6 โรคเรื้อรัง   โรคร้ายใกล้ตัว  (ตอนจบ)​

แชร์ให้เพื่อน

6 โรคเรื้อรัง   โรคร้ายใกล้ตัว  (ตอนจบ)​

การใช้ชีวิต​ในปัจจุบันนี้ มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค​เรื้อรัง​ต่างๆ ทำให้เกิดความเครียด​และส่งผลกระทบต่อร่างกาย​  จิตใจ​  อารมณ์​และสังคม
โรคเรื้อรัง หมายถึงภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังที่มีองค์ประกอบ​ดังต่อไปนี้คือ

  • เป็นความเจ็บป่วยอย่างถาวร
  • การดำเนินของโรคไม่แน่นอน
  • ภาวะความเจ็บป่วยไม่หายขาด แต่อาการทุเลาลงได้ โดยไม่ปรากฏ​อาการ
  • เกิดความพิการหลงเหลืออยู่
  • ต้องการการดูแลรักษา​และฟื้นฟู​สภาพ​อย่างต่อเนื่อง​เป็นระยะเวลายาวนานหรือตลอดชีวิต
  • ต้องมีการดูแลเอาใจใส่ติดตามการรักษาและให้การช่วยเหลือเป็นเวลานาน

6 โรคเรื้อรังมีโรคอะไรบ้าง? เรามาดูต่อกันเลยคะ

 


4.โรคมะเร็ง เป็นโรคที่เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งซึ่งเป็นสถานการณ์​ที่วิกฤติ​ของประเทศไทยโรคมะเร็งเกิดจากเซลล์​บริเวณ​ที่ผิดปกติมีการเจริญเติบโต​ที่ผิดปกติกลายเป็นเซลล์​มะเร็ง และแพร่กระจายลุกลามเนื้อเยื่อข้างเคียง รวมทั้งอวัยวะ​อื่นๆ โดยทางน้ำเหลือง​หรือหลอดเลือด

สาเหตุ​ของโรคมะเร็ง​ 

  • เกิดจากกรรมพันธุ์​
  • สารก่อ​มะเร็ง​เช่น เชื้อไวรัสฮิวแมนแปบปิโลมา หรือสารก่อมะเร็ง​อื่นๆ

อาการของโรคมะเร็ง

  • ในช่วงแรกมักไม่แสดงอาการใดๆ ฉะนั้นการคัดกรองโดยการตรวจสุขภาพ​ประจำปีสามารถตรวจพบความผิดปกติได้ตั้งแต่เริ่มแรก
  • การแสดง​อาการเมื่อเซลล์​มะเร็งมีการแพร่กระจายเช่น ตกขาวมีกลิ่นเหม็น  เลือดออกในช่องคลอดมากผิดปกติ ภาวะโลหิตจาง​อ่อนเพลีย เจ็บปวดอุ้งเชิงกราน​
  • ขาบวมเนื่องจากเซลล์​มะเร็ง​มีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบ
  • ปัสสาวะเป็นเลือด อุจจาระ​เป็นเลือด และภาวะไตวายตามมาได้

การ​รักษา​โรคมะเร็ง 
การรักษาโรคมะเร็งมีจุดประสงค์​เพื่อรักษา​โรคให้หายขาดกรณีที่มะเร็งอยู่ในระยะแรกและรักษาตามอาการเพื่อประคับประคองในกรณีที่มีการแพร่กระจาย​ไปอวัยวะ​อื่น การรักษาโดยทั่วไปมี4วิธีคือ
1.การผ่าตัด โดยการผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกมาแล้วหายไปได้
2.การฉายรังสี เพื่อยับยั้งและทำลายเซลล์​มะเร็ง
3.การให้ยาเคมีบำบัด
4.การใช้การรักษาหลายวิธีร่วมกัน เช่น ฉายรังสีหลังผ่าตัด  ให้ยาเคมีบำบัดก่อนผ่าตัด หรือการฉายรังสีร่วมกับยาเคมีบำบัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะการแพร่กระจาย​ของเซลล์​มะเร็ง​และผลการตอบสนองต่อการรักษา


5.โรคติดเชื้อเอชไอวี เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส​เอชไอวี​เกิดกลุ่มอาการภูมิคุ้มกัน​บกพร่อง จนร่างกายไม่สามารถทำหน้าที่ป้องกันการติดเชื้อ​โรคได้ ทำให้เกิดการติดเชื้อฉวยโอกาสและโรคแทรกซ้อน​อื่นๆตามมา
สาเหตุของโรคติดเชื้อเอชไอวี​  เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีมีอยู่ 2 ชนิดคือ
1.เชื้อเอชไอวี-​1(HIV-1) ซึ่งแพร่ระบาดทั่วโลก
2.เชื้อเอชไอวี-2(HIV-2)​ ซึ่งแพร่ระบาดส่วนใหญ่ในแถบตะวันตก​ของทวีปแอฟริกา​

อาการของโรคติดเชื้อ​เอชไอวี​ 

  • เมื่อร่างกายได้รับเชื้อและติดเชื้ิอมีอาการที่พบคือ มีไข้ คออักเสบ​ ปวดเมื่อย​ตามกล้ามเนื้อ​ อ่อนเพลีย  มีผื่นแดงไม่คันตามหน้า คอ และลำตัว ต่อมน้ำเหลือง​โต บางรายท้องเสีย ระยะนี้พบเม็ดเลืือดขาวลดลงเล็กน้อย เมื่อตรวจหาเชื้ออาจได้ผลลบ มักไม่แสดงอาการ ระยะเวลานับจากเริ่มติดเชื้อเอชไอวี​จนเกิดอาการ​ของโรคเอดส์​โดยเฉลี่ย 8-10ปี
  • ระยะอาการสัมพันธ์​กับเอดส์​เป็นระยะที่ภูมิต้านทานลดลงเรื่อยๆ เม็ดเลือดขาว CD4+ T cell เริ่มลดลงมากมีอาการไข้สูงเรื้อรังนานเป็นเดือน  น้ำหนักลดลงอย่างมาก มีโรคแทรกซ้อน​เช่น งูสวัด​ ฝ้าขาวบริเวณ​ขอบลิ้น เชื้อราในช่องปาก ผิวหนังอักเสบ ตุ่มตามผิวหนัง  ภาวะเกร็ดเลือดต่ำ
  • เข้าสู่ระยะเอดส์​เต็มขั้น ภูมิคุ้มกันถูกทำลายไปมาก CD4+T cell ลดลงต่ำมาก เกิดการติดเชื้อฉวยโอกาสและโรคแทรกซ้อนเช่น ปอดอักเสบ​วัณโรค​ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ​
  • อาการทางด้านจิตใจเช่น อ่อนเพลีย โดดเดี่ยว​หดหู่ สูญเสีย​ภาพลักษณ์​ วิตกกังวล ซึมเศร้า อยากฆ่าตัวตาย

การรักษาของโรคติดเชื้อเอชไอวี มีการรักษาหลายวิธีเช่น
1.การให้ยาต้านไวรัสเอดส์​เพื่อยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสเอดส์​มีหลายชนิดพิจารณา​ตามความเหมาะสม​กับผู้ป่วยแต่ละราย ลดปัญหาเชื้อดื้อยาโดยใช้ยา 3 ตัวรวมกันหรือมากกว่า เพื่อช่วยลดอัตราการเกิดภาวะ​แทรกซ้อน​และอัตราการตาย โดยผู้ติดเชื้อต้องรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
2.การรักษาด้วยอิมมูน โมเดอเรเตอร์ เป็นสารสังเคราะห์ที่เลียนแบบสารเคมีในเซลล์​เม็ดเลือดขาวก่อให้เกิดปฏิกิริยา​ภูมิคุ้มกัน​ต่อต้านไวรัส
3.อิมมูโน​เทอราปี เป็นการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน​ของร่างกาย
4.แอ็คจิวแวนท์เทอราปี เป็นการใช้ยาบางตัวเพื่อเสริมฤทธิ์​ของยาต้านไวรัส
5.การรักษาและป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาสต่างๆ เช่นปอดบวม วัณโรค​  เชื้อราช่องปาก เริม เป็นต้น
6.การส่งเสริมสุขภาพ ด้านอาหาร การพักผ่อน การออกกำลังกาย​  การดูแล​สุขภาพ​จิตใจ​
การรักษาแพทย์​ทางเลือกอื่นๆเช่น การใช้สมุนไพร​พื้นบ้านต่างๆ  การนั่งสมาธิ


6. ผู้พิการ เป็นผู้ที่มีความผิดปกติ​หรือบกพร่องทางร่างกาย สติปัญญา​ หรือ​จิตใจ​เนื่องจากได้รับบาดเจ็บ​ หรือพิการมาแต่กำเนิด​เป็นเหตุให้​ไม่สามารถ​ดำเนิน​ชีวิต​ได้ตามปกติ​หรือมีอุปสรรค​ทำให้เกิดความยากลำบาก​ในการกระทำ​สิ่วต่างๆในขณะที่​คนทั่วไปไม่มีปัญหา​
สาเหตุ​ของความพิการ

  • การบาดเจ็บ หรืออุบัติเหตุ​
  • โรคผิดปกติ​มาแต่กำเนิด

อาการของความพิการ แบ่งความผิดปกติหรือบกพร่องได้ 5 ด้านคือ
1.ด้านการเคลื่อนไหว​ มีความผิดปกติหรือบกพร่้องด้านร่างกายที่เห็นได้ชัดเจนและไม่สามารถประกอบกิจวัตร​ประจำวันได้ หรือสูญเสีย​การเคลื่อนไหว​ เช่นกระดูก​สันหลัง​คด โรคโปลิโอ​
2.ด้านการมองเห็น​ เป็นปัญหาด้านลานสายตาแคบ หรือสั้นเกินไป เช่น ตาบอด มองเห็น​เลือนลาง​
3.ด้านการได้ยิน​หรือการสื่อสาร มีความผิดปกติหรือบกพร่องในการเข้าใจหรือการใช้ภาษา​พูดจนไม่สามารถสื่อสารกับคนอื่นได้ เช่นหูหนวก​ หูตึง
4.ด้านจิตใจหรือพฤติกรรม​เป็นความบกพร่องทางจิตใจหรือพฤติกรรม​
5.ด้านสติปัญญา​หรือการเรียนรู้​ผิดปกติด้านสติปัญญา​หรือสมอง​จนไม่สามารถ​เรียนรู้​ด้วยวิธี​การศึกษา​ปกติได้
การ​รักษา​ความพิการ
รักษาโดยการฟื้นฟู​ความสามารถให้ดำเนิน​ชีวิตได้ปกติหรือใกล้เคียง​ปกติมากที่สุด ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์​และสังคม
ในปัจจุบันนี้มีการช่วยเหลือกลุ่มผู้พิการโดยจ่ายเบี้ยยังชีพสำหรับผู้พิการในแต่ละเดือนเพื่อให้ดำเนินชีวิตได้

จะเห็นได้ว่าโรคเรื้อรังทั้ง 6 โรคที่กล่าวมานี้มีผลกระทบต่อร่างกาย จิตใจ อารมณ์​ และสังคมของผู้ป่วยเป็นอย่างมากฉะนั้นการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคและสาเหตุ​ของการเกิดโรคเพื่อปรับเปลี่ยน​พฤติกรรม​ที่จะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคเรื้อรังเพื่อป้องกันหรือบรรเทา​ปัญหาในทุกๆด้านที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้

6 โรคเรื้อรัง โรคร้ายใกล้ตัว (ตอนที่ 1)

แชร์ให้เพื่อน

6 โรคเรื้อรัง   โรคร้ายใกล้ตัว

แชร์ให้เพื่อน

6 โรคเรื้อรัง โรคร้ายใกล้ตัว

การใช้ชีวิต​ในปัจจุบันนี้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค​เรื้อรัง​ต่างๆ ทำให้เกิดความเครียด​และส่งผลกระทบต่อร่างกาย​  จิตใจ​  อารมณ์​และสังคม
โรคเรื้อรัง หมายถึงภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังที่มีองค์ประกอบ​ดังต่อไปนี้คือ

  • เป็นความเจ็บป่วยอย่างถาวร
  • การดำเนินของโรคไม่แน่นอน
  • ภาวะความเจ็บป่วยไม่หายขาด แต่อาการทุเลาลงได้ โดยไม่ปรากฏ​อาการ
  • เกิดความพิการหลงเหลืออยู่
  • ต้องการการดูแลรักษา​และฟื้นฟู​สภาพ​อย่างต่อเนื่อง​เป็นระยะเวลายาวนานหรือตลอดชีวิต
  • ต้องมีการดูแลเอาใจใส่ติดตามการรักษาและให้การช่วยเหลือเป็นเวลานาน

6 โรคเรื้อรังมีโรคอะไรบ้าง? เรามาดูกันเลยคะ

 


1.โรคเบาหวาน เป็นกลุ่มอาการที่ตรวจพบระดับน้ำตาลในเลือด​สูงเนื่องจากขาดอินซูลิน อันเป็นผลจากตับอ่อนผลิตบกพร่องหรืออินซูลิน​ออกฤทธิ์​ที่ขาดประสิทธิภาพ​
สาเหตุ​ของโรคเบาหวาน​

  • โรคเบาหวาน​ชนิดพึ่งอินซูลิน​เกิดจากพันธุกรรม​
  • โรคเบาหวาน​ชนิดไม่พึ่งอินซูลิน​เกิดจากโรคอ้วน  โรคตับ ความเครียด ความผิดปกติ​ในการผลิตฮอร์โมน​ การขาดเบต้าเซลล์​  ยาบางชนิด และขาดการออกกำลังกาย​

อาการของโรคเบาหวานมีอะไรบ้าง?

  • ปัสสาวะ​บ่อยและมีปริมาณมาก​
  • คอแห้ง​ กระหาย น้ำ​ดื่มน้ำมาก
  • น้ำหนักลด กินเก่ง อ่อนเพลีย​ เหนื่อยง่ายและไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ

การ​รักษา​โรคเบาหวาน​

  • การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้กลับสู่ภาวะปกติ หรือใกล้เคียง​ปกติโดยระดับน้ำตาลก่อนอาหารเช้าไม่เกิน 140 มิลลิกรัม​เปอร์เซ็นต์​ ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอาหาร​เช้า 2 ชั่วโมง​ไม่เกิน 180 มิลลิกรัม​เปอร์เซ็นต์​ และ​ระดับ​น้ำตาลในเลือด​หลังอาหารกลางวัน​ 2 ชั่วโมง​ไม่เกิน 200 มิลลิกรัม​เปอร์เซ็นต์​ ไม่พบน้ำตาลและสารอะซีโตนในปัสสาวะ​ก่อนอาหารเช้าและเย็น  มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์​ปกติ

2. โรค​ความดัน​โลหิต​สูง​ เป็นภาวะความดันโลหิต​ช่วงบนมีค่าสูงกว่า 140 มิลลิเมตร​ปรอท​ขึ้นไป และค่าความดัน​โลหิต​ช่วงล่างมีค่าสูงกว่า 90 มิลลิเมตร​ปรอทขึ้นไป
สาเหตุ​ของโรค​ความดัน​โลหิต​สูง​

  • ภาวะความดันโลหิต​สูงที่ไม่ทราบสาเหตุ​ พบได้ร้อยละ 90 มีความเกี่ยวข้องกับความอ้วน อาหารที่มีโซเดียม​  ไขมัน  คอเลสเตอรอล​สูง การดื่มเครื่องดื่ม​แอลกอฮอล์​ ความเครียด  และกรรมพันธุ์​
  • ความดัน​โลหิต​สูงชนิดทราบสาเหตุ​ พบได้ร้อยละ 10 เกิดจากความผิดปกติของอวัยวะ​ต่างๆ​ของร่างกาย เช่น ไต ต่อมไร้ท่อ โรคครรภ์​เป็นพิษ​ ยาคุมกำเนิดหรือยาสเตียรอยด์​
    อาการของโรคความดันโลหิตสูง​
  • ความดันโลหิตสูงระดับเล็กน้อย (ช่วงบน 140-149 มิลลิเมตร​ปรอทช่วงล่าง 90-99 มิลลิเมตร​ปรอท)​ จะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง​ของอวัยวะ​ใดๆ
  • ความดันโลหิต​สูง​ระดับปานกลาง​ (ช่วงบน 160-179 มิลลิเมตร​ปรอท ช่วงล่าง 100-109 มิลลิเมตร​ปรอท)​จะตรวจพบหัวใจซีกซ้ายโตขึ้น ไตทำหน้าที่เสียไปในระดับปานกลาง​
  • ความดันโลหิต​สูงระดับรุนแรง(ช่วงบนสูงกว่า 180 มิลลิเมตร​ปรอทขึ้นไป ช่วงล่าง​ตั้งแต่ 110 มิลลิเมตร​ปรอทขึ้นไป)​มีการทำลายของหัวใจ สมอง ไต และหลอดเลือดหลังลูกตา​
    การรักษาโรคความดันโลหิตสูง​

มีเป้าหมายในการลดความดันโลหิต​สูงในการรักษาคือ

  • เพื่อให้ระดับความดันสูงในช่วงปกติและต่อเนื่อง
  • ลดการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ผู้ป่วยใช้ชีวิตได้ตามปกติทั่วไป

การรักษาโรคความดันโลหิต​สูงมีหลายวิธีดังนี้
1.การควบคุมความดันให้ปกติโดยไม่ใช้ยา สามารถ​ทำได้โดย

  • การออกกำลังกายวันละ 30 นาที สัปดาห์​ละ 3-5 ครั้ง
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม​การกินอาหาร เลี่ยงอาหารไขมันจากสัตว์  ลดกินแป้ง น้ำตาล เพิ่มผักใบเขียว และจำกัดอาหารรสเค็ม
  • งดเครื่องดื่ม​แอลกอฮอล์​  บุหรี่  ผ่อนคลายอารมณ์​เครียด
  • การ​ควบคุม​น้ำหนักให้ปกติ
  • ติดตามตรวจรักษาอย่างต่อเนื่อง

2.การ​ควบคุม​ความดันโลหิต​สูงโดยการใช้ยา โดยแพทย์​แผนปัจจุบัน​เป็นผู้สั่งยาให้รับประทาน


3.โรคหัวใจ  เป็นกลุ่มโรคหลอดเลือดหัวใจจำแนกได้ดังนี้คือ

  • กลุ่มอาการที่เจ็บหน้าอก​คงที่และเรื้อรัง​
  • กลุ่มอาการโรคหลอดเลือดโคโรนารีเฉียบพลัน
  • กลุ่มอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

สาเหตุ​ของโรคหัวใจ
พบร้อยละ 90 เกิดจากภาวะการแข็งตัวของหลอดเลือดโคโรนารี โดยมีไขมันเกาะผนังหลอดเลือดและสร้างเนื้อเยื่อมาหุ้ม ฉีกขาดได้  เลือดเกิดการแข็งตัวเป็นลิ่มเลือด เข้าไปอุดตันภายในหลอดเลือด เมื่อเกิดการตีบแคบทำให้เลือดผ่านไปเลี้ยงหัวใจได้น้อยลงเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและกล้ามเนื้อหัวใจตายในที่สุด

อาการของโรคหัวใจ​

  • กลุ่มอาการที่เจ็บหน้าอก​คงที่และเรื้อรัง มีอาการเจ็บกลางอก ร้าวไปแขนด้านใน คอ กรามและหัวไหล่
  • กลุ่มอาการโรคหลอดเลือด​โคโรนารีเฉียบพลัน​ มีอาการเจ็บหน้าอก​ขณะพัก   ร่วมกับอาการเหงื่อแตก หน้ามืดเป็นลม ใจสั่น คลื่นไส้​อาเจียน และหายใจหอบเหนื่อย
  • กลุ่มอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด มีอาการเหนื่อย นอนราบไม่ได้ เจ็บแน่นหน้าอก เป็นลม หมดสติ

การรักษาโรคหัวใจ 
มีเป้าหมายเพื่อลดความรุนแรงของโรคและป้องกันภาวะแทรกซ้อน​ได้แก่

  • การรักษาโดยการใช้ยา กลุ่มรักษาอาการเจ็บหน้าอก  ยาต้านการจับกลุ่มของเกล็ดเลือด​ ยาละลายลิ่มเลือด ยาควบคุมระดับไขมันในเลือด
  • การเปิดขยายหลอดเลือดแดงด้วยบอลลูน​ การใส่โครงตาข่าย  การตัดเอาคราบไขมันออก การตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ การขยายหลอดเลือด​ด้วยแสงเลเซอร์​เป็นหัตถการในโรงพยาบาล
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม​และควบคุมปัจจัย​เสี่ยง เนื่องจากการใช้ยารักษาอย่างเดียวอาจไม่มีประสิทธิภาพ​เต็มที่ เพื่อช่วยยับยั้ง​และชะลอความก้าวหน้า ลดภาวะแทรกซ้อนและความรุนแรงของโรค การปรับเปลี่ยน​พฤติกรรม​การกินอาหาร การออกกำลังกาย​การผักผ่อนนอนหลับ  การผ่อนคลายความเครียด  การปฏิบัติ​ตัวให้สัมพันธ์​กับแนวทางการรักษา

6 โรคเรื้อรัง โรคร้ายใกล้ตัว อ่านต่อ ตอนที่ 2

แชร์ให้เพื่อน

โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน(Ischemic Stroke)​

แชร์ให้เพื่อน

โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน(Ischemic Stroke)​ระวังภัยเงียบใกล้ตัว(ตอนจบ)

การตรวจวินิจฉัย​โรคหลอดเลือดสมองมีความเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง?
1.การตรวจเพื่อประกอบการวินิจฉัยและการรักษาโรค​จากอาการเบื้องต้นที่เกิดขึ้นและโดยวิธีการซักประวัติที่เกี่ยวข้องกับโรคหลอดเลือดสมองต่างๆ เช่น เกิดขึ้นเวลาเท่าไหร่  ขณะนั้นผู้ป่วยกำลังทำอะไรอยู่ ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน​และการรับประทานยารักษาโรคในปัจจุบัน เป็นต้น โดยผู้ป่วยหรือญาติต้องให้ข้อมูลที่้เป็นจริงเพื่อประโยชน์ในการวินิจฉัยโรค​และการรักษา โดยผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยอาจได้จากผู้ป่วยหรือต้องเป็นบุคคลที่ใกล้ชิด​กับผู้ป่วยมากที่สุด
2.การวินิจฉัยโรค​โดยดูจากภาพสมอง การทำเอ็กซเรย์​คอมพิวเตอร์​สมอง การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า โดยผู้ป่วยหรือญาติต้องให้ประวัติการแพ้ยาหรืออาหารแก่ผู้ตรวจวินิจฉัยโรคเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยเอง

ยาอะไรบ้าง? ที่ผู้ป่วยหรือญาติควรทราบในการรักษาโรคหลอดเลือดสมองเพื่อสามารถเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนของยาได้
1.ยาละลายลิ่มเลือด​ เป็นยาที่ใช้ในโรงพยาบาลเป็นส่วนใหญ่ โดยผู้ป่วยหรือญาติต้องให้ข้อมูลแก่โรงพยาบาลด้านประวัติการใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดเนื่องจากเป็นข้อห้ามในการใช้ยาเพื่อการรักษาในกลุ่มนี้ และระยะเวลาที่เกิดอาการอย่างชัดเจนเพราะยากลุ่มนี้ให้ได้ผลดีภายใน 3-4.5ชั่วโมง จะเห็นได้ว่าเมื่อเกิดอาการเตือนต้องรีบนำส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุดเพื่อประโยชน์ในการรักษาและฟื้นกลับสู่ใกล้เคียงสภาพเดิมให้มากที่สุด
2.ยาต้านเกล็ดเลือด​ ยาที่ใช้ในการรักษากลุ่มนี้มีอาการข้างเคียงที่สำคัญคือ คลื่นไส้​  อาเจียน ระคายเคือง และเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ส่งผลให้เกิดภาวะเลือดออกทางเดินอาหารได้โดยแนะนำให้ผู้ป่วยสังเกตุ​อาการถ่ายดำ หรืออาการปวดท้อง
3.ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด เป็นการให้ยาเพื่อวัตถุประสงค์​ป้องกันไม่ให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดสมองมากขึ้น

การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองนั้นแบ่งออกได้เป็น 2 ระดับคือ
1.ระดับปฐม​ภูมิ เน้นการส่งเสริมให้มีภาวะสุขภาพร่างกายที่ดี และการให้ความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมอง โดยเน้นให้ความรู้เรื่อง 5 อาการเตือนที่สำคัญเพื่อให้ผู้ป่วยตระหนักและรีบเข้ารับการรักษา วิธีการลดปัจจัยเสี่ยง​ของโรคหลอดเลือดสมอง การจัดการแก้ปัญหาเบื้องต้นกับ 5 อาการเตือน เป็นต้น
2.ระดับทุติยภูมิ​ การตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อคัดกรองโรคอื่นๆที่เกี่ยวข้องและสามารถ​วาวแผนเพื่อป้องกันโรคเช่น ความดันโลหิต​สูง เบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด​ หลอดเลือดแดง​ใหญ่​ที่คอตีบ ไขมันในเลือดสูง การหยุดสูบบุหรี​ การควบ​คุม​ความดันโลหิต​ การออกกำลังกายสม่ำเสมอ การควบคุมไขมันและระดับน้ำตาลในเลือดโดยเกี่ยวข้องกับอาหารการกิน

การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองนั้น ต้องเริ่มต้นดูแลตั้งแต่ยังไม่เกิดความเจ็บป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เช่น การตรวจคัดกรองโรคต่างๆ เพื่อเป็นการลดปัจจัยเสี่ยงที่สามารถปรับเปลี่ยนได้เช่น การสูบบุหรี่ การดื่ม​แอลกอฮอล์​  การลดน้ำหนักของร่างกายให้ได้มาตรฐาน การลดปััจจัยด้านความเครียด การออกกำลังกาย​อย่าง​สม่ำเสมอ​ เป็นต้น ระยะที่มีอาการหากผู้ป่วยได้รับการรักษาที่เหมาะสมและทันท่วงที ทำให้มีเลือดกลับมาเลี้ยงสมองที่ขาดเลือดไปเลี้ยงก็อาจช่วยให้สมองฟื้นขึ้นและกลับมาทำงานได้ปกติเพื่อช่วยลดภาวะแทรกซ้อนและลดอัตราการเกิดความพิการและเสียชีวิตลงได้

โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน(Ischemic Stroke) ตอนที่ 1

แชร์ให้เพื่อน

โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน (Ischemic​ Stroke)​  ระวัง ภัยเงียบใกล้ตัว  (ตอนที่ 1)

แชร์ให้เพื่อน

โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน (Ischemic​ Stroke)​  ระวัง ภัยเงียบใกล้ตัว  (ตอนที่ 1)

โรคหลอดเลือดสมองมีอัตราการเสียชีวิตรองลงมาจากมะเร็งและโรคหัวใจส่งผลให้เกิดความพิการและเสียชีวิตตามมา ความชุกของโรคพบในประเทศ​กำลังพัฒนา  สำหรับในประเทศไทยพบโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มอายุ 15-74ปีและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเป็นจำนวนมากจากอาการอัมพาต​อัมพฤกษ์​

กลุ่มของโรคหลอดเลือดสมองทำให้​เซลล์​สมองขาดเลือดและออกซิเจน​ไปเลี้ยงเกิดจากผนังของหลอดเลือด​สมองมีไขมันสะสมหนาขึ้น การไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงสมองเกิดความบกพร่อง ผิดปกติส่งผลให้เซลล์​สมองเกิดความเสียหายหรือมีเลือดออกในเนื้อสมอง อาจมีพยาธิ​สภาพที่หลอดเลือดเส้นเดียวหรือหลายเส้น อาจเป็นเพียงชั่วคราวหรือถาวรก็ได้  แต่ยังมีผู้ป่วยบางกลุ่ม มีอาการผิดปกติทางระบบประสาท​จากสมองขาดเลือดและมีอาการกลับสู่ปกติภายใน24ชั่วโมงเรียกว่า Transient Ischemic Attack

โรคหลอดเลือด​สมองแบ่งออกได้ 2 ประเภทคือ
1.โรคหลอดเลือด​สมองจากการขาดเลือดหรือจากหลอดเลือด​สมองอุดตัน(Ischemic​ stroke or Occlusion Stroke)  เป็นสาเหตุที่พบบ่อยมากที่สุดร้อยละ 70-80 ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด ซึ่งสาเหตุเกิดจากภาวะหลอดเลือด​แข็งตัว​ ตำแหน่งที่เกิดการอุดตันได้ง่ายคือ ตำแหน่งที่เป็นทางแยก​ของเส้นเลือด
2.โรค​หลอดเลือด​สมองที่เกิดจากเส้นเลือดในสมองแตก มักพบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

การอุดตัน​ของหลอดเลือด​สมองเกิดขึ้นได้อย่างไร?
1.Thrombosis เป็นการอุดตันของระบบไหลเวียนเลือด อาจเกิดที่เส้นเลือดใหญ่ที่คอ หรือที่ศีรษะ​หรือเกิดการอุดตันของเส้นเลือดเล็กในสมอง ซึ่งเกิดได้หลายสาเหตุเช่น ภาวะหลอดเลือดแข็งตัว ผนังหลอดเลือด​ฉีกขาด หลอดเลือด​อักเสบจากการติดเชื้อ ส่งผลให้เลือดไหลผ่านได้น้อยหรือผ่านไม่ได้
2.Embolism การเกิดลิ่มเลือด​ หรือก้อนเลือดในบริเวณ​อื่นมาอุดตันที่เส้นเลือด​สมอง ลิ่มเลือดมีส่วนประกอบของเกล็ดเลือด​ หรือส่วนประกอบอื่น ตำแหน่งที่พบลิ่มเลือดบ่อยคือหัวใจ สาเหตุเกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือ การอักเสบ​ติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ​ เศษชิ้นส่วนของแคลเซียม​ที่เกาะในลิ้นหัวใจ หลุดเข้าสู่กระแสเลือด​ไปอุดตันที่หลอดเลือด​สมอง
3.ลิ่มเลือดที่เกิดจากเส้นเลือด​แดง​ตำแหน่ง​อื่นหรือเส้นเลือดดำ เช่น ชิ้นส่วนจากมะเร็ง ฟองอากาศ​ ไขมัน เข้าไปอุดตันในเส้นเลือดสมองเกิดภาวะสมองขาดเลือดในช่วงแรกพอชิ้นส่วนอุดตันเคลื่อนที่ออกไปทำให้เกิดแรงดันเลือดสูงขึ้นทำให้เกิดเลือดออกในเนื้อสมองตามมาได้

อาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมองมีอะไรบ้าง?
อาการมักเกิดขึ้นทันทีทันใด​หรือภาวะ​เฉียบพลัน​ สมาคมโรคหัวใจและ​หลอดเลือด​ของสหรัฐ​อเมริกา​จำแนก 5 อาการเตือนไว้ดังนี้
1.อาการชาและกล้ามเนื้ออ่อนแรงของหน้า แขนหรือขา โดยเฉพาะ​กับร่างกาย​ซีกใดซีกหนึ่งทันที​ทันใด​
2.อาการสับสนหรือพูดลำบาก​หรือพูดไม่รู้เรื่องอย่างทันทีทันใด​
3.อาการตามัวมองไม่ชัดข้างหนึ่งหรือสองข้างทันทีทันใด​
4.อาการเดินเซ หรือเดินลำบาก สูญเสีย​การทรงตัว ทันทีทันใด​
5.อาการปวดศีรษะ​อย่างรุนแรง​โดยไม่ทราบ​สาเหตุอย่างทันทีทันใด​

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองมีอะไรบ้าง?
1.ความดันโลหิต​สูง เป็นปัจจัย​เสี่ยงที่ทำให้เกิดเส้นเลือดในสมองแตกและเนื้อสมองตาย
2.การสูบบุหรี่​เป็นปัจจัย​สำคัญ​ของโรคหลอดเลือดสมองเพราะมีผลต่อ​การเกาะกลุ่มของเกร็ด​เลือด​ เพิ่มระดับคอเลสเตอรอล​รอล สารนิโคติน​ในบุหรี่​ทำให้หลอดเลือด​แดงเกร็ง ลดความยืดหยุ่น​ของเส้นเลือด เพิ่มระดับไฟบริโนเจน ลดระดับไขมันดีของร่างกาย หัวใจทำงานมากขึ้น ความดันสูงขึ้น รวมถึงปริมาณคาร์บอนมอนอกไซด์​ที่เพิ่มขึ้นทำให้หลอดเลือด​สมองตีบง่ายขึ้น
3.โรคหัวใจ เมื่อเกิดลิ่มเลือดที่หัวใจมักเคลื่อนไปอุดตันที่เส้นเลือด​สมองได้ง่ายขึ้น
4.โรคเบาหวาน มีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือด​สมองเป็นสองเท่า
5.ระดับคอเลสเตอรอล​ในเลือด​สูง​หรือภาวะไขมันในเลือดสูง
6.เส้นเลือดแดงที่คอตีบตันโดยไม่มีอาการ
7.ผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดแดงแข็งมีปัจจัย​เสี่ยงมากกว่าคนปกติ
8.ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
9.มีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดสมองมาก่อน
10.ความอ้วนหรือภาวะน้ำหนักเกิน
11.ภาวะความเครียด
12.ขาดการออกกำลังกาย​ การออกกำลังกายช่วยลดภาวะอ้วนและความเครียด เพิ่มระดับไขมันดีและลดระดับไขมันเลวในร่างกาย
13.เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์​เป็นส่วนผสม การดื่มสุรามากกว่า5แก้วต่อวันเพิ่มปัจจัย​เสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมองเนื่องจากความดันสูง เกร็ดเลือดเกาะกลุ่มทำให้เลือดแข็งตัวเร็วขึ้น
14.อายุ อายุมากขึ้นเมื่อเกิน 55 ปีจะมีปัจจัย​เสี่ยงเป็นสองเท่า
15.เพศ พบว่าโรคหลอดเลือดสมองพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
16.เชื้อชาติเผ่าพันธุ์​พบว่ากลุ่มคนผิวดำมีปัจจัย​เสี่ยงสูงกว่ากลุ่มคนผิวขาว
17.ประวัติในครอบครัวสายตรงเช่นครอบครัวที่พ่อแม่ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองทำให้ลูกมีปัจจัยเสี่ยงสูงกว่า

ติดตามอ่านบทความต่อในตอนที่2. คะ

โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน ตอนที่ 2

 

แชร์ให้เพื่อน

โรคปอดอักเสบ(Pneumonia)

แชร์ให้เพื่อน

โรคปอดอักเสบ(Pneumonia)

ความเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นสิ่งที่มนุษย์​ไม่ปรารถนา​แต่การดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอจะช่วยให้ปลอดภัย​จากโรคได้ เรามาทำความรู้จัก​โรคปอดอักเสบ(Pneumonia)​กันคะ

โรคปอดอักเสบหรือปอดบวม(Pneumonia)​เป็นโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง อาจเกิดจากเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย​หรือเชื้อรา โดยส่วนใหญ่แล้วพบการติดเชื้อแบคทีเรีย​และไวรัส มักเกิดต่อเนื่องจากโรคไข้หวัดใหญ่ และมีระดับความรุนแรง​ที่แตกต่างกันในแต่ละคน
โรคปอดอักเสบ​โดยทั่วไปมักเกิดขึ้นได้บ่อยในกลุ่มผู้ที่สุขภาพ​ร่างกาย​อ่อนแอ​หรือมีโรคประจำตัว​  โรคเรื้อรัง เช่น ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรค​เอดส์​ เป็นต้น

อาการของโรคปอดอักเสบ​(Pneumonia)​ที่พบได้บ่อยๆเช่น

  • ไข้สูง (อาจมีอาการไข้สูงตลอดเวลา)​หนาวสั่นไอแห้งหรือ มีเสมหะสีขาวต่อมาเป็นสีเขียว(ติดเชื้อแบคทีเรีย)​ บางรายอาจไอมีเสมหะปนเลือดได้ ปวดร้าวไปทีสีข้างหรือหัวไหล่ ในเด็กเล็กอาจมีอาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องเดิน ร้องงอแงตลอดเวลา
  • หายใจหอบเหนื่อย
  • เจ็บหรือแน่นหน้าอก
  • คลื่นไส้​ อาเจียน หรืออ่อนเพลีย หน้ามืด ตาลาย รับประทานอาหาร​ได้น้อย
  • บางรายมีอาการซึมลง สับสน พูดคุยไม่รู้เรื่อง

โรคแทรกซ้อน​ที่พบได้บ่อยในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง​ได้แก่

การได้รับการตรวจรักษาและวินิจฉัย​ที่ถูกต้องและรวดเร็ว​จะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนของโรคปอดอักเสบ​ลงได้ การเกิดภาวะแทรกซ้อน​อาจทำให้อันตราย​ถึงชีวิตได้

  • ภาวะปอดบวมน้ำหรือมีเลือดคั่งในปอด
  • เยื่อหุ้มปอดอักเสบ​
  • มีหนองในโพรงของเยื่อหุ้มปอด
  • หูชั้นกลางอักเสบ​หรือไซนัส​อีกเสบ
  • ช็อคจากการติดเชื้อ

การรักษาโรคปอดอักเสบ(Pneumonia)​
หากพบว่ามีอาการดังกล่าวข้างต้นควรรีบเข้ารับการตรวจรักษา​จากสถานพยาบาลเพื่อรับการตรวจวินิจฉัย​โดยการตรวจเสมหะ​และฉายภาพ X-Ray ปอด

  • การรับประทานยาปฏิชีวนะ​ตามแพทย์สั่งติดต่อกันจนหมดกรณีที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย​
  • ดูแลตนเองรับประทานอาหาร ดื่มน้ำให้เพียงพอ
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • กรณีผู้ป่วยเด็ก ผู้สูงอายุ ควรได้รับการรักษาอย่างใกล้ชิดในสถานพยาบาล
  • ควรงดสูบบุหรี่หรือกินเหล้า

การป้องกันโรคปอดอักเสบ(Pneumonia)​
ในปัจจุบันมีวัคซีน​ที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน​หลังการฉีด 2-3 สัปดาห์​ โดยวัคซีน​จะช่วยป้องกันและลดความรุนแรงของโรคลงได้ ผู้ที่รับวัคซีน​มีอาการข้างเคียงที่พบบ่อยได้แก่

  • ปวด บวม แดงบริเวณ​ที่ฉีด
  • มีไข้ ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ แนะนำให้ดื่มน้ำให้เพียงพอหลังการรับวัคซีน​
  • ควรฉีดวัคซีน​ในผู้ที่มีอายุ​มากกว่า​65ปี
  • ควรฉีดวัคซีน​ในผู้ที่​มีอายุ​2-65ปี
  • ควรฉีดวัคซีนในกลุ่มผู้ที่สูบบุหรี่หรือเป็นโรคหอบหืด

การดูแลตนเองเพื่อให้ปลอดภัยจากโรคติดเชื้อทางเดินหายใจต่างๆ

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัส​หรืออยู่ใกล้ชิดผู้ที่มีอาการไข้หวัด ไอ จาม
  • ดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล ล้างมือให้สะอาด
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์​และเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ​
  • นอนหลับ​พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงปัจจัย​ด้านความเครียดต่างๆ

การดูแล​สุขภาพ​ร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอแล​ะสุขภาพ​จิตที่ดีช่วยลดความเจ็บไข้ได้ป่วยลงได้

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง(COPD) สาเหตุหลักจากบุหรี่

แชร์ให้เพื่อน

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) สาเหตุหลักจากบุหรี่

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง(COPD) หมายถึง กลุ่มโรคที่จำกัดการไหลของ อากาศจากปัญหาการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนล่างอันเป็นผลจากการสัมผัส​อนุภาค​เล็กๆหรือก๊าซ​พิษทำให้เกิดการระคายเคืองและอักเสบของทางเดินหายใจและปอด การอุดกั้นสามารถกลับสู่สภาพเดิมได้บางส่วน  โรคจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ การเกิดแบบเฉียบพลันและมีโรคร่วมจะทำให้โรคมีความรุนแรงขึ้นได้ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังนั้นเป็นสองโรคในเวลาเดียวกันคือ โรคหลอดลมอักเสบ​เรื้อรัง(Chronic bronchitis) และโรคถุงลมโป่งพอง(Emphyma)

โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง(Chronic bronchitis) คือโรคที่หลอดลมหลั่งเยื่อเมือก​เสมหะออกมามากกว่าปกติ ทำให้ทางเดินหายใจอุดตัน ผู้ป่วยมีอาการไอเรื้อรัง ไอมีเสมหะเป็นๆหายๆ โดยเกิดขึ้นเป็นเวลาอย่างน้อยปีละ3เดือนและต่อเนื่องในเวลา2ปีโดยไม่มีสาเหตุอื่น

โรคถุงลมโป่งพอง(Emphyma)​คือโรคที่มีการโป่งพองของถุงลมปอด มีการทำลายผนังถุงลมทำให้เสียความยืดหยุ่น​ของถุงลม  การแลกเปลี่ยนก๊าซ​ได้น้อยลง ทำให้เกิดการหายใจเหนื่อย

สาเหตุและปัจจัย​เสี่ยงการเกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง(COPD)​
1.การสูบบุหรี่​ ( Smoking)
เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของการเกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง​(COPD)​ โดยผู้ที่สูบบุหรี่​ไม่ต่ำกว่า 20 ปีมีโอกาสเกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังร้อยละ 20-40
2.การอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีมลภาวะทางอากาศที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงโดยการสูดอนุภาค​เล็กๆที่เป็นพิษ​เช่น ถ่านฟืน มูลสัตว์ที่ใช้ประกอบอาหารและการระบายอากาศไม่ดี หรือการสูดมลภาวะทางอากาศจากการเผาไหม้ของน้ำมันเครื่องยนต์​ สารเคมีบางชนิดที่เป็นพิษเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้เกิดการระคายเคืองและปอดทำงานได้ลดลง
3.การเจริญ​เติบโต​และพัฒนาการของปอด สาเหตุจากการพัฒนา​ของปอดของวัยเด็กขณะอยู่ในครรภ์ ขณะคลอด แรกคลอดน้ำหนักน้อย ทำให้การเจริญเติบโต​ของปอดไม่สมบูณ์​เต็มที่ ส่งผลให้เกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง(COPD)​ในวัยผู้ใหญ่ตามมา
4.การติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ(Respiratory tract infection) การติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย​ในวัยเด็กที่รุนแรงทำให้ปอดเสียหน้าที่ไปส่งผลให้เกิดโรคปอดอุดกั้น​เรื้อรัง​(COPD)​ในวัยผู้ใหญ่
5.หลอดลมไวต่อสิ่งกระตุ้นมากกว่าปกติ ต่อการสัมผัส​กับมลภาวะ​ต่างๆเช่น ควันบุหรี่​ ฝุ่นละออง หรือสารเคมีต่างๆ ทำให้หลอดลมเกิดการอักเสบ​เป็นโรคหอบหืดและพัฒนาไปเป็นโรคปอดอุดกั้น​เรื้อรัง​(COPD)
6.พันธุกรรม​(Genes)​ โรคปอดอุด​กั้น​เรื้อรัง(COPD)​เป็นโรคที่ถ่ายทอด​ทางพันธุกรรม​ส่วนใหญ่พบมากในชาวยุโรป
7.ปัจจัยที่เกี่ยวข้องอื่นเช่น

  • อายุมากขึ้นเสี่ยงต่อการเกิดโรคปอดอุด​กั้น​เรื้อรังสูงขึ้น
  • เพศเกิดขึ้นได้ทั้งเพศชายและหญิงเท่าๆกัน
  • ความยากจน ภาวะขาดแคลนอาหาร การอยู่ในชุมชนแออัดเสี่ยงต่อการเกิดโรคปอดอุดกั้นรื้อรังได้สูงขึ้น

อาการของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)

  • ไอเรื้อรัง มีเสมหะสีขาวมักเป็นในตอนเช้า
  • หายใจเหนื่อยหอบง่าย เสียงวี๊ด(Wheezing)​
  • หายใจเหนื่อยแม้ขณะพักและใช้กล้ามเนื้อคอ ไหล่ และหน้าท้อง ร่วมในการหายใจ
  • เกิดภาวะหัวใจซีกขวาล้มเหลวจากโรคปอด
  • มีอาการเขียว ริมฝีปาก ใบหน้า ซีดภาวะการขาดออกซิเจน​ส่วนกลาง(Central cyanosis)
  • มีนิ้วปุ้ม หรือบางรายมีท้องมาน รูปร่างผอม ทรวงอกคล้ายถังเบียร์​

โรคปอดอุดกั้น​เรื้อรัง​ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยอย่างไรบ้าง?

  • การทำกิจวัตรประจำวัน​ได้น้อยลงเนื่องจากอาการหอบเหนื่อย​ง่าย
  • นอนหลับพักผ่อนในเวลากลางคืนได้น้อยลง ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย​
  • เกิดภาวะสิ้นหวัง และซึมเศร้า​
  • เกิดความเสื่อมถอยด้วยสติปัญญา​และความคิด
  • ขาดรายได้เนื่องจากต้องนอนโรงพยาบาล​นานขึ้น

การรักษาโรคปอดอุดกั้น​เรื้อรัง​(COPD)​ ด้วยตนเองที่บ้านตามความรุนแรงของโรคน้อย

  • เพิ่มความถี่และขนาดของยาขยายหลอดลม
  • รับประทานยาลดการอักเสบ​ตามคำสั่งแพทย์
  • รับประทานยาฆ่าเชื้อทางเดินหายใจติดต่อกันจนหมด
  • ติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง

การปฏิบัติ​ตัวของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)​

  • งดสูบบุหรี​ ช่วยลดความเสี่ยงและชะลอไม่ให้โรคเกิดความรุนแรงมากขึ้น และพยายามเลิกการสูบบุหรี่​
  • รับประทานยาละลายเสมหะหรือจิบน้ำอุ่นบ่อยๆเพื่อช่วยขับเสมหะได้ง่ายขึ้น
  • รับการฉีดวัคซีน​ไข้หวัดใหญ่​ปีละ 1 ครั้ง เพื่อช่วยลดความรุนแรงของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง​(COPD)​
  • ออกกำลังกายเบาๆเพื่อช่วยให้ปอดขยายตัวได้ดีขึ้น
  • หลีกเลี่ยงสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นให้เกิดโรคที่รุนแรงขึ้นเช่น ควันไฟ ควันธูป
  • เข้าร่วมโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพ​ปอดอย่างต่อเนื่อง
  • ฝึกกล้ามเนื้อในการหายใจโดยการหายใจแบบเป่าปากและการหายใจด้วยกระบังลม
  • แนะนำให้รับประทานอาหารโปรตีน วิตามินดีสูงและลดอาหารกลุ่มแป้ง น้ำตาล

โรคปอดอุดกั้น​เรื้อรัง​(COPD)​เป็นสาเหตุ​ของการเสียชีวิตในสิบอันดับ​แรกของโลก ปัจจัย​เสี่ยงมาจากการสูบบุหรี่​หรือการได้รับควันบุหรี่​เพราะฉะนั้นไม่ควรสูบบุหรี่​เพราะการสูบบุหรี่เป็นอัตรายต่อสุขภาพ​ของตนเองและคนรอบข้างและทำให้เกิดโรคมะเร็ง​ปอดอีกด้วย

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

ผัดฉ่าปลาแซลมอน​  อุดมไปด้วยสมุนไพรไทยช่วยรักษาโรค

แชร์ให้เพื่อน

ผัดฉ่าปลาแซลมอน​  อุดมไปด้วยสมุนไพรไทยช่วยรักษาโรค

ผัดฉ่าปลาแซลมอน​(Spicy Stir Fried Salmon)
เป็นเมนูอาหารที่พบได้บ่อยตามร้านอาหาร อุดมไปด้วยโอเมกา​3และสมุนไพรไทยหลายชนิด เป็นอาหารที่มีรสชาติ​เผ็ดร้อนของสมุนไพรไทยเหมาะสำหรับคนที่มีธาตุ​เย็นเพื่อช่วยปรับสมดุลของร่างกาย
เรามาดูกันเลยว่ากินผัดฉ่าปลา​แซลมอน​(Spicy Stir Fried Salmon)​มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไรบ้าง?


1.ปลาแซลมอน
ปลาแซลมอน​เป็นปลาที่กระจายพันธุ์​แถบซีกโลกเหนือ คือ อเมริกาเหนือ อลาสก้า​ ไซบีเรีย ยุโรปเหนือ เอเชียเหนือ และเอเชียตะวันออก ทั้งนี้ยังเป็นปลาเลี้ยงอย่างแพร่หลายในฟาร์มทั่วโลก
ปลาแซลมอน​ตามธรรมชาติจะว่ายทวนกระแสน้ำจากมหาสมุทร​เพื่อไปวางไข่ที่แม่น้ำที่เป็นแหล่งน้ำจืด(เป็นแหล่งที่ลูกปลาออกจากไข่)​พฤติกรรม​การว่ายกลับถิ่นกำเนิดของปลาอาศัยความจำเกี่ยวกับกลิ่นของแหล่งน้ำนั้นๆ
ปลาแซลมอน​มีคุณค่าทางโภชนาการ​สูง นับเป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ​และมีราคาสูง เนื้อปลาแซลมอน​มีสีส้มออกไปทางแดงเนื่องจากมีรงควัตถุ​แคโรทีนอยด์(Carotenoid pigment)

เนื้อปลาแซลมอน​มีสารอาหารและประโยชน์ดังนี้

  • เนื้อปลาแซลมอน​อุดมไปด้วยโปรตีน ไขมันและโอเมกา-3 สูง ช่วยบำรุงเซลล์​สมอง เป็นปลาที่ได้รับความนิยมสำหรับผู้บริโภค​
  • เนื้อปลาแซลมอน​อุดมไปด้วยวิตามินเอ ดี บี6 บี12 ไนอาซิน  ไรโบเฟลวิน ช่วยบำรุงสายตา ช่วยให้ความจำดีขึ้น
  • เนื้อปลาแซลมอน​อุดมไปด้วย ธาตุ​เหล็ก แคลเซียม​สังกะสี​ แมกนีเซียม​ และฟอสฟอรัส​ ช่วยบำรุงเลือดทั้งยังช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรงอีกด้วย
  • เนื้อปลาแซลมอน​เหมาะสำหรับเด็ก​และผู้สูงอายุ​ เพราะเป็นเนื้อปลาที่ย่อยง่าย มีประโยชน์ต่อ
    ร่างกายสูง
  • การรับประทานเนื้อปลาแซลมอนช่วยลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือด​หัวใจและมะเร็งบางชนิดเนื่องจากเนื้อปลาอุดมไปด้วยไขมันดี

การปรุงอาหารเนื้อปลาแซลมอน​นิยมทำรมควัน อบ ทอด แต่สำหรับเมนูอาหารไทยนำมาปรุงผัดฉ่าปลา​แซลมอน​ก็เป็นอีกหนึ่งเมนูซึ่งอุดมไปด้วยสารคุณค่าทางอาหารและสมุนไพรที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายตามร้านอาหารไทยทั่วไป

  • การรับประทานเนื้อปลาดิบอาจมีพยาธิซึ่งเป็นพยาธิทะเลสามารถก่อโรคในคนได้
  • การรับประทานเนื้อปลาและไข่ปลาแซลมอน​ดิบจากนอร์เวย์​ทำเมนูซาซิมิ ซูชิ เนื่องจากไม่มีพยาธิ
  • การรับประทานเนื้อปลาแซลมอนเลี้ยงอาจมีสารปนเปื้อนมลพิษ​ที่สูงเป็นแปดเท่าของแซลมอน​ธรรมชาติ แต่ก็ยังถือว่าต่ำมากของการเกิดพิษ​ต่อร่างกาย

2.กระชายขาว
เป็นพืชสมุนไพรพื้นบ้านที่ใช้กันมายาวนานและนำมาปรุงอาหารออกฤทธิ์ร้อน มีประโยชน์ต่อสุขภาพในช่วงทีมีการระบาดของโรคโควิด 19 มีการนำมารับประทานในรูปแคปซูล​ น้ำกระชายขาว และปรุงอาหารเมนู แกงป่า แกงเผ็ด ผัดฉ่า เพื่อช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรคโควิด19

ประโยชน์ของกระชายขาวมีดังต่อไปนี้คือ

  • จากข้อมูลการวิจัยพบว่าในกระชายขาวมีสารพิโนสโตบินและแพนดูราทินเอ ช่วยต้านโรคโควิด19ได้
  • ช่วยรักษาอาการหวัด คัดจมูก วิงเวียนศีรษะ​เนื่องจากมีกลิ่นน้ำมันหอมระเหย
  • พบว่าการรับประทานกระชายขาวช่วยต่อต้านเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ที่ก่อโรคกระเพาะอาหารและลำไส้
  • การรับประทานกระชายขาวช่วยเพิ่มการขับพิษออกจากตับ
  • การรับประทานกระชายขาวช่วยลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อได้

3.พริกไทยอ่อน
พริกไทยอ่อนมีรสชาติ​เผ็ดร้อน ใช้ปรุงอาหารและเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณ​ในการรักษาโรคต่างๆเช่น

  • ช่วยแก้ไอ ขับเสมหะ
  • ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยขับลมในลำไส้
  • ออกฤทธิ์ร้อนช่วยขับเหงื่อ ลดไข้
  • ช่วยให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้น เพิ่มการเผาผลาญ​พลังงาน ไขมันส่วนเกิน และใช้เป็นสมุนไพรลดน้ำหนักได้ด้วย
  • ช่วยแก้อาการเป็นลม วิงเวียนศีรษะ​ หน้ามืด ตาลาย
  • นอกจากนี้สารสกัดจากพริกไทยเป็นอาวุธป้องกันตัว​ในรูปของสเปรย์​พริกไทยฉีดใส่ตาของคนร้ายได้

4.พริกชี้ฟ้า กระเทียม และใบมะกรูด
อ่านประโยชน์ของพริกชี้ฟ้า กระเทียม ใบมะกรูดได้เพิ่มเติมในบทความเรื่อง ต้มยำกุ้งอุดมไปด้วยสมุนไพรไทยช่วยรักษาโรค

จะเห็นได้ว่าเมนูผัดฉ่าปลา​แซลมอน​นั้น สามารถทำรับประทานเองได้ และสมุนไพรที่ใช้เป็นพืชผักสวนครัวหลังบ้านแต่มีสรรพคุณ​ทางยาช่วยรักษาโรคต่างๆได้ แต่ราคาของปลาแซลมอน​อาจแรงเนื่องจากเป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ​ สามารถปรับเปลี่ยนเมนูเป็นปลาสวาย หรือปลาน้ำจืดตามความเหมาะสมได้แต่อาจได้รับประโยชน์น้อยกว่าเรื่องชนิดของปลา

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

ค้างคาว(Bat)  เป็นรังโรคติดเชื้อสู่คน

แชร์ให้เพื่อน

ค้างคาว(Bat)  เป็นรังโรคติดเชื้อสู่คน

ค้างคาว(Bat)​มีหลายชนิด (เช่น ค้างคาวกินแมลงนิ้วสั้น ค้างคาวขุนช้าง ค้างคาวคุณกิตติ เป็นต้น)​เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองที่เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดเดียวที่สามารถบินได้  ชอบออกหากินในเวลากลางคืนเนื่องจากมีแมลงจำนวนมากและใช้คลื่นเสียงในการนำทางเพื่อออกหากินและกลางคืนเงียบสงบ เสียงรบกวนมีน้อย มักนอนหลับในเวลากลางวันโดยหลับแบบห้อยหัวเป็นท่าที่เหมาะกับโครงสร้างปีกและลำตัวของมันที่พร้อมจะบินได้ในเวลาที่รวดเร็วโดยมักอยู่อาศัยในถ้ำป่าที่สมบูรณ์​และพบแหล่งเชื้อไวรัสหลายชนิดซึ่งก่อโรคในคนเช่น
.ไวรัสซาร์ส (SARS)ย่อมาจากคำว่า Severe Acute Respiratory Syndrome) คือกลุ่มอาการโรคระบบหายใจเฉียบพลันอย่างรุนแรง พบการแพร่ระบาดหลายประเทศในโลกและต้นกำเนิดของโรคจากมณฑล​กวางตุ้ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี พ.ศ. 2546 ซึ่งในสมัยนั้นจัดให้โรคซาร์ส(SARS)​เป็นไข้หวัดมรณะ การรักษาส่วนใหญ่เป็นการรักษาแบบปอดบวมที่ไม่ทราบชนิดของเชื้อเช่นบางคนให้ยาปฏิชีวนะ​ ยาต้านไวรัส  หรือ ยา steroids แต่ผลการรักษาก็ยังกำกวม

  • ไวรัสนิปาห์(Nipah)​ พบการติดเชื้อในมาเลเซียและมีคนเสียชีวิต โดยหมูรับเชื้อจากค้างคาว และคนรับเชื้อจากหมูอีกทีหนึ่งซึ่งนับว่าเป็นการแพร่เชื้อในระหว่างสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
  • ไวรัสโคโรน่า(Corona virus) หรือ โควิด 19 พบการติดเชื้อจากสาธารณรัฐประชาชนจีน​หลังจากนั้นมีการแพร่ระบาดไปทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจำนวนมากซึ่งในปัจจุบันนี้ก็ยังมีการระบาดอยู่และมีการพัฒนา​สายพันธุ์​ไวรัสที่ดื้อต่อวัคซีนโดยสามารถติดตามอ่านบทความเรื่อง ระวังไวรัส​ตัวใหม่​สายพันธุ์​ XBB

เมื่อปลายเดือนกรกฎา​คมที่ผ่านมามีนักท่องเที่ยว เข้าชมค้างคาวในโพรงต้นไม้ใหญ่ในป่าใช้ช่วงเวลาอยู่ในโพรงไม้ไม่เกิน 15 นาที  ต่อมาภายในหนึ่งเดือนมี ไข้ ไอแห้ง อ่อนเพลีย​ เหนื่อยง่าย ผลเอกซเรย์พบจุดขนาดแตกต่างกันกระจายทั่วปอดจากการตรวจพิสูจน์​พบเชื้อรา Histoplasma capsulatum ซึ่งเป็นเชื้อราก่อโรค
ฮิสโตพลาสโมซิส(Histoplasmosis)​ที่อยู่ในมูลค้างคาวและติดจากสปอร์​ของเชื้อราโดยการหายใจเข้าสู่ปอดโดยพบอาการคนแรกหลังผ่านไปหนึ่งเดือนแล้ว ถ้าการติดเชื้อกับคนที่มีอายุน้อยและแข็งแรงมักไม่แสดงอาการ จะหายเองได้โดยไม่ต้องรักษา แต่จะเจ็บป่วยในผู้ที่มีอายุมาก เด็กเล็ก และผู้ที่มีสุขภาพอ่อนแอหรือมีโรคประจำตัว การรักษาโดยให้ยาฆ่าเชื้อรา

ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน พบคนทำคอนเทนต์กินค้างคาวต้มปรุงสุกออกโซเชียล​ แพทย์ออกมาเตือนว่าแม้ปรุงสุกก็เสี่ยงรับเชื้อโรคเนื่องจากค้างคาวเป็นสัตว์รังโรคซึ่งพบเชื้อไวรัสมากกว่า60ชนิดและเชื้อราในมูลค้างคาวอีกด้วย ซึ่งก่อนการนำมาปรุงสุกต้องสัมผัสกับค้างคาว อาจแพร่กระจายเชื้อโรคมาสู่ผู้ที่สัมผัสกับค้างคาวได้

โรคฮิสโตพลาสโมซิส(Histoplasmosis)
สาเหตุเกิดจากติดเชื้อราในมูลของสัตว์ปีกโดยเฉพาะนกและค้างคาวที่อยู่ตามพื้นดินที่ปนเปื้อนมูลสัตว์ชนิดดังกล่าวซึ่งเป็นโรคติดเชื้อของทางเดินหายใจโดยพบกับกลุ่มคนที่สัมผัสกับสถานที่ที่ค้างคาวหรือสัตว์ปีกอาศัยอยู่เช่นโพรงไม้ ที่อากาศ​ไม่ถ่ายเทและอับชื้น เล้าไก่ ที่อยู่อาศัยที่รกร้างมีนกพิราบอาศัยอยู่ โดยจะแสดงอาการในเวลา 10 วัน หลังรับเชื้อราจากมูลนกและค้างคาว
พบการติดเชื้อได้บ่อยในกลุ่มนักสำรวจถ้ำ คนที่ล่าสัตว์ป่ามารับประทานเนื่องจากการสัมผัส​เชื้อก่อนปรุงสุก คนเลี้ยงเป็ดไก่  คนสวน คนงานรื้อถอนอาคารต่างๆ

อาการของโรคฮิสโตพาสโมซิส(Histoplasmosis)

  • ไข้ ไอแห้งๆ เจ็บแน่นหน้าอก ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อและข้อกระดูก หนาวสั่น หากมีอาการรุนแรงขึ้นต้องรีบไปพบแพทย์ เช่น ไข้สูง ไอเป็นเลือด หายใจหอบ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ปวดศีรษะ​ ถ้าไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อเข้าสู่สมองและไขสันหลังตามมาได้ ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจล้มเหลวเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้
    การรักษาโดยการให้ยาฆ่าเชื้อรา

แม้ค้างคาวเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองที่เป็นแหล่งของเชื้อไวรัสมากกว่า 60 ชนิด แต่มนุษย์​ก็ยังสรรหา​นำมาเป็นอาหารรับประทานในเมนูพิศดาร​ต่างๆ  ในบางกลุ่มมีความเชื่อว่าค้างคาวเป็นยาอายุวัฒนะ​ หรือรับประทานเพื่อสร้างคอนเทนต์​เรียกยอดดูจาก

โซเชียล​ ทีมแพทย์และสาธารณ​สุขออกมาเตือนแล้วว่าไม่ควรรับประทานค้างคาวแม้ปรุงสุกแล้วก็ตาม เพราะการติดเชื้อจากค้างคาว(Bat) ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมนั้นพร้อมที่จะติดต่อมาสู่คนได้ตลอดเวลาซึ่งอยู่ในขั้นตอนการสัมผัสค้างคาวก่อนนำมาปรุงสุกเพราะถ้าติด​เชื้อไวรัส​ตัวใหม่​อีกอาจรุนแรงกว่าที่ผ่านมาก็ได้ใครจะรู้

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

เกาลัด(Chestnut) อาหารขบเคี้ยวมีประโยชน์ต่อสุขภาพ

แชร์ให้เพื่อน

เกาลัด(Chestnut) อาหารขบเคี้ยวมีประโยชน์ต่อสุขภาพ

เกาลัด (Chestnut) ​เป็นอาหารของชาวจีนมากกว่า 50%ของโลกและชาวฝรั่งเศส​นิยมรับประทานเพื่อเฉลิม​ฉลอง​ในวันหยุดในทุกๆปีช่วงเดือนตุลาคมนับเป็นเทศกาลเกาลัด โดยทำอาหารเมนู​จากเกาลัดเช่น  ซุป ซีเรียล  ขนมหวานต่างๆ
เกาลัด(Chestnut)​เป็นพืชเคี้ยวมัน(กลุ่มเดียวกับถั่วมะม่วงหิมพานต์​ ที่คนไทยนิยมกินเล่นกันแบบของขบเคี้ยว) ที่ติดอันดับเป็นสินค้าสำคัญของโลกเลยที่เดียว เช่นเดียวกับ walnut แมคคาเดเมีย อัล​มอลล์​เป็นต้น ชาวจีนถือว่าเกาลัดเป็น ราชาแห่งเมล็ดพันธุ์​พืช เลยทีเดียว
เกาลัด(Chestnut)​ในไทยเป็นสายพันธุ์​มาจากจีนแผ่นดินใหญ่ มีจุดเด่นคือ รสชาติหอม หวานมัน อร่อย เยื่อหุ้มเมล็ดบาง เวลาแกะไม่ติดเนื้อ ปลูกง่ายทนทานต่อโรคระบาดสูง ปลูกตามเขตพื้นที่สูง อากาศเย็น เช่น จังหวัดเลย อำเภอภูเรือ

ประโยชน์ของเมล็ดเกาลัด(Chestnut)​ ที่น่าสนใจหามารับประทานได้แก่

  • อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต​หรือแป้งเป็นส่วนประกอบหลักที่ให้พลังงานสูง น้ำตาลกับร่างกาย และมีไขมันต่ำ ทำให้สุกโดยการคั่วกับทรายร้อนซึ่งปนเปื้อนน้อย ปลอดภัย  ได้รับความนิยมรับประทานเป็นของขบเคี้ยวช่วยบำรุงเซลล์​สมอง
  • อุดมไปด้วยวิตามินเอ บี เบต้าแคโรทีน​ ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา และบำรุงสายตา
  • อุดมไปด้วยแร่ธาตุ​แคลเซียม​ แมกนีเซียม​โพแทสเซียม​ โซเดียม​ ช่วยเสริมสร้าง​กระดูกและฟันในหญิงตั้งครรภ์
  • อุดมไปด้วยวิตามินซีสูงช่วยชะลอวัย 
  • เมล็ดอ่อนช่วยรักษาเส้นเลือดขอด (Thrombophlebitis)​เฉียบพลันและเรื้อรัง
  • อุดมไปด้วยแร่ธาตุ​เหล็ก โพแทสเซียม​และกรดโฟลิกที่ช่วยบำรุงเลือด
  • เป็นอาหารที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในกลุ่มกินอาหารมังสวิรัต​(Vegetarian)​ เป็นพิเศษ เนื่องจากให้พลังงานสูงและมีไขมันต่ำ และมีโปรตีนจากพืชสูงเพื่อทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์​
  • ใบเกาลัดนำมาต้มเป็นยาช่วยรักษาอาการเลือดออกภายในและช่วยรักษาโรคทางเดินหายใจเนื่องจากมีสาร ไกลโคไซด์แทนนิน
  • เปลือกไม้หรือใบสามารถสมานแผล​ได้ ลดอาการแผลไหม้ น้ำร้อนลวก
  • การรับประทานเกาลัดในหญิงตั้งครรภ์ หรือวัยทองที่ีปัญหาการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน​ในร่างกายช่วยลดภาวะเครียดและภาวซึมเศร้า​ ช่วยให้อารมณ์​ดีขึ้น
  • ช่วยลดความดันโลหิตสูง เพิ่มการไหลเวียนโลหิต ลดความอ่อนล้า นอนหลับพักผ่อนได้ดีขึ้น ในหญิงตั้งครรภ์​
  • ช่วยในระบบการย่อยอาหาร​และการขับถ่ายเนื่องจากมีเส้นใยอาหารสูง
  • สารสกัดจากเกาลัดเป็นส่วนผสมของครีมกันแดด ทำให้ผิวสีจางลง เครื่องสำอาง​สำหรับดูแล​ผิวพรรณ​  ครีมทามือและเท้า

เกาลัด(Chestnut)​กรรมวิธี​ปรุงสุกก่อนรับประทานเช่น การคั่วด้วยทรายร้อน การอบ นึ่ง และทอด

ข้อควรระวัง​ในการรับประทานเกาลัด (Chestnut)​

  • อาจมีอาการคลื่นไส้​อาเจียนสำหรับกลุ่มที่แพ้ได้
  • ควรระมัดระวังในผู้ป่วยโรคเรื้อรังเช่น โรคเบาหวาน โรคไต โรคหัวใจ
  • การรับประทานมากเกินไปอาจทำให้อ้วนได้ และเกิดอาการแน่นท้อง จุกเสียด ท้องอืด เนื่องจากมีก๊าซ​มาก
  • เกาลัดม้า  เป็นพิษ​ไม่สามารถรับประทานได้ดังนั้นต้องเลือกซื้อจากร้านค้าที่เชื่อถือได้และมีบรรจุ​ภัณฑ์​ที่ระบุว่ารับประทานได้
  • การรับประทานเกาลัดควรระมัดระวังในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบ ทำให้ย่อยยากและเกิดอาการท้องผูก ท้องอืดได้

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

ต้นพญาสัตบรรณหรือตีนเป็ด มีประโยชน์แต่แฝงยาพิษ

แชร์ให้เพื่อน

ต้นพญาสัตบรรณหรือตีนเป็ด มีประโยชน์แต่แฝงยาพิษ

ต้นพญาสัตบรรณ(White Cheesewood) หรือตีนเป็ด เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงถึง 40 เมตร มียางสีขาว ดอกเป็นกระจุกช่อใหญ่สีขาว กลิ่นแรงอาจทำให้เวียนศีรษะ​ได้ ผลเป็นฝักยาวคล้ายถั่ว นิยมปลูกเพื่อประดับตกแต่งสถานที่​ตามความเชื่อไทยโบราณ​ว่า บ้านใดปลูก​ต้นพญาสัตบรรณไว้ประจำบ้านจะทำให้มีเกียรติ​ได้รับการยกย่อง​และนับถือจากบุคคลทั่วไป และยังนำมาสกัดเพื่อใช้ในการบำบัดและรักษาโรคเบื้องต้น

ต้นพญาสัตบรรณ​หรือตีนเป็ด​มี 2 พันธ์ุ

  • ต้นตีนเป็ดเล็ก มักขึ้นตามชายน้ำลำธาร ป่าดิบชื้น
  • ต้นตีนเป็ดพรุหรือต้นเป็ดน้ำ ลำต้นทรงร่่มแตกกิ่งต่ำ ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาว

สรรพคุณของพญาสัตบรรณหรือต้นตีนเป็ด

พบสารเคมีต่างๆเช่น สารอัลคาลอยด์ ( Alkaloids) ควิโนลีน(Quinoline)​ สเตอรอยด์ (Steroid) แทนนิน (Tannin) ฟีนอล (Phenol) เทอร์พีนอยด์ (Tepeniod)​และซาโปนิน(Saponin)​ ซึ่งสารเคมีดังกล่าวนำมาใช้ในการรักษาโรคต่างๆ มากมาย

  • ต้มเปลือกดื่มช่วยรักษา อาการไอ ลดไข้ ลดอาการหวัด มาลาเรีย
  • แก้ท้องเสีย รักษาโรคบิด
  • รักษาเบาหวาน หลอดลมอักเสบ ขับระดู
  • ขับพยาธิ เป็นยาระบาย และช่วยขับน้ำนม
  • บดเปลือก ช่วยรักษาแผล แผลติดเชื้อ เป็นหนอง หากนำยางมาทาช่วยรักษาแผลเน่าเปื่อย
  • ต้มเปลือกใช้อาบ ช่วยป้องกันโรคเชื้อราทางผิวหนัง
  • นำมาทำเป็นยาระงับปวด ยาชา ช่วยรักษาอาการปวดฟัน ปวดหูได้
  • ช่วยรักษาแผลในกระเพาะและลำไส้
  • ใช้เป็นยาลดความดัน
  • ใช้เป็นยาควบคุมการเต้นของหัวใจ
  • ใช้เป็นยาต้านมะเร็ง

อันตรายจากต้นพญาสัตบรรณ​ที่ต้องระวัง

  • ดอกมีกลิ่นฉุนช่วงหน้าหนาว ทำให้มีอาการปวดศีรษะ​ เวียนหัว​ คลื่นไส้​ อาเจียนกับกลุ่มที่แพ้
  • หากน้ำยางเข้าตาเกิดอาการระคายเคือง อาจทำให้ตาบอดได้
  • ส่วนเนื้อในเมล็ดของต้นตีนเป็ดน้ำมีสารพิษ ได้แก่ เทเวทินบี (Thevetin B)​เทโวบิโอไซด์ (Thevobioside)​ ทำให้ระคายเคืองเยื่อบุช่องปากและกระเพาะอาหาร เกิดท้องเสีย ปวดศีรษะ​อาเจียน ปวดท้อง หากล้างท้องไม่ทันทำให้เกิดภาวะหัวใจวายและเสียชีวิตได้

ต้นพญาสัตบรรณ​หรือตีนเป็ดที่นิยมปลูกเพื่อตกแต่งประดับบ้านเพื่อร่มรื่นและสวยงามแล้วยังมีโทษที่ต้องระมัดระวังจากยางสีขาวและเนื้อข้างในเมล็ดดังกล่าวข้างต้น

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน