หวานเป็นลม ขมเป็นยา กับเมนูมะเขือพวง

แชร์ให้เพื่อน

หวานเป็นลม ขมเป็นยา กับเมนูมะเขือพวง

มะเขือพวง หรือ หมากแข้ง(อีสาน)​เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 1-2 เมตร  ลำต้นมีขนนุ่ม ขึ้นปกคลุมและลำต้นแข็งแรง มีหนามเล็กๆห่างๆตามลำต้นและใบ ออกดอกติดผลตลอดปี ดกมากช่วงฤดูฝน ปลูกง่าย โตเร็ว ไม่มีปัญหาเรื่องศัตรูพืช ผลมีรสขื่น เฝื่อน ใช้ผลประกอบอาหาร เป็นผักปลอดสารพิษ

มะเขือพวงเป็นพืชผักใช้ผลประกอบอาหารคู่ครัวคนไทยมาช้านาน เลือกใช้ผลอ่อนโขลกทำเมนูน้ำพริกชนิดต่างๆ เช่น น้ำพริกกะปิ  น้ำพริกขี้กา น้ำพริกแมงดา ปลาร้าทรงเครื่อง หรือทำเมนูผักจิ้มน้ำพริกโดยการต้ม เผา หรือย่างให้สุก นอกจากนี้ยังใช้มะเขือพวงทำเมนูอาหารป่าประเภทแกงหรือผัด เช่น แกงป่า   แกงคั่วปลาไหล แกงอ่อมปลาดุก ผัดฉ่า แกงเผ็ด แกงเขียวหวาน  แกงพะแนง แกงขี้เหล็กใส่มะเขือพวงช่วยลดความขมของขี้เหล็กได้

 

เมนูมะเขือพวงกินแล้วได้ประโยชน์อะไรบ้าง?

  • ผลมะเขือพวงมีแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายเช่น ธาตุเหล็กช่วยกระบวนการสร้างเม็ดเลือดและยับยั้งการแข็งของเกล็ดเลือด แคลเซียม ฟอสฟอรัสช่วยเสริมสร้างให้กระดูกแข็งแรง เหมาะสำหรับหญิงหลังคลอด หรือผู้ที่เสียเลือด
  • ผลมะเขือพวงมีสารสเตียรอยด์​4ชนิด มีฤทธิ์​ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์​มะเร็งและตายในที่สุด โดยช่วยรักษาโรคมะเร็งเต้านมได้ผลดีขึ้น
  • ผลมะเขือพวงมีสารต้านอนุมูล​อิสระ​และต้านการอักเสบ เนื่องจากมีผลการวิจัยในผลของมะเขือพวงพบสารที่เรียกว่า ฟลาโวนอยด์ ซึ่งเป็นวิตามินที่มีโมเลกุลเหมือนฮอร์โมน​เพศหญิง หรือเอสโตรเจนช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ความเต่งตึง​ให้แก่ผิวพรรณและมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูล​อิสระ​ ออกฤทธิ์ต้านอาการแพ้ ต้านไวรัส และต้านการอักเสบติดเชื้อ ทั้งยังลดปัญหาในผู้ป่วยหอบหืดเฉียบพลัน ภูมิแพ้และภาวะเลือดแข็งตัวอีกด้วย โดยแหล่งอาหารที่พบสาร ฟลาโวนอยด์สูงนอกจากมะเขือพวง เช่น ลูกยอ ถั่วเหลือง กระชายดำ รวมถึงเครื่องดื่มชา และไวน์องุ่น
  • ผลมะเขือพวงมีสารโพลีฟีนอลที่ช่วยปกป้องตับและสารเอทานอลช่วยไตในการขับยาเคมีบำบัดที่ใช้รักษาโรคมะเร็งในผู้ป่วย โดยลดพิษสะสมตกค้างในไต และลดปัญหาภาวะไตวายได้
  • ผลมะเขือพวงมีสาร เมทานอล ช่วยปรับระดับอินซูลิน ระดับฮีโมโกลบิน ระดับโปรตีนในกระแสเลือด และลดระดับน้ำตาลสะสมในกระแสเลือดด้วย โดยมีผลการวิจัยใช้มะเขือพวงผงเป็นอาหารเสริมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินร่วมกับการใช้ยาได้ผลเป็นที่น่าพอใจ

นอกจากผลมะเขือพวงแล้วยังพบว่าใบมะเขือพวงมีสารที่ออกฤทธ์คล้ายยาแอสไพริน​ซึ่งช่วยระงับอาการปวดและอักเสบได้ด้วย

จะเห็นได้ว่ามะเขือพวงนั้นเป็นผักที่มีประโยชน์สมคำร่ำลือว่า เล็กพริกขี้หนูจริงๆ นอกจากใช้ประกอบอาหารได้หลากหลายเมนูแล้ว ยังเพิ่มรสชาติของ​อาหารและที่สำคัญช่วยปรับสมดุลของร่างกายได้อีกด้วย

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

ภัยร้ายที่แอบซ่อนใน  อาหารแปรรูป

แชร์ให้เพื่อน

ภัยร้ายที่แอบซ่อนใน  อาหารแปรรูป

อาหารแปรรูปได้รับกระแสนิยมสำหรับผู้บริโภคในปัจจุบันอย่างแพร่หลายเนื่องจากการกักตัวจากสถานการณ์​โควิด19 ในช่วงสามปีที่ผ่านมา อาหารแปรรูปมีรสชาติอร่อย สามารถนำมาปรุงอาหารได้ง่าย ท่านทราบหรือไม่ว่าอาหารแปรรูปนั้นมีผลเสียและส่งผลกระทบต่อสุขภาพอะไรบ้าง?

อาหารมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโต​ของร่างกายและบำรุงสมอง ช่วยเสริมสร้างให้กล้ามเนื้อ  มวลกระดูก และผิวหนังมีความแข็งแรง ยืดหยุ่นได้ดี ให้พลังงานแก่ร่างกายช่วยให้ร่างกายอบอุ่น เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค  สร้างความสมดุลให้แก่ร่างกาย
โดยการเลือกรับประทานอาหารตามประเภทให้เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวัน

อาหารแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

  • อาหารสดที่ไม่ผ่านกระบวนการแปรรูปอาหาร เช่น
    หมูสด เนื้อสด  ไก่สด ผลไม้สด และผักสด เป็นอาหารที่ยังมีสารอาหารอยู่ครบถ้วน ไม่ผ่านกระบวนการแปรรูปที่เกิดความสูญเสียสารอาหารและใส่สารปรุงแต่งต่างๆ
  • อาหารแปรรูป​คืออาหารที่ผ่านกระบวนการแปรรูปจากอาหารสดกลายเป็นผลิตภัณฑ์​โดยผ่านกรรมวิธีต่างๆได้แก่ การล้าง ตัดแต่ง ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์​ การแช่แข็ง การหมัก และการเติมวัตถุเจือปนต่างๆเพื่อให้เก็บรักษาได้ยาวนานขึ้นและป้องกันอาหาร บูด เน่าเสีย เช่น
    เนื้อสัตว์แช่แข็ง  อาหารทะเลแช่แข็ง  กุนเชียง​  ไส้กรอก​ ลูกชิ้น อาหารกระป๋อง  ผลไม้ ผักกระป๋องและอบแห้งต่างๆ

การรับประทานอาหารแปรรูปในปัจจุบันมีผลต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง?

  • กลุ่มเนื้อสัตว์ ปลา นม เนย ถั่ว ไข่ อาหารแปรรูปกลุ่มนี้ได้แก่
    ลูกชิ้น ไส้กรอก กุนเชียง เบคอน​ แฮม ชีส ปลา
    กระป๋อง ปลาเส้น ปลาเค็ม ปลาร้า โยเกิร์ต นูเทล่า เนยถั่ว ไข่เค็มเยี่ยวม้า ไข่เค็ม ชีส แปรรูปแล้วสามารถเก็บได้นานขึ้นทั้งรสชาติ​แตกต่างไปจากเดิม
  • กลุ่มแป้ง มันฝรั่ง อาหารแปรรูปจากกลุ่มนี้ได้แก่ ขนมปังชนิดต่างๆ ขนมปังปิ้ง แซนวิช​แฮมเบอร์เกอร์​พิซซ่า​ คุ๊กกี้ มันฝรั่งอบกรอบ มันฝรั่งทอดกรอบ หลังแปรรูปแล้วทำให้รสชาติ​แตกต่างจากเดิม เป็นรักษาได้ยาวนานขึ้น
  • กลุ่มผักและผลไม้ อาหารแปรรูปจากกลุ่มนี้ได้แก่
    ผักดอง ผักกระป๋อง น้ำผักผลไม้กล่อง ผลไม้กระป๋อง ผักผลไม้รวมอบแห้ง ทอดกรอบชนิดต่างๆ เช่น ทุเรียนทอด กล้วยอบ กล้วยเชื่อม กล้วยตาก

อาหารทั้งสามกลุ่มที่กล่าวมามักเป็นที่นิยมและชอบรับประทานกับทุกเพศทุกวัย อย่างแน่นอน เนื่องจากสีสัน และรสชาติ​ของอาหาร ที่น่ารับประทาน ส่งผลต่อสุขภาพดังต่อไปนี้

 

1.โรคมะเร็ง การรับประทานอาหารที่แปรรูปด้วยกรรมวิธี​หมักดองเพื่อการเก็บรักษา​คุณภาพของอาหารให้ยาวนานที่สุด เนื่องจากผ่านกระบวนการหมักที่ไม่ได้มาตรฐาน​ มีสิ่งเจือปน มีแบคทีเรีย มีโซเดียมสูง น้ำปลาร้าเป็นส่วนผสมของอาหารจานโปรดที่หลายคนชื่นชอบคือ ส้มตำปลาร้า ส้มตำปูปลาร้า ส้มตำหอยดอง ส้มตำไข่เค็ม และอาหารหมักดองเป็นอาหารที่ทุกคนต้องระวังเพราะมีสารไนโตรซามีน(Nitrosamine)​จัดเป็นสารก่อมะเร็ง(Carcinogens) ประเภทหนึ่ง การได้รับสารไนโตรซามีนบ่อยๆและต่อเนื่องอาจเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งชนิดต่างๆได้เช่น โรคมะเร็งตับ โรคมะเร็งหลอดอาหาร โรคมะเร็งทางเดินอาหาร
อาหารหมักดองมีโชเดียมสูงมักส่งผลต่อไต ทำให้มีอาการบวมน้ำตามมาได้

2.โรคอ้วน ความอ้วนเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่ปรารถนา​นอกจากเรื่องของรูปลักษณ์​ภายนอกไม่น่ามองแลัวยังทำให้เป็นสาเหตุของโรคต่างๆตามมาอีกมากมายเช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต ฉะนั้นควรรับประทานที่พอเหมาะไม่มากจนเกินความจำเป็นของร่างกาย การรับประทานอาหารประเภท ทอด หรือมีแป้งและไขมันในปริมาณมาก ส่งผลให้เกิดโรคอ้วนได้

3.โรคขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการเสริมสร้างและบำรุงสมองของร่างกาย อาหารแปรรูปกลุ่มบะหมี่สำเร็จรูปมีสารอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต​เพียงอย่างเดียวและมีโซเดียมสูงด้วย ทำให้ร่างกายได้รับโซเดียมสูงส่งผลให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง ซึ่งนำไปสู่โรคหลอดเลือดสมองตามมาได้ และเป็นปัญหาในระดับครอบครัวในอนาคต

จะเห็นได้ว่าการเลือกรับประทานอาหารควรเน้นความสมดุลของอาหารทั้งอาหารสดและอาหารแปรรูปเพื่อให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บอันเป็นสาเหตุจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

เครื่องดื่มน้ำมะพร้าวอ่อน  เพิ่มฮอร์โมน​ บำรุงร่างกาย

แชร์ให้เพื่อน

เครื่องดื่มน้ำมะพร้าวอ่อน  เพิ่มฮอร์โมน​ บำรุงร่างกาย

น้ำมะพร้าวอ่อนเป็นเครื่องดื่มตามธรรมชาติ มีรสชาติ​ดี และมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ได้รับความนิยมไปทั่วโลกในกลุ่มนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก

ต้นมะพร้าวเป็นพืชตระกูล​ปาล์ม​มสามารถปลูกและเจริญเติบโตได้ดีแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้​และรัฐฮาวาย​ในสหรัฐ​อเมริกา

น้ำมะพร้าวอ่อนที่ได้จากลูกมะพร้าวอ่อนอายุ 5 เดือน มีลักษณะใส และไม่มีสี ถ้ามีสีขุ่นแสดงว่ามีการปนเปื้อนจุลินทรีย์​ไม่ควรดื่ม  การดื่มน้ำมะพร้าวมีประโยชน์ต่อร่างกายโดยให้สารอาหารและแร่ธาตุ​ต่างๆมากมายดังต่อไปนี้คือ

น้ำมะพร้าวอ่อนประกอบด้วยสารอาหารและแร่ธาตุต่างๆคือ​มีโปรตีนร้อยละ 0.2 ไขมันร้อยละ0.4  คาร์โบไฮเดรต​ร้อยละ 4.5 แคลเซียม ฟอสฟอรัส​เหล็ก  โปแตสเซียม  วิตามินซี และน้ำตาล 
เนื้อมะพร้าวอ่อนกมีสารอาหารเช่น โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต​ แคลเซียม​  ฟอสฟอรัส​ และเหล็ก นอกจากนี้ในน้ำมะพร้าวอ่อนยังมีฮอร์โมน​ออกซิน ซึ่งช่วยชะลอวัยในหญิงหมดประจำเดือนได้อีกด้วย

การดื่มน้ำมะพร้าวอ่อนช่วยเสริมแร่ธาตุ​และเกลือแร่ในร่างกาย ในน้ำมะพร้าวอ่อนประกอบด้วยแร่ธาตุ​ที่มีความจำเป็นและช่วยรักษาความสมดุลของร่างกาย เช่น แคลเซียม​ โปแตสเซียม แมกนีเซียม​ ฟอสฟอรัส​ ดังนั้นจึงพบว่าหลังดื่มน้ำมะพร้าวอ่อนทำให้ร่างกายสดชื่น​  นอกจากนี้ยังพบว่าน้ำมะพร้าวอ่อนช่วยบำรุงหัวใจป้องกันการเกิดโรคหัวใจเนื่องจากมีแร่ธาตุ​โปแตสเซียมในปริมาณสูง ทั้งนี้ยังมีโฟเลตและวิตามินบี 6ช่วยลดปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดตีบอีกด้วย

การดื่มน้ำมะพร้าวอ่อนช่วยชะลอวัย บำรุงผิวพรรณ​ให้มีความอ่อนวัย และลดการเกิดอัลไซเมอร์​ก่อนวัยเนื่องจากมีกลุ่มฮอร์โมน​จากพืชที่เรียกว่า ไซโตไคนิน

การดื่มน้ำมะพร้าวช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกในวัยสูงอายุ เนื่องจากในน้ำมะพร้าวอ่อนมีแร่ธาตุ​ แคลเซียม และโปแตสเซีม สูง ในผู้สูงอายุเพศชายเมื่อเข้าสู่วัยทองจะทำให้มีฮอร์โมน​แอนโดรเจนลดลงส่งผลให้มวลกระดูกลดลงและมีภาวะกระดูกพรุน ดังน้ันการดื่มน้ำมะพร้าวอ่อนจึงช่วยได้ทั้งนี้การกินแคลเซียมและการออกกำลังก็สามารถช่วยได้อีกทางหนึ่ง ในเพศหญิงวัยทองช่วยลดการเกิดภาวะกระดูกพรุนและเสริมสร้างมวลกระดูกช่วยให้กระดูกแข็งแรงได้เช่นกัน

การดื่มน้ำมะพร้าวอ่อนมีให้เลือกดื่มได้หลายหลายเมนูเช่น

  • การดื่มน้ำมะพร้าวอ่อนสดจากธรรมชาติ  สามารถใช้มีดเฉาะกินจากลูกมะพร้าวอ่อนที่มีอายุ 5 เดือน ให้รสชาติหอมหวาน กลมกล่อม เช่น มะพร้าวพันธุ์​น้ำหอม
  • การดื่มน้ำมะพร้าวปั่น เป็นกรรมวิธีการทำเครื่องดื่มที่สามารถทำรับประทานเองได้ง่ายหรือสามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาด โดยมีส่วนผสมของ น้ำมะพร้าวอ่อน  เนื้อมะพร้าวอ่อน  น้ำเชื่อม นมสด และนมข้นหวาน เพิ่มความเย็นด้วยน้ำแข็ง บดให้ละเอียดเป็นเนื้อเดียวกันเหมาะสำหรับเครื่องดื่มช่วงหน้าร้อน บรรยากาศ​เที่ยวทะเลและชายหาด
  • น้ำมะพร้าวอ่อนบรรจุขวดสำเร็จ​รูปผ่านกรรมวิธีการผลิตที่ได้มาตรฐานมีให้เลือกซื้อดื่มได้ตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป

น้ำมะพร้าวอ่อนนั้นมีประโยชน์ต่อสุขภาพ เป็นเครื่องดื่มที่มีมาช้านานแล้ว การดื่มในขนาดที่เหมาะสมช่วยให้ร่างกายแข็งแรงเสริมสร้างมวลกระดูก  ลดภาวะความจำเสื่อม และช่วยชะลอความแก่ได้ด้วย

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

ปวดข้อเรื้อรังของผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยา

แชร์ให้เพื่อน

ปวดข้อเรื้อรังของผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยา

โรคชิคุนกุนยา หรือโรคไข้ปวดข้อยุงลาย เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัส โดยมียุงลายบ้านและยุงลายสวนเป็นพาหะนำโรค เกิดได้กับทุกเพศ ทุกวัย มักไม่เป็นอันตรายถึงชีวิตเหมือนโรคไข้เลือดออก
พบการระบาดช่วงฤดูฝน เนื่องจากมีแหล่งน้ำขังและมีจำนวนยุงลายเพิ่มมากขึ้น การระบาดส่วนใหญ่เกิดขึ้นตามพื้นที่ชนบท

อาการของโรคชิคุนกุนยา
1.ไข้สูง อาจสูงถึง 40 องศาเซลเซีส ในช่วง 3 วันแรก หลังจากนั้นไข้ลดลงจนหายภายใน 1 สัปดาห์ และ
2. มีอาการร่วมอย่างน้อยสองอาการดังต่อไปนี้

  • อาการปวดข้อ(arthralgia)​เช่น ข้อเข่า ข้อนิ้วมือ ข้อนิ้วเท้า ปวดนานหลายสัปดาห์
    ข้อบวม( joint swelling) หรือข้ออัเสบ (arthritis)
  • ปวดกล้ามเนื้อ (myalgia)
  • ปวดศรีษะ(headache) คลื่นไส้​
  • ปวดกระบอกตา(eye strain) เยื่อบุตาแดง
  • มีผื่นขึ้น(maculopapular rash) บริเวณลำตัว แล้วเลื่อนไปตามแขนและขา หายภายใน 1 สัปดาห์

3.และ มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้คือ

  • ผลการตรวจเลือดพบจำนวนเม็ดเลือดขาวปกติหรือต่ำลง และมีเกล็ดเลือดปกติซึ่งเป็นข้อแตกต่างระหว่างโรคไข้เลือดออก
  • พบประวัติการเดินทางกลับจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคภายใน 2 สัปดาห์

การป้องกันโรคชิคุนกุนยา
ป้องกันไม่ให้ยุงลายกัด โดยนอนกางมุ้ง หรือห้องที่มีมุ้งลวด การทายากันยุง ใส่เสื้อแขนยาว ขาเกงขายาว ช่วยป้องกันยุงกัดได้ และการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์​ยุงลาย เช่น น้ำขังตามโอ่งน้ำ ไห กะลา

แนวทางการรักษาโรคชิคุนกุนยา

การรักษาโรคชิคุนกุนยานั้นเป็นการรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น เช่น การรับประทานยาลดไข้ การรับประทานยาแก้ปวด เพื่อช่วยลดอาการปวดตามข้อต่างๆ เนื่องจากอาการปวดข้ออาจคงอยู่เป็นเวลาหลายสัปดาห์​ หลายเดือน สร้างความทุกข์​ทรมานกับผู้ป่วย ควรระวังการกินยาแก้ปวดที่มีผลต่อกระเพาะอาหารอักเสบได้

การป้องกันไม่ให้ยุงลายกัด หรือทำลายแหล่งเพาะพันธุ์​ยุงลายสามารถช่วยป้องกันได้ทั้งโรคชิคุนกุนยาและโรคไข้เลือดออกในเวลาเดียวกัน

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

โรคบาดทะยัก อันตรายจากเชื้อแบคทีเรียในดิน

แชร์ให้เพื่อน

โรคบาดทะยัก อันตรายจากเชื้อแบคทีเรียในดิน

โรคบาดทะยัก เป็นโรคที่ติดเชื้อแบคทีเรีย ที่อยู่ในดิน หรือสิ่งแวดล้อม มีชื่อว่า คลอสทริเดียม เตตาไน(Clostridium tetani)​ โดยเชื้อเข้าสู่ร่างกายเมื่อเกิดบาดแผล โดยเฉพาะกลุ่มบาดแผลที่เจาะลึกเข้าไปในผิวหนัง เช่น แผลเหยียบตะปู  เสี้ยนตำ ยังพบในกลุ่มติดยาเสพติดที่ใช้เข็มไม่สะอาด และกลุ่มที่ทำแท้งเถื่อนจากเครื่องมือที่ไม่สะอาด 
ในปัจจุบันพบได้บ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเนื่องจากเกิดบาดแผลเล็กน้อยคิดว่าไม่เป็นอะไรมาก ไม่ได้รับการรักษาและฉีดวัคซีน

อาการและอาการแสดงของโรคบาดทะยัก
หลังจากมีบาดแผลและเชื้อคลอสทริเดียม เตตาไนเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลเกิดการสร้างพิษท็อกซิน ซึ่งสารพิษท็อกซินจะไปจับกับเส้นประสาท เชื้อลุกลามเข้าเส้นประสาท  เข้าสู่ไขสันหลัง และก้านสมองบางส่วน ซึ่งใช้เวลาประมาณ 3 วันถึง 3 สัปดาห์​อาการและอาการแสดงมีดังนี้

  • มีอาการปวด คล้ายปวดกล้ามเนื้อ
  • อาการเกร็งของกล้ามเนื้อทั่วร่างกายเป็นระยะ คอเกร็ง หลังเกร็ง อ้าปากไม่ได้
  • บางรายมีอาการทางระบบประสาท​อัตโนมัติ เช่น เหงื่อออก ชีพจรเต้นเร็วผิดปกติ บางรายเกร็งจนกระดูกหัก
  • การเกร็งของกล้ามเนื้อหายใจ ทำให้หายใจไม่ได้ อาจทำให้เสียชีวิตได้
  • บางรายมีการติดเชื้อแทรกซ้อน ถ้าผู้ป่วยมาพบแพทย์เพื่อรับการรักษาทันเวลาทำให้หายได้ 70-80%

แนวทางการรักษาและป้องกันโรคบาดทะยัก

  • การฉีดวัคซีนเพื่อกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกัน  ถ้าเชื้อบาดทะยักเข้าไปในเส้นประสาทแล้ว ต้องฉีดภูมิคุ้มกันที่สร้างแล้ว
  • การให้ยาฆ่าเชื้อเพื่อรักษาการติดเชื้อของแผล
  • การให้ยาคลายกล้ามเนื้อเพื่อลดอาการชักเกร็ง
  • บางรายที่มีอาการหนัก หายใจเองไม่ได้ ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ซึ่งใช้เวลารักษาเป็นเดือนกว่าจะดีขึ้นและหายเป็นปกติ

การเฝ้าระวังไม่ให้เกิดบาดแผลหรือเมื่อเกิดบาดแผลแล้วต้องรีบล้างทำความสะอาดบาดแผลเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อบาดทะยักเข้าสู่ร่างกายและรีบไปรับการรักษาที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน

วัคซีนโรคบาดทะยัก หรือ ทอกซินเชื้อบาดทะยัก(ทีที)​เป็นวัคซีนที่ฉีดเพื่อให้ร่างกายเกิดการสร้างภูมิคุ้มกันโรคบาดทะยัก สำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนซึ่งในวัยเด็กจะได้รับจำนวน 5 เข็ม ตามด้วย 1 เข็มทุกๆ สิบปี ถ้าได้รับวัคซีนบาดทะยักตั้งแต่สามเข็มขึ้นไปเกือบทุกคนจะมีภูมิคุ้มกันโรคบาดทะยัก ทั้งนี้การฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันแก่ผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนโรคบาดทะยักตามจำนวนที่กำหนดภายในเวลา 48 ชั่วโมงหลังจากได้รับบาดเจ็บ

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

ยาน้ำเชื่อมสำหรับเด็ก เสี่ยงอันตราย

แชร์ให้เพื่อน

ยาน้ำเชื่อมสำหรับเด็ก เสี่ยงอันตราย

เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบเมื่อเจ็บไข้ ได้ป่วยมักจะได้ยาชนิดน้ำเชื่อมมารับประทาน  จากข้อมูลต่างประเทศพบว่า ยาน้ำเชื่อมแก้ไอ และยาน้ำเชื่อมแก้ไข้ มีสารเจือปนในตัวทำละลายในกระบวนการผลิตยา มีปัจจัยเสี่ยงที่เป็นไปได้ต่อการเสียชีวิต จากภาวะไตวายเฉียบพลัน ในต่างประเทศ
ยาน้ำเชื่อม มีส่วนผสมของ เอทิลีนไกลคอล และไดเอทิลีนไกลคอล เกิดจากปัญหา การใช้วัตถุดิบที่ไม่ได้มาตรฐาน และไม่มีการรายงานถึงการเปลี่ยนแปลงในส่วนผสมและใช้วัตถุดิบบางอย่างเกินหลักเกณฑ์​ที่กำหนด
ข้อมูลจากต่างประเทศ​ พบการใช้ยาน้ำเชื่อมในเด็กอายุต่ำกว่า 5ขวบมีปัจจัยเสี่ยงที่เป็นไปได้ต่อการเสียชีวิตจากภาวะไตวายเฉียบพลัน ซึ่งพบข้อมูลการเสียชีวิตแล้ว 150 คนตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา

 

ฉะนั้นการใช้ยาชนิดน้ำเชื่อมแก้ไอ หรือ ยาชนิดน้ำเชื่อมแก้ไข้ควรใช้อย่างระมัดระวัง ไม่ใช้ยาพร่ำเพรื่อใช้ในกรณีที่จำเป็นจริงๆ ​ควรเน้นการดูแลเบื้องต้นเป็นหลักเช่นกรณีมีไข้ ตัวร้อนให้เช็ดตัวลดไข้ ให้กินน้ำอย่างเพียงพอ ลดระคายเคืองในลำคอ เพื่อลดการรับประทานยาน้ำเชื่อมแก้ไข้และยาน้ำเชื่อมแก้ไอในเด็ก

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

โรคธาลัสซีเมีย(Thalassemia)​ ติดต่อทางพันธุกรรม

แชร์ให้เพื่อน

โรคธาลัสซีเมีย(Thalassemia)​ ติดต่อทางพันธุกรรม

โรคธาลัสซีเมีย(Thalassemia)​เป็นโรคโลหิตจางชนิดหนึ่งซึ่งมีความผิดปกติทางพันธุกรรมระดับยีน(Gene)​ทำให้การสร้างฮีโมโลบิน(Hemoglobin)​ในเม็ดเลือดแดงผิดปกติ อายุสั้น แตกง่าย และถูกทำลายได้ง่ายก่อให้เกิดภาวะโลหิตจาง(Anemia)​เรื้อรังตั้งแต่กำเนิดไปตลอดชีวิต มีภาวะแทรกซ้อนต่างๆตามมา

สาเหตุของโรคธาลัสซี​เมีย(Thalassemia)​
ผู้ป่วยโรคธ​า​ลัสซี​เมียได้รับคู่ยีน(Gene)​ที่ผิดปกติมาจากทั้งฝ่ายพ่อและแม่ทั้ง2ยีน(Gene)​ แต่ถ้ารับยีน(Gene)​ผิดปกติมาจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียว จะไม่ป่วยเป็นโรคธาลัส​ซีเมีย และมีสุขภาพแข็งแรงปกติ  แต่มียีน(Gene)​ผิดปกติแฝงอยู่สามารถถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้ เรียกว่า มีพาหะของโรค

อาการและอาการแสดงของโรคธาลัสซีเมีย(Thalassemia)​

  • มีภาวะซีด ตับม้ามโต ถ้าซีดมากอาจทำให้เสียชีวิตได้ มีอาการเริ่มแรกตั้งแต่แรกเกิดถึง  3 ปีแรก

แนวทางการรักษาโรคธาลัสซี​เมีย​(Thalassemia)​

  • การรักษาตามอาการ ภาวะซีด รักษาด้วยวิธีการให้เลือด และยาขับธาตุเหล็ก ซึ่งต้องให้ต่อเนื่องและตลอดชีวิต
  • การรักษาโรคด้วยวิธีการปลูกถ่ายเซลล์​ต้นกำเนิด​จากผู้บริจาคที่มีสุขภาพดีและเข้ากับผู้ป่วยธาลัส​ซีเมียได้ ในการรักษาด้วยวิธีนี้มักมีภาวะแทรกซ้อน ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอายุขัยลดลง
  • การรักษาด้วยวิธียีน( Gene)​บำบัด แต่มีอุปสรรค​เช่นคนไข้มีอาการข้างเคียงเช่น คลื่นไส้ อาเจียน เจ็บปากรับประทานอาหารไม่ได้ ซึ่งเป็นผลจากการได้รับยาเคมีบำบัด

จะเห็นได้ว่าผู้ที่มียีนแฝงสามารถถ่ายทอดโรคนี้ไปสู่ลูกได้ จึงควรวางแผนก่อนการมีลูกเพื่อหลีกเลี่ยงการมีลูกเป็นโรคธาลัสซี​เมีย​(Thalassemia)​ ควรพาคู่สมรสไปตรวจเลือดก่อนมีลูก ถ้าคู่สามีภรรยามียีนแฝงทั้งสองคนเมื่อภรรยาตั้งครรภ์ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย​ทารกก่อนคลอด

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

เมนูอาหารหยิน หยาง ช่วยปรับสมดุลร่างกายได้อย่างไร?

แชร์ให้เพื่อน

เมนูอาหารหยิน หยาง ช่วยปรับสมดุลร่างกายได้อย่างไร?

การปรับสมดุลร่างกายด้วยหยิน หยาง
หยิน ในทางการแพทย์จีนแสดงถึง ธาตุเย็นในร่างกาย เมื่อหยินสูงหมายถึงธาตุเย็นสูงขึ้นทำให้ร่างกายเสียสมดุล ในทางกลับกัน หยาง นั้นเปรียบเสมือนธาตุร้อน ถ้ามีมากเกินไปก็ทำให้ครั่นเนื้อ ครั่นตัว มีไข้ ดังนั้นร่างกายของคนเราจึงต้องปรับสมดุลของหยิน หยาง เพื่อช่วยให้ร่างกายแข็งแรง โดยการเลือกรับประทานอาหารที่มีทั้งหยินและหยางเพื่อช่วยรักษาความสมดุลของร่างกายนั่นเอง

อาหารแบบใหนเป็นหยิน หยาง?

  • กลุ่มอาหารที่ช่วยเสริมธาตุหยิน(ธาตุเย็น)​คืออาหารที่มีรสชาติเค็ม ขม เปรี้ยว เช่น กล้วย แตงโม องุ่น มะพร้าว มะระ ขี้เหล็กมีรสขมช่วยให้นอนหลับสบาย การปรุงอาหารด้วยวิธืการต้ม หรือนึ่ง ก็จัดเป็นอาหารหยิน
    เมนูอาหารหยิน เช่น ยำดอกขจร ซุปปูข้าวโพด แกงส้มมะละกอปลาทับทิม ถั่วเขียวต้มรากบัว เต้าฮวยฟรุต​สลัด ไอศกรีม​
  • กลุ่มอาหารที่ช่วยเสริมธาตุหยาง(ธาตุร้อน)​คือ อาหารที่มีรสเผ็ดร้อน รวมถึง ขนมหวานและแป้ง เช่น พริกไทย ขิง กระเทียม กลุ่มอาหารพวกเนื้อสัตว์ต่างๆ รวมถึงการปรุงอาหารด้วยวิธีการทอด ย่าง และรมควัน ก็เป็นอาหารเสริมธาตุหยาง
    เมนูอาหารหยาง เช่น เนื้อหมูผัดฉ่า แกงไก่ฟักทอง น้ำลำไย

การปรับสมดุลหยินหยางจากการกินอาหารจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง และไม่ค่อยเจ็บไข้ ได้ป่วย ควรออกกำลังกายร่วมด้วย ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายต่อวัน รวมถึงทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่ม ห่างไกลจากความเครียด เท่านี้ก็ช่วยให้ร่างกายปราศจากโรคภัยไข้เจ็บได้

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เนื้อปลามีประโยชน์คุ้มค่า เกินราคา

แชร์ให้เพื่อน

ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เนื้อปลามีประโยชน์คุ้มค่า เกินราคา

เนื้อปลาเป็นแหล่งโปรตีนที่มีความสำคัญ โดยส่วนใหญ่แล้วเนื้อปลามีปริมาณไขมันต่ำ และเป็นไขมันชนิดไม่อิ่มตัว เช่น ปลานิล ปลาดุก ปลาหมอ(ปลาเลี้ยง)​ การเลือกรับประทานปลาที่มีโอเมก้า​ 3 สูง นอกจากปลาแซลมอน ยังมีปลาน้ำจืดอย่างปลาสวาย ซึ่งมีจำนวนมากในประเทศไทย มีเมนูที่หลากหลายน่ารับประทานเช่น ผัดเผ็ดปลาสวาย ปลาสวายผัดฉ่า ปลาสวายทอดกรอบ
ปลาสวายมีกรดไขมันโอเมก้า 3 ช่วยบำรุงสมอง เส้นประสาทและบำรุงสายตา การรับประทานเนื้อปลาช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
ทั้งนี้โปรตีนจากเนื้อปลายังช่วยให้สมองทารกพัฒนาได้อย่างสมบูรณ์ นอกจากโอเมก้า 3 พบในปลาสวายแล้ว ยังพบในปลาดุก ปลาช่อน ปลานิล (ปลาเลี้ยง)​ อีกด้วยซึ่งสามารถหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาดและราคาไม่แพง คุ้มค่าเกินราคา

การเลือกรับประทานปลาแบบใหน? ถึงได้กรดไขมันโอเมก้า 3
จากข้อมูลการวิจัยพบว่าเนื้อปลาน้ำจืดตามธรรมชาติ​พบกรดไขมันโอเมก้า 3 น้อยมาก แต่จะมีปริมาณโอเมก้า 3 สูงขึ้นในปลาน้ำจืดที่เพาะเลี้ยง ซึ่งหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาด
ตัวอย่างเมนูปลาแซลมอลที่รับประทานแล้วได้กรดไขมันโอเมก้า 3 สูง เช่น ยำแซลมอล แซลมอลนึ่งซีอิ้ว แซลมอลทอดน้ำปลา
ตัวอย่างเมนูปลาน้ำจืดเลี้ยงของไทยที่รับประทานแล้วได้กรดไขมันโอเมก้า 3 เช่น ปลาช่อนลุยสวน ปลาสวายทอดกรอบ ปลานิลนึ่งมะนาว ลาบปลาดุก

จะเห็นว่าเนื้อปลาน้ำจืดเลี้ยงและปลาทะเลนอกจากเป็นแหล่งสารอาหารโปรตีนสูง ย่อยง่าย แล้วยังมีกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งช่วยบำรุงสมอง ช่วยชะลอภาวะสมองเสื่อมได้ด้วย

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน

โรคข้อเข่าเสื่อม(Knee osteoathritis) ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม

แชร์ให้เพื่อน

โรคข้อเข่าเสื่อม(Knee osteoathritis) ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม

โรคข้อเข่าเสื่อม(Knee osteoathritis)​เป็นปัญหาด้านสุขภาพในผู้สูงอายุที่สำคัญ เป็นโรคเรื้อรังของระบบกล้ามเนื้อและข้อต่อ พบในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป โดยโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์​กับอายุที่มากขึ้น ผู้สูงอายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไป พบข้อเข่าเสื่อมถึงร้อยละ 80 และพบในผู้หญิงที่อ้วนหรือมีน้ำหนักตัวมาก โดยพบมากในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึง 2-3เท่า ทำให้เกิดภาวะทุพพลภาพ​และเป็นภาระพึ่งพิงในผู้สูงอายุ

อาการของโรคข้อเข่าเสื่อม(Knee osteoathritis)

  • มีอาการปวดเข่าเรื้อรัง รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันในผู้สูงอายุ ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตแย่ลง แยกตัว และเกิดภาวะซึมเศร้าได้
  • มีอาการปวดเข่าแบบตื้อๆทั่วๆในบริเวณ​ข้อเข่าเสื่อม ระบุตำแหน่งได้ไม่ชัดเจน ปวดมากเมื่อใช้งานหรือลงน้ำหนัก และดีขึ้นเมื่อพักการใช้งาน
  • หากมีข้อเข่าเสื่อมที่รุนแรงอาจทำให้ปวดตลอดเวลาแม้เวลากลางคืนหรือขณะพักได้
  • อาการตึงบริเวณข้อพับเข่า ข้อฝืด ( Stiffness) มักเป็นตอนเช้าแต่ไม่เกิน 30 นาที
  • อาการข้อหนืด(Gelling phenomenon) ข้อบวมและผิดรูป(Swelling and deformity) อาจพบขาโก่ง (Bow legs) หรือเข่าฉิ่ง (Knockknee)​ ข้อบวมเกิดจากกระดูกงอกโปนบริเวณข้อ สูญเสียการเคลื่อนไหวและการทำงาน เดินไม่สะดวก
  • มีเสียงดังกรอบแกรบ​(Crepitus)​ ของข้อเข่าขณะเคลื่อนไหว

แนวทางการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม (Knee osteoathritis)​

  • การบำบัดข้อเข่าเสื่อมโดยการใช้ยาและไม่ใช้ยาร่วมกันซึ่งเป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพในการจัดการกับโรคข้อเข่าเสื่อม(Knee​ osteoathritis)​ ช่วยป้องกันและชะลอการดำเนินโรคไม่ให้รุนแรงได้ แต่การใช้ยามีข้อจำกัดหลายด้านเช่น การใช้ยาลดปวดทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร และไตทำงานลดลง รวมถึงการฉีดยาสเตียรอยด์​เข้าข้ออาจทำให้เกิดผลข้างเคียง ภาวะข้ออักเสบ เลือดออกในข้อ และติดเชื้อในข้อเข่าได้
  • การบริหารจัดการกับความเจ็บปวด เช่น การปรับพฤติกรรม​การดูแลตนเอง​ การประคบร้อน ประคบเย็น เพื่อลดความปวด รวมถึงการควบคุมน้ำหนัก และหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่กดทับบริเวณ​ข้อเข่า
  • การทำกายภาพบำบัด เพื่อช่วยฟื้นฟูความสามารถ​ในการเคลื่อนไหว​ ลดความเจ็บปวด และลดความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมลงได้
  • การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมทั้งข้อ เป็นการรักษาในรายที่ข้อเข่าเสื่อมระยะรุนแรง ช่วยให้การทำกิจกรรม​ในชีวิตประจำวัน​ดีขึ้น

การป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมด้วย 4 วิธีการดังต่อไปนี้

  • การหลีกเลี่ยงพฤติกรรม​ในชีวิตประจำวัน​ที่เป็นอันตรายต่อข้อเข่า ได้แก่ ไม่ควรนั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ​ นั่งคุกเข่า นั่งยองๆ เพราะท่าดังกล่าวทำให้ข้อเข่าเสียดสี​กันและเสื่อมเร็วขึ้นได้
  • การลดน้ำหนักเพราะการลดน้ำหนักจะทำให้เข่าแบกรับน้ำหนักน้อยลง การเกิดข้อเข่าเสื่อมช้าลงด้วย
  • การเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและข้อด้วยอาหารเช่น อาหารที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ นม งาดำ น้ำเต้าหู้ ปลาเล็กปลาน้อย​ เป็นต้น
  • การออกกำลังกายสม่ำเสมอโดยเฉพาะการฝึกบริหารข้อและกล้ามเนื้อรอบๆข้อจะช่วยลดภาวะข้อเข่าเสื่อมลงได้ ต้องระวังกับผู้ที่มีโรคประจำตัวเช่น โรคหัวใจขาดเลือด

จะเห็นได้ว่าโรคข้อเข่าเสื่อม(Knee osteoathritis)​ ทำให้ผู้ป่วยต้องดำรงชีวิตอย่างทุกข์ทรมาน ทำกิจวัตรประจำวันได้ช้าลง นำไปสู่การใช้ยาแก้ปวด และยาต้านการอักเสบอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารทะลุได้ ก่อนการใช้ยาแก้ปวดเพื่อบำบัดอาการข้อเข่าเสื่อมควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัช​กร

ติดตามบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ healthybestcare.com

แชร์ให้เพื่อน