวทางการรักษาโดยให้เกลือโพแทสเซียม​ทดแทน การเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าจะหายไปอย่างรวดเร็วเช่นกัน

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจนั้นใช้เป็นเครื่องมือเพื่อประกอบการวินิจฉัยแยกโรคหรือยืนยันสนับสนุนในการวินิจฉัยทั้งนี้ต้องอาศัยข้อมูลอื่นๆมาสนับสนุนประกอบเช่นการตรวจร่างกาย การซักประวัติ หากเป็นการตรวจหาโดยไม่มีข้อมูลสนับสนุนที่ชัดเจนแล้วอาจเป็นประเด็นการตรวจสุขภาพได้เช่นกัน

สนใจบทความอื่นๆเกี่ยวกับหัวใจติดตามอ่านได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน